×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว โครงการ Smart Business Transformation เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยให้สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัว ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการ ผู้เชี่ยวชาญจากเดอะ ฟินแล็บ[1] จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถระบุปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ให้ความรู้และแนวทางการทำงานในการปรับตัว และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรมใหม่ หลังจากนั้น จะมีการจับคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง การขนส่ง ค้าปลีก ค้าส่งและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.thefinlab.com/thailand โดยเปิดรับสมัครวันนี้ถึงเดือนเมษายน 2562 โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งมีแผนขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคและมีผลประกอบการตั้งแต่ 25 – 1,000 ล้านบาท

ยกระดับ SMEs ไทยคว้าโอกาสในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 รัฐบาลไทยต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ภายในปี2568 จากร้อยละ 36 ในปี2561 โดยข้อมูลในปี2561พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบ 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของบริษัททั้งหมดในประเทศ จึงนับว่าเอสเอ็มอีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ที่จัดทำโดย เดอะ ฟินแล็บ[2] ระบุว่า บรรดาเอสเอ็มอีในประเทศไทยต่างระบุว่า กลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต 2 อันดับแรกคือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ54) และการใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะให้ความสำคัญกับการใช้โซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการออนไลน์ แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 67) และความซับซ้อนของการใช้งานโซลูชั่นในการดำเนินงาน (ร้อยละ 44)

เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหมดความกังวล โครงการ Smart Business Transformation  จึงมุ่งเน้นที่การช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถรุกสู่ตลาดใหม่และใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารยูโอบี (ไทย) จะสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบเอสเอ็มอีในการขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค และสนับสนุนเรื่องเงินทุนกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในโครงการที่มีการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านการเงินมาเป็นระยะเวลาหลายปี เรารู้สึกยินดีที่ได้สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้สามารถปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มตัว  ผ่านโครงการ Smart Business Transformation โดยได้รับความร่วมมือจาก เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อเอสเอ็มอีเหล่านี้สามารถปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัวและสามารถแข่งขันในตลาดได้แล้ว พวกเขาจะต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเติบโต ซึ่งยูโอบีเอง จะให้การสนับสนุนแผนธุรกิจและการเงินของลูกค้าเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียต่อไป”

เดอะ ฟินแล็บ ได้ดำเนินโครงการบ่มเพาะสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในสิงคโปร์มาแล้ว 3 รุ่น  โดยครั้งนี้ จะเป็นผู้ดำเนินโครงการสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดย นาย เฟลิกซ์ ตัน กรรมการผู้จัดการ เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “ภารกิจของ เดอะ ฟินแล็บ คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วภูมิภาคอาเซียน ปรับตัวและขยายธุรกิจในยุคดิจิทัลได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นทั้งตลาดในประเทศและในภูมิภาค เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เปิดตัวโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทย และรอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับบรรดาผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัล ในการดำเนินโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบี (ไทย) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เราจึงเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยได้แน่นอน”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการในการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่และจะเป็นผู้จัดกิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในวิธีการสมัครเพื่อขอรับทุนดังกล่าว โดยนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราเล็งเห็นว่าเอสเอ็มอีจำนวนมากต้องการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล เรายินดีต้อนรับพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันทั้งธนาคารยูโอบี (ไทย)  และ เดอะ ฟินแล็บ เพื่อมาร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation จะได้รับคำแนะนำในการค้นหาโซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมกับความจำเป็นทางธุรกิจ และสมัครขอรับเงินทุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการใช้งานโซลูชันเหล่านั้น”

