จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด (12 ต.ค. 2565) พบว่า ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ 33 จังหวัดของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ "น้ำท่วม" โดยหลายพื้นที่ต้องประสบกับสถานการณ์อุทกภัยอย่างหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เล็งเห็นถึงความยากลำบากทั้งด้านความเป็นอยู่และด้านอาหารของพี่น้องประชาชน จึงระดมสรรพกำลังช่วยเหลือคนไทยอย่างเร่งด่วน ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการมอบเสบียงอาหารและน้ำดื่ม ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวซีพีเอฟจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน

สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวซีพีเอฟจิตอาสาได้ร่วมส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม แก่พี่น้องชาวอุบลราชธานี โดย นายวุฒิชัย ประชุมพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ นายเอราวัณ ก้อนคำใหญ่ ผู้บริหารอาวุโส งานพัฒนาความยั่งยืนหน่วยธุรกิจ ร่วมกับผู้บริหารธุรกิจไก่ไข่ พร้อมเหล่าพนักงานซีพีเอฟและบริษัทในเครือ ร่วมแรงร่วมใจส่งมอบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูป 200 กิโลกรัม และไข่ไก่ซีพี 15,000 ฟอง แก่ นางปิยาภรณ์ ปุยะตานนท์ ประธานกลุ่มอาสาดุสิต และเครือข่ายกู้ภัย เพื่อสนับสนุนภารกิจของกลุ่มอาสาดุสิต ที่ได้จัดทีมเข้าช่วยเหลือในสถาณการณ์น้ำท่วม และจัดตั้งโรงครัวสำหรับปรุงอาหารมอบให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน

ด้านพื้นที่ภาคเหนือ ธุรกิจสุกรภาคเหนือตอนล่าง โดยทีมงานอาสาฟาร์มศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่นำอาหารพร้อมรับประทาน 200 กล่อง น้ำดื่ม 1,200 ขวด เนื้อสุกร 100 กิโลกรัม และข้าวสาร 2 กระสอบ ถึงมือพี่น้องชาวศรีเทพ โดยมี นางณัชพิมพ์ บุญโชติ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตอำเภอศรีเทพ พร้อมด้วยข้าราชการทหาร ร่วมกันผู้รับมอบ และกล่าวขอบคุณชาวซีพีเอฟฟาร์มศรีเทพที่มาร่วมด้วยช่วยกันบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมเคียงข้างเป็นกำลังใจให้ชาวศรีเทพได้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

ขณะที่ภาคกลางซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเช่นกัน นายพิรุณศักดิ์ วงศ์ชาลี ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจไก่ไข่ ร่วมกับเพื่อนพนักงานจิตอาสา โรงงานคัดไข่และแปรรูปไข่บ้านนา จ.นครนายก รุดช่วยพี่น้องชาวตำบลทองหลาง อ.บ้านนา จ.นคร ด้วยการส่งมอบไข่ไก่สดซีพี 6,000 ฟอง แก่ นายประวิทย์ รุ่งเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคลายความทุกข์แก่ประชาชนอย่างเร่งด่วน

ทางด้าน นายสหชัย แจ่มประสิทธิ์สกุล นายอำเภอกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พร้อมด้วย นายประเสริฐ ก้อนสันทัด ปศุสัตว์อำเภอกบินทร์บุรี รับมอบไข่ไก่ซีพี 2,190 ฟอง ที่ทีมงานซีพีเอฟจิตอาสา ร่วมกับตัวแทนฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่และโรงฟักไข่ ธุรกิจไก่พันธุ์ 2 (กทม.) ส่งมอบเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวกบินทร์บุรี โดยนายอำเภอกบินทร์บุรี กล่าวขอบคุณในน้ำใจและความห่วงใยที่ชาวซีพีเอฟมอบให้กับชาวกบินทร์บุรีเสมอมา และขอให้ช่วยเหลือดูแลกันเช่นนี้ตลอดไป

นอกจากซีพีเอฟจะเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบแล้ว ในส่วนของเพื่อนพนักงานและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเช่นกัน ทางหน่วยเคลื่อนที่เร็วทีมงานจิตอาสาโรงงานผลิตอาหารสัตว์ซีพีเอฟ ต่างเร่งลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังเช่นกัน โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์ธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี นำโดย นายไพฑูรย์ บัวเงิน ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมจิตอาสาต่างร่วมแรงร่วมใจเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนพนักงานที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมอย่างทันท่วงที โดยได้เร่งเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุและขนย้ายสิ่งของไปอยู่ในส่วนที่ปลอดภัย

