×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ชูนวัตกรรมอัจฉริยะจาก AI คลาวด์ และ IoT ยกระดับศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีไทยให้ทัดเทียมองค์กรขนาดใหญ่บนเวทีโลก ในงาน Microsoft Innovation Conference ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เพื่อให้คำแนะนำทั้งในเชิงเทคนิคและกลยุทธ์กับผู้บริหารและพนักงานฝ่ายไอทีของธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วไทย และนำเสนอโซลูชันเด่นที่พร้อมเร่งประสิทธิภาพให้กับทุกองค์กร

ภายในงาน ทีมผู้บริหารไมโครซอฟท์ นำโดยนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เสนอแนะแนวทางการนำเทคโนโลยีระดับโลกมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจในทุกประเภทและอุตสาหกรรม ทั้งยังเจาะลึกแนวคิด “Three Clouds” กับการผสมผสาน 3 โซลูชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ของไมโครซอฟท์อย่าง อาซัวร์  Office 365 และ Dynamics 365 เข้าด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้รุดหน้าอย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

“คำพูดที่ว่า ‘AI มีอยู่ทุกหนแห่ง’ นั้น กำลังใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะเป็นแชทบอทของร้านค้าที่ตอบคำถามของลูกค้าอย่างอัตโนมัติ หรือระบบ Electronic Know-Your-Customer สำหรับการยืนยันตัวตนลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคาร ก็ล้วนทำงานโดยมี AI เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานอยู่เบื้องหลัง” นายธนวัฒน์กล่าว “AI และคลาวด์ ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ไกลเกินเอื้อมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เพราะเงินทุนไม่ใช่อุปสรรคในการนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพอีกต่อไป แต่กลับเป็นเรื่องของกลยุทธ์และแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจที่ยังขาดหายไปอยู่ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีธุรกิจเพียง 26% เท่านั้นที่นำ AI มาเป็นหัวใจหลักในกลยุทธ์ทางธุรกิจ เราเชื่อว่าธุรกิจในยุค AI จะต้องมี Tech Intensity หรือความเข้มข้นในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ผ่านทางการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพจากเทคโนโลยี”

ยกระดับประสบการณ์ให้กับลูกค้า พร้อมเสริมความคล่องตัวให้พนักงานและองค์กร ด้วยโซลูชันคุณภาพจากพันธมิตรของไมโครซอฟท์

ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ได้จับมือกับพันธมิตรผู้พัฒนาและติดตั้งโซลูชันชั้นนำในประเทศไทยเพื่อร่วมกันจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการล่าสุดสำหรับทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ โดยครอบคลุมการทำงานในหลายด้าน นับตั้งแต่ประสบการณ์ของลูกค้าไปจนถึงระบบงานภายในองค์กร เช่น Wolf Approve ระบบการขออนุมัติเอกสารออนไลน์ผ่านคลาวด์ โดยบริษัท เทคคอนส์บิส จำกัด จะช่วยลดความซับซ้อนในการเดินเอกสารทั่วไปภายในองค์กร เช่นการขอเบิกค่าใช้จ่าย เบี้ยเลี้ยง หรือการยื่นใบลา เป็นต้น ด้วยการสร้างแบบฟอร์มและกระบวนการอนุมัติที่เป็นดิจิทัลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์

คุณสิโรฒม์ ทัศนัยพิทักษ์กุล Solution Specialist จากเทคคอนส์บิส เผยว่า “นอกจากจะเป็นการย้ายระบบงานเอกสารจำนวนมากขององค์กรให้กลายเป็นระบบดิจิทัลที่ไม่ต้องพึ่งพากระดาษแล้ว Wolf Approve ยังรองรับการตั้งเงื่อนไขการอนุมัติเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ตามรูปแบบการทำงานของแต่ละบริษัท ไม่สับสนในการส่งเอกสารไปหาผู้อนุมัติที่ถูกต้องอีกต่อไป ทั้งยังเปิดให้ใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชันในอุปกรณ์พกพาต่างๆ จึงทำให้พนักงานและผู้อนุมัติเอกสารสามารถทำเรื่องและอนุมัติคำร้องต่างๆ ได้จากทุกที่ ทุกเวลา แม้ในขณะเดินทาง”

