×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

บทเรียนสำคัญที่เราได้รับในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็คือ อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้

เราได้เห็นหลายๆ องค์กรในภูมิภาคนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการแพร่ระบาด และสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่ผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สำหรับปี 2566 องค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดที่มุ่งเน้นดิจิทัลและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีที่สำคัญในปีใหม่นี้มีอะไรบ้าง และองค์กรธุรกิจต่างๆ จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร?

1. ธุรกิจจำเป็นต้องปรับปรุงเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เพื่อให้ทันกับแลนด์สเคปที่เปลี่ยนแปลงไป

การเชื่อมต่อระหว่างผู้คน อุปกรณ์ และข้อมูลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา โดยมีจุดเชื่อมต่อที่เปิดกว้าง รองรับการใช้งานร่วมกัน และเข้าถึงได้นับพันล้านจุด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการทำงานแบบไฮบริดที่ใช้ระบบคลาวด์ “เครือข่าย” เปรียบเสมือนระบบประสาทที่ทำให้ทุกสิ่งสามารถทำงานร่วมกัน และแม้ว่าเครือข่ายจะรองรับความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากองค์กรและผู้ใช้กระจัดกระจายมากขึ้น อีกทั้งยังมีความต้องการในการเข้าถึงแอปพลิเคชันได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครือข่าย เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออย่างราบรื่น ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัย จากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 7 ใน 10 คนในอาเซียนเชื่อว่าปัญหาการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับบุคลากรที่ทำงานนอกสถานที่ อย่างไรก็ดี 27% ระบุว่าบริษัทของพวกเขายังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เหมาะสม ธุรกิจต่างๆ ยังต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี SD-WAN ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และอุปกรณ์ IoT เข้ากับระบบ แอป และข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และการบริหารนโยบายด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนย้ายจากระบบรักษาความปลอดภัยแบบสแตนด์อโลน ไปสู่กลยุทธ์แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อที่มุ่งเน้นไปที่การตรวจจับ การตอบสนอง และการกู้คืน

 

2. ยุคใหม่ของเครือข่ายที่ “รองรับการคาดการณ์” ได้มาถึงแล้ว และจะเปลี่ยนความคล่องตัวของธุรกิจ

การแข่งขันในโลกดิจิทัลปัจจุบันมีความมุ่งหมายเดียว นั่นคือ อะไรก็ตามที่สามารถส่งมอบในรูปแบบดิจิทัลได้ต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ แอปพลิเคชันเป็นเพียงประตูที่เปิดไปสู่โลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของขนาดและความซับซ้อน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าตลาด Super App ในอาเซียนจะมีรายได้สูงถึง 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 25681 กุญแจสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีเยี่ยมก็คือ ความสามารถในการตรวจสอบทั่วทุกจุด ทั้งในส่วนของข้อมูล การโต้ตอบกับระบบ ความเชื่อมโยงระหว่างกัน และดัชนีชี้วัดทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เฟซดิจิทัล โดยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการในส่วนนี้ก็คือ เอนจิ้นเครือข่ายสำหรับการคาดการณ์ซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการตรวจวัดทางไกลจำนวนมาก และผสานรวมเข้ากับโมเดลต่างๆ เพื่อคาดการณ์ปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ว่านี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ โดยผู้บริหารฝ่ายไอทีจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริง ขณะที่ทีมงานฝ่ายธุรกิจสามารถโฟกัสไปที่ความคล่องตัวและการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้โดนใจลูกค้า

3. Physical spaces หรือพื้นที่ทางกายภาพ เช่น ออฟฟิศ และสถานพยาบาล จะถูกพลิกโฉมเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดสำหรับทุกคน

ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า 98%2 ของการประชุมจะมีผู้เข้าร่วมผ่านรีโมทอย่างน้อยหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกมีห้องประชุมและห้องเรียนเพียง 6% เท่านั้นที่รองรับวิดีโอ และในปีใหม่นี้ การทำงานแบบไฮบริดจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทำงานทางกายภาพ โดยองค์กรต่างๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ทำงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศหรือสถานพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกคน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันที่ใกล้ชิดยิ่งระหว่างฝ่ายไอที ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายอาคารสถานที่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การผสานรวมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น ระบบเสียงอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI/การตัดเสียงรบกวนรอบข้าง ไปจนถึงการจัดเตรียมพื้นที่ทางกายภาพโดยใช้อุปกรณ์การประชุมทางวิดีโอที่เหมาะสม เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันแบบไฮบริดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงการปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับพนักงานและแนวทางปฏิบัติของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมในระยะยาว ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานจากที่ใดก็ตาม

 

4. Private 5G พร้อมด้วย Wi-Fi6 จะปฏิวัตินวัตกรรมคลาวด์, เอดจ์ (Edge) และ IoT

เนื่องจากองค์กรธุรกิจจำนวนมากในเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีแห่งอนาคต เราจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รายได้รวมของ 5G ในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นจาก 2.13 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 เป็น 23.89 พันล้านดอลลาร์ในปี 25683 นอกจากนี้ การรวมกันของ Wi-Fi 6 และ 5G จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญ และจะปูทางสู่อนาคตใหม่ของการเชื่อมต่อสำหรับเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยจะให้แบนด์วิธเพิ่มขึ้นสามเท่า และความเร็วเพิ่มขึ้นห้าเท่าเมื่อเทียบกับ Wi-Fi 5 เทคโนโลยีนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเช่น ภาคการผลิต ซึ่งต้องการความสามารถทางวิศวกรรมที่มีความแม่นยำสูง เพื่อใช้แอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ระบบโรงงานอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติภายในกระบวนการต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ พลังของเทคโนโลยีมาจากความสามารถในการตรวจสอบและจัดการทรัพย์สินหลายพันรายการ และความสามารถในการปรับขนาดจะช่วยรองรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในวงกว้าง รวมไปถึงยานยนต์ไร้คนขับ และด้วยเหตุนี้ เราจึงคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมองหาหนทางในการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อมีการกำหนดคลื่นความถี่และจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

5. Purpose หรือจุดมุ่งหมายจะเชื่อมโยงทุกสิ่งที่ธุรกิจทำ ขณะที่ ESG จะเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร

Purpose หรือจุดมุ่งหมาย จะมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นและมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัทต่างๆ ในปีใหม่นี้ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ โดยจากผลการศึกษาของ Harvard Business Review พบว่ามากกว่า 50%ของบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายมีการเติบโตทางธุรกิจ 10% เมื่อเทียบกับ 42% ของบริษัทที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ ยังนับเป็นเรื่องดีสำหรับบุคลากร เพราะจากการศึกษาวิจัยพบว่า “จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน” คือกุญแจสำคัญในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และสุดท้าย นับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับโลกของเรา กล่าวคือ แทนที่จะเป็นแบบฝึกหัดที่กาเครื่องหมายในช่องตัวเลือก การวัดผลกระทบของการดำเนินงานตามจุดมุ่งหมายของแต่ละบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จะกลายเป็นเวทีกลางสำหรับการตัดสินใจขององค์กรมากขึ้น และเราจะเห็นองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อกำหนดกรอบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงการกำหนดกฎระเบียบและเป้าหมายด้านความยั่งยืน

โดย: นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า

 วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงเทรนด์ผู้บริโภคและอสังหาริมทรัพย์ ว่า ปัจจุบันวิวัฒนาการต่าง ๆ ได้ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีการปรับขยับตามเทรนด์ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่คนไทยค่อนข้างมีรสนิยมและมีความทันสมัย

โดยแนวโน้มที่เกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแวดวงอสังหาในมุมมองของวิวัฒน์ มีอยู่ 5 ประการ ประกอบด้วย   1) สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)  จากตัวเลขการบัญชีพร้อมเพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งแน่นอนว่าวงการอสังหาริมทรัพย์จะต้องนำทิศทางนี้มาใช้งานเช่นกัน

