×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

คุณเป็น "นักคิด" หรือ "นักทำ"
ถ้าคุณรู้ คุณะรับมือกับทุกเรื่องที่พุ่งเข้าหาคุณได้อย่างนุมนวล


โปรแกรมการอบรม W.O.R.K. COMMUNICATION 1 วันเต็ม พร้อมการทำแบบประเมินทางจิตวิทยา
เรียนรู้เทคนิคกาวิเคาระห์และวางแผนการสื่อสารตามบุคลิกภาพของคน สร้างเสน่ห์ ของผู้ทำงานด้วยหลักทางจิตวิทยา
สร้างความเข้าใจในหลักการสื่อสารและเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

อบรมในวันที่ 22 มกราคม 2562 ณ The Landmark Hotal Bangkok
เวลา 9.00 - 17.00 น.

สำรองที่นั่งได้ที่ https://goo.gl/KXLyn7


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 258 4966 / 4977
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.missconsult.com

สุขภาพดีนั้นต้องเริ่มต้นจากตัวเอง ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี อีกทั้ง ยังจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้นกัน ถือเป็นแรงกำลังที่ช่วยพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดดังกล่าว แกร็บ จึงได้เชิญชวนผู้ใช้ที่รักสุขภาพ ร่วมออกกำลังกายพร้อมทำประโยชน์เพื่อสังคม ภายในงาน “Grab Running – วิ่งตัวเบา” งานวิ่งที่เรื่องน้อยที่สุด สะดวกสบายเพียงแค่พกสมาร์ทโฟนมาวิ่ง ส่วนที่เหลือแกร็บจัดให้  ในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ โดยกิจกรรมเพื่อสังคมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายธารน้ำใจ เพื่อบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ ในการซื้อเครื่องมือแพทย์ให้สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ซึ่งภายในงาน นอกจากจะได้สัมผัสกับประสบการณ์งานวิ่งที่เรื่องน้อยที่สุดแล้ว นักวิ่งและคนรักสุขภาพที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน ยังได้ร่วมสนุกกับหลากหลายกิจกรรมจากบูทพาร์ทเนอร์คู่ค้าของแกร็บ ทั้ง KBank, ประกันภัย Sunday Insurance,  Shopee, JOOX และ Ari Running  อีกทั้งยังเพลิดเพลินกับเมนูร้านดังที่คัดสรรมาให้เพิ่มพลังจากแกร็บฟู้ด  และปิดท้ายวันดี ๆ ด้วยมินิคอนเสิร์ตจากนักร้องสาวเสียงใส แพรว คณิตกุล เนตรบุตร

นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า  “ปัจจุบัน ผู้คนหันมาให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายด้วยการเดิน โดยแกร็บรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเสียงตอบรับจากกิจกรรมงานวิ่งครั้งแรกของเราเป็นอย่างดี โดยกิจกรรม ‘Grab Running - วิ่งตัวเบา’ ในวันนี้ นอกจากจะเป็นการร่วมสร้างสุขภาพดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการตอบแทนกลับคืนสู่สังคม โดย แกร็บ ร่วมบริจาค 10 บาทต่อทุกกิโลเมตรที่ผู้ร่วมงานทุกคนวิ่ง โดยเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 400,000 บาท เพื่อสมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อเป็นทุนในการซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์และร่วมสร้างสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำที่รองรับผู้ป่วยได้กว่า 1 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ ความสำเร็จของกิจกรรมในวันนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากน้ำใจจากนักวิ่ง พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร พันธมิตรคู่ค้าทั้งหมดของเรา รวมถึงตัวแทนหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนเราด้วยดีเสมอมา และเราจะเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในการร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมต่อไปในอนาคต” 