ส่วนโซลูชัน Smart Self-Checkout จุดชำระเงินซื้อสินค้าแบบอัจฉริยะ โดย บริษัท ริเวอร์พลัส จำกัด นำบริการ Custom Vision บนแพลตฟอร์มอาซัวร์ มาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบ AI ที่สามารถแยกแยะวัตถุตรงหน้าเพื่อให้บริการลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ เช่นในกรณีตัวอย่างของร้านเบเกอรี่ ที่สามารถฝึกสอนให้ AI ดังกล่าวจดจำลักษณะของขนมปังแต่ละชนิดจากภาพที่มองเห็นผ่านกล้อง เมื่อลูกค้านำถาดมาวางใต้กล้อง AI จะระบุชื่อสินค้า ระบุราคา ปริมาณแคลอรี่ โปรโมชั่น สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบนหน้าจอได้ทันที นอกจากนี้ AI และแพลตฟอร์มอาซัวร์ ยังสามารถเก็บข้อมูลอื่นไม่ว่าจะเป็นยอดขาย สินค้าขายดี อายุ เพศ ความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งฟังก์ชั่นดังกล่าวสามารถนำมาดัดแปลงให้เข้ากับการทำงานในแต่ละธุรกิจได้อีกด้วย

“เทคโนโลยีด้าน Machine Vision หรือการมองเห็นของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทางริเวอร์พลัสพัฒนาขึ้นมานั้น ไม่ได้ใช้ได้เพียงแต่ในกรณีนี้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้อีกหลากหลายรูปแบบด้วย เช่นในกรณีของการตรวจสอบรหัสชิ้นส่วนหรือคุณภาพสินค้าในสายการผลิต เป็นต้น” คุณจิราภรณ์ ตีระมาศวณิช ผู้จัดการทั่วไปของริเวอร์พลัสเผย

บริษัท จีเอเบิล จำกัด ได้นำโซลูชันระบบงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล Staffio และระบบจัดทำ นำส่ง และจัดเก็บข้อมูลภาษีแบบครบวงจรบนคลาวด์ Taxircle มาจัดแสดงภายในงาน โดย Staffio เป็นระบบที่รองรับงานทั้งในด้านโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการพนักงานเป็นรายบุคคล การบันทึกเวลางาน วันลาหยุด การจัดการเงินเดือน ส่วน Taxircle จะช่วยแปลงข้อมูลจากระบบบัญชีให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมนำส่งไปยังกรมสรรพากรและคู่ค้าได้ทันที และเก็บรักษาข้อมูลได้ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

คุณปณต กาญจนศูนย์ หัวหน้าแผนกการตลาดและดิจิทัลโซลูชันจากจีเอเบิล เสริมอีกว่า “เราต้องการนำโซลูชันดิจิทัลเข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการข้อมูลและระบบงานที่มีในมือได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้ง Staffio และ Taxircle เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการ Corporate Digital Solution ของจีเอเบิล ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะงานด้าน HR และภาษีเท่านั้น แต่ยังมีโซลูชันด้านการตลาดแบบดิจิทัลแบบครบวงจรที่เพียบพร้อมด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลหลากหลายรูปแบบอีกด้วย”

ทางสตาร์ทอัพไทย ฟีดแบค 180 ได้ใช้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรฝ่ายวิจัยและพัฒนาในบริษัทมาสร้างสรรค์โซลูชัน Closed Loop Feedback ซึ่งนำ AI และ machine learning มาช่วยให้ธุรกิจได้รับรู้และเข้าใจในเสียงตอบรับจากลูกค้าในทุกช่องทางอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบช่วยวิเคราะห์และตีความความคิดเห็นจากข้อความภาษาไทยที่ถูกโพสท์ลงบนโลกออนไลน์