ด้าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนบริการให้คำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล แก่ผู้ประกอบการอสเอ็มอีที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยจะเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP (Innovation Technology Assistance Programme) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “สวทช ได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม( Innovation Driven Enterprises ขึ้นในปีนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่เอสเอ็มอีมาแล้วมากกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 1,800 ราย ในปีนี้  โดยเป็นการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการทำงาน การออกใบรับรอง การเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ผ่าน ITAP โดย ITAPจะให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคและการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของเหล่าผู้ประกอบการ โดยโครงการ Smart Business Tranformation นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในเมืองไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการทำงานไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรดาผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับการสนุบสนุนจากเราทันที เรารอคอยที่จะได้ร่วมงานกับธนาคารยูโอบี (ไทย) เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัลเต็มตัวเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย  จะดูแลในเรื่องนโยบายและแผนงานใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า “เอสเอ็มอีคือกุญแจสำคัญของการสร้างสรรค์อนาคตเศรษฐกิจไทย ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงออกนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและ เพิ่มกำลังการผลิต โดยทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สวทช. ในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบี (ไทย) และ เดอะ ฟินแล็บ โดยเราได้ทำงานร่วมกันเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เชิงลึกจากโครงการนี้ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับนโยบายอันจะเอื้อต่อการส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย”


[1] ฟินแล็บ คือโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) ที่ดำเนินการภายใต้ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB)

[2] ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ จัดทำในระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวนกว่า 800 ราย ในประเทศไทย

Kinesis Money ระบบเงินตราดิจิทัลที่อิงสินทรัพย์จริง ประกาศสร้างความร่วมมือกับ TicketSocket แพลตฟอร์มการจองตั๋ว ลงทะเบียน และจัดอีเวนต์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ สกุลเงินของ Kinesis จะถูกรวมเป็นตัวเลือกการชำระเงินบนแพลตฟอร์ม TicketSocket ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แก่ทีมกีฬาอาชีพ บริษัททัวร์ และสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ทั่วโลก ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถซื้อตั๋วเข้าร่วมกิจกรรมระดับโลกได้โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis

สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis ผสานเสถียรภาพของทองคำและโลหะเงิน เข้ากับประสิทธิภาพของบล็อกเชนในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยน สกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้อิงกับทองคำแท่งจริงในอัตราส่วน 1:1 และได้รับการเก็บรักษาในตู้นิรภัยทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สกุลเงินดังกล่าวสามารถถือครองหรือถ่ายโอนระหว่างกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Kinesis ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนที่ปลอดภัย ทั้งยังสามารถใช้จ่ายอย่างง่ายดายโดยใช้บัตรเดบิตได้ทุกที่ที่รับบัตร Visa/Mastercard

ความร่วมมือระหว่าง Kinesis และ TicketSocket ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำศักยภาพในการใช้งานสกุลเงินของ Kinesis ในโลกแห่งความจริง

คุณ Ryan Case ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ของ Kinesis Money กล่าวว่า "ผู้ถือครองสกุลเงินดิจิทัลอิงทองคำหรือโลหะเงิน ซึ่งมีเสถียรภาพและไม่เผชิญความเสี่ยงเหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลที่อิงเงินกระดาษ สามารถใช้สกุลเงินเหล่านี้ในโลกแห่งความจริงได้มากขึ้น เช่น ใช้ซื้อตั๋วเพื่อชมการแสดงหรือการแข่งขันกีฬา เป็นต้น"

"ผู้ถือครองสกุลเงินของ Kinesis ไม่เพียงได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้สกุลเงินดังกล่าวในการทำธุรกรรมในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย"

คุณ Kai M. Blache ประธานของ TicketSocket กล่าวว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ร่วมมือกับ Kinesis เพื่อนำเสนอตัวเลือกการชำระเงินรูปแบบใหม่ให้แก่ลูกค้าของเรา และเราจะนำ Kinesis มาสนับสนุนประสบการณ์ในการจองตั๋วและการจัดอีเวนต์ตามความต้องการของลูกค้า"

คุณ Ryan สรุปว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis ในโลกแห่งความจริง การที่ TicketSocket สนับสนุน Kinesis เป็นทางเลือกในการชำระเงิน ทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายสูงสุดในการปฏิวัติระบบเงินตราที่เราใช้กันในปัจจุบัน

 

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจของโลก มีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าการอยู่นิ่งเฉยไม่ปรับตัวเองให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทำให้มีหลายองค์กรที่ต้องล้มหายตายจากไป แม้จะเคยเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกก็ตาม

ภาคการศึกษาก็เช่นกัน การปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับที่คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เตรียมตัวพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มีทักษะสามารถออกไปทำงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้