กิจกรรม Grab Running - วิ่งตัวเบา เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามพันธกิจในการทำประโยชน์เพื่อสังคมมาในช่วงเพียงสองสามเดือนที่ผ่านมา แกร็บ ได้จัดกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อตอบแทนพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และสังคมมาหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการมอบทุนการศึกษารวมกว่าหนึ่งล้านบาทให้แก่บุตรพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่, โครงการ ‘GrabFood for Good – ทุกจานคือการให้’ เพื่อสมทบทุนมอบอาหารกลางวันให้มูลนิธิเด็กผู้ด้อยโอกาสนับหมื่นคน และโครงการบริจาคสิ่งของผ่านบริการแกร็บเอ็กเพรสให้แก่มูลนิธิผู้ด้อยโอกาส อาทิ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น และมูลนิธิอื่น ๆ ในต่างจังหวัดรวม 7 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โครงการทั้งหลายเหล่านี้ ถือสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของแกร็บ ในการผลักดันเพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

พลพรรคนักวิ่งทุกเพศทุกวัย พร้อมใจวิ่งเพื่อเปลี่ยนทุกกิโลเมตรให้เป็นเงินบริจาค สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ

 พลพรรคนักวิ่งทุกเพศทุกวัย พร้อมใจวิ่งเพื่อเปลี่ยนทุกกิโลเมตรให้เป็นเงินบริจาค สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ

มารีญา พูลเลิศลาภ สาวสวยสุขภาพดี ร่วมวิ่ง Fun Run ระยะ 5 กิโลเมตร

เหล่านักวิ่งกระโดดตัวเบา ฉลองเข้าเส้นชัยแบบยกทีม

สนุกสนานคึกคักไปกับกิจกรรมถ่ายภาพรอบ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ  

เติมพลังหลังเข้าเส้นชัยด้วยเมนูอาหารและเครื่องดื่มร้านดัง จากแกร๊บฟู้ด

สีสันกิจกรรมสุดสนุก ณ​ บูทพันธมิตรคู่ค้าของแกร็บภายในงาน Grab Running - วิ่งตัวเบา

ม.ธุรกิจบัณฑิต คว้า Dan Montgomery สุดยอดกูรูด้าน OKRs  ผู้ให้คำปรึกษาชั้นแนวหน้าให้กับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา และผู้บริหารองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำของไทยใช้ OKRs  นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ร่วมให้ความรู้แบบเจาะลึก ในงานเสวนา Why OKRs ? ในวันศุกร์ที่ 12 ต.ค.นี้ เวลา 09.00-16.00 น. รร.เดอะสุโกศล กรุงเทพฯ

ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เปิดเผยว่า เนื่องจากวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงานตามวัตถุประสงค์ (Objectives and Key Results : OKRs) กำลังมาแรงในขณะนี้ โดยมีองค์กรธุรกิจชั้นนำทั่วโลกหันมาใช้ OKRs เพื่อทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จได้อย่างไร้ขีดจำกัด  ศูนย์ DPU Center มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เล็งเห็นความสำคัญของการนำ OKRs มาใช้ในการพัฒนาองค์กร จึงกำหนดจัดเสวนาในหัวข้อ Why Objectives and Key Result (OKRs)  Should replace  KPIS? ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2561 เวลา 9.30-16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลลูน โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ  ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเพื่อให้องค์กรสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน สร้างบรรยากาศในการทำงานอย่างเป็นทีมผ่านเครื่องมือการวัดผลการดำเนินงานแบบ OKRs

“ครั้งนี้ได้เชิญ Mr.Dan Montgmery  ผู้เชี่ยวชาญอันดับต้นๆของโลกด้าน Agile Strategies และ OKRs และยังเป็นผู้แต่งหนังสือ “START LESS , FINISH MORE ,Building Strategic Agillity with Objectives and Key Result พร้อมผู้บริหารองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำทั้ง ดีแทค บิลค์วันกรุ๊ป และDPU X ที่ได้ใช้ OKRs นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จมาร่วมให้ความรู้ทุกแง่มุมของ OKRs แบบเจาะลึก” ดร.พัทธนันท์  กล่าว 

