การขับเคลื่อนด้านวิชาการและงานวิจัย ถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ผู้เรียนก้าวเท่าทันกับโลกที่มีการ เปลี่ยนผ่านแทบทุกวินาที ผศ.ดร. สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะการบริหารและจัดการ หรือ FAM สถาบัน เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด การค้นคว้าและประยุกต์สิ่งใหม่ๆ เข้ากับการเรียน ในทุกระดับของหลักสูตรบริหารธุรกิจใน ทศวรรษหน้า

ในส่วนงานวิชาการ หน้าที่หลักคือดูแล การเรียนการสอนของทุกหลักสูตร ทุกระดับ ของคณะ ตั้งแต่ปริญญาตรี โทและเอก รวมถึง หลักสูตรภาษาไทยและนานาชาติ เพื่อให้ได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถทาง ปัญญาและพฤติกรรม นำไปสู่การพัฒนา วิชาชีพและสร้างความสำเร็จในอนาคตได้

นอกจากภาระหน้าที่หลักในการดูแลทุกกระบวนการจัดการเรียน การสอนของทุกหลักสูตรที่สังกัดในคณะการบริหารและจัดการแล้ว  ยังทำงานร่วมกับส่วนงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อทำความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตาม ยุทธศาสตร์ด้านวิชาการของคณะฯ ซึ่งส่วนงานวิชาการจะนำ ข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำจุดแข็งของความ ร่วมมือเหล่านั้นประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต่างๆ ของคณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับของข้อตกลงความร่วมมือว่าเป็นลักษณะใด เช่น ต้องการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหรือระหว่างหลักสูตร  เราก็จะหาจุดแข็งและจุดอ่อนของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมาเสริมสร้าง และพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตรและงานวิจัยควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งคุณประโยชน์หลักที่ได้จากการทำความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือนักศึกษา จะได้เรียนรู้ศาสตร์ที่แตกต่างกันมากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้และ มองเห็นศาสตร์ใหม่ๆ ในระดับโลก ก่อให้เกิดการเรียนการสอน และการวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการด้านการ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับศาสตร์การบริหารและจัดการ เชิงธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบการดำเนินงานของ ภาคธุรกิจ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความ พร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ ครอบคลุมและทันสมัย ผนวกเข้าศาสตร์การบริหารธุรกิจในแขนง ต่างๆ ซึ่งการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของคณะ จะเข้ามา ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้แก่ทุกกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล เช่น Thailand 4.0 ++ การยกระดับ ความสามารถให้แก่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้หากการ พัฒนาหลักสูตรยังไม่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน คณะจึงสร้างหลักสูตรสายพันธุ์ใหม่ ขึ้นมา ได้แก่

  1. Entrepreneurial and Science-Based Degree เป็นแบบMultidisciplinary Curriculum บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับด้าน บริหารธุรกิจ เช่น ศาสตร์ด้านวิศวกรรมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ากับการบริหารและจัดการ เพื่อธุรกิจที่อยู่รอดอย่างยั่งยืน
  2. Work-Based Degree เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนและทำงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก องค์การขนาดใหญ่ในระดับประเทศ เช่น BETAGO Thai Bev Central หรือ CPAll เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ จากสถานที่ทำงานจริง นำไปสู่การประกอบอาชีพได้อย่างม ประสิทธิภาพในอนาคต
  3. Area-Based Degree เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่หรือกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น ประชารัฐรักสามัคคี ห้องเรียนบริหารธุรกิจ CHINESE ห้องเรียน ASEAN ห้องเรียน CLMV เป็นต้น
  4. Global-Based Sandwich Degree เป็นการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น University of Oxford หรือ University of Nevada เป็นต้น
  5. Online Degree ซึ่งจะเริ่มต้นจากหลักสูตรระยะสั้นหรือการอบรม เพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคนี้ เช่น Digital Marketing หรือ Tech Entrepreneurship เป็นต้น

ส่วนการส่งเสริมด้านงานวิจัย ผศ.ดร.สิงหะ อธิบายว่าการ วิจัย เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของอาจารย์ไม่น้อยกว่าการสอน เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆ มักจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทำวิจัย หากไม่มีงานวิจัย ทฤษฎี แบบจำลอง องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะ ไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นการค้นคว้าและนำองค์ความรู้ใหม่เหล่า นี้มาใช้ จึงเป็นการสร้างความทันสมัยให้แก่การถ่ายทอดความรู้ จากอาจารย์ไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นการนำการวิจัยที่ทันสมัยมา ประกอบและเสริมการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ แข็งแรง เห็นภาพว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร จึงเป็น สาเหตุเพราะเหตุใดอาจารย์จึงต้องมีการทำวิจัยควบคู่กับการ จัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ

รทำวิจัยจะทำให้เรได้เรียนรู้กระบวนกรแก้ปัญห ที่ถูกต้อง สรถนำไปสู่ผลลัพธ์ของกรวิจัยที่ชัดเจนมกขึ้น เพระถ้แก้ปัญหผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ออกมก็ผิดพลดไปด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะมีหลักสูตรที่พูดถึงการทำ วิทยานิพนธ์ ซึ่งคือการทำวิจัยอย่างหนึ่งที่ต้องมีหัวข้อชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้มาจะนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่หรือการประยุกต์ ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การส่งเสริมงานวิจัยของคณะจึงมี 2 มิติ คือ 1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยให้สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น 2. เพื่อสนับสนุน คณาจารย์ของคณะ ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในเวที ระดับนานาชาติ ทั้งนี้ประโยชน์เสริมคืออาจารย์จะได้นำเอา ทักษะการทำวิจัยและนำผลลัพธ์จากการวิจัยไปเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการสอนนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการ แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เช่น หากกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีใน ธุรกิจ เป้าหมายโดยทั่วไปคือการทุ่นแรงและสร้างความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่โจทย์ใหม่ คือพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้หากประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ตรงกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันได้ อย่างเชี่ยวชาญ ธุรกิจก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงยิ่งขึ้น

ซึ่งการนำเอางานวิจัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงนั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่าง หาก ประเทศไทยเป็นหน่วยที่ใช้ศึกษา การดำเนินการวิจัยจำเป็นต้อง มีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อค้นคว้าและพิสูจน์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยมีปัญหาใดบ้าง จากนั้นจึงศึกษาผลงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา ว่าสามารถนำไปสู่การ แก้ปัญหาในรูปแบบใดได้บ้าง ยังคงเหลือปัญหาหรือจุดอ่อนใด ที่ยังไม่ถูกนำมาแก้ไข ซึ่งปัญหาของประเทศไทยเปรียบเสมือน เป็นกล่องใบหนึ่งที่มีหลายด้าน อาจมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว ยังคงเหลืออีกหลายด้านที่รอการแก้ไข ดังนั้นกระบวนการค้นคว้าวิจัยจะทำให้ภาพรวมของกล่องใบดังกล่าว มีภาพลักษณ์และคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม

อีกแง่หนึ่งในการกลั่นกรองปัญหาเพื่อทำงานวิจัย อาจพิจารณา จากนโยบายระดับโลก ระดับชาติ หรือระดับหน่วยงานเพิ่มเติมได ้ อาทิ หากมองประเด็นของ Thailand 4.0 จะทำให้เห็นภาพว่า ต้องมีการขับเคลื่อนในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น  และเมื่อมาผนวกกับความเชี่ยวชาญของคณะในฐานะหน่วยงาน การศึกษา จึงตั้งเป้าเป็น Education 4.0 ที่เน้นการพัฒนาบุคลากร ในประเทศชาติให้มีศักยภาพและอยู่รอดในโลกปัจจุบันให้ได้ มากยิ่งขึ้น จึงส่งผ่านมาที่ Curriculum 4.0 เพื่อสร้างหลักสูตรที่ เสริมสร้างความสามารถของบุคลากรในชาติได้ หากขณะนี้เรา อยู่ที่ 3.0 แล้ว จึงพิจารณาต่อว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะนำเราไปถึง 4.0 ได้ นี่คือความสำคัญของงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างและ นำไปใช้แก้ไขให้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมและส่วนงานต่างๆ พร้อมกับการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีเป้าหมาย บูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่ยุค Society 5.0 อีกด้วย