รศ.ดร.อำนวย แสงโนรี คณบดี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถาบันการศึกษา ที่ต้องผลิตคนที่มีความเท่าทันต่อโลกสามารถนำความรู้ที่ได้จากสถาบันการศึกษาไปปรับใช้กับโลกธุรกิจในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นยุคนี้ได้

“สังเกตว่าเด็กรุ่นใหม่จะไม่มานั่งเรียนแบบเดิม มาเปิดตำรา นั่งฟังอาจารย์นานๆ ไม่โต้ตอบ เด็กสมัยใหม่เขาจะพยายามมองประโยชน์ที่เขามาเรียนในห้องเรียน การมาเรียนรู้ เพื่อรู้เรื่องและเข้าใจไม่เพียงพอแล้ว เขาต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรกับเขาได้บ้าง โดยเฉพาะเอาไปทำงานได้อย่างไร เป็นคำถามที่เราจะเจอเสมอในชั้นเรียน คณะของเราจึงพยายามปรับตัวเอง”

การปรับตัวของคณะการบริหารและจัดการจึงทำพร้อมกันในหลายด้านพร้อมกัน

เศรษฐศาสตร์ สำหรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

จากจุดเน้นของคณะการบริหารและจัดการที่เริ่มต้นจากการอยู่ในสถาบันที่มีชื่อเสียงในเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเปิดหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจที่เน้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐที่กำลังต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทิศทางดังกล่าว หลังจากดูแนวโน้มความต้องการใช้งานบัณฑิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมแล้ว คณะจึงเน้นการเรียนการสอนเพิ่มอีกศาสตร์หนึ่งคือ “เศรษฐศาสตร์” ซึ่งอยู่ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

“เราไม่ได้เปิดเพื่อมุ่งเน้นเป็นเชิงทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ แต่จะเป็นเชิงที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ และจะเน้นอุตสาหกรรม นวัตกรรม พวกนี้เขาสามารถคิดวิเคราะห์วางแผนเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการโดยนำนวัตกรรมมาใช้เป็นประโยชน์ได้ คือลักษณะธุรกิจแค่บริหารจัดการภายใต้นวัตกรรมไม่พอ จะต้องวางแผนด้วย ไม่อย่างนั้นจะแข่งขันไม่ได้ คนที่จะมาทำเรื่องเหล่านี้ได้ดี น่าจะเป็นคนที่วิเคราะห์เรื่องรายละเอียดตัวเลข เศรษฐกิจ ผลกระทบในนโยบายหรือทางเลือกต่างๆ ได้ดี ในภาวะที่เราต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดในธุรกิจให้แข่งขันได้ จะต้องมีการใช้สิ่งเหล่านี้มาช่วยออกแบบ”

เศรษฐศาสตร์ประยุกต์เป็นการขยายตัวของคณะการบริหารและจัดการ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถเข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัล โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่โลกกำลังให้ความสนใจ

รศ.ดร.อำนวยเพิ่มเติมว่า ในด้านการบริหารจัดการก็ต้องเปลี่ยนแปลง เช่นจากที่เคยซื้อขายกันด้วยเงินสดเปลี่ยนสู่สังคมไร้เงินสด แนวโน้มผู้ใช้บริการที่สาขาธนาคารลดลง รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่จะซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์ ธุรกิจและภาครัฐก็ต้องปรับตัวรองรับเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ หากไม่สามารถวางแผนได้ดีโดยเกาะกระแสเหล่านี้ไปได้ ก็จะเสียโอกาสในทางธุรกิจไป

 

ฝึกนักวิเคราะห์

คณบดีคณะการบริหารและจัดการมองว่า ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมหรือธุรกิจเดิมๆ ไม่ได้ถูกฝึกให้คิดในกรอบของบริบทความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงยังเลือกทำงานแบบเดิมๆ อยู่ แต่บัณฑิตที่คณะจะผลิตออกสู่ตลาดแรงงานจะถูกฝึกให้มีวิธีมองปัญหา วิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

“เราให้เขาเรียนเรื่องเทคโนโลยีที่อยู่ในธุรกิจ ดังนั้นเวลาเขาทำงานเขาจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพวกนี้มากกว่า และสามารถเอาข้อมูลที่มีในระบบต่างๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่า”