ดร.พัทธนันท์  กล่าวด้วยว่า เหตุที่ OKRs มีความน่าสนใจ เนื่องจากกระบวนการทำงานในแบบ OKRs จะกำหนดวัตถุประสงค์จำนวนน้อยและกำหนดเฉพาะที่จำเป็นจะต้องทำจริงๆ ก่อน โดยคนระดับการทำงานเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง เป็นการกำหนดจากล่างสู่บน ซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาที่แท้จริงและร่วมกันคิดและร่วมลงมือแก้ไขปัญหา นับเป็นการสร้างวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีม อันจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในที่สุด  การเสวนาครั้งนี้ จึงเหมาะสำหรับทุกองค์กรที่ต้องการพัฒนาและปรับตัวเองให้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร เพื่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างฉับพลันในยุคดิจิทัล โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.065 594 9955 email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมจัดกิจกรรมพัฒนาค่าย Design Thinking ให้กับอาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1-4 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมานำโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้อำนวยการหลักสูตร

โดยวัตถุประสงค์ของจัดอบรมหลักสูตรครั้งนี้เพื่อเป็นแกนกลางในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน และระบบพี่เลี้ยง ในการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้คำปรึกษาแก่นิสิต นักศึกษาและนักวิจัยออกแบบและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการเป็นไปตามนโยบายสนับสนุนมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ นำเอาแนวคิด“Design Thinking”มาฝึกและพัฒนาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามกระบวนการ ได้แก่ “ Emphatize, Define, Prototype, Ideate และ Test” โดยเริ่มจากการเรียนรู้เพื่อเข้าใจถึงปัญหาอย่างละเอียดและเก็บข้อมูลส่วนสำคัญเชิงลึกของปัญหานำมาหาบทสรุปเมื่อเราได้บทสรุปแล้วก็จะนิยามความต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้างทางเลือกหรือวิธีแก้ไข จากนั้นแชร์ไอเดีย เพื่อดูผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร เมื่อได้คำตอบก็นำมาพัฒนาวิธีแก้ไขนั้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ IDE Center by UTCC ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ผู้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC)  หรือผ่านทาง www.idecenter.utcc.ac.th และ www.facebook.com/idecenter สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-697-6867 ในเวลาทำการ

ในวันนี้คำว่า “Smart Farming” หรือ “เกษตรอัจฉริยะ” ได้ถูกหลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย หยิบยกขึ้นพูดถึงว่าเป็นอนาคตและความอยู่รอดและสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ของภาคการเกษตรของประเทศ โดยเฉพาะยุค 5G ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นเสมือนภาพลักษณ์ของความเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ พร้อมกันนี้ Smart Farming ยังมาพร้อมกับการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีอีกด้วย 

คำถามคือ Smart Farming จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยได้จริงหรือ ทำได้อย่างไร อะไรคือช่องว่างที่ทำให้เกษตรกรไทยยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี Smart Farming และจะปิดช่องว่างนี้ได้อย่างไร 

เพื่อหาคำตอบ แสวงแนวทางเพื่อปิดช่องว่าง และสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีสู่การทำเกษตรกรรมแบบสมาร์ต ภายในงาน Thailand MBA Forum 2018 : The Next Chapter of Tech & Management จึงได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง Advance Technology for “Smart Farming” ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง ประกอบด้วย ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.นฤทัย วรสถิตย์ รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร, เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ณัฐ มั่นคง ผู้ประกอบการเกษตร “โคโค่ เมล่อน ฟาร์ม” มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในประเด็นดังกล่าว

อะไรคือช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรไทย

ดร.นฤทัย วรสถิตย์ : ช่องว่างในระบบผลิตภาคการเกษตรของเรามีเยอะมาก ย้อนไป 30-40 ปีที่แล้ว ประเทศไทยนับว่าเป็นผู้นำด้านการเกษตร เราผลิตได้ดี เป็นเบอร์ 1 ของการส่งออกสินค้าการเกษตรในหลายๆ ประเภท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีสภาพ-แวดล้อมที่เอื้ออำนวยกว่าหลายๆ ประเทศ เกษตรกรบ้านเราก็มีประสบการณ์สูง แต่ก็ยังมีพื้นที่ทางการเกษตรกรอีกหลายๆ พื้นที่ ที่มีสภาพแวดล้อมไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไรนัก ยกตัวอย่าง ทางภาคอีสาน ซึ่งดินมีสภาพเป็นดินปนทราย ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีระบบชลประทานที่ดีมากพอ ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติอย่างเดียว เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อการบริโภคเหลือก็ขายบ้าง เพียงพอต่อการใช้ยังชีพ เพราะในขณะนั้นต้นทุนในการผลิตยังไม่สูงมากนัก 