ขณะเดียวกัน โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จังหวัดสระบุรี นำโดย นายวรพล เจียมอ่อน ผู้บริหาร CSR และชมรมบำเพ็ญประโยชน์ BPF (เพื่อนช่วยเพื่อน) ร่วมกันส่งมอบน้ำดื่มซีพี มอบแก่เพื่อนพนักงานในพื้นที่ต.จำปา อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุทธยา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จากนั้นพนักงานได้อาสานำน้ำดื่มไปส่งต่อให้กับเพื่อนบ้านในชุมชนเพื่อช่วยผ่อนคลายความเดือดร้อน โดยเฉพาะในจุดที่ทีมบำเพ็ญประโยชน์ของภาครัฐและเอกชนเข้าไม่ถึง

สำหรับพื้นที่ 23 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ซีพีเอฟส่งมอบความห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ขอนแก่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา มหาสารคาม เลย สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร พิษณุโลก และกรุงเทพฯ ในเขตบางนาและมีนบุรี จนถึงวันนี้ ซีพีเอฟยังคงร่วมใจช่วยเหลือประชาชนอย่างถึงที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ก้าวต่อไป คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน./

 

 

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ร่วมกับสถาบัน ChangeFusion เผยรายชื่อ 6 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบ “โครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change) หรือ BC4C” รุ่นที่ 11 ในกระบวนการพัฒนาความพร้อมของกิจการในระยะขยายผล (Acceleration program) โดย 6 กิจการที่ผ่านเข้ารอบล้วนเป็นกิจการที่เติบโตและสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคมเป็นวงกว้าง มีศักยภาพที่สามารถเติมเต็มให้พร้อมขยายกิจการไปสู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต  

6 CSR Trends 2022

March 08, 2022

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2565 ที่จัดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า “ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน”
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ โดยแนวโน้มทั้ง 6 ประกอบด้วย

1. Regenerative Agriculture & Food System ระบบอาหารและการเกษตรแบบเจริญทดแทน เป็ นธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้า การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศการ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวการแปรรูป การขนส่งการจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการก าจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็น ผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature-Positive Production)


2. Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของ ประเทศไทยอาทิพันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์(เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบ าบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตรอาหารและสิ่งแวดลอ้ม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/ หรือวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลรวมท้งับริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ


3. Renewable Resources & Alternative Energy ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำาหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่26 (UNFCCC COP26) ที่จะ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065


4. Electric Vehicles & Components ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ั ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030


5. Social Digital Assets สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม เป็นธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก าลัง อยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและช าระเงินที่ ปลอดภัยลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ด าเนินการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ ที่ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน


6. Metaware for Vulnerable Groups เมตาแวร์เพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นธุรกิจที่นาเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์ส มาพัฒนาอุปกรณ์หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางอาทิกลุ่มคนพิการในกลุ่มที่มีปัญหา ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง แต่ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังเป็นปกติเนื่องจากเมตาเวิร์ส สามารถช่วยจำลองให้ บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพและเสียง เช่น อุปกรณ์สวมศีรษะ VR (Virtual Reality) และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์สเดียวกันผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิด โอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ดังกล่าว สามารถใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส มาทดแทนข้อจำากัดในการทำกิจกรรมที่ต้องเดินทางหรือต้องออกจากบ้าน

 

 

โอกาสสำคัญของแบรนด์ผู้ประกอบการที่ต้องการการรับรองสถานะ “Plastic Neutral” เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมูลค่าและเข้าสู่สถานะแบรนด์สีเขียวด้วยการรับรองมาตรฐานระดับสากล และเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดโลก 

คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล (Corsair Group International) ผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (Corsair Group Thailand) และสำนักงานใหญ่ประจำภาคพื้นยุโรปที่เนเธอร์แลนด์ ประกาศเปิดตัว CSR PLASTIC CREDIT” นำเสนอแพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกหลากรูปแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้การรับรองสถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) เพื่อยกระดับฐานะหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรสีเขียว ด้วยการรับรองมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นรูปธรรมพร้อมกันทั่วโลก 