รูปแบบการเรียนการสอนและหลักสูตรจึงเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนักคิดนักวิเคราะห์ เช่น ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์มีการเรียนเรื่อง Big Data และ Data Anylysis

“เขาจะเอาเรื่องพวกนี้มาเป็นประโยชน์ในการเอาทฤษฎีไปจับ และพวกนี้เวลาคิดอะไรคิดเป็นตัวเลข จะทำให้การทำงานของเขา มีพื้นฐานภายใต้การตัดสินใจที่มีข้อมูลที่ดี เราฝึกให้เขาเป็นอย่างนั้น เราไม่ได้สอนให้เขาพอเห็นตัวเลขแล้วเอามาใช้ประโยชน์ไม่เป็น หรือเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลเขาจะมองออกว่า ลักษณะแบบนี้เขามีทฤษฎีที่จะเอาไปจับเพื่อมองทางออกอย่างไรดี”

สำหรับภาควิชาบริหารธุรกิจ ก็จะผลิตคนที่ออกไปช่วยแก้ปัญหาด้านการบริหารโดยใช้ความได้เปรียบเรื่องความเข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีของตนเองไปช่วยในการทำธุรกิจเมื่อพบปัญหาในกระบวนการทำงาน ก็สามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค เป็นเรื่องการแข่งขันที่ธุรกิจต้องมองว่าตัวเองจะดึงอะไรเข้ามาเพื่อประโยชน์ของการแข่งขันของตัวเองหรือบริการให้ลูกค้า

รศ.ดร.อำนวยอธิบายว่า ในบางครั้งนักบริหารหากไม่มีความคุ้นเคยกับเรื่องเทคโนโลยีก็จะมองไม่ออกว่าปัญหาที่มีควรใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดมาจัดการ แต่หากมีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีมาบ้าง ก็จะพอมองออก หรือได้เห็นตัวอย่างจากที่คนอื่นทำ จึงสามารถทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น เพราะทุกวันนี้การทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้มุมมองเหล่านี้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คนที่มุมมองแบบนี้จะเข้าใจธุรกิจที่ตัวเองอยู่ว่าควรนำอะไรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

“เพราะเราทำเรื่องพวกนี้มานานแล้ว นักศึกษาของเราเขาจะสามารถประยุกต์ เช่น ข้อมูลในคอมพิวเตอร์มาเป็นประโยชน์ แล้วเราสอนในเชิงปริมาณ เราไม่ได้สอนเชิงทฤษฎีพื้นฐานอย่างเดียว ซอฟต์แวร์เป็น เอาตัวเลขจากฐานข้อมูลไปเขียนโปรแกรม เอาหลักไปวิเคราะห์ เขาชินกับเรื่องพวกนี้ ขณะเดียวกันเราก็มีเรื่องเทคโนโลยีให้เขาเรียนรู้ สภาพแวดล้อมเขาก็อยู่กับเรื่องเทคโนโลยี และส่วนใหญ่เด็กของเราจะออกไปในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม อย่างน้อยเขาสามารถไปช่วยเรื่องการนำนวัตกรรมใหม่ๆ วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ที่ไม่เคยวิเคราะห์เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์”

หลักสูตรที่คล่องตัว

การจัดการเรียนการสอนในยุคใหม่นอกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีการอภิปราย ฝึกปฏิบัติทฤษฎีที่เรียนไป การให้งานนักศึกษาจะต้องออกมานำเสนอหน้าชั้นทั้งในแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว รวมถึงการทำรายงานส่งเป็นการฝึกบุคลิกภาพและทักษะการเขียนและนำเสนอ