คุณลักษณะหลักของการวิจัยด้านการบริหารและจัดการ  ซึ่งถือเป็นการวิจัยในมิติของสังคมศาสตร์ คือการนำเอาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและตอบสนองความต้องการของ สังคมได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเหตุให้คณะมีนโยบายส่งเสริม การทำวิจัยอย่างเข้มข้น เช่น การสนับสนุนคณาจารย์ให้มีโอกาส พัฒนาตนเอง การสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งจัดแบ่งเงื่อนไขเป็นกรณีไป  กล่าวคือหากเป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย คณะมีการสนับสนุนทุนวิจัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแน่นอนว่าคณะก็คาดหวัง ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงเช่นกัน ส่วนคณาจารย์ใหม่ คณะมีนโยบาย สนับสนุนการวิจัยแบบเป็นขั้นบันไดอย่างเหมาะสม รวมถึงมี อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำและเพิ่มมุมมองอย่างรอบด้าน นำไปสู่การดำเนินงานวิจัยที่รวดเร็วและราบรื่นได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยัง ผลักดันให้คณาจารย์ของคณะ ขอรับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก โดยการสนับสนุนของคณะจะเกิดขึ้นในทุกกระบวนการภายใต้ ชื่อ สจล. อย่างเต็มภาคภูมิ รวมถึงมีการบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผลงานวิจัย รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายให้ครอบคลุม บริบทของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเหล่าน้ี เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสถาบัน นอกจากนี้ ผศ.ดร.สิงหะ ยังมี แนวทางในการผลักดันเพื่อนำเอางานวิจัยที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปสู่ ระดับสากล (World Ranking) ตามนโยบายของสถาบันและ คณะอีกด้วย

ขณะนี้สถาบันมีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก  หมายความว่าคนทั่วโลกต้องมองเห็นผลงานของเรามากยิ่งขึ้น แนวทางในการสนับสนุนของคณะ คือการจัดหาเวทีที่เหมาะสม เพื่อใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการของทั้งคณาจารย์และนักศึกษา  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเผยแพร่จะเกิดขึ้นในสองมิติ คือ การได้มี โอกาสนำเสนอและเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นให้แก่บุคคลภายนอก ได้รับทราบ นำมาซึ่งการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากมุมมองของ ผู้อื่น เพื่อให้นักวิจัยได้นำคำแนะนำเหล่านั้นไปปรับปรุงพัฒนา แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น แน่นอน ว่าการดำเนินการเช่นนี้ จะเสมือนเป็นการสร้างผลงานวิจัยขึ้นมา อีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไปอีกด้วย นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งส่วนการพัฒนางานวิจัย และการจัดการเรียนการสอนตามมาได้อีกด้วย

“อีกแนวทางหนึ่ง คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารซึ่ง อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อผู้อ่าน ได้พบเห็นผลงานวิจัย จะทราบว่าเราเป็นใคร พัฒนาผลงานวิจัย ในรูปแบบใดบ้าง รวมถึงหากเป็นลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกัน  ผู้อ่านสามารถนำไปอ้างอิงหรือพัฒนาต่อยอดได้ การดำเนินงาน เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน เปิดโอกาส ให้คนทั่วโลกพูดถึงคณะ (FAM) และสถาบัน (KMITL) ของเรา มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกได้  การดำเนินงานลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตาม นโยบายของท่านคณบดี คือ FAM to FAMOUS ที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปใช้สร้างประโยชน์หรือสร้างชิ้นงานใหม่ให้แก่ธุรกิจได (Innovation and Licensing) ไม่เป็นเพียง Invention Ideas ยิ่งกว่านั้น หากนำกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัยประยุกต์เข้ากับการ ดำเนินงานในภาคธุรกิจแล้ว จะยิ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ  รวมถึงสามารถยกระดับและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป”


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

ในฐานะ รองคณบดี ฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศ ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน คือ ผู้ที่มาให้คำอธิบายเรื่องการใช้เครือข่าย ต่างประเทศที่คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีอยู่เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับคณะนี้

ผศ.ดร.สุทธิ เล่าถึงกิจการวิเทศสัมพันธ์ ของคณะว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ  ขาเข้า (Inbound) และขาออก (Outbound)  โดยวิวัฒนาการของกิจกรรมด้านนี้ในยุคแรก จะเริ่มจากขาออก คือการเตรียมนักศึกษา ให้พร้อมสำหรับการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ด้วยการเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับ นักศึกษา และเริ่มส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยน เยี่ยมเยียนสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ที่คณะมีสายสัมพันธ์อยู่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แต่ความท้าทายของ FAM คือการทำให้ขาเข้าเพิ่มปริมาณขึ้น จะทำอย่างไรให้นักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น  จะทำอย่างไรให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น เหล่านี้ คือโจทย์สำคัญสำหรับงานนี้ เพราะการมีนักศึกษาและ อาจารย์จากต่างประเทศเข้ามาจะช่วยให้นักศึกษาไทยได้มี โอกาสฝึกฝนความเป็นเจ้าบ้านที่ดี นอกเหนือจากเรื่องความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ของคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน

ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าเป้าหมายของงานนี้ไม่ใช่แค่ปริมาณ  แต่ยังต้องการความหลากหลายของเชื้อชาติที่จะเข้ามา จากเดิม ที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนของคณะจะมาจากยุโรปและญี่ปุ่นที่ ส่วนใหญ่เข้ามาเรียนครั้งละ 1 เทอม ก็อยากจะเพิ่มสัดส่วน ของนักศึกษาจากประเทศในอาเซียนที่อาจจะเลือกมาเรียนที่ FAM ตลอดทั้งหลักสูตร 4 ปีให้มีจำนวนมากขึ้น

ที่ผ่านมาเริ่มมีคณะจากต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยม FAM  อยู่เป็นระยะ เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน  รองคณบดีฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศเล่าตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยเทมาเสกโพลิเทคนิคของสิงคโปร์ มาเยี่ยมคณะเมื่อ เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเป็นคณะนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน พร้อมอาจารย์ 3 คน ที่ขอมาเรียนบทเรียน ในประเทศไทย เพื่อเปิดโลกทัศน์และมองหาโอกาสใหม่ๆ

“ผมจัดเป็นเลคเชอร์ชื่อว่า “Technological Development and Thailand 4.0” บอกว่า เทคโนโลยีคือส่วนของคุณ คุณเก่งอยู่แล้ว แต่ไทยแลนด์ 4.0 คือ เทคโนโลยีของคุณแต่โอกาสของเรา สรุปงานเลคเชอร์ครั้งนั้นเราชี้ให้เห็นว่า เราเป็นประเทศที่มิกซ์ทุกอย่าง 1.0 2.0 เราก็มีเรามีหมดเลย แต่ส่วนที่เราอยากเติมและเป็นโอกาสให้เขาคือ ส่วนของ 4.0 สุดท้ายผมก็บอกเขาว่าให้กลับไปทำการบ้านว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นในไทยแลนด์ 4.0 จะมีอะไรบ้าง และโอกาสที่เขาสามารถเข้ามามีบทบาทคืออะไรบ้าง ให้ไปสรุปกับอาจารย์ของเขา”

ตามตารางที่เตรียมไว้ยังมีมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ อีกหลายแห่งที่ขอเข้ามาเยี่ยมชมคณะการบริหารและจัดการ  ทั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีบางส่วนก็กำลังมองหาสถานที่ สำหรับเรียนต่อ อาทิ จากประเทศจีน เมียนมา ซึ่งจะมีส่วนช่วย ให้ขาเข้าด้านความรู้ของ FAM มีความคึกคักมากขึ้น

อีกทางหนึ่ง ในระดับผู้สอนอาจารย์จากต่างประเทศก็มี เข้ามาที่คณะทั้งเพื่อทำงานวิจัยและมาร่วมบรรยาย อีกทั้ง สจล. ยังมีกองทุน Academic Melting Pot ซึ่งเป็นทุนที่ให้กับอาจารย์ จากภายนอกให้เข้ามาหลอมรวมกับอาจารย์ภายในสถาบันก็จะ มีส่วนช่วยทำให้งานด้านนี้พัฒนาได้เร็วขึ้น

งานสำคัญอีกงานหนึ่งที่จะช่วยให้งานด้านต่างประเทศ เดินหน้า คือการนำคณะเข้าสู่การจัดอันดับ โดย ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าหากได้รับการจัดอันดับที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยเพิ่มการรับรู้ ในระดับนานาชาติให้กับ FAM โดยได้เลือกจะเข้าร่วมการ จัดอันดับของ Eduniversal ที่รวบรวมโรงเรียนธุรกิจที่มีมาตรฐาน ทั่วโลกกว่า 154 ประเทศ มาจัดอันดับ 1-1,000

ในนั้นยังมีการแบ่งใครคือ Top 200 Top 400 Top 600 Top 800 จนถึง Top1,000 ก็เป็นความตั้งใจให้เรามีชื่อในนั้น ถ้าเราทำได้ ผมคิดว่าจะเป็นการสร้างที่ยืนให้เรา จากผลงานในอดีตหรือศักยภาพนอนาคต เพียงพอที่จะบอกว่าเราคือใคร

อีกภารกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือการจัดการประชุม วิชาการนานาชาติ เพื่อสร้างความคึกคักให้กับงานวิชาการ ของคณะ จากเดิมที่สถานที่คับแคบไม่เหมาะกับการจัดงานใหญ่ เช่นนี้ เมื่อคณะกำลังจะมีตึกใหม่ ที่มีห้องประชุมและสถานที่ และบรรยากาศที่เหมาะกับการจัดการประชุมสัมมนาก็จะทำให้ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการทำได้สะดวกมากขึ้น

