×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 808

ด้วยเหตุผลที่ต้องการพัฒนาตัวเองให้พร้อมเสมอกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ด้วยธุรกิจการงานที่มีการแข่งขันสูง จึงมองหาสิ่งที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตขึ้นได้

Why YMBA NIDA?

February 12, 2020

“ผมคิดว่าถ้าผมเรียน MBA มีโอกาสได้ลูกค้าใหม่ ตอนแรกคิดแค่นั้น แต่พอมาเรียนจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่นั้น” จิรายุ ลิ่มจินดา (พี) Chief Product Officer บริษัท จินดาธีม จำกัด เล่าย้อนความคิดของตัวเองเมื่อครั้งตัดสินใจเข้าเรียนหลักสูตร YMBA

พี คือ ผู้หนึ่งที่เลือกเข้ามาเรียนหลักสูตร Young Executive MBA (YMBA) ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จนเพิ่งจบหลักสูตรรับปริญญาบัตรไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในฐานะผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจ 2 บริษัท บริษัทจินดาธีม ซึ่งทำงานด้านซอฟต์แวร์ รับเขียนโปรแกรมต่างๆ และอีกธุรกิจหนึ่งคือสตาร์ทอัป TripNiceDay ซึ่งเป็นผลพวงจากการมาเรียนในหลักสูตรนี้ จากพื้นฐานปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องมาเรียนรู้การบริหารธุรกิจในหลักสูตร YMBA ก็เป็นประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจให้กับพี

ความสนใจที่จะเรียนMBA ของพี เริ่มจากการเปิดบริษัทร่วมกับหุ้นส่วนซึ่งเป็นคนในสายคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน พีบอกว่า เป็นการเปิดบริษัทโดยใช้ Passion เป็นตัวนำ ยังขาดการมองภาพรวมของธุรกิจ ซึ่งเขามองว่าการเรียนบริหารธุรกิจจะช่วยให้เขาสามารถทำธุรกิจได้ดีขึ้น มองเห็นภาพรวมมากขึ้น พร้อมกันนั้นเขาก็มองไปถึงการตลาดของบริษัทที่อาจจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ

พอมาเรียนจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่นั้น ได้งานใหม่ ตอนนี้ผมได้มาเกือบ 10 งานแล้วจากเพื่อนในกลุ่ม แต่ว่าที่ได้จริงๆ คือ ภาพรวม แง่คิดจากเพื่อนในคลาส ถ้าเรียนคอมพิวเตอร์ต่อก็เหมือนกับเดินเข้าไปตรงๆ ไม่ได้เห็นภาพกว้างไม่ได้เห็นระหว่างทางเลย ผมก็จะได้มุมมองทางด้านนี้เฉพาะเจาะจง แต่มาเรียน MBA ผมได้เห็นว่าฝ่ายขายคิดอย่างไร การตลาดคิดอย่างไรเวลาไปหาลูกค้า เวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้จะใช้เหตุผลอย่างเดียวไม่ได้ ทำให้เห็นว่าแต่ละเรื่องมองได้หลายมุม

พีอธิบายเกณฑ์ที่เขาใช้เลือกสถาบันศึกษาต่อว่า เขาอยากได้สังคมที่ผู้เรียนมีความต้องการมุ่งมั่นจะมาเรียน จึงมองหาสถาบันที่เปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาโทและเอก ขณะเดียวกันก็ไปดูข้อมูลศิษย์เก่าที่จบไปแล้วของแต่ละสถาบัน และคณาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้เกี่ยวกับบริบทการทำธุรกิจในประเทศไทยสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้ เมื่อเทียบกันกับหลายสถาบันแล้วเขามองว่านิด้าคือตัวเลือกที่เขามองหาอยู่

และอีกเหตุผลที่สำคัญคือคำแนะนำจากคุณแม่ของพีในฐานะผู้บริหารก็มองว่า นิด้าผลิตบัณฑิตที่เอางานเอาการมีความรู้ ซึ่งมีส่วนทำให้เขาตัดสินใจเลือกสถาบันแห่งนี้