ที่คณะการบริหารและจัดการยังออกแบบหลักสูตรให้มีความคล่องตัว เพราะตระหนักดีว่ามีเรื่องที่ต้องเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถเปิดหัวข้อวิชาใหม่ได้ทันที ดร.อำนวยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“เป็นการออกแบบหลักสูตรที่ปรับตัวได้ มีอย่างนี้อยู่ 2-3 วิชา เรียกว่า หัวข้อพิเศษ (Special Topics) เพื่อรองรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง อย่างปีนี้เรื่องบล็อกเชน บิตคอยน์ต้องเชิญอาจารย์มาบรรยายแล้ว คุณจะจบออกไปต้องรู้เรื่องนี้แล้ว ต้องเข้าใจ ต้องหาคนที่ทำให้เขาเห็นด้วย เพราะของเรา จะให้เขาได้เห็นตัวอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ทฤษฎี อาจจะต้องให้เขาปฏิบัติ ให้เขาลองเข้าไปหรือเห็นตัวอย่างที่คนอื่นทำ ปีนี้เราเตรียมแล้วว่าต่อไปเรื่องพวกนี้เด็กจะต้องเรียน เรื่องเอไอ บิ๊กเดต้า เราต้องให้เขามีพื้นความรู้ที่ดี เราโชคดีที่เราอยู่สถาบันนี้ เราหาคนไม่ยาก นี่คือข้อได้เปรียบของเรา อย่างบิ๊กเดต้าเราจะเชิญอาจารย์มาสอน เราก็ขอจากคณะวิทยาศาสตร์ เพราะเราจับมือร่วมมือกันหมด เราไม่ได้เป็นสถาบันที่ใหญ่มากเกินไป เด็กเราไม่รู้เรื่องนี้ดีเราเตรียมเด็กโดยการใช้ความร่วมมือระหว่างคณะในสถาบัน ไม่ต้องไปควานหาข้างนอก เพราะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเราก็เด่นอยู่แล้ว ก็ตรงกันพอดี หรืออย่างเศรษฐศาสตร์จะไปร่วมกับคณิตศาสตร์สถิติคอมพิวเตอร์ จะจับมือกันทำเศรษฐศาสตร์ในแนวที่เป็นลักษณะของการใช้สถิติใช้ตัวเลขวิเคราะห์”

 

เติมความเป็นนานาชาติ

เพิ่มเติมจากจุดเด่นของคณะการบริหารและจัดการ ที่ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ในสาขาที่เรียน มีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมต่างๆ อีกสิ่งหนึ่งที่คณบดีมุ่งเน้นคือเรื่องความเป็นนานาชาติ หลังจากที่คณะเปิดภาควิชาบริหารธุรกิจนานาชาติมาแล้วระยะหนึ่ง

รศ.ดร.อำนวยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สำหรับคนที่จะออกไปทำงานในโลกต่อไปเรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะช่วยทำให้บัณฑิตของคณะสามารถออกไปทำงานได้ในอีกระดับหนึ่ง โดยขณะนี้กำลังมองต่อไปว่าจะเปิดเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนานาชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ทางภาษาให้กับนักศึกษาในหลักสูตรปกติ

“ถ้าเขาเก่งภาษาอย่างอังกฤษจะทำงานได้มากขึ้น เดี๋ยวนี้บริษัทข้ามชาติมีจำนวนมาก แล้วก็ไม่ใช่แค่พูด เขียน อ่าน ในศาสตร์ตัวเอง ภาษาอังกฤษก็ต้องรู้เรื่องด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนแบบใช้ภาษาก็จะช่วยให้เด็กมีโอกาสที่ดีในการทำงานและการไปเรียนต่ออีกมาก นี่คืออีกจุดที่เราพยายามสร้าง”

เพิ่มประสบการณ์

รศ.ดร.อำนวยกล่าวถึงอีกเรื่องที่คณะกำลังทำ คือการเสริมประสบการณ์ให้กับผู้เรียน ด้วยการพาไปดูงานไม่ว่าจะเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจ ว่าการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เห็นได้เรียนรู้สิ่งใหม่จากสถานที่จริง นอกจากเป็นการเพิ่มประสบการณ์ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพการทำงาน สามารถ
นำสิ่งต่างๆ ที่ได้เจอมาเป็นประสบการณ์ในการทำงานต่อไป