แต่เมื่อเกษตรกรมีการใช้ดินใช้ทรัพยากรไปเรื่อยๆ ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในดินก็ลดลง ในขณะเดียวกันการเติมความสมบูรณ์กลับลงไปในดินก็ไม่ได้มากพอ บวกกับบางปีเจอกับฝนแล้ง ดินขาดน้ำเมื่อเกษตรกรเริ่มมีการลงทุนใส่ปุ๋ยต่างๆ เพื่อเติมลงไปในดินหวังจะให้เป็นอาหารของพืชผล แต่เมื่อไม่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ปุ๋ยก็ไม่สามารถเติมความสมบูรณ์กลับเข้าไปในดินได้ การลงทุนจึงไม่คุ้มและไม่เกิดประโยชน์ เมื่อได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่าจึงทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งต้องออกไปนอกทำงานนอกภาคการเกษตร ลูกหลานก็ไปอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเกษตรเช่นกันและไม่ได้มองว่าการเกษตรเป็นรายได้หลักอีกต่อไป ในสถานการณ์เช่นนี้หากจะให้เกษตรกรกลุ่มนี้ต้องมาลงทุนเทคโนโลยี ก็จะไม่มีใครกล้าลงทุน หากต้องลงทุนด้วยตัวเอง ซึ่งนี่ก็คือหนึ่งในช่องว่างที่เกิดกับเกษตรรายย่อยของไทย

ช่องว่างต่อมาคือ รูปแบบการรายงานผลผลิตสินค้าเกษตรหรืออะไรก็ตามของประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการรายงานภาพรวมเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ เราแทบจะไม่เคยมีการแยกแยะหรือโฟกัสออกมาเป็นส่วนๆ ทำให้ข้อมูลไม่เอื้อต่อการที่จะให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ทักษะหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสม หรือคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาพืชผลทางการเกษตรได้มากเท่าที่ควรเพราะขาดข้อมูล

อีกหนึ่งช่องว่างที่ทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มากเท่าที่ควรทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนาการเกษตรกรอยู่มากมายก็คือ หน่วยงานของภาครัฐมีการแบ่งงานกันออกเป็นส่วนๆ เป็นกรม กอง ไม่เอื้อต่อการเชื่อมโยงในการทำงาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐจะมีการสนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานมาทำงานมาระดมความคิดทำโครงการร่วมกัน แต่เมื่อจบโครงการก็จบไม่ได้มีระบบที่จะสร้างให้เกิดการทำงานต่อเนื่อง ไม่มีระบบที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องจะสามารถเห็นภาพได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ : ช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรคือ ต้องสามารถตอบคำถาม 2 ข้อนี้ให้ได้ คำถามแรกคือ เกษตรกรได้อะไรจาก Smart Farming คำถามที่สองคือผู้บริโภคได้อะไรจากการบริโภคพืชผลจาก Smart Farming 

ตอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้วางธีมเกี่ยวกับเรื่องของนวัตกรรม (Innovation) เรื่องของ Disruption (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล) ภาคการเกษตรก็เป็นด้านหนึ่งของการทำงานครั้งนี้ ด้วยคำถามแรกว่า เกษตรกรได้อะไรจาก Smart Farming คือเรื่องของซัพพลาย (Supply) คำถามถัดมาผู้บริโภคได้อะไรจาก Smart Farming นั่นคือเรื่องของดีมานด์ (Demand) การที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้นจากการซื้อสินค้าที่ได้ชื่อว่าเป็น Smart Farming จะได้อะไรที่เพิ่มเติมขึ้นหรือมีอะไรที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