ผศ.ดร.สุทธิ บอกว่าจะทำให้ FAM เป็นแหล่งรวมทาง ปัญญาในระดับนานาชาติ ที่ไม่ใช่แค่มีนักศึกษามาเรียน แต่เป็น Knowledge Think Tank เป็นการ Inbound Knowledge และ จะต่อยอดไปถึงการที่สจล. มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับ EEC ก็จะทำให้กลายเป็น Thailand 4.0 Business School ที่ผู้ที่มา ร่วมกิจกรรมสามารถใช้เวลาไม่นานก็เดินทางไปดูงานที่ EEC ต่อได้

เป้าหมายของงานด้านต่างประเทศที่วางแผนไว้ทั้งหมด  ก็เพื่อยกระดับ FAM ให้ก้าวสู่ความเป็นสถาบันระดับนานาชาติ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านบริหารจัดการและมีความ เข้าใจในเทคโนโลยี ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้  ให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศไทยและโลกได้

สอนให้รู้ว่าโลกเปลี่ยน

ทางด้านวิชาการในยุค Disruptive สิ่งที่เราเห็นกันอยู่คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในรูปแบบการใช้ชีวิต สินค้า และบริการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยผลพวงจากเทคโนโลยีต่างๆ  ที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ FAM เตรียมไว้รองรับ โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือการสอนให้ผู้เรียนรู้ว่าโลก กำลังเปลี่ยน เป็นหลักในการออกแบบหลักสูตรที่ ผศ.ดร.สุทธิ อธิบาย

เขายกตัวอย่างวิชา Fundamental of Managing Technology ซึ่งเป็นวิชาในหลักสูตรนานาชาติว่า หากดูตาม ตำราเรียนก็จะพบว่าเป็นวิชาสำหรับนักศึกษาปริญญาโทแต่ก็มี การนำมาย่อยเพื่อใช้เรียนและสอนในระดับปริญญาตรี เราใส่ วิชานี้ลงในปี 1 เทอม 1 วิชานี้ทำให้เขาได้คุ้นเคยและ ได้เห็นภาพ เท่าทัน และพร้อมจะเห็นว่า Disruptive World จะไปในทิศทางไหน ถ้าเราไม่มีกลุ่มวิชาตรงนี้  คำนี้ก็จะเป็นเหมือนคำเท่ๆ ที่พูดไปอย่างนั้นแต่ไม่รู้ว่า คืออะไร แต่การเรียนที่นี่ ทำให้เขาเห็น วิชาอย่างนี้ เป็นเสมือนการสร้างความรู้สึกร่วม ว่าโลกเปลี่ยน ทำให้มุมมองผู้เรียนเปลี่ยน

โดยภายในวิชาจะให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นหุ่นยนต์ ยานยนต์ไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นแล้ว และมองเห็นว่าจะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ ได้อย่างไร

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและต่างประเทศอธิบายต่อว่า  ในฐานะนักบริหารเราเรียนเพื่อให้กล้าใช้ จะใช้งานได้อย่างไร เห็น AI เป็นเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า ก็พัฒนาสิ่งเหล่านั้นมาใช้บรรยากาศการเรียนเรื่อง AI ในคลาสจะไม่ได้ตื่นเต้นว่าผมจะไม่มีงานทำ จะเป็นแบบว่า ผมจะเป็นนาย AI มากกว่า และเราก็ไม่ได้กลัว หุ่นยนต์หรืออะไร มองเหมือนเป็นลูกจ้างคนหนึ่ง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นนี้ถูกสอดแทรกเข้าไป ในแก่นแกนของหลักสูตรของคณะ รวมถึงวิชาเลือกที่เกี่ยวข้อง กับทางอุตสาหกรรม เช่น วิชา Industrial Design วิชา Industrial Production System เป็นต้น ประกอบกับการที่คณะอยู่ใน  สจล. ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอยู่แล้ว ทำให้ผู้เรียนของ FAM มีเพื่อนฝูงต่างคณะที่สามารถร่วมทำ กิจกรรมด้วยกัน ผสมผสานระหว่างความเป็นนักบริหารกับ นักวิทยาศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง

ซึ่งคำว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้หมายถึงแค่อะไรที่เป็นดิจิทัล เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา  เช่น ในการเรียนการสอนอาจจะมีการตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้เครื่องสำอางไทยมีจุดเด่นในระดับโลกได้ ซึ่งที่สุดผู้เรียนก็ต้อง ย้อนกลับไปที่การวิจัย เพื่อหาจุดเด่นที่จะมาทำผลิตภัณฑ์นั้น

ผศ.ดร.สุทธิ ปิดท้ายว่า ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้ จากนี้ไปเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องในห้องแล็ปหรือโรงงานอีกแล้ว โรงเรียนธุรกิจในสถาบันเทคโนโลยีก็ควรจะเติบโตไปใน ทิศทางนั้น โดยเห็นตัวอย่างได้จากโรงเรียนธุรกิจชั้นนำ เช่น  MIT SLOAN ที่อยู่ในสถาบัน MIT ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การที่ FAM อยู่ใน สจล.ที่มี ความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน จึงมี สภาพแวดล้อมที่จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน


 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

 

From FAM to FAMOUS

March 13, 2019

“We develop people, people develop country.” ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวภายหลังได้รับ รางวัล Thailand Leadership Award 2019 ซึ่งจัดขึ้นโดย World Federal Education

ประโยคนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการ บริหารจัดการการศึกษาเพื่อสร้างคน เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาชาติต่อไปของ คณบดีคนใหม่ของ FAM ที่มีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ด้านการศึกษาจนได้รับรางวัล ดังกล่าวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ดร.สุดาพรเปิดเผยแนวนโยบายในการบริหารสถาบันในช่วงที่รับตำแหน่งว่า  มีนโยบายที่ทำให้จำกันง่ายๆ คือ ‘FAM to FAMOUS’ จากชื่อคณะในภาษาอังกฤษ  Faculty of Administration and Management (FAM) ก็จะต่อยอดให้ไปสู่คำว่า Famous ที่แปลว่ามีชื่อเสียง โดยเป็นตัวย่อของนโยบายที่ตั้งเป้าไว้คือ

Family คณะจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพา สจล. สู่มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดอันดับในระดับอาเซียนและภูมิภาค

Ability การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะฝีมือ ประกอบด้วยนวัตกรรม

Management โดยคณะจะจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ เน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการการเรียนการสอน การบริหารงาน การตัดสินใจดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Outstanding คือจะเป็นคณะการบริหารที่ได้รับการจัดอันดับ เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ของอาเซียน และของโลก

Universal คือการก้าวสู่ความเป็นสากล มีความเป็นนานาชาติ (International Outlook) ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ หลักสูตร อาจารย์ บุคลากร สิ่งแวดล้อมต่างๆ

หลักสูตรสายพันธุ์ใหม่

การจะทำให้แนวนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดร.สุดาพร เตรียมใช้ประสบการณ์ ที่เคยทำงานในภาคเอกชนมาก่อนเข้ามาทำงานด้านการศึกษาเพื่อผสมผสานจุดเด่น ของ FAM เพื่อสร้างผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

คณบดี FAM มองว่า การบริหารงานในยุคปัจจุบันต้องเน้นเรื่อง Disruption  เพราะการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกันกับ ทางสถาบันก็ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่  โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักศึกษาเป็นหลัก

หากมองการบริหารการศึกษาในแง่ มุมของการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของ สถาบันการศึกษานั่นก็คือหลักสูตร งานวิจัย  สิทธิบัตรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ใน ส่วนของหลักสูตรซึ่งเรียกว่า หลักสูตร สยพันธุ์ใหม่’ แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

Entrepreneurial & Science-based Degree เป็นการผสมผสาน ความโดดเด่นของ สจล. ในด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับการบริหาร ด้วยหลักสูตรที่เปิดช่องให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ แล้วมาเรียนต่อ ในคณะบริหารธุรกิจ หรือหลักสูตร 4+1 เพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบไปมีความรู้ทั้ง ด้านการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็น อันดับแรก และมีโครงการขยายไปยัง คณะอื่นๆ ต่อไป

Corporate-based Degree เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาค อุตสาหกรรม เช่น การจัดหลักสูตรร่วมกับ ผู้ประกอบการเครือเบทาโกร และไทยเบฟ  เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ ตรงตามความต้องการของภาค อุตสาหกรรม

Area-based Degree จะเป็นการจัดการศึกษาโดย คำนึงถึงพื้นที่ของผู้เรียน ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและพื้นที่ที่คณะจะ ขยายตัวไป เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน จีน รวมถึงการมีห้องเรียน ที่เชื่อมโยงกับศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ  ผ่านโครงการห้องเรียน 108 โลกจริง 108 อรหันต์ ที่จะให้ศิษย์เก่า มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเรื่องราวการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ให้กับนักศึกษารุ่นน้อง

