รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ บริษัทรอยัล ดีเอสเอ็ม (Royal DSM NV) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารและปศุสัตว์ และบริษัทบล็องค์ (Blonk Consultants) องค์กรปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำนวัตกรรมโซลูชั่นล่าสุด “SustellTM เครื่องมือในการวัดผลงานด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับธุรกิจปศุสัตว์และเกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และหาแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอาหารในธุรกิจสัตว์บก และต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าชนิดเดียวกันโดยทั่วไป

ระบบอัจฉริยะ “SustellTM” เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ จากกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ตลอดทั้งวัฏจักรชีวิต เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถวัดได้ตามมาตรฐานสากล โดยผลลัพธ์ที่ได้จะผ่านการทวนสอบ โดย Third Party ในระดับสากล เพื่อรับรองความถูกต้องแม่นยำ โปร่งใส

 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์การเป็น “ครัวของโลกที่ยั่งยืน” จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ทั้ง DSM และ Blonk Consultants เพื่อยกระดับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำของธุรกิจ

“ความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับพันธกิจหลักของซีพีเอฟ คือ การผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพสูง และรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดียิ่งขึ้นให้ผู้บริโภค อีกทั้งยังมาจากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่ง SustellTM  จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเทรนด์ของโลกในการผลิตอาหารที่สร้างสมดุลทางสิ่งแวดล้อม”  นายประสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของ DSM จะช่วยสนับสนุนการผลิตอาหาร ของซีพีเอฟ ที่มุ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค เช่น การผลิตเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงด้วยโปรไบโอติก ซึ่งช่วยให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดยาปฏิชีวนะ และสารตกค้าง ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) แบบองค์รวมตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบอาหารสัตว์ จนถึงปลายทางเป็นอาหารสำเร็จรูป  ปัจจุบัน บริษัทมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อนรวม 790 รายการ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.418 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สร้างรายได้สีเขียวมากกว่า 32% ของรายได้ทั้งหมด

 

ด้านนายอิโว่ แลนส์เบอร์เก็น (Ivo Lansbergen) ประธานด้าน Animal Nutrition and Health บริษัท DSM Nutritional Products Company Limited กล่าวว่า ซีพีเอฟ และ DSM มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานในด้านการพัฒนาโภชนาการ จนมาถึงประเด็นด้านความยั่งยืน ซึ่งการนำระบบอัจฉริยะ SustellTM มาใช้จะช่วยให้ ซีพีเอฟ สามารถทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สูง (Hot Spot) ในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก ดีเอสเอ็ม และ บล็องค์ เข้ามาให้คำแนะนำ เช่น การปรับสูตรอาหารสัตว์ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์ในแต่ละช่วงอายุ ทำให้สัตว์กินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามวัย ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรในการผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น

 

“การนำระบบอัจฉริยะระดับโลกมาใช้ในการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะสนับสนุนประสิทธิภาพการผลิตโปรตีนจากเนื้อสัตว์ของ ซีพีเอฟ ในด้านการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิตในเชิงลึกที่แม่นยำมากขึ้น ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งตลาดโลกในระยะยาว” นายอิโว่ กล่าว

ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการ บสย.ผนึกกำลัง บมจ.ทิพยประกันภัย ผลักดัน SMEs ไทยมุ่งสู่ความมั่นคงทางธุรกิจ  กับ คุณวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงการให้ความรู้ในด้านการนำประกันภัยไปเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงต่างๆของกิจการ รวมถึงการลดต้นทุนในการทำประกันภัยสำหรับกลุ่ม SMEs ให้ในราคาพิเศษ  และเพื่อเป็นการลดภาระในภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่างได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ โครงการ บสย.ผนึกกำลัง บมจ.ทิพยประกันภัย ผลักดัน SMEs ไทยมุ่งสู่ความมั่นคงทางธุรกิจนี้  เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับ สมาชิกของ บสย. ในการดำเนินธุรกิจ สามารถฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เป็นองค์กรที่เกิดจากการควบรวมกิจการของรัฐซึ่งประกอบไปด้วย กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) จับมือ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการสนับสนุนภาครัฐบาลก้าวสู่ระบบดิจิทัลที่ล้ำหน้า กับโครงการความร่วมมือเพื่อยกระดับศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ (National Data Center) และบริการแบบคลาวด์สู่มาตรฐานสากลในระดับเทียร์ 4 (Tier IV)

การที่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ประกาศเป็นพันธมิตรกับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ผู้นำศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการการยกระดับมาตรฐานของศูนย์ข้อมูลและการบริการคลาวด์ในประเทศไทยให้ก้าวสู่ระดับ เทียร์ 4 ซึ่งจะช่วยให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ สามารถให้บริการคลาวด์แก่หน่วยงานของรัฐได้แบบเต็มประสิทธิภาพ 100% ด้วยศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเทียร์ 4 ในระดับสากลที่ทั่วโลกยอมรับ

โครงการนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความมั่นใจในระบบคลาวด์ของรัฐบาลให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเร่งเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว จากการแพร่ระบาดใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

โดยในปัจจุบัน ได้มีการนำแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนระบบดิจิทัลของรัฐบาล รวมถึงการทำงานจากที่บ้าน การประชุมทางวิดีโอ และความจำเป็นในการจัดเก็บ บริหารจัดการ และเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดในทุกวันนี้

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที กล่าวถึงความร่วมมือกับซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ว่าจะทำให้เอ็นที มีทางเลือกที่หลากหลายและสะดวกมากขึ้นในการใช้บริการ Data Center และ Cloud 

“ในฐานะที่เอ็นที เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการเป็นผู้ขับเคลื่อนและยกระดับการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลให้แก่ภาครัฐ ซึ่งมาจากการที่เรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมมากที่สุดและครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการนำจุดแข็งของทั้งสององค์กรมาร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการของเอ็นที โดยเรามั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายและมอบประโยชน์กับลูกค้าได้มากขึ้น” นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ กล่าว

หน่วยงานของรัฐจะสามารถเข้าถึงบริการศูนย์ข้อมูลและคลาวด์ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ข้อมูลของตนเอง โครงการนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลา และทรัพยากร อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมาก ในขณะที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาล

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ในฐานะศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลแห่งแรกในประเทศที่รองรับการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโครงข่ายโดยไม่จำกัดค่าย จะให้บริการด้านพลังงาน พื้นที่ ความปลอดภัย และระบบเชื่อมต่อเครือข่ายให้กับกระทรวงต่าง ๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูง อีกทั้งยังรับประกันความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตด้วยความยืดหยุ่นและให้ความสามารถในการปรับขยายได้

โครงการฯ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ช่วยให้รัฐบาลปรับใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมั่นใจได้ว่ากระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ใช้ง่าย มีความยั่งยืน และพร้อมรองรับการปรับขยายศักยภาพได้ตามต้องการ

“ในฐานะศูนย์ข้อมูลและผู้ให้บริการคลาวด์ที่ทันสมัยที่สุด ศูนย์ข้อมูลของเราสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ในขณะที่บริการของเราถูกจัดสรรเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่สำคัญต่อภารกิจด้วยความปลอดภัยสูงสุดและรับประกันความพร้อมใช้งานตลอดเวลา” คุณสุนิตา บ๊อตเซ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้กล่าว

“เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับเอ็นที และได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมของเอ็นที ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้วยการนำเสนอบริการโครงสร้างพื้นฐานในระบบดิจิทัลของซุปเปอร์แนป ด้วยประสบการณ์ระดับสากลและความรู้ของคนในประเทศ เพื่อสนับสนุนภาครัฐบาลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เร็วยิ่งขึ้นและปรับขยายได้ตามความต้องการ” คุณสุนิตากล่าวเสริม

ศูนย์ข้อมูล ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้รับการออกแบบในลักษณะโมดูลาร์และพร้อมรองรับการขยายศักยภาพ ด้วยการขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีก 2 อาคาร ที่สามารถให้บริการพลังงานถึง 60 เมกะวัตต์และพื้นที่รองรับได้มากกว่า 5,000 ตู้ รวมถึงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ที่ได้รับการสนับสนุนจากการออกแบบชั้นนำ ซึ่งช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของรัฐบาลสามารถเติบโตไปพร้อมกับความต้องการ

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลอันล้ำสมัยของซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ยังเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไฟเบอร์จากผู้ให้บริการโครงข่ายหลายรายแบบแยกสายและการันตีความเสถียรด้วยระบบ Redundancy สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ให้ความมั่นใจได้สูงสุดในทุกสถานการณ์

ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ที่ศูนย์ข้อมูลของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ที่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ทำให้มีข้อได้เปรียบมากมายซึ่งรวมถึงเรื่องความยั่งยืน เนื่องจากนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงานและระบบควบคุมอุณหภูมิของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ช่วยให้บริษัทกลายเป็นศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดที่ให้ความยั่งยืนด้วยการออกแบบ ซึ่งพร้อมรองรับการใช้พลังงานความหนาแน่นสูงถึง 33 กิโลวัตต์ต่อตู้ และมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ต่อปีที่ 1.35-1.45 โดยเป็นระดับที่ให้ประสิทธิภาพมากกว่าศูนย์ข้อมูลอื่น ๆ ในภาคพื้นอาเซียน

คุณสมบัตินี้จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระดับโลกสู่พลังงานสะอาด

โครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่นของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จึงช่วยให้รัฐบาลไทยจะสามารถบรรลุมาตรฐานสากลสูงสุดสำหรับศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์ และตอกย้ำสถานะและชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางดิจิทัลและเทคโนโลยีระดับโลก ที่มีความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความเป็นเลิศ

Page 7 of 9
X

Right Click

No right click