×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

เอสซีจีลงนามบันทึกความเข้าใจการอุทิศที่ดินบึงบางซื่อใน “โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ” ร่วมกับกรมธนารักษ์ มุ่งพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนกว่า 800 ชีวิต พร้อมผลักดันสู่ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง และแหล่งพักผ่อนของคนกรุงเทพฯ คาดบ้านใหม่โครงการแรกพร้อมเข้าอยู่ปี 2562 บึงน้ำสาธารณะต้องใช้เวลาพัฒนาร่วมกับกทม. โดยมีผู้บริหารจากกรุงเทพมหานคร และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พร้อมด้วยคณะกรรมการสหกรณ์เคหสถาน บ่อฝรั่งริมน้ำพัฒนา จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “การดำเนินงานในโครงการฯ เป็นไปตามแนวทางที่ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชนบึงบางซื่อกว่า 800 ชีวิต ทั้งด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนที่จะก่อสร้างที่พักอาศัยจำนวน 197 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ 60 ยูนิต อาคารชุดพักอาศัย 4 ชั้น 3 อาคาร รวม 133 ยูนิต และบ้านกลางสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลอีก 4 ยูนิต สำหรับงานก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์และบ้านกลางได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้คือภายในปี 2562 จากนั้น จะเริ่มก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment Report) คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ปลายปี 2562 และจะแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ภายในปี 2563 สำหรับการพัฒนาบึงน้ำสาธารณะ จะเริ่มดำเนินการพัฒนาหลังจากชุมชนได้ย้ายเข้าที่อยู่อาศัยใหม่ครบหมดแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่วมกับกรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ปี

ส่วนความคืบหน้าความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ นั้น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ได้พิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อสร้างบ้านสำหรับชุมชนจำนวน 48 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นทางเข้า – ออก และที่จอดรถ และสำนักงานเขตจตุจักรได้พิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ ระหว่างนี้ เอสซีจียังคงลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างสหกรณ์ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะทำงาน รวมถึงจัดตั้งกลุ่มออมสัจจะสะสมทรัพย์ ดูแลเยาวชนและผู้สูงอายุ”

ด้านนายพชร  อนันตศิลป์  อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า “หลังจากที่ได้รับมอบที่ดินจากเอสซีจีแล้ว สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนกรมธนารักษ์จะให้สหกรณ์เคหสถานบ่อฝรั่งริมน้ำพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็น
นิติบุคคลที่เกิดจากการรวมกลุ่มก่อตั้งของชุมชนในพื้นที่บ่อฝรั่ง เช่าระยะยาว 30 ปี โดยกรรมสิทธิ์ของบ้านพัก

อาศัยจะเป็นของชุมชนผู้เข้าร่วมโครงการ และกรมธนารักษ์จะคิดค่าเช่าที่ดินในอัตราเดียวกับโครงการบ้านมั่นคงในที่ราชพัสดุ สำหรับพื้นที่สวนสาธารณะ กรมธนารักษ์มอบให้กรุงเทพมหานครร่วมกับเอสซีจี และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ร่วมกันพัฒนาเป็นบึงน้ำสาธารณะ โดยกรมธนารักษ์จะพิจารณาให้สิทธิ์แก่องค์กร หรือนิติบุคคลอื่นๆ ทำหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลรักษาพื้นที่ในส่วนนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบึงน้ำสาธารณะ โดยมีกรุงเทพมหานครทำหน้าที่ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยแทนกรมธนารักษ์”

โครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ เป็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้แก่ เอสซีจี สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตจตุจักร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรุงเทพมหานคร และกรมธนารักษ์ มุ่งเป็นต้นแบบการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ หนึ่งในต้นแบบโครงการสานพลังประชารัฐ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง จัดสรรพื้นที่อย่างคุ้มค่า มีพื้นที่ส่วนกลางใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต้นแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดโอกาสร่วมกันออกแบบที่อยู่อาศัยที่ลงตัวกับทุกวิถีชีวิต กระตุ้นให้เกิดการออมในชุมชน และต้นแบบบึงน้ำสวนสาธารณะ เพื่อเป็นแก้มลิงและแหล่งพักผ่อนของคนกรุงเทพฯ