ส่วนการที่เลือกเรียนหลักสูตร YMBA พีบอกว่า เพราะอยากได้เพื่อนร่วมชั้นที่อายุใกล้เคียงกัน สามารถพูดคุยเข้าใจกันได้งาน มีมุมมองในแต่ละเรื่องไม่ต่างกันมาก

ปรับตัวช่วงแรก

พียอมรับว่า ในช่วงแรกจะเข้ากับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนยากนิดหน่อย เพราะทักษะด้านการสื่อสารต่างๆ ยังมีไม่มาก ในแบบฉบับของคนทำงานด้านไอที และเมื่อมาเจอกับโปรแกรมการเรียนที่ค่อนข้างหนักในแต่ละสัปดาห์ทำเอาพีถึงขั้นเกือบถอดใจเลิกเรียนไปเหมือนกัน

“ช่วงแรกๆ ไม่อยากทำแล้ว เรียนหนักมากเลย ทำให้เรารู้ว่าที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตสบายมาก จัดการเวลาไม่ดี มาเจอพวกพี่ๆ ในคลาส หน้าตาเหนื่อยมากเลย แต่ก็สู้ แล้วจับกลุ่มกันหลายคน ผมก็เลยรู้สึกว่าเขายังทำได้เลย ผมไม่ได้เป็นคนเดียวที่รู้สึกแบบนั้น ก็เป็นอีกประเด็นที่ช่วยให้เราเรียนจนจบ”

พีมองว่าการมาเรียนในช่วงแรกคือการปรับตัวจากช่วงที่ว่างเว้นจากการเรียนหลังจบปริญญาตรีไป ทำให้แต่ละคนมีวิถีชีวิตที่ปล่อยตัวไปกับความสนุกสนานหลังเลิกงาน เมื่อต้องกลับมาเรียนหนังสืออีกครั้ง ทั้งร่างกายและจิตใจจึงต้องการปรับตัวค่อนข้างมากเพื่อให้คุ้นเคยกับการเรียน

พีเล่าว่า “พอผ่านช่วงหนึ่งมาได้เราก็รู้สึกว่าไม่ได้เท่าไร และเราก็สนุกกับการเรียนด้วย เพราะเพื่อนทุกคนเหนื่อยก็จริงก็ยังมาเรียนมาเล่นทำงานกลุ่มร่วมกัน เสน่ห์อยู่ตรงนี้ คือทุกคนมีช่วงที่เหนื่อยแต่ช่วงที่ทำงานด้วยกันเรียนด้วยกัน สนุก ก็เลยเกาะกลุ่มกันไปได้ และอาจารย์ก็ใจดี ให้ความรู้ มีประสบการณ์ในการสอนให้เห็นภาพ ได้ความรู้หลายๆ ด้าน สุดท้ายกลายเป็นว่าติดเรียนอยากมาเรียน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พอช่วงเรียนจบมาช่วงเย็นของทุกวันว่างไป เหงาจังเลย ไม่มีอะไรทำเหมือนเดิม”

พัฒนาซอฟต์สกิล

ผลพลอยได้จากการเรียน YMBA ของพี อีกอย่างคือการพัฒนาซอฟต์สกิล ซึ่งเขามองว่ามีความสำคัญมาก จากการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ทำให้เขามีโอกาสพัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

“เวลาไปคุยงานกับลูกค้าถ้าพูดศัพท์เทคนิค แล้วลูกค้าทำหน้าไม่เข้าใจก็เริ่มมีปัญหาแล้ว อาจจะทำให้เขาไม่ประทับใจได้ แต่ถ้าผมไปบริษัทลูกค้าผมรู้ว่าเขานำเข้าอยู่เยอะ ผมเรียนบริหารไป ผมอาจจะพูดว่าช่วงนี้เงินบาทแข็งมาก พี่นำเข้าลำบากนิดหนึ่งนะ เขาจะมีความรู้สึกว่าคุณก็มีความรู้ด้านนี้ เหมือนสร้างความประทับใจให้เขานิดหนึ่ง ซอฟต์สกิลช่วยให้เราจับอะไรง่ายขึ้น เรื่องนี้เรื่องใหญ่ พัฒนาหน้าจอไม่ได้ มาเรียนกับคนจะดีกว่า”