คุณยงยุทธ ทรงศิริเดช ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของฟีดแบค 180 เผยว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำในด้านการทำความเข้าใจในตัวลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแยกแยะและจดจำลักษณะของลูกค้าที่แวะมาที่หน้าร้านค้าหรือสาขา หรือการเปลี่ยนกระแสเสียงตอบรับของฐานลูกค้าให้กลายเป็นข้อเสนอพิเศษที่ตรงเป้า โดยที่ลูกค้าองค์กรสามารถเลือกเติมความสามารถให้กับโซลูชัน Closed Loop Feedback ให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงได้ตามต้องการ เช่นโมดูล Social Voice ที่รองรับการวิเคราะห์ข้อความเกี่ยวกับแบรนด์หรือสินค้าที่กำหนดไว้ในโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ความเชี่ยวชาญของเราในด้านการวิเคราะห์และทำความเข้าใจภาษาด้วย AI ยังช่วยให้เราสามารถสร้างระบบคลังความรู้ภายในองค์กรแบบ Knowledge Graph ที่ค้นหาข้อมูลได้ด้วยประโยคคำถามที่เรียบเรียงแบบธรรมชาติและไม่ตายตัว”

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน AI ของไมโครซอฟท์ได้ที่

https://news.microsoft.com/apac/features/artificial-intelligence/

(ในภาพจากซ้ายไปขวา : 1.นางสาวนริสสา ลิมปนาทร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซิลิงโก้ ประเทศไทย จำกัด 2.นายทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทีวี ไดเร็ค 3.นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต เคทีซี 4.นางสาวธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด 5.นางจุรีรัตน์ ก้องเกียรติวงศ์ หัวหน้าสายงานดิจิทัล แผนกเครื่องสำอางชั้นสูง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด 6.นางสาวกีรติ โรจนกีรติกานต์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท พอลพ่า บาย ดามาคัน จำกัด)

 

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ 5 พันธมิตรธุรกิจออนไลน์ “ลาซาด้า” “ทีวี ไดเร็ค” “ซิลิงโก้” “ลอรีอัล ไทยแลนด์” และ “พอลพ่า บาย ดามาคัน” จัดงานเสวนาปันความรู้เพื่อร่วมสร้างสังคมไทยที่ยั่งยืนKTC FIT Talks” ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นงานเสวนาเพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ กับสังคมสาธารณะ โดยหัวข้อเสวนาจะปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์และกระแสความสนใจของสังคมในช่วงเวลานั้นๆ ภายใต้กรอบหัวข้อที่เกี่ยวกับการเงิน (Finance) นวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยี (Technology)

โดยในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เจาะลึกธุรกิจอีคอมเมิร์ซและช้อปปิ้งออนไลน์ ทางออกเศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล” เผยมุมมองและกลยุทธ์การปรับตัวของอีมาร์เก็ตเพลสและธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์ท่ามกลางกระแสดิจิทัล ดิสรัปชั่นที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เพื่อร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เทรนด์ธุรกิจออนไลน์และทีวี ช้อปปิ้ง ในปี 2562 รวมทั้งโอกาสและความท้าทายของสตาร์ทอัพในการเข้ามาทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ชี้ช้อปออนไลน์ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมแนะนำการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างไรมีแต่ได้กับได้ ณ ห้องประชุมใหญ่ “เคทีซี” ชั้น 14 อาคารสมัชชาวาณิช 2 พร้อมถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ (Facebook Live) ทางเพจ #KTC CSR Club

(บุคคลในภาพ จากซ้ายไปขวา 1.คุณนรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 2.คุณวิศรุต พูลวรลักษณ์ ผู้อำนวยการ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 3.ณวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 4.คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี 5.คุณยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี 6.ม.ล.เอวิตา ยุคล 7.คุณกษิดิศ กลศาสตร์เสนี)