มลภาวะจากขยะพลาสติกล้วนเกิดจากมนุษย์ทุกคน โดยเฉลี่ยมนุษย์จะสร้างขยะพลาสติกราวคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี ดังนั้น ตลอดชีวิตของเราจะสร้างขยะพลาสติกถึง 4,000-5,000 กิโลกรัม ธุรกิจขนาดเล็กจะสร้างขยะพลาสติกนับสิบหรือนับร้อยกิโลกรัมต่อเดือน ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จะสร้างหลายสิบหรือหลายร้อยล้านกิโลกรัมต่อเดือนเลยทีเดียว เฉพาะในประเทศไทย มีการผลิตขยะพลาสติกปีละกว่า 2 พันล้านกิโลกรัม ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% เท่านั้น และแม้ผู้คนต้องการร่วมลดขยะพลาสติกเพื่อช่วยรักษ์โลก แต่ยังไม่ปรากฏแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความแตกต่างที่ชัดเจน

 คอร์สแอร์ เข้าใจถึงความท้าทายในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงพัฒนาแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกในรูปแบบ CSR Plastic Creditแพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกแนวใหม่ โดยแต่ละแพ็คเกจจะกำหนดปริมาณขยะพลาสติกมากน้อยแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกแพ็คเกจที่มีปริมาณขยะพลาสติกเหมาะสมกับขนาดองค์กรของตนเอง ซึ่ง CSR Plastic Creditจะเป็นเครื่องมือทั้งสำหรับบุคคล บริษัทผู้ประกอบการมุ่งสู่สถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์  (Plastic Neutral) ได้อย่างแท้จริง 

CSR Plastic Credit ทำงานอย่างไร?

หลักการทำงานของ “CSR Plastic Credit” จะเหมือนกับ Carbon Credit ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทของผู้ประกอบการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกราว 50 กิโลกรัมต่อปี ก็สามารถเลือกซื้อแพ็คเกจ 10 ปี ซึ่งกำหนดปริมาณขยะพลาสติกที่ 500 กิโลกรัม (ปีละ 50 กิโลกรัม) และคอร์สแอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบรีไซเคิลขยะพลาสติกแทนบริษัทผู้ซื้อแพ็คเกจในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเท่ากับว่า บริษัทที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกปีละ 50 กิโลกรัมและสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ 50 กิโลกรัมเช่นกัน จึงมีสถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) โดยสมบูรณ์

 

ในแง่ของการปฏิบัติงาน คอร์สแอร์จะรับภาระแทนบุคคลและบริษัทต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงานที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) และสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล และสำคัญที่สุดคือสามารถเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ได้ วิธีการนี้จึงสามารถลดความจำเป็นในการใช้น้ำมันแบบเดิม ๆ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างได้ผล 

ประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ “CSR Plastic Credit

ผู้เข้าร่วมโครงการที่ซื้อแพ็คเกจ CSR Plastic Creditจะได้รับใบเสร็จดิจิทัลซึ่งจะระบุถึงข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกขจัดออกจากสภาพแวดล้อมจริง โดยขยะพลาสติกทุก ๆ 1 กิโลกรัมที่คอร์สแอร์ขจัดออกจากสภาพแวดล้อม บริษัทจะออกแต้ม CSR Plastic Credits 10 แต้ม ซึ่งขั้นตอนการทำงานและแต้มเครดิตจะถูกบันทึกบนเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบเก็บข้อมูลแบบ Open Source เพื่อมอบความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ต่อสาธารณะ 

ผู้เข้าร่วมโครงการยังสามารถนำตัวเลขนี้ไปหักลบข้อมูลการสร้างขยะพลาสติก (Plastic Footprint) ในรายงานผลประกอบการขององค์กร ตลอดจนนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อยกระดับหน่วยงานหรือแบรนด์สินค้าสู่สถานองค์กรที่ไม่สร้างขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีตรามาตรฐานระดับสากลให้การรับรอง ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจและการดำเนินงานอย่างมหาศาล

 

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund: WWF) นิยาม Plastic Credit ว่า “หน่วยการถ่ายโอนที่แสดงถึงปริมาณพลาสติกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกเก็บรวบรวมและนำไปรีไซเคิล เพื่อไม่ให้ปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม” ซึ่งนอกจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์กรและบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น Unilever, Starbucks, PepsiCo และ Microsoft ก็ได้รับรองแผนการปฏิวัติพลาสติกเครดิต (Plastic Credit Revolution) แล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่ง CSR Plastic Credit ของคอร์สแอร์ก็มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้เช่นกัน 

การนำขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ แทนการทิ้งขว้างสู่สิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในมหาสมุทรจนสร้างความเสียหายแก่โลกของเรา ในขณะเดียวกัน ยังช่วยยกระดับฐานะขององค์กรหรือหน่วยงานของผู้ซื้อแพ็คเกจ “CSR Plastic Credit”  ให้เข้าใกล้การเป็น “องค์กรสีเขียว” เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการดำเนินงาน ถือเป็นโซลูชั่นที่ win-win สำหรับทุกคน 

นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา (Mr.Jussi Veikko Saloranta) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เราปฏิวัติการบริหารจัดการขยะพลาสติกด้วยระบบดิจิทัล งานศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภค 80% ในสหรัฐฯ ต้องการซื้อพลิตภัณฑ์และบริการจากแบรนด์ที่มีการลดขยะพลาสติกและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม งานชิ้นนี้ยังชี้ว่าผู้บริโภคมีความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากขยะพลาสติกที่มีต่อมหาสมุทร มากกว่าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” 

“เราทุกคนต่างเคยเห็นภาพที่น่าสยดสยองของขยะพลาสติกที่ทำอันตรายหรือคร่าชีวิตสัตว์น้ำ และสร้างมลภาวะต่อโลกนี้มาแล้ว ภาพเหล่านั้นถือเป็นสินค้าของแบรนด์ เพราะแน่นอนว่าบริษัทต่าง ๆ ที่ทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อการโฆษณาแบรนด์และทำการตลาดในแต่ละปี ย่อมไม่ต้องการให้แบรนด์ของตัวเองถูกมองแง่ลบแบบนั้น และที่สำคัญ ผู้บริโภคคงไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ในเรื่องแบบนี้ด้วย ดังนั้น นี่คือโอกาสสำคัญเพื่อการยกระดับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย โดย CSR Plastic Credit สามารถช่วยให้คุณลดและขจัดขยะพลาสติกในระบบเพื่อเข้าสู่สถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์” 

“การมีสถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์  (Plastic Neutral) ควรเป็นเป้าหมายที่เราทุกคนควรเดินหน้าทำให้สำเร็จ และหากเราร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ อนาคตย่อมจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ภารกิจนี้จำเป็นต้องผสานความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งกลุ่มธุรกิจและกลุ่มประชาชนในวงกว้างทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพราะเรามีโลกเพียงใบเดียว เราจึงควรปฏิบัติต่อโลกอย่างเคารพและใส่ใจ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ของคนรุ่นใหม่ในอนาคต” 

คอร์สแอร์ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลชั้นนำของประเทศ ต้องการนำเสนอแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมปกป้องสภาพแวดล้อมของเรา ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและแผนการดำเนินงานของคอร์สแอร์ ทำให้เรานำเสนอ CSR Plastic Credit เพื่อให้ทุกคนและทุกบริษัทสามารถก้าวสู่สถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์ผ่านการลดและขจัดอัตราการสร้างขยะพลาสติก 

“ปัจจุบัน บริษัทและองค์กรที่มีแนวคิดก้าวหน้าและมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งใหม่หลายแห่งในเมืองไทยต่างทำงานร่วมกับคอร์สแอร์ในโครงการรีไซเคิลขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นไทยรุ่ง,  ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (โอ๊กวู้ด), มิชลิน, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, เดอะ บางกอก คลับ, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), สถาบันปัญญาภิวัฒน์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอีกหลายแห่ง รวมถึงกลุ่ม Less Plastic Thailand และอีกมากมาย เราขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือเป็นพันธมิตรที่ดีเยี่ยมและความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับเราเพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามของเมืองไทยให้ปลอดจากขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน” นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าวเสริม 

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็ตเกจ CSR Plastic Credit” ได้ที่ https://csrnow.com หรือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคอร์สแอร์ที่ CorsairNow.com

 

 

โอกาสสำคัญของแบรนด์ผู้ประกอบการที่ต้องการการรับรองสถานะ “Plastic Neutral” เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมูลค่าและเข้าสู่สถานะแบรนด์สีเขียวด้วยการรับรองมาตรฐานระดับสากล และเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดโลก 

คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล (Corsair Group International) ผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (Corsair Group Thailand) และสำนักงานใหญ่ประจำภาคพื้นยุโรปที่เนเธอร์แลนด์ ประกาศเปิดตัว CSR PLASTIC CREDIT” นำเสนอแพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกหลากรูปแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้การรับรองสถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) เพื่อยกระดับฐานะหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรสีเขียว ด้วยการรับรองมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นรูปธรรมพร้อมกันทั่วโลก 