ความรู้พร้อมใช้งาน

พีเล่าว่า การมาเรียนที่นี่ทำให้เขาได้เปิดโลกในหลายๆ เรื่อง อาทิ เมื่อเรียนเรื่องการเงินทำให้เขารู้ว่า ต้นทุนการเงินเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาตนเองทำอะไรพลาดไปบ้างในธุรกิจของตัวเอง ลงบัญชีผิดไปตรงไหนบ้าง เป็นหลักคิดที่ไม่เคยรู้มากก่อน และสามารถมาช่วยในการทำธุรกิจได้

หรือวิชาการตลาด ทำให้เขาได้เรียนรู้จิตวิทยาของการซื้อการมองสินค้า ก็สามารถนำไปปรับใช้ในการทำธุรกิจของตนเอง ประกอบกับการได้รับความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ที่ช่วยเสริมภาพการมองธุรกิจของพีให้มีความชัดเจนมากขึ้น

พีคิดว่าการเรียนรู้ทางด้านบริหารธุรกิจแตกต่างจากการเรียนรู้สายวิทยาศาสตร์ที่เคยเรียนมาแต่ก็สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันและเสริมสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้กับเขาได้ ช่วยให้เปิดใจ กล้าลองกับความคิดใหม่ๆ โดยอาศัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ นำมาใช้ประกอบด้วยการทำการทดลอง วัดผลในสิ่งที่ทำต่างๆ

“ผมว่าผมได้ใช้เยอะมาก คุ้มกับค่าเรียนมาก ผมไม่เคยขาดเลย แต่ละคาบผมมีความรู้สึกว่าถ้าขาดไปผมจะต้องพลาดอะไรสักอย่างที่อาจารย์พูด ถ้าอยู่ในชีตก็คือเอาไปอ่านได้ แต่บางคลาสอาจารย์อาจจะพูด บางอย่างให้เราได้คิด จากประสบการณ์และความรู้ที่มี ทำให้เราไม่อยากพลาด จะได้หลักคิดบางอย่าง สนุกด้วยได้ความรู้ด้วย” พีกล่าว

เรียนจนได้ธุรกิจใหม่

กับธุรกิจใหม่ของเขา TripNiceDay พีเล่าว่าเป็นความต่อเนื่องจากโปรเจ็กต์ก่อนจบที่นิด้านี่เอง ในวิชา Independent Study การค้นคว้าอิสระซึ่งมีทางเลือกคือให้ไปศึกษางานบริษัทที่มีอยู่แล้วและคิดโครงการขึ้นมาใหม่ ซึ่งพีเลือกคิดทำโครงการใหม่ เพื่อทดลองความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา

พีเล่าว่า “สตาร์ทอัปตัวนี้ ต่างกับตอนเริ่มทำบริษัทซอฟต์แวร์มากพอสมควร เพราะว่า ตอนนั้นคิดอยากทำแล้วลงมือเลยไม่มีการเตรียมหาข้อมูล งานนี้เหมือนผมต้องไปทำเอกสารมาก่อน ผมไปทำส่วนที่ตัวเองไม่ถนัดมาก่อนเลย ไปหาข้อมูลลูกค้า ไปลงตลาดทำเซอร์เวย์ คู่แข่งเป็นใครบ้าง ตัวเลขสถิติอะไรต่างๆ ต้องวิเคราะห์แต่ยังไม่ได้เขียนโปรแกรมสักบรรทัดเลย ไม่เหมือนกับที่เราทำบริษัทแรก ตอนแรกผมก็คิดว่าทำไมเราต้องมานั่งทำเอกสาร 200 กว่าหน้า ทั้งๆ ที่ยังหยิบจับอะไรไม่ได้เลย ทำไมไม่เริ่มเขียนโปรแกรมขึ้นมาเลย”