 

เอสซีจี โดย คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดย คุณวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร เป็นประธานเปิดตัวโครงการ SCG x MAJOR SYNERGY INNOVATION DAY” ณ โรงภาพยนตร์ อีนิกม่า พารากอนซีนีเพล็กซ์ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมภายใต้แนวคิด Circular Economy, Digital Platform, Universal Design และ One Stop Logistic Solution  โดยมีสตาร์ทอัพจากทั้ง 2 องค์กรมาทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์ที่เหนือระดับให้กับลูกค้า นับเป็นการจับมือครั้งสำคัญของผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบ Cross Industry ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรม Entertainment อย่างแท้จริง

 

ผลสำรวจ Financial Services Technology 2020 and Beyond: Embracing disruption โดยบริษัท PwC Consulting พบว่า ใน พ.ศ. 2563 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงิน (Financial Services) ทั่วโลก

โดยจากผลสำรวจพบว่า มี 10 เทคโนโลยีสำคัญที่จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและหน่วยงานกำกับดูแล รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่

1. เทคโนโลยีทางการเงินจะขับเคลื่อนธุรกิจการเงินรูปแบบใหม่ (FinTech will drive the new business model) ความต้องการบริการด้านฟินเทคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจธนาคารเพื่อรายย่อย (Consumer Banking) และธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ทั้งธนาคารขนาดใหญ่และผู้เล่นรายใหม่ที่มีศักยภาพหันมาจับมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

2. เศรษฐกิจแบ่งปันจะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงิน (The sharing economy will be embedded in every part of the financial system) อิทธิพลจากกระแสเศรษฐกิจแบ่งปันจะขยายเข้าสู่ธุรกิจบริการทางการเงิน เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้น สถาบันการเงินควรพิจารณาโอกาสในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพและราคาถูกลงกว่าเดิม

3. บล็อกเชนจะปฏิวัติโลกการเงินยุคใหม่ (Blockchain will shake things up) ระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมและเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ หรือ Blockchain จะกลายเป็นส่วนที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบธุรกิจการเงินและนำไปสู่โลกการเงินยุคใหม่ จากศักยภาพของ Blockchain ที่สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนการให้บริการและเพิ่มความโปร่งใสให้กับการทำธุรกรรม

4. ดิจิทัลจะกลายเป็นกระแสหลัก (Digital becomes mainstream) ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคจะขยายวงกว้างไปอย่างหลากหลายมากขึ้น ครอบคลุมไปถึงการลงทุนผ่านหุ่นยนต์ที่ปรึกษา ระบบควบคุมการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภค รวมถึงระบบการชำระเงินและธุรกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ 

5. ระบบลูกค้าอัจฉริยะจะเป็นตัวกำหนดการเติบโตของรายได้และการทำกำไรที่สำคัญที่สุด (Customer intelligence will be the most important predictor of revenue growth and profitability) สถาบันการเงินต้องนำเทคโนโลยีการประเมินผลข้อมูลขั้นสูงมาวิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ซื้อ และทำให้สามารถคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตได้ง่ายขึ้น

6. ความก้าวหน้าของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Robotics and artificial intelligence) จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ “การกลับขึ้นฝั่ง” (Re-shoring) หรือการกลับเข้ามาลงทุนภายในประเทศ ในอนาคตวิทยาการของหุ่นยนต์และความสามารถของระบบปัญญาประดิษฐ์จะมาแทนที่แรงงานมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ส่งผลให้บริษัทที่เคยย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า สามารถย้ายกลับเข้ามาลงทุนในประเทศของตนได้