Global-based Sandwich Degree จะเป็นการ ทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ เช่น MIT, Oxford, King College และ LSE ผ่านรูปแบบการเรียนที่ ประเทศไทยส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศ

Training Online Degree ที่มีการวางเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม  คือผู้เรียนในหลักสูตรปกติ ที่จะมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ออนไลน์ผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน กลุ่มที่สองคือ  ผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่ต้องการเรียน วิชาต่างๆ และหากต้องการวุฒิก็สามารถนำเครดิตที่ได้มา ลงเทียบกับคณะได้ในอนาคต และกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ต้องการ มา Upskill และ Reskill (เพิ่มและปรับเปลี่ยนทักษะ) ที่จะเปิดเป็น คอร์สให้กับผู้สนใจทั้งศิษย์เก่าและผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ มาเรียนคอร์สตามที่สนใจ ซึ่งเมื่อเรียนแล้วก็สามารถเทียบโอน รายวิชาได้หากต้องการจะได้วุฒิเพิ่มเติมเช่นกัน

FAM Impact

ดร.สุดาพรระบุว่าภายใต้แผนบริหารงานที่วางไว ต้องการให้ส่งผลกระทบใน 4 ด้านประกอบด้วย

  1. Academic คือเรื่องวิชาการวิจัย ที่อาจารย์และบุคลากรจะต้องมีการวิจัยเพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการ ยอมรับ รวมถึงการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เพื่อใช้ก่อประโยชน์ได้จริง
  2. Educational คือมีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรที่มีคุณภาพ สามารถสรรหา อาจารย์ที่มีคุณภาพ มีห้องเรียน อาคารสถานที่รวม ถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  3. Social ทางด้านสังคม โดยคณะจะคิดจะทำกิจกรรมใดเพื่อสังคมจะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวก ต่อสังคมและชุมชน เช่นงานวิจัยที่ทำขึ้นมาจะต้องมี ส่วนช่วยทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชน มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสุขมากขึ้น
  4. Industry ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน ซึ่งจะต้องได้ผลผลิตที่ดีของคณะไปใช้งาน หมายถึง บัณฑิตผู้มีคุณภาพ สามารถเข้าไปทำงานได้ทันที เป็นคนดีคนเก่งขององค์กรบริษัท และสามารถตอบ โจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจได้

พัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ

แผนงานบริหารจัดการของ ดร.สุดาพร ที่ใช้แนวทาง การตลาดมาปรับใช้กับการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ยังมี ปัจจัยอื่นๆ ที่จะมาช่วยกันเสริมสร้างให้ FAM to FAMOUS โดย ปัจจัยต่อมาคือสถานที่ Place ที่ไม่ได้จำกัดแค่ตัวอาคารแต่ยัง รวมถึงโลกออนไลน์ที่ต้องมีแพลตฟอร์มที่ทันสมัยสามารถนำส่ง ความรู้ให้กับนักศึกษาได้ ขณะเดียวกันก็ทุ่มงบประมาณกว่า  100 ล้านบาทปรับปรุงอาคาร 5 ชั้น เพื่อจัดทำห้องเรียนที่ ทันสมัย มีพื้นที่ Co Working Space และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ รองรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่

เรื่องต่อมา คือการทำโปรโมชันเพื่อรองรับการแข่งขันใน ระดับโลกของสถาบันการศึกษา ดังนั้นจะเน้นการประชาสัมพันธ์ ในส่วนของนานาชาติเพิ่มขึ้น เพื่อสื่อสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำ โรดโชว์ จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย รวมถึงการมี ช่องทางในต่างประเทศเพื่อสื่อสารข้อมูลของคณะ

ทางด้านบุคลากร คณาจารย์คือผู้ที่มีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียน ดังนั้น FAM จะเน้นการเฟ้นหาอาจารย์ที่มีศักยภาพ มีแนวคิดเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะขยาย จำนวนอาจารย์ต่างชาติ เพื่อมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติโดย ตั้งเป้าจะให้อาจารย์ต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักสอนในหลักสูตร 90-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2562 นี้

ในส่วนของบุคลากรที่ให้การสนับสนุนก็มีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดย จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ทุกสัปดาห์และหากบุคลากรคนใดสามารถสอบผ่าน IELTS หรือ TOEFL ได้ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมบุคลากรรองรับคณาจารย์และ นักศึกษาจากต่างประเทศที่จะมีจำนวนมากขึ้นตามแผนงานที่วางไว้

และปัจจัยที่สำคัญอีกด้าน คือการสร้างเครือข่าย ทั้งภายในสถาบันที่มีทั้งหมด 16 คณะ  ซึ่งจะต้องผสมผสานศาสตร์ด้านต่างๆ ผ่านการทำหลักสูตรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ต้อง มีความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยจะเชื่อมโยงกับทั้งชุมชน อุตสาหกรรมทุกขนาด ผ่านการบริการทางวิชาการ และ การช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรม

FAM กับการช่วยเหลือชุมชน

ตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชุมชน ของ FAM ที่ทำโดย ดร.สุดาพร คือ ชุมชนชาวนาที่ จ.สระบุรี ซึ่งมี ความต้องการจะกลับมาปลูกข้าวพันธุ์ เจ๊กเชย” ซึ่งเป็นข้าวของ จังหวัดสระบุรีที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีไฟเบอร์สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคแป้ง จำนวนมาก

“ก็ไปรณรงค์ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์เจ๊กเชยเกิดขึ้น แล้วก็ให้ความรู้ ในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่อง การปลูกข้าว เมื่อได้ผลผลิตออกมา  ชาวนาก็บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะ แบ่งข้าวไว้ที่บ้านบางส่วนแล้วสีข้าว กินเอง หรือสีขายเชิงพาณิชย์ได้ อาจารย์ช่วยทำเครื่องสีให้หน่อย ได้ไหม ก็จัดงบประมาณโครงการ บริการวิชาการเพื่อสังคมออกมา ส่วนหนึ่งและพัฒนาออกแบบ สรรหาวิศวกรมาประจำโครงการ ทำตามการออกแบบของอาจารย์ และชาวนาที่ต้องการใช้ คือ ต้องการเครื่องสีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้คนเดียว  เคลื่อนย้ายได้สะดวก เครื่องสีนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ช่อง มีแกลบ ข้าว รำ และมีข้าวท่อน เราพัฒนา จนได้ตามความต้องการของ ชาวนา เป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง และเราก็ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรก็เป็น งานวิจัยที่สามารถต่อยอดจด อนุสิทธิบัตรได้ ผลิตขึ้นมาใช้งาน ได้จริงและสามารถต่อยอดขาย เชิงพาณิชย์ได้”

เมื่อได้ผลผลิตออกมา ทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นข้าว ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงมีตลาดที่รองรับอย่างเช่นโรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ที่มาหาซื้อ ข้าวชนิดนี้ไปบริโภค

โครงการนี้เป็นตัวอย่างการจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทานที่ FAM เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนพัฒนาในเรื่องที่ชุมชนสนใจ และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นทั้งแก่ชุมชนและสถาบันต่อมา

FAM for the next generation to ASEAN and to the world

คณะการบริหารและจัดการเพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกล สู่อาเซียนและโลก’ คือวิสัยทัศน์ของ ดร.สุดาพร โดยมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตผู้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือ การมีมุมมอง ความเข้าใจในเรื่องธุรกิจที่ผสมผสานกับเรื่องวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

เพระใครก็รู้ว่พระจอมเกล้ดกระบังเป็นผู้นำ ด้นเทคโนโลยี ท่นอธิกรก็ให้นำมผสมผสนกับบริหร จึงต้องผลักดันให้มีหลักสูตร 4+1 กับคณะวิศวกรรมศสตร์ วิศวะต้องมี Mindset เรื่องบริหรธุรกิจเทคโนโลยี

ตัวอย่างที่ ดร.สุดาพร ยกขึ้นมา คือเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ว่าจะมาแย่งงานของมนุษย์ แต่ สำหรับนักศึกษาของ FAM แล้ว เรสร้งคนให้ประดิษฐ์ AI เรสร้งคนให้ทำงนร่วมกับ AI นี่คืออัตลักษณ์ของ สจล. เพระฉะนั้นสิ่งนี้ คือสิ่งที่ สจล. ทำอยู่แล้ว วิธีกรประเมินผล และวัดผลในรยวิชออนไลน์ อรย์ก็บอกว่ใช้ระบบ Computer Base AI Base สิ่งเหล่?นี้ก็ต้องคิดมกคน  คนของเรจะมีควมรู้ในกรจัดกร AI และยิ่งถ้เขา จบปริญญตรีสใดก็ได้มเรียนต่อยอดบริหรปริญญโท  ปริญญเอก ก็จะได้อัตลักษณ์นี้ออกไป เพระรยวิชต่งๆ ในหลักสูตรจะสะท้อนให้เรเกิดสติปัญญที่จะสั่งสม เรื่องเหล่นี้ไปควบคู่กับกรบริหร”

การสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับโลกของ FAM จึงต้องเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ ตามที่คณบดีได้อธิบายมาข้างต้น ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มเติมด้วยการสร้างสมความเป็นนานาชาติให้กับสถาบัน เพิ่มขึ้นด้วยการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติปี และ 2-3 ครั้ง โดยตั้งใจจะเชิญนักวิชาการจากทั่วโลกมาเพื่อ ยกระดับมาตรฐานความเป็นนานาชาติของคณะ พร้อมกันก็มี แผนจะพัฒนาวารสารวิชาการภาษาอังกฤษขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ

เพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของ คณะ ให้สามารถถูกบรรจุเข้าไปอยู่ใน ฐานข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ ในระดับโลกได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยัน คุณภาพมาตรฐานของบัณฑิต มหาบัณฑิต  และคณาจารย์ของคณะ

แผนงานทั้งหมดจะผลักดันโดย โครงสร้างการบริหารจัดการที่ใช้รูปแบบ เดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ แบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 สาย สายหนึ่งคือ สายวิชาการ และอีกทางคือ สายบริหารจัดการ ที่ดูแลเรื่องแผนงาน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ

จะต้องเริ่มจกตรงนี้ก่อน แล้ว ข้อมูลก็จะไปในทิศทงเดียวกัน” ดร.สุดาพรกล่าวและอธิบายต่อว่า เรต้องจัดกองทัพเรให้ดี อรย์ก็ จะคุยแค่สองคนให้นโยบยไป ต่งประเทศเขทำแบบนี้ถึงไม่มีภพงน ช้า ไม่มีควมขัดแย้ง และข้อมูลอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนกระชับ ก่อนจะทำ แบบนี้ได้ ควมคิดอรย์ต้องเปลี่ยน แต่ก่อนผู้บริหรอยู่ลอยๆ ทำตมที่ คณบดีบอก แต่ตอนนี้ ท่นต้องทำตัว เหมือนเป็นคณบดีอีกคน เหมือนเรมี คณบดี 3 คน อรย์ก็ทำงนในเชิง พัฒนได้มกขึ้น ไม่ต้องมนั่งคิดเรื่อง ยิบย่อยเป็นลักษณะงนที่มหวิทยลัย ชั้นนำเขทำ คนทำงนมกขึ้นและ ทำงนเป็นทีม ทีมเวิร์กสำคัญมก  ทุกคนคือทีม ไม่ได้เก่งคนเดียว” ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อเป้าหมายดังที่ ดร.สุดาพร กล่าวในงานรับรางวัล Thailand Leadership Award 2019 ว่า

We develop people, people develop country


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เตรียมพร้อมจัดงาน NIDA International Business Conference 2019 ขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ช่วงวันที่ 1 และ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ชั้น 9 – 10 อาคารบุญชนะ อัตถากร นิด้า ภายในงานเป็นการผนึกกำลังระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและภาคส่วนธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ภายใต้ธีมที่กำลังเป็นที่จับตามองของปีนี้คือ “Transforming Business to the Future”

รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยถึงจุดประสงค์ของการจัด Conference ในครั้งนี้ว่านอกเหนือไปจากรวบรวมและนำเสนอผลงานวิจัยโดยนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเรื่องใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ ยังมีประเด็นว่าในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจเกิดขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Blockchain, AI (Artificial intelligence) หรือ IoT (Internet of Things) จนหลายๆ ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีการ Transform จึงอยากจะให้มีการศึกษาเรื่องผลกระทบต่อการเข้ามาเทคโนโลยีว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจในด้านไหน และอะไรคือสิ่งที่ธุรกิจจะต้องจัดเตรียมแผนและกลยุทธ์รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สำหรับปีนี้ NIDA International Business Conference 2019 นี้ มีการัดงานขึ้น 2 วัน

Day 1 : พันเอก ดร ดนุวสิน เผยว่า “สำหรับวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็นวันแรกของ Conference จะมีการจัด Cases Development Workshop โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์และนักวิจัยที่ต้องการเขียนเคส หรือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในองค์กรจริง สามารถนำเอาความรู้ คอนเซ็ปต์หรือทฤษฎีที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ได้ ที่ผ่านมาคณะบริหารธุรกิจในประเทศไทยหลายแห่งมักจะใช้เคสจากอเมริกาและยุโรปในการเรียนการสอน ปัญหาคือ เคสเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในบริบทประเทศไทย ดังนั้น นิด้า โดยเฉพาะคณะบริหารธุรกิจ เราต้องการเป็นผู้นำในการพัฒนาเคสที่เป็นบริบทของประเทศไทย ทางคณะมีการสนับสนุนให้อาจารย์เขียนเคสหรือกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการสอนและการวิจัยมาเป็นระยะเวลาเกือบสิบปีทำให้เรามีจำนวนเคสค่อนข้างเยอะ

เราต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในเรื่องการเขียนกรณีศึกษาเพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือนักวิจัยผู้ที่สนใจสามารถมีความรู้ความเข้าใจหากเขาต้องมีการพัฒนากรณีศึกษาที่จะนำมาใช้ในการสอน เขาจะเขียนอย่างไร มีประเด็นอะไรที่เขาต้องให้ความสำคัญ รูปแบบของเคสที่ดีเป็นอย่างไร รูปแบบการเขียน Teaching note เทคนิคในการเขียนเคส การเลือกเคส รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้เคส สำหรับวิทยากรและโค้ชใน workshop ครั้งนี้ก็จะมีผมเป็นวิทยากร ซึ่งผมเองมีประสบการณ์ในการตีพิมพ์เคสมากกว่า 12 เคสซึ่งส่วนใหญ่เป็นเคสของบริษัทหรือองค์กรในประเทศไทย และอีท่านหนึ่งที่เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ Lee Meng Foon รองประธาน The Case Writers’ Association of Malaysia (CWAM) เป็นสมาคมใหญ่ที่สนับสนุนการพัฒนาเคสแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย

Workshop ในช่วงบ่ายจะเป็นการจัดให้ผู้ที่เข้าอบรม พัฒนา Case Outline โดยจะมี Coach 5 ท่าน เป็นอาจารย์คณะบริหารธุรกิจที่เคยตีพิมพ์เคสไปแล้วไม่ว่าจะเป็นท่านอาจารย์จงสวัสดิ์ อาจารย์ปิยะ อาจารย์นิตยา อาจารย์กฤษฎา และเรายังได้รับเกียรติจาก Dr. Hillol Bala อาจารย์จาก Indiana University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำ Ranking ในอันดับ TOP 20 ของโลก และท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเขียนเคสจะมาเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาร่วมด้วย หลายคนเข้าใจว่าเคสจะใช้เฉพาะในคณะบริหารธุรกิจ แต่จริงๆ แล้วผมมองว่าจะเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมเศรษฐกิจหรือการท่องเที่ยว ก็สามารถที่จะใช้เคสเป็นมาเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงสถานการณ์จริง ปัญหาจริงในโลกธุรกิจ ในชุมชนว่าเป็นอย่างไร และสามารถ Apply ความรู้ผสมทฤษฎีที่เรียนมาไปใช้ในการแก้ปัญหาได้

Day II : สำหรับวันที่ 2 มีนาคม จะเป็นงานสัมมนา NIDA International Business Conference ในวันนั้นงานจะเริ่มต้นเปิดในช่วงเช้าโดยท่านอธิการบดีนิด้าซึ่งจะกล่าวเรื่องของการปรับตัวของมหาวิทยาลัยและ การ Transform ของมหาวิทยาลัย ในส่วนของ Keynote speaker ของปีนี้ ถือว่าเป็น highlight สำคัญเพราะได้รับเกียรติจาก Prof. Thomas Robinson ประธานและ CEO ของสมาคม AACSB ซึ่งเป็นหนึ่งผู้กำหนดมาตรฐานชี้วัดด้านคุณภาพของคณะบริหารธุรกิจทั่วโลก โดย Prof. Thomas Robinson จะมากล่าวถึงทิศทางของการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อรองรับต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีและอนาคต จากนั้นจะมีการนำเสนอผลงาน แบ่งออกมาเป็น 4 Tracks ที่เชื่อมโยงกับเรื่อง Transformation ด้านต่างๆ ของธุรกิจตั้งแต่เทคโนโลยี การตลาด องค์กร และการบริหาร ต่อด้วย Transformation Leader’ s Forum