แต่ผลสุดท้ายที่ออกมาคือ เมื่อเขาต้องเริ่มลงมือกับซอฟต์แวร์จริงๆ เขาสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับการทำงานได้ดีขึ้น จากพื้นฐานข้อมูลที่ได้ศึกษามาแล้ว โดย TripNiceDay เป็นแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว ที่รวบรวมข้อมูลสำหรับการวางแผนท่องเที่ยวในประเทศไทยไว้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยให้การท่องเที่ยวของแต่ละคนมีความสุขไปได้ด้วยกัน

พีบอกว่า ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากคณาจารย์ในคณะ ทั้งด้านการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจ การแนะนำให้รู้จักกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เมื่อประกอบกับการเริ่มทำธุรกิจอย่างมีหลักการแล้ว ทำให้เขารู้สึกว่าการเริ่มต้นครั้งนี้มีความราบรื่นกว่าเมื่อตอนตั้งบริษัทครั้งแรกมาก ถือเป็นการวัดผลสำเร็จของการเรียนที่ได้จากหลักสูตร YMBA ได้เป็นอย่างดี

พีสรุปว่า “เราเห็นภาพกว้างขึ้น เอาไปต่อยอดได้ เหมือนกับว่าถ้าเราจะตั้งบริษัทในอนาคต เรามีเทมเพลตเลยว่าเราจะทำอย่างไร 1 2 3 4 5 เราเดินตามนี้เลย ก็ช่วยเราได้เยอะ ไม่ต้องมางม”

ภูมิใจในนิด้า

พีสรุปความคิดของตัวเองที่มีต่อการเรียนในหลักสูตร YMBA ของนิด้า ว่า

“ผมเรียนตรี 4 ปีผมเข้าเรียนไม่ได้เท่ากับเรียนโทสองปีเลยทั้งที่เวลาเรียนน้อยกว่ากันมาก ตอนปริญญาตรีอาจจะไม่ได้ตั้งใจเรียนมาก ผมมองว่าเราอยากเรียนรู้ด้วย และเพื่อนในคลาสช่วยส่งเสริมให้เรามีความขยันอดทน เปลี่ยนเรา ในฐานะศิษย์เก่าผมมองว่า นิด้าให้เยอะกว่าแค่ชื่อว่านิด้า ผมมองว่าส่วนสำคัญที่สุดคือช่วงที่เราเข้ามาเรียน 2 ปี มันท้อนะครับแต่มันช่วยให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ความยากลำบากแบ่งเราระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ถ้าเราไม่ผ่านความยากลำบากเราก็ยังเด็กอยู่วันยังค่ำ แต่ถ้าเราเผชิญหน้ากับความยากลำบากก็จะทำให้เราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ผมมองว่าการมาเรียนช่วงแรกอาจจะยากลำบากจริง เพราะต้องเปลี่ยนตัวเองค่อนข้างเยอะในการจัดสรรเวลา ต้องยอมเสียสละเวลา ในการไปปาร์ตี้ ดูเน็ตฟลิกซ์ แต่เรารู้สึกเหมือนการลงทุนในชีวิตเรา พอจบมาแล้วเวลาไปคุยกับเพื่อนเราจะรู้เลยว่า จริงๆ แล้วเราได้อะไรมากกว่ากลุ่มที่เราเคยอยู่ เราในวันนี้กับเราในวันนั้นต่างกันมาก แม้แต่เราเองยังรู้สึกได้

ผมภูมิใจมากกับการมาเรียนแล้วเจอหลักสูตรที่เข้มข้น ทำให้เราท้อในช่วงแรกและเราก็ผ่านมาได้ และเรามองย้อนกลับไปเราก็รู้สึกว่า เป็นปัญหาที่เราผ่านมาแล้ว ดีกว่าที่เราไม่ยอมผ่านมา

การเรียนบริหาร ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ หรือคิดเป็นผู้ประกอบการ หรือเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ได้คิดเป็นระบบมีหลักการมีเหตุผลมากขึ้น”

 