7. ระบบคลาวด์แบบสาธารณะจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานต้นแบบ (The public cloud will become the dominant infrastructure model) ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวงการอุตสาหกรรมบริการทางการเงินจะหันมาใช้ระบบคลาวด์แบบสาธารณะ หรือ ระบบคลาวด์ที่เปิดให้แต่ละองค์กรเช่าใช้บริการโดยอาจจะจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปีแก่ผู้ให้บริการ (Third-Party) ซึ่งจะเป็นผู้ติดตั้งทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อเก็บรักษามากขึ้น

8. ภัยไซเบอร์จะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของสถาบันการเงิน (Cyber-security will be one of the top risks facing financial institutions) การรักษาความปลอดภัยโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญที่สถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแลจะต้องคำนึงถึงในอนาคต เป็นความท้าทายของหน่วยงานเหล่านี้ในสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า

 

9. เอเชียจะเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของโลก (Asia will emerge as a key centre of technology-driven innovation) ในปี 2563 ทวีปเอเชียจะมีสัดส่วนจำนวน “ชนชั้นกลาง” มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป นอกจากนี้ ในอีก 30 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรโลกถึง 1,800 ล้านคนจะย้ายถิ่นฐานเข้ามาในทวีปแอฟริกาและเอเชียมากขึ้น ซึ่งนี่จะกลายเป็นโอกาสสำคัญทางธุรกิจของสถาบันการเงินในภูมิภาคเหล่านี้

10. หน่วยงานกำกับดูแลจะหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (Regulators will turn to technology, too) หน่วยงานกำกับดูแลจะหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมากขึ้น เพื่อดูแลและคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทต่างๆ ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบการควบคุมความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ เพื่อให้การทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับเหล่านี้เป็นไปอย่างราบรื่น

PwC แนะนำว่า หากพิจารณาจาก 10 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกธุรกิจบริการทางการเงินที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า ภารกิจเร่งด่วนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน คือ การอัพเดตรูปแบบการดำเนินการของระบบไอทีองค์กรและลดความซ้ำซ้อนของระบบไอทีแบบดั้งเดิม (Legacy System) เพื่อบริหารต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ

ผู้บริหารจะต้องมองหานวัตกรรมในการพัฒนาและปรับปรุงระบบไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่แผนกไอทีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายและสนับสนุนการการทำงานของระบบเดิมต่อไป นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ (Chief Information Officers) และผู้บริหารระดับสูง ต้องเร่งคิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เพื่อรับมือกับคู่แข่ง และตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง โดยต้องสรรหาบุคลากรซึ่งมีทักษะสูงที่รู้ทันและตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ได้ และต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งบรรจุแผนรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต่อจากนี้ไป ธุรกิจจะต้องไม่รับมือกับความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์เมื่อเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีมาตรการเชิงรุกในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยร้ายนี้ด้วย 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

เชื่อป่ะ? ว่าดัชนีชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าจะดูได้จากแค่ตัวเลข GDP แต่ยังมีอีกดัชนีที่ใช้วัดความมั่งคั่งของเศรษฐกิจได้ คือ ปริมาณการดูดดื่มความหวาน หรืออัตราการบริโภคน้ำตาลนั่นเอง เข้าทำนองว่าเมื่อฐานะเริ่มขยับยกระดับดีขึ้น แบบว่า “มีอันจะกิน“ หรือ “อยู่ดี กินดี“ ก็มักจะมีอัตราการบริโภคน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะอาหารและเครื่องดื่มในประเทศเศรษฐกิจเติบโต มักผ่านกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปรุงเสริมเพิ่มรสด้วยน้ำตาลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

 