ผมได้พยายามหาคำตอบ ซึ่งก็ยังไม่พบ จนได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่มีการทำ Smart Farming มีการทำโรงเรือนโดยการควบคุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ ธาตุอาหารในดิน แสง จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานทำด้านนี้ในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ผู้ประกอบการที่ทำแบบนี้อยู่รอดแค่ 25% เรียกได้ว่า ทำ 4 ราย เจ๊งไป 3 ราย เหลือรอด 1 ราย

ผมได้สอบถามเกษตรกรว่ามีการดำเนินงานต่างจากรายอื่นตรงไหน ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า ผู้ประกอบการรายนี้มองตั้งแต่การผลิตไปจนถึงมือลูกค้าเลย การเกษตรของญี่ปุ่นรายนี้ได้ตอบได้ว่า สิ่งที่เขาได้รับจากการทำ Smart Farming คือ ความสามารถในการควบคุมคุณภาพของผลผลิตภายในฟาร์มได้ทั้งหมด และสามารถป้อนสิ่งที่พืชผลต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งหมดนี้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นติดตามมา เกษตรกรรายนี้ยังได้ตอบถึงสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับจากการที่จ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อพืชผลทางการเกษตรจาก Smart Farming ของเขาว่าลูกค้าจะได้ผักของเขามีวิตามินสูงกว่าฟาร์มทั่วไป และนอกจากนี้หากลูกค้าที่ต้องการผักที่มีกากใยอาหารเพิ่มขึ้นในขณะที่บริโภคเท่าเดิม หรือต้องการให้ผักอร่อย กรอบขึ้น หวานขึ้น เขาก็สามารถทำตรงนี้ให้ได้ โดยทั้งหมดนี้ต้องมีการทำวิจัย 

และนี่เป็นบทเรียนที่มักพบอยู่เสมอเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ว่าต้องมีงานวิจัยเป็นพื้นฐาน ซึ่งสุดท้ายงานวิจัยก็จะไปตอบโจทย์ของการตลาดในที่สุด ผมมองว่าการที่เราจะทำอะไรก็จะมี 2 แกนเสมอ แกนแรกคือ โนว์ฮาว แกนที่สองคือ ดิจิทัล แต่ไม่ได้หมายความว่าการใส่ดิจิทัลเข้าไปแล้วเกษตรกรจะประสบความสำเร็จ เพราะเกษตรกรต้องมี โนว์ฮาว อยู่ก่อนแล้ว ส่วนดิจิทัล นั้น จะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกษตรกรติดปีก มูลค่าเพิ่มหรือโอกาสของความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นจะมาจากการใช้อุปกรณ์ 

“ช่องว่าใหญ่ที่สุดของการทำ Smart Farming คือเรื่องของราคา ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมลูกค้าต้องจ่ายแพงขึ้นจากการบริโภคพืชผลจากฟาร์มแห่งนี้” 

แนวทางเพื่อปิดช่องว่าง และสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีสู่การทำเกษตรกรรมแบบสมาร์ต

เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เราดำเนินงานมาแล้วเป็นปีที่ 51 และสิ่งที่เห็นคือ ภาคเกษตรของประเทศไทยก็ยังไม่ไปถึงไหน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกว่า การทำการเกษตรบ้านเราต้องพึ่งพิงดิน น้ำ อากาศ จากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมักเผชิญกับภาวะน้ำท่วม ฝนแล้ง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อปริมาณพืชผลทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดในแทบจะทุกประเภท 

ด้วยบทบาทของ ธกส. เป็นสถาบันทางการเงินที่มีหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกร มีเงินทุนพร้อมที่จะเติมให้เกษตรในการทำการเกษตร แต่การเติมนั้นต้องให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ภายใต้สถานการณ์ของเกษตรกรที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันนอกจากการผลิตที่ยากต่อการควบคุมแล้ว ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปิด AEC ต้องเจอกับคู่แข่งขันจากเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทยที่มีการผลิตสินค้าทำการเกษตรที่เหมือนๆ กันออกมา