 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ณัฐพงศ์ เปรุนาวิน

ไม่ใช่โพรเจกต์พันล้าน ไม่ใช่เรื่องเล่าหลากประสบการณ์ระดับท็อปจากชีวิตในออฟฟิศ แต่กลับเป็นเรื่องราวความสตรองอย่าง “การลดน้ำหนัก” ที่ทำให้ “นิ-ณัชชา วสุวิวัฒน์” หญิงสาวที่เคยหนักถึง 80 กว่ากิโลกรัม ได้กลายเป็นผู้สมัครที่ผ่านด่านการคัดคนของ “Duke University” และก็เป็นเธอคนนี้นี่เองที่กำลังจะพาร่างบางๆ เข้าไปเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ตัวเองใน “Duke Fuqua School of Business”

Q: เข้ามหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกขนาดนี้ได้ แสดงว่าต้องได้คะแนนสูงมากๆ ใช่ไหม
A: จริงๆ แล้วเรื่องคะแนนคนอื่นๆ ก็น่าจะได้พอๆ กันค่ะ ก็แล้วแต่ว่าโรงเรียนเขาอยากจะได้คนแบบไหน เขาจะดูหมดทุกอย่างเลยค่ะว่าคะแนนผ่านเกณฑ์ไหม, ทำงานอะไรมา, Essay ที่เขียนเป็นยังไง, บุคลิกของคุณเข้ากับบุคลิกของโรงเรียนไหม ฯลฯ คือไม่ได้ดูแค่อย่างใดอย่างหนึ่งค่ะ

Q: คิดว่าส่วนไหนที่ช่วยให้เราผ่านด่านเข้าไปได้เฉือนชนะคนอื่นได้
A: น่าจะเป็นเพราะเรื่องของเราอาจจะแปลกกว่าคนอื่นหรือเปล่า (ยิ้ม) คือตัว Essay ที่เขียน เราเล่าเรื่องส่วนตัวค่อนข้างเยอะเลยค่ะ เล่าว่าเมื่อก่อนเป็นคนอ้วนมาก หนัก 80-90 กก. มาตลอด จนได้มาเรียนจุฬาฯ (BBA International Program สาขาบัญชี) เจอแต่คนสวยๆ (ยิ้ม) ก็เลยพยายามลดน้ำหนักตัวเองลงมาเรื่อยๆ เริ่มวิ่งจริงๆ จังๆ จนตอนนี้ก็เป็นนักกีฬาวิ่งมาราธอนไปแล้วค่ะ เลิกกินเนื้อสัตว์ แล้วก็กินเจไปเลย

Q: คิดว่าเรื่องเล่านั้นมันทำให้เขาเห็นอะไรในตัวเรา
A: น่าจะเป็นเรื่องความพยายามค่ะ เพราะเราเป็นคนมีความมุ่งมั่นมาก โดยเฉพาะเรื่องลดความอ้วน คือพอตัดสินใจว่าจะวิ่ง เราก็ปรับโหมดในหัวเลยค่ะ เลิกใช้วิถีชีวิตแบบเดิมๆ แล้วก็คิดว่าถ้าจะทำก็ต้องทำให้ได้ สุดท้ายก็วิ่งจนลดน้ำหนักไปได้ 20 กก. ภายในปีเดียว ทุกวันนี้ก็วิ่งมาราธอนได้ถึง 42 กม. กว่าแล้ว หลังจากใช้เวลาฝึกฝนอยู่ 2-3 ปีได้