มลภาวะจากขยะพลาสติกล้วนเกิดจากมนุษย์ทุกคน โดยเฉลี่ยมนุษย์จะสร้างขยะพลาสติกราวคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี ดังนั้น ตลอดชีวิตของเราจะสร้างขยะพลาสติกถึง 4,000-5,000 กิโลกรัม ธุรกิจขนาดเล็กจะสร้างขยะพลาสติกนับสิบหรือนับร้อยกิโลกรัมต่อเดือน ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จะสร้างหลายสิบหรือหลายร้อยล้านกิโลกรัมต่อเดือนเลยทีเดียว เฉพาะในประเทศไทย มีการผลิตขยะพลาสติกปีละกว่า 2 พันล้านกิโลกรัม ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% เท่านั้น และแม้ผู้คนต้องการร่วมลดขยะพลาสติกเพื่อช่วยรักษ์โลก แต่ยังไม่ปรากฏแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความแตกต่างที่ชัดเจน

 คอร์สแอร์ เข้าใจถึงความท้าทายในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงพัฒนาแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกในรูปแบบ CSR Plastic Creditแพ็คเกจการรีไซเคิลขยะพลาสติกแนวใหม่ โดยแต่ละแพ็คเกจจะกำหนดปริมาณขยะพลาสติกมากน้อยแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกแพ็คเกจที่มีปริมาณขยะพลาสติกเหมาะสมกับขนาดองค์กรของตนเอง ซึ่ง CSR Plastic Creditจะเป็นเครื่องมือทั้งสำหรับบุคคล บริษัทผู้ประกอบการมุ่งสู่สถานะการลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์  (Plastic Neutral) ได้อย่างแท้จริง 

CSR Plastic Credit ทำงานอย่างไร?

หลักการทำงานของ “CSR Plastic Credit” จะเหมือนกับ Carbon Credit ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทของผู้ประกอบการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกราว 50 กิโลกรัมต่อปี ก็สามารถเลือกซื้อแพ็คเกจ 10 ปี ซึ่งกำหนดปริมาณขยะพลาสติกที่ 500 กิโลกรัม (ปีละ 50 กิโลกรัม) และคอร์สแอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบรีไซเคิลขยะพลาสติกแทนบริษัทผู้ซื้อแพ็คเกจในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเท่ากับว่า บริษัทที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกปีละ 50 กิโลกรัมและสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ 50 กิโลกรัมเช่นกัน จึงมีสถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์ (Plastic Neutral) โดยสมบูรณ์

 

ในแง่ของการปฏิบัติงาน คอร์สแอร์จะรับภาระแทนบุคคลและบริษัทต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงานที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) และสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล และสำคัญที่สุดคือสามารถเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ได้ วิธีการนี้จึงสามารถลดความจำเป็นในการใช้น้ำมันแบบเดิม ๆ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างได้ผล 

ประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ “CSR Plastic Credit

ผู้เข้าร่วมโครงการที่ซื้อแพ็คเกจ CSR Plastic Creditจะได้รับใบเสร็จดิจิทัลซึ่งจะระบุถึงข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกขจัดออกจากสภาพแวดล้อมจริง โดยขยะพลาสติกทุก ๆ 1 กิโลกรัมที่คอร์สแอร์ขจัดออกจากสภาพแวดล้อม บริษัทจะออกแต้ม CSR Plastic Credits 10 แต้ม ซึ่งขั้นตอนการทำงานและแต้มเครดิตจะถูกบันทึกบนเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบเก็บข้อมูลแบบ Open Source เพื่อมอบความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ต่อสาธารณะ 

ผู้เข้าร่วมโครงการยังสามารถนำตัวเลขนี้ไปหักลบข้อมูลการสร้างขยะพลาสติก (Plastic Footprint) ในรายงานผลประกอบการขององค์กร ตลอดจนนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อยกระดับหน่วยงานหรือแบรนด์สินค้าสู่สถานองค์กรที่ไม่สร้างขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีตรามาตรฐานระดับสากลให้การรับรอง ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจและการดำเนินงานอย่างมหาศาล

 