พันเอก ดร ดนุวสิน บอกเล่าถึง Transfomation Leader’ s Forum ในปีนี้ที่ได้เชิญผู้บริหารผู้เคยมีประสบการณ์ในการเข้าไปเปลี่ยนแปลงองค์กรใหญ่ๆ อาทิ ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.จีราวรรณ บุญเพิ่ม อดีตปลัดกระทรวงไอซีที ผู้เข้าไปมีส่วนผลักดันนโยบายในเรื่องการนำไอซีทีเข้ามาใช้ในประเทศไทยหลายนโยบาย อีกท่านคือ คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ เป็น VP ของบริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ซึ่งจะมากล่าวในประเด็น Culture เรื่องคนในองค์กรระดับโลกอย่างไมโครซอฟท์ นอกจากนั้นก็จะมี Keynote อีกท่านหนึ่งคือ Prof. Hillol Bala อาจารย์จาก Kelley School of Business ที่ Indiana University หนึ่งในทีมผู้สร้างทฤษฎี Technology Acceptance Model (TAM) ที่กล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดในการบริหารธุรกิจ โดยท่านจะพูดเรื่องที่ต้องพิจารณาเมื่อมีการ Transform ในองค์กร หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสนอ เปเปอร์ ซึ่งจะมีอีก 4 Tracks ที่เชื่อมโยงเรื่อง Transformation กับชุมชนและสังคม, กับการเงิน, กับเรื่อง New Role Marketing และกับการบริหารหรือ Management ส่วนช่วงสุดท้ายของงานจะเป็นพิธีมอบรางวัล Best Paper Award

NIDA International Business Conference 2019

สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ ที่  คลิ๊กที่นี่

 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ตลอดเวลากว่า 53 ปีที่ นิด้า หรือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ได้สร้างคุณูปการอันทรงคุณค่าให้แก่ สังคมไทยอย่างสืบเนื่องยาวนานและไม่เคย หยุดยั้ง คือ การสร้าง คนและองค์ความรู้  ดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตกว่า 70,000 คน ที่สร้างผลงานทั้งในภาครัฐและเอกชน อีกทั้ง ผลิตผลองค์ความรู้ด้านงาน วิจัย ในสาย Policy Research อันเป็นที่ยอมรับและถูกใช้ ในการแก้ปัญหาในการพัฒนาทั้งภาคชุมชน สังคมและเศรษฐกิจอย่างครบครัน จวบจน วันนี้ที่บริบทของสังคมเริ่มเปลี่ยนไป ปรากฏ ความท้าทายต่อบทบาทของ นิด้า และ อนาคตที่ถึงวันแห่งการประกาศจุดเปลี่ยน แห่งศตวรรษ

Change หรือ NIDA Transformation  คือวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของ ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีคนใหม่ของนิด้า  ผู้ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2561 พร้อมคณะผู้บริหารสถาบันฯชุดใหม่ หลังการหมดวาระของผู้บริหารชุดเดิม ภายใต้ นโยบายและเป้าหมายสำคัญ ที่จะต้องขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ของการปรับตัว เพื่อนำพาประชาคมนิด้า ทุกภาคส่วนก้าวสู่อนาคตด้วยกระบวนทัศน์ใหม่  ไปสู่การตอบโจทย์ด้านการศึกษาของสังคม และประเทศชาติ โอกาสนี้ นิตยสาร MBA ได้เข้าพบ และสัมภาษณ์เพื่อรับฟังถึงแนวทางแห่งอนาคตใหม่ ของ นิด้า

MBA : เรื่อง Disruptive Education ซึ่งเริ่มเป็นกระแสและ ประเด็นร้อนอยู่ ณ ตอนนี้ สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ ศึกษาไทยอย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ในช่วงที่เริ่มร่างและจัดทำแผนวิสัยทัศน์ ทำให้ผมและคณะฯ ได้สำรวจข้อมูลความเป็นไปในอุตสาหกรรม การศึกษาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศอย่างละเอียดอีกครั้ง ทำให้พบกับคำตอบเรื่องความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากผลกระทบ ด้านเทคโนโลยี โดยส่วนใหญ่มักมีข้อสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสร้าง ผลกระทบกับภาคการศึกษาน้อยมาก แต่ ณ ตอนนี้ข้อสรุปเดิม  เริ่มไม่จริงอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันภาคการศึกษาเริ่มได้รับ ผลกระทบจากเทคโนโลยีอย่างมาก และมากอย่างที่ไม่เคย เป็นมาก่อน

MBA : นิด้ามองเรื่อง Disruption และมีแนวทางในการตั้งรับ อย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : ประเด็นเรื่อง Disruption เป็นเรื่องที่  รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งท่านเป็นนายกสภาสถาบัน รวมทั้งกรรมการสภาฯมองกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ตอนนั้น ผมก็เป็นหนึ่งในกรรมการอยู่ด้วย มีการหารือและคิดเรื่องนี้แล้ว สุดท้ายก็ได้มีมติในเรื่องนี้ออกมาว่าจะต้องเตรียมในเรื่องการ Transform นิด้า ให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง ทางสภาฯ  มีมติออกมาเป็นโครงการชื่อว่า NIDA Transformation และนั่น คือพันธกิจสำคัญในการเสนอวิสัยทัศน์ของผมในวาระนี้ด้วย

MBA : NIDA Transformation และ Keywords สำคัญ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ถือว่าเป็นนโยบายของวาระสมัยนี้ซึ่งกำหนดบนคีย์เวิร์ด 3 เรื่องคือ ความเป็นเลิศ (Excellence)  การมีส่วนร่วม (Inclusion) และความเชื่อมโยง (Connectivity)  โดยความหมายของคีย์เวิร์ดเหล่านี้นั้น เริ่มที่คำาว่า ‘ความเป็นเลิศ  หรือ Excellence’ ประกอบไปด้วยนโยบาย 4 ด้านคือ วิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน และการปฏิบัติงานเพื่อความ ก้าวหน้าในอาชีพ ส่วนคีย์เวิร์ดต่อมาคือเรื่อง Inclusion  ความหมายคือการมีส่วนร่วม เพราะเรามีเป้าหมายที่ต้องการ ให้ทุกภาคส่วนในประชาคมของนิด้าเข้ามามีส่วนร่วมในทุกๆ กระบวนการที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ต่อไป เพราะคณะผู้บริหาร ต้องการรับฟังความคิดเห็นจากทุกๆ คน ผู้มีส่วนได้เสียของนิด้า ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนศิษย์เก่า เราอยากกระตุ้นให้ทุกๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานิด้า ในทุกๆ ก้าวของการเปลี่ยนแปลง และคีย์เวิร์ดที่สามเป็นเรื่องความเชื่อมโยง หรือ Connectivity ประเด็นนี้คือความมุ่งหมาย ที่ต้องการจะสร้างความเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ ภายใต้แนวคิด Quadruple helix model ซึ่งจะมี 4 องค์ประกอบในคอนเซ็ป ของการพัฒนา คือ การผสานภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้าด้วยกัน โดยนิด้า คือ 1 ใน 4 ขององค์ ประกอบของแนวคิดตามโมเดลนี้อยู่แล้ว เราต้องการสร้างความ เชื่อมโยงกับอีก 3 แกนที่เหลือ

MBA : กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน NIDA Transformation  ในครั้งนี้จะออกมาในรูปแบบใด ?

ศ.ดร.กำพล : เราจะออกแคมเปญใหญ่ เรียกว่า  REDESIGN NIDA Together ความหมายในภาษาไทยคือ  มาร่วมกันออกแบบอนาคตนิด้า โดยสิ่งที่จะ Launch ในแคมเปญนี้ ขั้นแรก คือ เราจะสื่อสารและสร้างความรับรู้ต่อสถานการณ์ของ ภาคการศึกษาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยในเมืองไทย และในต่างประเทศ ทั้งข้อเท็จจริง สิ่งที่เกิด สถิติและตัวเลข  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นก็เดินหน้าสู่เป้าหมาย ของการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ซึ่งแคมเปญ REDESIGN NIDA Together นี้มีเป้าหมาย ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การแสดงความเห็น จนไปถึงแผนและภาคปฏิบัติในที่สุด ต้องถือว่านิด้ามีความโชคดี ที่ในระยะหลังเรามีอาจารย์รุ่นใหม่ๆ เข้ามาในสถาบัน จำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า การที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการ จัดทำแผนกำหนดอนาคตนั้น ต่อไปพวกเขาจะกลายเป็นผู้ได้รับ ผลจากการได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ เพราะเขาจะต้องเติบโตขึ้นมา และเป็นผู้บริหารของนิด้าต่อไปในอนาคต ดังนั้น ผมจึงต้องการ กระตุ้นให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในแคมเปญและ โครงการให้ได้มากที่สุด เพราะถ้ามหาวิทยาลัยยังไม่สร้างความ เปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมตั้งรับ และหากสิ่งคาดการณ์กันเรื่อง Disruptive Education ที่ เคย์ตัน คริสเทนเซ่น ได้คาดการณ์ไว้ เป็นจริง เราก็ยังไม่อาจล่วงรู้ได้ว่ามหาวิทยาลัยกี่แห่งที่จะหายไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการความร่วมมือจากอาจารย์รุ่นใหม่  แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการประสบการณ์จากอาจารย์ รุ่นอาวุโส ที่จะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง คอยสนับสนุน คอยชี้แนะและ ให้ความคิดเห็น เพื่อให้อาจารย์รุ่นใหม่สามารถขับเคลื่อนองค์กร ต่อไปในอนาคต