Q: คิดไว้ตั้งแต่ตอนเรียน BBA จุฬาฯ เลยหรือเปล่าว่าจะต้องเข้า Top U ให้ได้
A: แพลนไว้หมดแล้วค่ะว่าพอเรียนจบ ทำงานสัก 3-5 ปีแล้วจะไป ครั้งนี้ก็เป็นปีแรกที่ยื่นเลย คิดว่าไหนๆ เรียนทั้งที ก็อยากเรียนที่ที่มันดีไปเลย ไม่อย่างนั้นเราจะมานั่งเครียดสอบเข้ายูฯ ไปทำไม ไหนๆ จะทำแล้วก็ทำให้มันคุ้มค่าเลยดีกว่าที่เลือกที่นี่เพราะเขาค่อนข้างดังเรื่องกีฬาด้วยค่ะ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ North Carolina บรรยากาศค่อนข้าง Curely เพราะอยู่กลางป่า แล้วก็มีทางให้วิ่งเยอะมาก ตรงกับเราที่เป็นคนชอบวิ่งมากๆ อยู่แล้ว และจุดขายของเขาก็คือความ Outgoing ก็เลยอยากจะไปอยู่ในวัฒนธรรมตรงนั้น เพราะคิดว่าเหมาะกับบุคลิกของเราที่สุดแล้ว

Q: แสดงว่าการทำการบ้านเรื่องบุคลิกของสถาบันก็สำคัญ ต้องดูว่าคลิกกับเราหรือเปล่า
A: ใช่ค่ะ เพราะฉะนั้น ก็อยากให้น้องๆ หลายๆ คนคิดดีๆ เพราะเห็นบางคนก็เลือกสมัครตามเพื่อน อยากให้คิดว่าเรายังต้องใช้ดีกรีตรงนี้ไปทำงานอีกยาว อย่าไปตามใครเลยดีกว่า

Q: เป็นอีกคนที่ไม่ได้เลือกรับทุน อย่างนี้ถ้ามีโอกาสทำงานที่อเมริกา จะทำไหม
A: ก็อยากจะลองดูนะคะ จะได้ท้าทายตัวเองด้วย เมืองไทยยังไงก็บ้านเรา กลับมาทำเมื่อไหร่ก็ได้ นิว่ามันดีซะอีกค่ะที่ได้เรียนรู้วิธีการทำงานของที่นู่น แล้วเอากลับมาใช้ในบ้านเรา เมืองไทยจะได้มีบุคลากรในด้านนี้ขึ้นมาพัฒนาประเทศ

การสอบผ่านด่าน Top U ระดับโลกไม่เคยมีสูตรสำเร็จ  แต่ หิรัญทิพย์  อินทรนุกูลกิจ หรือ นัท  สร้างสูตรที่นำความสำเร็จ โดยวันนี้ Yale  School of Business เปิดรับให้เธอเดินเข้าสู่ประตูของมหาวิทยาลัยที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นชั้นแนวหน้าระดับผลิตผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกากันเลยทีเดียวเชียว

 

ด้วยดีกรีเศรษฐศาสตร์ จาก มธ. ผสมกับทักษะจากงานที่ทำทั้งในสายแบงก์ จนถึงงาน Production process ที่ไทยเบฟ ล้วนน่าจะมีส่วนในการหลอมรวมให้นัท พบความสำเร็จเบื้องต้นในวันนี้


Q: Why MBA? คือหนึ่งในคำถาม interview ของ Yale ที่นัทต้องตอบ
A: เพราะแพลนไว้ ยังไงก็เรียนต่อ ส่วนไอเดียเรื่อง MBA เป็น influence มาจากรุ่นพี่ แต่ยังไม่แน่ใจ หลังเรียนจบ เพื่อนส่วนใหญ่ 90% ไปอังกฤษ และเรียนด้าน Financial แต่นัท ตัดสินใจทำงานก่อน พอทำงานเลยค้นพบตัวเองว่า ไม่อยากเรียนต่อสายเฉพาะ เพราะรู้สึกว่าแคบเกินไป แต่ใน business มันกว้าง และแตกไลน์งานออกไป จึงคิดว่า MBA เป็นคำตอบของการเรียนต่อ Q: การเลือก School ใช้เกณฑ์อะไร
A: มองอยู่ 2 ฝั่งคือ East coast (อเมริกา) เพราะเรามีพื้นฐานด้าน finance ด้านฝั่ง West coast (อเมริกา) นัทมองว่าจะเอนไปทาง Tech มีอะไรมากขึ้นจริงแต่ background เราที่มี และคิดว่าถ้าอนาคตต้องสมัครทำงาน ก็น่าจะเป็นอะไรที่ get along กับสิ่งที่เคยทำมา การข้ามสายไป Tech เลย ก็อาจจะต้องการพื้นฐานและความสนใจที่มากพอควร นัทว่ามันยากไป เลยเลือกไปด้านตะวันออก จากนั้นก็ดู ranking เล็งไปที่ Top 20 เพราะอยากเรียนมหาวิทยาลัยที่พอเอ่ยชื่อ ปุ๊บ คนรู้จักทันที และที่สุดก็เป็น Yale