น้ำตาล นอกจากจะแทนรสชาติของความหวาน ยังแทนคุณค่าของความสุขและสนุกสนาน ผ่านอาหารและเครื่องดื่มนานาชนิด แต่ความสุขเมื่อมากระจุกจนล้นเหลือ กลายเป็นความล้นเกินของน้ำตาลในร่างกาย เป็นปัญหาของโรคภัยที่ติดตามมา ไม่ต้องดูอื่นไกล ประเทศไทยของเราเอง อ้างอิงข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยล่าสุด ปรากฏว่าคนไทย 88 คนจาก 100 คนมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ ค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคเบาหวาน ไขมันอุดตัน และการบริโภคเกิน ต้องใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาล สูงถึง 2% ของจีดีพี ในปีที่ผ่านมา

 

สังคมไทยในวันนี้ที่เริ่มขยับเข้าสู่ สังคม ส.ว. หรือ สังคมสูงวัย (Aging society) อาหารและเครื่องดื่มในตลาด เริ่มมีกระแสการขยับปรับสูตรเพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น อาหารออร์แกนิก, เครื่องดื่มสุขภาพ, ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และอื่นๆ

 

อย่างไรก็ดี นางเอกในฉากของอาหารและเครื่องดื่มทุกวันนี้ น้ำตาลและความหวาน คือตัวละครที่ไม่อาจจะขาดไปได้ “น้ำตาลที่ปลอดภัย” และต้องไร้ซึ่งโอกาสก่อโรคภัยที่จะติดตามมา คือ หนึ่งในนวัตกรรมความหวานซึ่งเริ่มเป็นที่ต้องการและจำเป็น 

 

 

 

Rare Sugar หนึ่งในนวัตกรรมความหวานที่เป็นการผลิตน้ำตาลจากพืช ผัก และผลไม้ที่ให้ความหวานโดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด สรรค์สร้างมาสำหรับคนสูงวัย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลอดจนถึงสาวๆ ที่ระมัดระวังเรื่องการกินน้ำตาล กรณีตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่มีนวัตกรรมล้ำๆ อยู่มากหลาย ก็มีสถาบันวิจัยและพัฒนาโครงการ Rare sugar มาหลายสิบปี เช่น Kagawa rare sugar project เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ที่ค้นคว้าและพัฒนาเพื่อผลิตน้ำตาลที่ปลอดภัย ซึ่งบางโครงการวิจัย Rare sugar ของญี่ปุ่นเคยมีความร่วมมือกับ นักวิจัยของไทยในอดีต เช่น กับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ด้วง พุธศุกร์ ในโครงการวิจัยน้ำตาลจากหญ้าหวาน เป็นต้น 

 

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลสุขภาพของคนไทย “ยังเห็นกันในรูปแบบแนวบ้านๆ”  และยังน้อยที่มีการใช้นวัตกรรมและความรู้ด้านการวิจัย และไบโอเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา เพื่อยกระดับมาตรฐานและอธิบายคุณค่าของสรรพคุณอย่างเป็นสถิติเพื่อการยอมรับ ทั้งที่ไทยเรามีวัตถุดิบตั้งต้นของผลไม้และพืชผัก ที่สามารถนำมาใช้ในการสกัดและผลิต rare sugar ได้หลายชนิด เช่น มะพร้าว ผลตาล หญ้าหวาน และอื่นๆ

 

กรณีน้ำตาลสกัดจากหญ้าหวาน ในปัจจุบันที่มีการจำหน่ายในร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ด้วยขนาดของตลาดที่ยังสดใหม่และต่อต้นทุนการผลิต ราคาของน้ำตาลหญ้าหวานที่ตั้งขายทุกวันนี้ เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท เมื่อเทียบกับราคาและขนาดของแพ็กเกจจิง ต้องถือว่ายังเป็นราคาที่สูงอยู่มากกับการบริโภคในขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดีเมื่อตลาดของความต้องการเริ่มจะเติบโต ย่อมหมายถึงโอกาสของการซัพพลายที่น่าจะโตติดตามไปด้วย และนั่นน่าจะเป็นสีสันอันหลากหลายของ “ความหวานที่ปลอดภัย” และคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับเกษตรกรและ SMAEs ของไทยในอนาคต

 

 เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click