MBA : Kick Off ของแคมเปญ REDESIGN NIDA Together กำาหนดไว้อย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นวันที่ นิด้าจัดงานปีใหม่ เป็นวาระเดียวกับที่ผู้บริหารชุดใหม่ เปิดเวทีแถลงวิสัยทัศน์ และนโยบาย เราจึงกำหนดเปิดตัว แคมเปญ REDESIGN NIDA Together กับประชาคม และถือว่า โครงการ NIDA Transformation ของสภาสถาบันฯ ซึ่งเป็น โครงการยุทธศาสตร์ปรับกระบวนทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยน ผ่านโดยรวมของสถาบัน ทั้งเรื่องคน การบริหารจัดการ และ  Infrastructure ได้เริ่มขึ้นควบคู่กันไป ซึ่ง REDESIGN NIDA  Together ก็คือหนึ่งในแคมเปญของโครงการ NIDA Transformation  นั่นเอง

ส่วนเรื่องหลักๆ ที่ต้องผลักดันเป็นสเต็ปแรกของโครงการ ออกแบบอนาคตนิด้า เป็นเรื่อง Mindset เรื่องของการ สร้างความตระหนักรู้เรื่องความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  ส่วนในกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีกิจกรรม เข้ามารองรับเพื่อเปิดเส้นทางของการเข้ามาร่วมกันของทุกฝ่าย หลังวันประกาศนโยบาย สัญลักษณ์ของโครงการ REDESING NIDA Together จะปรากฏในทุกหนแห่งภายในพื้นที่ของสถาบัน ทั้งโลโก้ โปสเตอร์ ป้ายประกาศ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์  จากนั้น ทางสถาบันจะจัดให้มีกิจกรรม Workshop ขึ้นในเดือน มกราคมปี พ.ศ. 2562 เราจะนำเอาเครื่องมือใหม่ในการระดมสมอง ที่เรียกว่า Strategic Foresight ซึ่งเป็นแนวทางการมองอนาคต ข้างหน้ามาเป็นศาสตร์ในการทำ Workshop ในครั้งนี้ และเราจะใช้ Concept เรื่อง Design Thinking และ Business Canvas  มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ทั้งหมดนี้คือ เฟสแรกของ โครงการออกแบบอนาคตของนิด้า

MBA : สาระสำาคัญของ REDESING NIDA Together คือ อะไร?

ศ.ดร.กำพล : เป็นกระบวนการเชิญชวนให้ทุกคนใน ประชาคมมาร่วมออกแบบอนาคตของนิด้า เพื่อที่เราจะได้ดีไซน์ บ้านแห่งใหม่ จากการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนความคิดเห็นต่างๆ จากเหล่าคณาจารย์ การร้องเรียน หรือความคิดเห็นต่อ ข้อบกพร่อง สิ่งควรแก้ไขหรือปรับปรุง แม้แต่สิ่งที่ทำไปแล้วไม่ได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ก็สามารถเสนอยกเลิกหรือตัดทิ้งได้  ข้อเสนอหรือโครงการใหม่ๆ ที่อยากให้มี อยากให้พัฒนา หรือ แม้แต่กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่ทำให้เกิดความจำกัดในการ ก้าวไปข้างหน้า ก็สามารถส่งความคิดเห็นเข้ามาได้ในวาระของการระดมความเห็นเพื่อการปรับกระบวนทัศน์ในครั้งน  ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมด้วยช่วยกัน

MBA : ในส่วนของ Action Plan ของแคมเปญหลัง กระบวนการปรับ Mindset แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ?

ศ.ดร.กำพล : จะเป็นเรื่อง Execution อันนี้คือเราจะ ทำให้ทุกสิ่งมีระบบมากขึ้น เราคาดว่า Workshop จะให้คำตอบ กับเราว่า อนาคตเราจะไปทางไหน? อย่างไร? มีอะไรต้อง ทำบ้าง? แล้วเราก็จะตั้ง Project ขึ้นมาเป็น Project Base  ยกตัวอย่าง โครงการที่นิด้าไปชนะการแข่งขัน เช่น โครงการ Smart City เราก็นำมาสานต่อ โดยนำแนวคิดที่ชนะการประกวด มาพัฒนาอาคารนวมินทร์เพื่อให้เป็น Smart Building โดย ทำเป็นโครงการประหยัดพลังงานด้วย Solar Rooftop ซึ่งก็จะ สอดคล้องและเข้าทางเป้าหมายในเรื่อง Excellence ที่เป็น หนึ่งในนโยบายแกนกลาง

อีกเรื่องสำคัญที่จะต้องปรับพัฒนา คือ เรื่องการเรียน การสอน ซึ่งตอนนี้เรากำลังพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะหรือ Smart Classroom เพื่อเป็นโซนการเรียนรู้ใหม่ อันนี้เป็นการ ตอบโจทย์ในเรื่องเทรนด์การเรียนรู้ของอนาคต แผนที่เรากำหนดไว้ คือ จะแบ่งเป็น Computer Lab เพื่อตอบสนองอนาคตเรื่อง AI เรื่อง Data Analytic รวมไปถึงเรื่อง Fintech และที่สำคัญเราจะมี ห้อง Design Thinking เพื่อตอบโจทย์เรียนรู้ที่สำคัญ

ส่วนเรื่อง E-Learning เราพยายามวางแผนให้เป็นเรื่อง ในระยะยาว จะทำเป็นลำดับขั้นไป ซึ่งการลงทุนจะเริ่มจาก งบประมาณรัฐ จากนั้นจะหางบเพิ่มเติมจากแหล่งทุนอื่น โดยเรา มีแนวทางความร่วมมือกับเอกชนอยู่ ล่าสุดมีหลายองค์กรที่ เข้ามานำเสนอเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับห้อง Smart Classroom ที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อเป็น Showcase  ทั้งในเรื่อง Face Recognition Data Analytic และอื่นๆ ขณะนี้ เรากำลังพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่าง Win Win กันใน ทุกฝ่าย

MBA : นอกเหนือไปจากประเด็นเรื่อง Disruption และ การปรับตัวแล้ว นิด้ามี Change เรื่องอื่นๆ หรือไม่?

ศ.ดร.กำพล : เรื่องใหญ่ของนิด้าอีกประการคือ เรื่องการ ออกนอกระบบ’ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ คืออีกก้าวของ ภารกิจสำคัญและถือเป็นอีกความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของนิด้า จำเป็นมากที่ประชาคมของนิด้าต้องรับรู้และต้องเข้าใจตรงกัน ให้ได้ว่า การออกนอกระบบและเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับนั้น เป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งสถานภาพใหม่กำลังจะมา ถึงในไม่ช้า เราต้องใช้โอกาสนี้เตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งก็จะมี แคมเปญ REDESIGN NIDA Together อยู่ในประเด็นนี้ด้วย 

MBA : พูดเรื่อง ‘ความยาก’ ของการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือ Change ในความเห็นของอธิการบดี?

ศ.ดร.กำพล : เป็นคำถามเดียวกับที่ คุณบัณฑูร ล่ำซำ เคยถูกถามเมื่อครั้งที่ทำ Re-Engineering ให้ธนาคารกสิกรไทย ในอดีต ตอนนั้นท่านตอบว่า การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงในตอนที่ทุกคนในองค์กรยังมีความรู้สึกว่า องค์กรยังไปได้อยู่ แล้วจะเปลี่ยนแปลงทำไม ทุกคนยังอยู่ใน Comfort Zone” และตอนนั้น คุณบัณฑูร ยังกล่าวต่อว่า  การเปลี่ยนแปลงที่ทุกข์ทรมานที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงที่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยน

ผมอยากตอบว่า นิด้าเราตอนนี้ก็ไม่ต่าง หลายคนยังมอง ว่า ผลกระทบยังไม่มีและเรายังไปได้ แต่เมื่อเราเห็นสัญญาณ บางอย่างปรากฏแล้ว จำเป็นมากที่เราชาวนิด้า ต้องปรับ Mind Set ในเรื่องนี้ เราถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่เช่นนั้น  เมื่อเราก้าวไปถึงจุดที่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ มันคือสายเกินไป

MBA : หลักการบริหารจัดการในอนาคตของนิด้า กำหนดไว อย่างไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากเน้นให้เห็นเป็น ความสำคัญคือ การเล็งผลเรื่องความสำเร็จ หากปราศจาก แผนกลยุทธ์เพื่อการลงมือปฏิบัตินั่นคือความไร้ทิศทางแต่ ปราศจากการลงมือทำ แผนกลยุทธ์ดียังไงก็เปล่าประโยชน์  ซึ่งแคมเปญ REDESIGN NIDA Together ครั้งนี้ การวางแผน และการลงมือปฏิบัติล้วนถูกออกแบบให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ร่วมแรงของทุกๆ ฝ่าย ตั้งแต่กระบวนการค้นหาเป้าหมาย  การดีไซน์แผนงาน ไปจนถึงการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ หากทุกฝ่าย ร่วมกัน ความสำเร็จย่อมเป็นไปได้

อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา มีอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากคือ การที่เราจะบริหารองค์กรและขับเคลื่อน โครงการต่างๆ ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างราบรื่นนั้น เรื่องผลประโยชน์ของบุคลากรจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ผลประโยชน์ขององค์กร ผมจึงมีนโยบายในเรื่องการปรับ ระบบทิศทางเรื่องแรงจูงใจ หรือ Incentive Alignment  ของบุคลากรภายในนิด้า ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ รวมไปถึง เจ้าหน้าที่ในปฏิบัติการทั้งหมด

ถัดจากเรื่องแรงจูงใจแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องหลักการบริหาร ที่เป็นความพยายามที่จะนำเอาแนวทางการบริหารแบบ ภาคเอกชนเข้ามาผสมกับการบริหารมหาวิทยาลัย โดยจะ ประยุกต์แนวคิดการบริหารและ Concept ที่กำลังเป็นที่นิยม ในยุคนี้ ทั้ง Lean Management และ Agile Management ซึ่งเป็น แนวคิดที่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายแกนกลางในการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยเน้นรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว มีความ รวดเร็วและกระฉับกระเฉงในการทำงาน

อย่างเรื่อง Lean Management เราให้แต่ละหน่วยงานจัดทำ Work Flow เพราะเราต้องการให้ได้มาตรฐานสากล ตอนนี้หลาย หน่วยงานของนิด้าได้มาตรฐาน ISO อย่างเช่น ITC (Information Technology Center) สำนักวิจัย กองบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น แน่นอนว่าการจะได้รับรองมาตรฐาน ISO ย่อมหมายถึง ระบบงานต้องมีความชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้น หลังจากจัดทำ  Work Flow แล้ว เราจะใช้กลไกในการปรับปรุงกระบวนการ ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งในเรื่องขั้นตอน เอกสาร และต้นทุน โดยที่ยังคำนึงถึงเรื่องความพึงพอใจที่ต้องการให้มี เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

MBA : นโยบายในเรื่องหลักสูตร และทิศทางการปรับเปลี่ยน เพื่อรองรับกับอนาคตเป็นอย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : เรื่องหลักสูตร เรามีเป้าหมายว่าแต่ละคณะ จะต้องสร้าง Flag Ship ของตนเอง บนความเข้มแข็งที่มีอยู่  เป็นจุดขายและแข่งขันได้ โดยส่วนกลางจะทำหน้าที่ Facilitate และทุ่มทรัพยากรเต็มที่ เพื่อช่วยให้หลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ พัฒนาหลักสูตรใหม่ หรือมีโปรเจคอะไรที่เป็น Initiative ได้รับ การสนับสนุนเต็มที่ โดยเราอยากให้เกิดปีละ 4 หลักสูตรจาก  4 คณะ ใน 3 ปีก็จะครบ 12 คณะนิด้า

จากนั้นจะเป็นเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างสาขาภายใน ของนิด้า เรามีเป้าหมายเรื่องการสร้างความเชื่อมโยงกันใน แต่ละคณะอยู่แล้ว เพราะอนาคตต่อไปจะเสนอเพียงศาสตร์ สาขาเดียวไม่ได้ จะต้องเป็นสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) ซึ่งนอกจากความร่วมมือภายในแล้ว ยังจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับ มหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้นอีกด้วย ผมคิดว่า การนำจุดแข็งมารวมกัน เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์กว่าการจะมา แข่งขันกันเองระหว่างมหาวิทยาลัยอื่นๆ แม้กับมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศก็ตาม ที่ผ่านมา เราเริ่มทำและประสบความสำเร็จ ไปบ้างแล้ว เช่น เรามีความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเปิดหลักสูตรที่ชื่อว่า Financial Engineering เป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบ ปริญญาโท โดยนักศึกษา คณะวิศวะ สจล. ที่สมัครเข้าร่วม ในหลักสูตรนี้ ตอนเรียนปี 3-4 จะต้องลงเรียนบางวิชาที่นิด้า เป็นวิชาในสาขาการเงิน และ เมื่อจบปริญญาตรีที่วิศวะ สจล. จึงมาเรียนต่อที่นิด้าอีก 1 ปี  ก็จะได้วุฒิปริญญาโทอีก 1 ดีกรี จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ อันนี้เป็นตัวอย่างของการสร้าง ความเชื่อมโยง ซึ่งโมเดลนี้ นิด้า ยังมีอีกหลายโปรแกรมที่ทำ ร่วมกับมหาวิทยาลัยใน ต่างประเทศ เช่น หลักสูตร ออนไลน์ร่วมกับมหาวิทยาลัย อินเดียน่า และหลักสูตรด้าน สถิติประยุกต์กับ University of Hull และแน่นอนว่า ยังมีอีก หลายความร่วมมือที่กำลังจะทยอยเปิดต่อไปในอนาคต

นโยบายในเรื่องคน นิด้า ส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่ง ทางวิชาการ อย่างน้อย ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) เป็นต้นโดยสถาบันจะสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ อย่าง เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินรางวัลการตีพิมพ์ผลงาน ตลอดจน งานวิจัยแบบ Policy Research เพื่อเป็น Think Tank และเป็นที่ พึ่งให้กับรัฐและเอกชน

MBA : Strength ของนิด้า คืออะไรบ้าง?

ศ.ดร.กำพล : ชื่อเสียง ความสำเร็จและการยอมรับ ของนิด้ากว่า 53 ปี คือความเข้มแข็งที่นิด้ามีมาอย่างต่อเนื่อง รากฐานและการสร้างทรัพยากรทั้งบุคคลและองค์ความรู้ให้กับ ประเทศชาติ ศิษย์เก่าของสถาบันกว่า 70,000 คนทั่วประเทศ ที่ทำงานให้กับทั้งภาครัฐและเอกชน คือผลงานที่ยืนยันความ เข้มแข็ง และเชื่อว่าภายใต้ความผูกพันกับสถาบัน ศิษย์เก่านิด้า เหล่านี้ ล้วนรักและผูกพันกับสถาบัน พร้อมจะร่วมกันผลักดัน การพัฒนานิด้าในเรื่องที่สร้างสรรค์

ในด้านวิชาการและองค์ความรู้ นิด้ามีผลงานด้านงานวิจัย เพื่อการพัฒนาที่รับใช้สังคมสืบเนื่องต่อมาอย่างยาวนาน และ อีกเรื่องที่สำคัญคือ หลายปีที่ผ่านมานิด้าเราได้พัฒนาการเขียนเคส  หรือ Case Study ที่เป็นเคสของไทยเราขึ้นมา และกำลังพัฒนา ให้เป็น Case Center แห่งเดียวของประเทศที่รวม Local Case ซึ่งถือเป็น Local Content ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาการเรียนการ สอนที่สำคัญ

MBA : ในฐานะผู้บริหารกิจการสถาบัน นิด้ามีโครงการ พัฒนาการลงทุนอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร?

ศ.ดร.กำพล : โดยโมเดลของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ในต่างประเทศ พึ่งพิงค่าเทอม หรือ Tuition Fee เป็นสัดส่วน ที่น้อยมาก แต่มหาวิทยาลัยในเมืองไทย ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิง ค่าธรรมเนียมการศึกษาและงบประมาณจากภาครัฐเป็นหลัก  มีแค่บางแห่งที่มีรายได้จากสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งนิด้าในขณะนี้ กำลังศึกษาโครงการพัฒนาทรัพย์สินของสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินของสถาบันที่มีอยู่ในหลายจังหวัด หรืออาคารสถานที่  ตลอดจนห้องเรียน Smart Classroom ก็อยู่ในวิสัยของแนวคิด เรามีโครงการที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาการ สร้างรายได้ให้กับสถาบันในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ ศูนย์ฝึกอบรม ซึ่งหากศิษย์เก่าหรือผู้ที่เล็งเห็นศักยภาพก็สามารถ นำเสนอโครงการเข้ามาได้

MBA : ปรัชญาการบริหารและการทำงานคืออะไร?

ศ.ดร.กำพล :  ‘Be Able But Be Humble’ คือหลักคิด ประจำใจ ความหมายคือ การเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ยังคง ซึ่งความอ่อนน้อมและถ่อมตน ซึ่งผมคิดว่าคุณสมบัติของความ ถ่อมตนแม้เป็นคนเก่ง ก็ไม่ใช่สิ่งเสียหาย ผมถือว่านั่นคือ Plus อีก ประการของผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้ นอกจากความ สามารถเฉพาะตัวแล้ว การสนับสนุนจากข้างบนที่คอยดึง และ การสนับสนุนจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่คอยดัน ถ้ามีทั้ง สองอย่างนี้คอยผลักดัน การบรรลุเป้าหมายของความสำเร็จ ย่อมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การเชื่อมโยงของ ทั้งสองส่วน

 

 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ 
ภาพ : เตชนันท์ จิรโชติรวี

X

Right Click

No right click