Q: Why Yale?
A: เพราะ curriculum ที่ Yale แตกต่าง Yale เขา course ผู้เรียนตามความถนัด หรือเป้าหมาย เช่น ถ้าเราอยาก Startup เขาก็จะมีเลย Innovator หรือคุณต้อง โน่น นี่ นั่น อะไรเยอะมาก ก่อนหน้านี้ นัท สื่อสารทั้ง เมลและสไกป์กับ Alumni เยอะเพื่อศึกษาทั้งรูปแบบการเรียน สิ่งที่เสริมจากคอร์ส หรือคลับ ซึ่งที่ Yale เขาจะมี Group main call ตลอดปี ซึ่งที่จริงแล้ว นัทก็รู้ว่า หลายๆ school ก็เป็นแบบนี้ แต่ที่ Yale นัทชอบคนและรู้สึกว่าคุยได้

Q: Yale ตอบโจทย์เรา แล้วเราทำยังไง ถึงตอบโจทย์ที่ Yale?
A: นัทใช้เวลาปีกว่า ทำงานด้วยนะ สำหรับพาร์ต GMAT จากนั้น คือส่วนของการ express ความเป็นตัวเราให้ Yale เห็น ที่ Yale ต่างจากที่อื่นคือ เขามี VDO Essay ก่อนสัมภาษณ์จริง ( นัทรู้ว่าที่ Kellogg ก็มี ) ต้องส่ง Quote ก่อนด้วย เรียกว่า หลายสเต็ป แต่ นัทคิดว่า แบบนี้เป็นทั้ง pros & cons เพราะข้อดีคือ ทำให้เรามีโอกาสนำเสนอให้ School รู้จักเรามากขึ้น เพราะทั่วไปที่ใช้ essay เท่านั้นมันก็น้อยและจำกัดในการทำให้เขารู้จักเรา แต่ข้อเสียคือ เหนื่อยแน่นอน เพราะต้องเตรียมงานหลายรอบ

Q: คิดว่า อะไรคือ คีย์สำคัญที่คิดว่าทำให้เขาเลือกเรา
A: ความเป็นตัวของตัวเอง ความตั้งใจ และการรู้เป้าหมายของตัวเองว่าเราทำสิ่งต่างๆ เพื่ออะไร และที่สำคัญมากคือ เราสามารถจะ contribute อะไรให้กับ class ได้ เพราะเราคิดว่าส่วนหนึ่ง  เขาน่าจะต้องการผู้เรียนที่จะมีส่วนในการ contribute ไม่ใช่แค่คนจะมาเรียน เพราะทุกคนอยากมาเรียนกับ เขา เพราะ เขาสุดยอดอยู่แล้ว แต่การเลือกผู้เรียนของ เขาย่อมอยากหาคนที่จะมา add value ให้กับ course และ class

Q: เป้าหมายหลังจบ MBA
A: ตอนนี้ที่อยากทำ คือ product management และคิดว่าใน 5-10 ปี ก็คงจะยังทำ firm/corporate เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่หลัง 10 ปีอาจจะ startup อายุตอนนั้นก็ 35 ปี น่าจะมีประสบการณ์เพียงพอ เพราะส่วนตัวคิดว่า กว่าที่เราจะสามารถ ยืนหยัดขึ้นมาประกอบการอะไรได้ คงไม่ใช่อาศัยเพียงความเก่งกาจอยู่คนเดียว แต่น่าจะต้องมีหลายสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องทีม connection รวมทั้งทุน ซึ่งทุนอย่างเดียวไม่พอแน่นอน

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click