โจทย์ของ ธกส. คือ ทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ ให้มีการคิดในเรื่องของธุรกิจมากขึ้นคิดในเรื่องของต้นทุนกำไรมากขึ้น มีการเข้าถึงนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตและจำหน่าย ไม่ใช่การผลิตและขายตามยถากรรมอย่างที่ผ่านๆ มา 

และนี่คือที่มาของการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของธกส. โดยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วยงาน ภายใต้ชื่อ บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องของการเชื่อมนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ รวมถึงการดูแลในเรื่องของการบริหารจัดการ บริหารต้นทุนกำไร การตลาด ให้กับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของ ธกส. เพื่อให้เกษตรกรอยู่อย่างเข้มแข็ง จนถึงทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาขายสินค้าทางการเกษตรได้

การที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ก็ต้องดูแลในเรื่องของคุณภาพ โดยการเติมเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือเรื่องของดิจิทัลเข้าไปให้เกษตรกร จนถึงการออกไปบอกกับตลาด บอกกับผู้บริโภคเกิดการรับรู้ว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นดีกว่าสินค้าที่อยู่ในตลาดทั่วไปอย่างไรพร้อมกับทำในเรื่องของการจัดการ และการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น มีการให้ความรู้เรื่องปุ๋ย การพัฒนาคุณภาพของดิน มีการส่งเสริมเรื่องปุ๋ยสั่งตัด มีการคัดเกรดสินค้าก่อนส่งขาย การนำเอาสินค้าที่ตกเกรดมาแปรรูปสินค้า การส่งเสริมให้ลดในเรื่องของการใช้เคมีและเพิ่มความรู้และส่งเสริมการใช้สารชีวพันธุ์มากขึ้น ไปจนถึงการออกใบรับรองพืชผลทางการเกษตรเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และที่สำคัญมีการดูแลควบคุมพื้นที่การผลิตเพื่อไม่ให้เกิดภาวะผลิตทางการเกษตรล้นตลาดอีกต่อไป

ณัฐ มั่นคง : ในฐานะของเกษตรกร เจ้าของฟาร์มเมล่อนที่มีการดำเนินงานภายใต้ในระบบที่เรียกว่า Smart Farming มองว่าเรื่องของการเกษตรไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ผลิตพืชผลทางการเกษตรอย่างเดียว แต่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นด้วย เช่นเรื่องของการเงิน การลงทุน การบริหารจัดการ และการตลาด 

การทำการเกษตรในรุ่นพ่อรุ่นแม่จะใช้ประสบการณ์ และความชำนาญที่เกิดจากการทำซ้ำจนเกิดความแม่นยำ แต่ในยุคของผมเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มีความรู้มาจากการลงมือปฏิบัติ สังเกต เก็บข้อมูล ศึกษาทฤษฎี และเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการ การตลาด ในยุคนี้มีผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลพืชผล จึงทำให้การดูแลฟาร์มสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้นบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่ปลูกอย่างแท้จริง 

“โรงเรือนของผมสามารถควบคุมได้ทั้งหมดทั้งความชื้นของดิน คุณภาพ โรคแมลง เช่น ต้นเมล่อนในฟาร์มเหี่ยว ถ้าคิดแบบทั่วไปก็ต้องมองว่าขาดน้ำ แต่เซนเซอร์ของผมแจ้งว่า ความชื้นในดินยังอยู่ในค่าที่เหมาะสมอยู่ในค่าเดิม ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ผมจะให้น้ำกับต้นเมล่อน ด้วยความรู้เกี่ยวกับการปลูกเมล่อนทำให้ผมทราบว่าต้นเมล่อนของผมขาดน้ำจริง แต่สาเหตุของการขาดน้ำมาจากการมีนำในดินเยอะเกินจนรากเน่าซึ่งผมก็รักษาตามอาการจนต้นเมล่อนออกรากฝอยขึ้นมาใหม่ และให้ผลผลิตได้ที่มีคุณภาพระดับ 60-70%”