“ได้ในเรื่องภาพที่เขาเจอ หลายๆ อุตสาหกรรมให้เขาดู แล้วเขาก็จะปะติดปะต่อเขาเอง เราหวังให้เขาได้เห็นอะไร เด็กบริหารเห็นแต่ร้านค้าธุรกิจไม่พอ เพราะเราบริหารอุตสาหกรรม เขาจะได้เห็นว่า โลกเปลี่ยน ใช้แขนกล หุ่นยนต์ แล้วเรามีเครือข่ายอยู่แล้วทำไมไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ผมจะพยายามให้เขาทำเพราะไม่ได้ลงทุนอะไรมาก แต่เด็กก็ชอบ ได้ไป ได้คุยกัน เหมือนคนไปต่างประเทศกลับมาก็คิดโน่นคิดนี่คิดนั่น เพราะเห็นอะไรมา ก็แบบเดียวกัน ผมมองว่า ถ้าเด็กไม่เคยเห็นอะไรเลย จะไปจินตนาการก็ไม่รู้เรื่องเพราะไม่เคยเห็น”

 การจัดการศึกษาของคณะการบริหารและจัดการที่กำลังปรับปรุงในรอบนี้ จึงเป็นการเสริมจุดแข็งของคณะในการผลิตนักบริหารที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นจุดเด่นของสถาบันด้วยการเสริมศาสตร์และทักษะที่จะช่วยให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากมหาวิทยาลัยไปมีส่วนช่วยให้องค์กรพัฒนาแข่งขันได้ในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นในอัตราเร่งเช่นทุกวันนี้

การจะไปพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังกล่าว ต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะพอสมควรดังที่ รศ.ดร.อำนวยบอกไว้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์กับบริหาร เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ เพื่อนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ แปลผล และวางแนวทางแก้ไข จึงต้องใช้เวลาและประสบการณ์ในการเลือกใช้ความรู้และข้อมูลต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ตามบริบทที่มีอยู่ 

 

 บริษัทบล็อกเชนไฮบริด XinFin  แพลตฟอร์มบล็อกเชนไฮบริดแบบเปิด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนระยะยาว เครือข่ายสาธารณูปโภค และนักพัฒนาเทคโนโลยี เรียกร้องให้ธนาคารกลาง ธนาคารเพื่อการพัฒนา กองทุนบำเหน็จบำนาญ และบริษัทประกัน ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือเพื่ออุดช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 15 ล้านล้านดอลลาร์  

 โดย Joseph Appalsamy ประธานฝ่ายการพัฒนาธุรกิจของ XinFin  กล่าวถึงประโยชน์ของบล็อกเชนที่มีต่อกลุ่มความร่วมมือว่า มีนักลงทุนกลุ่ม Global Public Investors (GPI) เพียง 25% ที่ลงทุนในโครงการขั้นต้น เนื่องจากเหตุผลด้านความเสี่ยง แล้วบล็อกเชนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการระดมทุน ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม ช่วยให้กระบวนการต่างๆเป็นไปอย่างอัตโนมัติและราบรื่น ช่วยเตรียมข้อมูลประสิทธิภาพของสินทรัพย์แบบเรียลไทม์ รวมถึงจะช่วยในการแลกเปลี่ยนได้หรือไม่ คำตอบคือได้อย่างแน่นอน

 XinFin ยืนยันว่า การแปลงสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพด้วยเทคโนโลยี tokenization จะเปิดทางให้สถาบันต่างๆ สามารถนำสินเชื่อบางส่วนที่ปลอดความเสี่ยงออกมาขายให้กับบริษัทประกันที่ต้องการอัตราผลตอบแทนระดับสาธารณูปโภค

 XinFin เสนอกับบรรดานักลงทุนกลุ่ม GPI ว่า แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ แต่ก็ควรมีการนำมาใช้ในกลุ่มความร่วมมือ เพื่อสร้างมาตรฐานของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในฐานะสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (IAC) โดยใช้เทคโนโลยี tokenization ในสภาพแวดล้อมแบบ sandbox จึงเรียกโครงการนี้ว่า “Project Sandbox” ทั้งนี้ GPI ที่สนใจเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tradefinex.org/publicv/partnership และมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกนี้

 Atul Khekade ประธานฝ่ายการพัฒนาระบบนิเวศ กล่าวว่า การนำโทเคน ERC-721 และ DLT มาใช้กับ XDC Protocol เปิดทางให้นักลงทุนสถาบันสามารถระดมทุนเพื่อเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่บางส่วน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มสภาพคล่อง นักลงทุนรายใหญ่สามารถกระจายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายๆโครงการ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยเองก็สามารถลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอาจเคยเป็นโครงการที่ใหญ่เกินกว่ากำลังของตนเอง