 

EIA Monitoring Awards เป็นรางวัลที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มอบให้แก่สถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจแก่สถานประกอบการในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA และส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนากลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง และเป็นแบบอย่างแก่สถานประกอบการอื่นๆ ได้ปฏิบัติตาม และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

กรมชลประทานเฝ้าติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม (EIA) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสูดแก่ทุกภาคส่วน ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บ น้ำ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการค้นคว้ารายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการฯ และยังดำเนินงานการป้องกันแก้ไขหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี

 

ประเภทรางวัลที่ได้รับ

ระดับ ยอดเยี่ยม โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตั้งแต่ 90 ขึ้นไปและโครงการที่ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าระดับดีเด่นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

ระดับ ดีเด่น โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่ 85 คะแนนขึ้นไป

ระดับ ชมเชย โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน

  

EIA Monitoring Awards 2011

ปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมการประกวด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โดยโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2011 ระดับ ชมเชย และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลระดับ ดีเด่น

โดยมี ดร.พิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วย รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์
 

EIA Monitoring Awards 2014

ในปี พ.ศ. 2556 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2014 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์

  

EIA Monitoring Awards 2016

ในปี พ.ศ. 2559 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์

ดร. เยอร์เกน มายน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้าย) มอบหนังสือสำหรับเยาวชน “จุดประกายความคิด เพื่อชีวิตที่สดใส” จำนวน 250 เล่ม ให้แก่โรงเรียนสัจจพิทยา โดยมีนางปรารถนา ลิมะหุตะเศรณี ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ เป็นผู้รับมอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกแก่เยาวชนเรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
การมอบหนังสือนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมวิชาการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมศึกษา เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561 

นอกจากนี้ โคเวสโตร ประเทศไทย ยังได้ร่วมมือกับสถานทูตสาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย จัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างความยั่งยืน ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

 

ดร.เยอร์เกน มายน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด นำทีมพนักงาน จัดกิจกรรมอาสาสมัครให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียนโรงเรียนสัจจพิทยา พร้อมมอบหนังสือสำหรับเยาวชน “จุดประกายความคิด เพื่อชีวิตที่สดใส” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี และเชิญเครือข่ายนักพัฒนารุ่นพี่ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีต้นกล้าชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาถ่ายทอดความรู้ให้กับต้นกล้า และจัดกิจกรรมศึกษาการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยง รวม 44 คน ลงพื้นที่ชุมชนศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ร่วมกับ Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้นกล้าและพี่เลี้ยง รวมถึงชุมชนต่างได้รับคำแนะนำ และแนวทางทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก Mr. Tadashi Uchida ที่สามารถนำไปปรับใช้ด้วยการนำเสนอจุดแข็งของสินค้าผ่านการเล่าเรื่องที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ต้นกล้าได้เชื่อมโยงเครือข่าย และเสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ต้นกล้าชุมชนยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน ที่เริ่มต้นขึ้นจากแรงผลักดันของพฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนหญิงรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากครั้งที่มูลนิธิฯ พาไปเรียนรู้ที่โอย่าม่าแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนว่า “มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่า ต้นกล้าชุมชนจะเติบโตและแข็งแรงได้นั้น ต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ ต้นกล้า ทั้งการดูงานที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OVOP (One Village One Product) หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น Mr. Tadashi Uchida และทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทยเพื่อให้ความรู้กับน้องๆ ทำให้ต้นกล้าได้ปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ เพราะเราเชื่อว่าการได้สัมผัสประสบการณ์จริงย่อมมีคุณค่าและสร้างแรงแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้า ตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชนตนเอง ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน

ด้าน Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee กล่าวถึงการเดินทางมาในครั้งนี้ว่า “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OVOP มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น  กล้าหาญ และมุ่งมั่น ผมเชื่อว่าน้องๆ ต้นกล้าสามารถทำได้แน่นอน ดังนั้น ภารกิจของพวกเราคือ ให้คำแนะนำ ความมั่นใจ และความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยง และชุมชนที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจมากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมือง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในชุมชน

ต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2  เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวถึงความประทับใจว่า “ได้พลังอย่างมากจากคำแนะนำของคุณอูชิดะ และพี่เลี้ยง ทุกคำติชมช่วยยืนยัน และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราทุกคน ความทรงจำแบบนี้ให้แรงบันดาลใจมากกว่าการดูจากภาพ หรือการเล่าให้ฟัง การพาไปเจอและได้สัมผัสทำให้เราได้คิดทบทวนแล้วนำกลับไปปรับใช้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก นับเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชนต่อไป

ด้านบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย นักพัฒนารุ่นพี่กล่าวเสริมว่า “ครั้งนี้ พี่ว่ามีความสมบูรณ์ คือเราได้ดูงานในพื้นที่จริง ทั้งร้านอาหาร กิ๊ฟท์ช้อป ร้านผักอินทรีย์ ทำให้น้องๆ ต้นกล้าที่ยังไม่เห็นภาพการทำงาน ยังมีความลังเล ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ การดูงานในพื้นที่จริง ทำให้เห็น ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ส่วนวิทยากรที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ช่วยให้พวกเราได้รับคำแนะนำดีๆ หลายเรื่อง อย่างเรื่องสินค้าที่ดีและมีคุณภาพต้องมีอะไรบ้าง การอธิบายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่ตลาดต้องการ หลักการตลาด สิ่งที่พี่ชอบมาก คือ การตลาดที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก บางทีเราละเลยไป ทำอย่างไรให้คนมาเห็นแล้วพูดถึง คิดถึง พี่ว่ากิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์ ถือเป็นคุณูปการแก่นักพัฒนารุ่นใหม่อย่างแท้จริง

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้าเหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานในบ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ละทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเอง มูลนิธิฯ หวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น รับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป    

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป สุดเอ็กซ์คลูซีฟ “แอลจีชวนลูกแต้มรัก เติมใจให้แม่” เชิญชวนลูกค้าของแอลจีและครอบครัวจาก LG Life’s Good เฟซบุ๊ค แฟนเพจ มาร่วมกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างความทรงจำที่น่าประทับใจ ด้วยการแสดงฝีมือแต่งแต้มสีสันลงกระเป๋าผ้า สื่อความรักจากใจลูกสู่แม่ โดยมีคุณกบ สุวนันท์ ที่จูงมือครอบครัวมาอย่างพร้อมหน้า ทั้งสามี คุณบรู๊ค ดนุพร ลูกสาว น้องณดา และลูกชาย น้องณดล มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานแห่งความรักในบรรยากาศแสนอบอุ่นต้อนรับเทศกาลวันแม่ ปี 2561 นี้

คุณนิพนธ์ วงษ์แสงอรุณศรี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แอลจีมุ่งมั่นเลือกสรรกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปีให้ลูกค้าและแฟนๆ ของ LG Life’s Good เฟซบุ๊ค แฟนเพจ ร่วมเสริมสร้างการมีชีวิตที่ดีดังสโลแกน Life’s Good โดยกิจกรรมในปีนี้ นอกจากการเพ้นท์ลวดลายลงบนกระเป๋าผ้าที่สะท้อนถึงความรักให้แก่คุณแม่ทั้งหลาย เรายังรับรู้ได้ถึงความรัก ความประทับใจจากครอบครัวที่เข้าร่วม และเราจะยังคงสร้างสรรค์โอกาสดี ๆ เช่นนี้เพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”  

 

 

X

Right Click

No right click