นอกจากการวิจัยในเรื่องของการผลิตซึ่งผมได้เคยทดลองปลูกเมล่อนมาราว 20-30 สายพันธุ์ ทั้งพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ เทียม หรือสายพันธุ์ใหม่ แต่แล้วก็จะต้องไปจบตรงผู้บริโภค ต้องมีการทำวิจัยไปจนถึงลูกค้าด้วยว่าชอบเมล่อนสายพันธุ์อะไร รสชาติแบบไหน ซึ่งคนไทยนิยมเมล่อนที่หวาน กรอบ เนื้อแน่น ถ้าปลูกพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ที่เน้นความหวานและนุ่มละลายในปาก ก็อาจจะขายไม่ได้

ความเป็นเกษตรกรของบรรพบุรุษเราในอดีตล้วนเกิดจากประสบการณ์และการทำซ้ำ และการบอกต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ท้ายที่สุดส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยรู้เกี่ยวกับทฤษฎีที่ถูกต้องในพืชผลทางการเกษตรที่ตนเองปลูกอยู่เลย แต่หากเรามีความรู้เชิงทฤษฎี บวกกับประสบการณ์จากการสังเกตการณ์ทำซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า และนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ การผลิตของเราก็จะเกิดความแม่นยำ ตรงจุดและไปได้ไวกว่า 

เกษตรกรไทยมีการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างไร

ณัฐ มั่นคง : ถึงแม้ว่าโคโค่เมล่อนฟาร์มจะได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีจากบริษัทดีแทค แต่ก็เคยตอบคำถามหลายๆ ฝ่ายไปว่าหากต้องลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้เองตัวเองก็ยินดีที่จะลงทุน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การศึกษาด้วยว่า พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกนั้นคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และเทคโนโลยีแบบไหนที่จำเป็น เช่นการปลูกเมล่อนต้องให้ความสำคัญเรื่องน้ำ ก็ต้องลงทุนระบบเกี่ยวกับการจัดการน้ำ แต่ถ้าเป็นฟาร์มกล้วยไม้ที่ต้องใส่ใจเรื่องของแสงก็ต้องลงทุนเกี่ยวกับการควบคุมแสงสว่างในฟาร์มเป็นต้น

“ผมมีความเชื่อว่าเทคโนโลยีของ Smart Farming จะเข้าสู่เกษตรกรไทยให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ เพราะเทคโนโลยีจะมีต้นทุนที่ถูกลงใช้ง่ายขึ้นต่อไปตัวเซนเซอร์อาจจะมีวางขายในร้านขายวัสดุทางการเกษตรทั่วๆ ไปอย่างแน่นอน” 

ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ : กฎของดีมานด์ และซัพลาย จะทำให้เทคโนโลยีทางการเกษตรหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ Smart Farming ลดต่ำลง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านั้นให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น ข้อดีของนวัตกรรมคือไม่มีขนาดเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครเร็วกว่าย่อมได้เปรียบเป็นเรื่องของปลาเร็วกินปลาช้าไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาช้าอีกต่อไปแล้ว หากเกษตรกรในบ้านเราเริ่มมีทำการเกษตรบนพื้นฐานของความรู้ และรู้จักที่จะใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ จะส่งผลให้ประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นการเติบโตที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่คนในประเทศของเราถนัดคือการเกษตร 

ดร.นฤทัย วรสถิตย์ : กลไกด้านราคาจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของ Smart Farming ในทุกวันนี้มีบริษัทคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ หันมาพัฒนาในเรื่องเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางด้านการเกษตรและอาหารเพิ่มมากขึ้น เพราะตามที่มีการคาดการณ์ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและทั้งคนที่ต้องการจ่ายเพื่อสุขภาพ ซึ่งพอเกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุนต่างๆ ได้ บวกกับอุปกรณ์มีราคาลดต่ำลงคุณภาพดีขึ้น จะช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตและลดการสูญเสียไปได้ รวมทั้งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นในทุกวันนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่งรัดให้เกษตรไทยเข้าสู่ Smart Farming 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Advance Technology for “Smart Farming” จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click