 กลุ่มความร่วมมือ TradeFinex IAC มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมสร้างมาตรฐานให้กับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายและกรอบการทำงานที่เหมาะสม

ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ XinFin ได้หารือกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ XinFin ให้ความสนใจ เพื่อพิสูจน์แนวคิดบล็อกเชนแบบ Proof of stake ที่แสดงให้เห็นว่า การทำเหมืองขุดเงินดิจิทัลแบบใช้พลังงานสูงไม่จำเป็นสำหรับบล็อกเชนไฮบริดระดับองค์กรอีกต่อไป ส่งผลให้กลายเป็น "กรีนบล็อกเชน"

จักรพงศ์ ธรรมวิเศษศรี ประธานกรรมการบริหาร ควินท์ เรล์ม ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการควินทิลเลียน เบิร์ก (QUiNTILLION BURGH) เมืองอัจฉริยะท่ามกลางธรรมชาติ เพื่อผู้อยู่อาศัยวัยเกษียณจากทั่วโลก ที่รองรับการใช้ควินท์ คอยน์ กล่าวว่า “ในระหว่างที่ทิศทางของวงการ
คริปโตเคอเรนซีเมืองไทยกำลังเดินหน้าไปด้วยดี และอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจกำลังขอใบอนุญาต ทางเราอาศัยจังหวะนี้ออกโรดโชว์ในต่างประเทศ พบว่ามีชาวต่างชาติให้ความสนใจโครงการของเราเป็นจำนวนมาก ในทางเดียวกันก็ทำให้เกิดความต้องการซื้อขายเหรียญมากเกินความคาดหมาย เราจึงตัดสินใจนำควินท์ คอยน์ ขึ้นเทรดบนกระดานต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกที่กำลังให้ความสนใจซื้อขายเหรียญของเรา”

โดยควินท์ เรล์ม บี.วี. พา ควินท์ คอยน์ (QUiNT COIN) ขึ้นเทรดวันแรก 8 สิงหาคม 2561 บน EXRATES  กระดานซื้อขายอันดับที่ 35 ของโลก ที่ลิสต์เหรียญมากกว่า 120 สกุล

ควินท์ คอยน์ คือการระดมทุนในรูปแบบไอซีโอ (ICO: Initial Coin Offering) จำนวน 1,250 ล้านโทเคน เสนอแก่ผู้ที่สนใจจากทั่วโลก ในราคาเหรียญละ 0.024 ดอลลาร์สหรัฐ/โทเคน หรือประมาณ  0.75 บาท/โทเคน ซึ่งสิ้นสุดการเสนอขายไปเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา รวมยอด ได้ทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 661 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของโครงการควินทิลเลียน เบิร์ก

จักรพงศ์บอกว่า ควินทิลเลียน เบิร์ก เป็นโครงการที่สามารถใช้ควินท์ คอยน์ ซื้อสิทธิในการอยู่อาศัย หรือใช้จ่ายภายในโครงการได้ นับได้ว่าเป็นโครงการแห่งอนาคตที่คนทั่วโลกกำลังมองหา  จึงมั่นใจเป็นอย่างมากว่าราคาซื้อขายของควินท์ คอยน์ จะสามารถรักษาระดับได้ดี ทั้งจากผู้ต้องการอยู่อาศัยจริงและจากผู้มองเห็นโอกาสในการลงทุน

โดยโครงการควินทิลเลียน เบิร์ก (QUiNTILLION BURGH) จะสร้างบนพื้นที่ขนาดประมาณ 3,200 ไร่ หรือประมาณ 4.8 ตารางกิโลเมตร ใน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ มีการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะมาบริหารจัดการโครงการอย่างเต็มศักยภาพในทุกส่วน โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสำรวจแล้วว่าเป็นความต้องการหลักของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายวัยเกษียณจากทั่วโลกที่ปรารถนาจะเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองไทย

Page 4 of 9
X

Right Click

No right click