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund: WWF) นิยาม Plastic Credit ว่า “หน่วยการถ่ายโอนที่แสดงถึงปริมาณพลาสติกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกเก็บรวบรวมและนำไปรีไซเคิล เพื่อไม่ให้ปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม” ซึ่งนอกจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์กรและบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น Unilever, Starbucks, PepsiCo และ Microsoft ก็ได้รับรองแผนการปฏิวัติพลาสติกเครดิต (Plastic Credit Revolution) แล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่ง CSR Plastic Credit ของคอร์สแอร์ก็มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้เช่นกัน 

การนำขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ แทนการทิ้งขว้างสู่สิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในมหาสมุทรจนสร้างความเสียหายแก่โลกของเรา ในขณะเดียวกัน ยังช่วยยกระดับฐานะขององค์กรหรือหน่วยงานของผู้ซื้อแพ็คเกจ “CSR Plastic Credit”  ให้เข้าใกล้การเป็น “องค์กรสีเขียว” เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการดำเนินงาน ถือเป็นโซลูชั่นที่ win-win สำหรับทุกคน 

นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา (Mr.Jussi Veikko Saloranta) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เราปฏิวัติการบริหารจัดการขยะพลาสติกด้วยระบบดิจิทัล งานศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภค 80% ในสหรัฐฯ ต้องการซื้อพลิตภัณฑ์และบริการจากแบรนด์ที่มีการลดขยะพลาสติกและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม งานชิ้นนี้ยังชี้ว่าผู้บริโภคมีความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากขยะพลาสติกที่มีต่อมหาสมุทร มากกว่าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” 

“เราทุกคนต่างเคยเห็นภาพที่น่าสยดสยองของขยะพลาสติกที่ทำอันตรายหรือคร่าชีวิตสัตว์น้ำ และสร้างมลภาวะต่อโลกนี้มาแล้ว ภาพเหล่านั้นถือเป็นสินค้าของแบรนด์ เพราะแน่นอนว่าบริษัทต่าง ๆ ที่ทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อการโฆษณาแบรนด์และทำการตลาดในแต่ละปี ย่อมไม่ต้องการให้แบรนด์ของตัวเองถูกมองแง่ลบแบบนั้น และที่สำคัญ ผู้บริโภคคงไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ในเรื่องแบบนี้ด้วย ดังนั้น นี่คือโอกาสสำคัญเพื่อการยกระดับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย โดย CSR Plastic Credit สามารถช่วยให้คุณลดและขจัดขยะพลาสติกในระบบเพื่อเข้าสู่สถานะการสร้างขยะพลาสติกเป็นศูนย์” 

“การมีสถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์  (Plastic Neutral) ควรเป็นเป้าหมายที่เราทุกคนควรเดินหน้าทำให้สำเร็จ และหากเราร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ อนาคตย่อมจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ภารกิจนี้จำเป็นต้องผสานความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งกลุ่มธุรกิจและกลุ่มประชาชนในวงกว้างทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพราะเรามีโลกเพียงใบเดียว เราจึงควรปฏิบัติต่อโลกอย่างเคารพและใส่ใจ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ของคนรุ่นใหม่ในอนาคต” 

คอร์สแอร์ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลชั้นนำของประเทศ ต้องการนำเสนอแนวทางที่สะดวกง่ายดายสำหรับทุกคนในการร่วมปกป้องสภาพแวดล้อมของเรา ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและแผนการดำเนินงานของคอร์สแอร์ ทำให้เรานำเสนอ CSR Plastic Credit เพื่อให้ทุกคนและทุกบริษัทสามารถก้าวสู่สถานะขยะพลาสติกเป็นศูนย์ผ่านการลดและขจัดอัตราการสร้างขยะพลาสติก 

“ปัจจุบัน บริษัทและองค์กรที่มีแนวคิดก้าวหน้าและมุ่งเน้นการพัฒนาสิ่งใหม่หลายแห่งในเมืองไทยต่างทำงานร่วมกับคอร์สแอร์ในโครงการรีไซเคิลขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นไทยรุ่ง,  ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (โอ๊กวู้ด), มิชลิน, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, เดอะ บางกอก คลับ, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), สถาบันปัญญาภิวัฒน์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอีกหลายแห่ง รวมถึงกลุ่ม Less Plastic Thailand และอีกมากมาย เราขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือเป็นพันธมิตรที่ดีเยี่ยมและความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับเราเพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามของเมืองไทยให้ปลอดจากขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน” นายยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าวเสริม 

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็ตเกจ CSR Plastic Credit” ได้ที่ https://csrnow.com หรือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคอร์สแอร์ที่ CorsairNow.com

Page 1 of 16
X

Right Click

No right click