 2) เทคโนโลยีอัตโนมัติ   (Automation Becoming The New Norm) เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อและข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ ทำให้เกิดสตาร์ทอัพขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามวิวัฒน์มองว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกเทคโนโลยีเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องพยายามหาว่าอะไรที่เหมาะกับผู้บริโภคมากที่สุด

วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

 3) รสนิยมที่ยกระดับความหรูหราของสินค้าและบริการ (Ultra – High – Net – Worth – Individuals meets Ultra Luxury real estate market)  ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชากรมีการศึกษาค่อนข้างดี จึงส่งผลต่อความต้องการที่จะใช้ชีวิตที่ดี มีรสนิยม เกิดเป็นเทรนด์ที่หรูหรา ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกับที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด การดำเนินธุรกิจจึงมีแนวโน้มจะไปในการทำสินค้าราคาสูงมากขึ้น

4) การมองหาชีวิตที่ดี เข้าใกล้ธรรมชาติ เน้นสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น (Seek for Green & Clean Living) เพราะผู้คนรักตัวเองมากขึ้น เลือกสิ่งที่ดีที่สุดต่อตนเองนั่นคือธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตอาหารการกิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเช่นอารียาก็มีความตั้งใจนำเสนอในเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นเรื่องการบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะ รวมถึงรายละเอียดแวดล้อมให้กับลูกบ้าน

และ 5) งานบริการหลังการขาย ที่กลายมาเป็นเรื่องหลักในการตัดสินใจซื้อบ้าน (Life At Home Begins After Sales) ซึ่งเทรนด์สุดท้ายนี้จะเห็นชัดที่สุดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อผู้บริโภคมีการใส่ใจในบริการหลังการขายที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่มีขึ้นเพื่อลดขั้นตอนที่ไม่สำคัญ แต่ก็ยังคงชอบการใส่ใจจากนิติบุคคลและพนักงานที่ให้บริการหลังการขาย นอกจากนี้ ในเรื่องการรับประกันบ้านก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง วิวัฒน์บอกว่า ในวงการอสังหาริมทรัพย์เรื่องต่างๆ สามารถลอกเลียนกันได้ไม่ว่าจะเป็นแบบบ้าน เฟอร์นิเจอร์ แต่สำหรับการสร้างทีมงานที่เอาใจใส่ดูแลลูกค้าเป็นเรื่องที่ลอกเลียนกันได้ยาก

วิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

เสริมว่าจาก 5 เทรนด์ข้างต้นสอดคล้องกับ 4 ยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินธุรกิจของอารียา ซึ่งประกอบด้วย งานออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นมาพร้อมกับคุณภาพ (Aesthetic Design & Premium Quality) ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัททำมาตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งด้านการออกแบบและการให้บริการ

ความสุขและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Happiness) ที่ทางอารียาตีความเป็นการใช้ชีวิตแบบ Green & Clean สะท้อนคุณภาพชีวิต โดยสอดแทรกอยู่ในทุกโครงการ

นวัตกรรมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ทุกรูปแบบ (Innovative Living) เพื่อการอยู่อาศัยที่ทันสมัย โดยการมองไปข้างหน้าถึงความต้องการของผู้อยู่อาศัย

และการให้บริการดูแลลูกบ้านตั้งแต่เริ่ม ตลอดจนบริการหลังการขายอย่างสุดความสามารถ (Best In Class After Sales Service)  ที่อารียาเน้นการให้บริหารลูกบ้านระยะยาว 

ทั้ง 4 แกนนี้คือเสาหลักในการดำเนินธุรกิจของอารียา และช่วยสร้างความพึงพอใจแก่ผู้อยู่อาศัยในโครงการต่างๆ

 

สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังวิศิษฎ์บอกว่า อารียา พรอพเพอร์ตี้ จะมีการเปิดตัว 8 โครงการใหม่ มีมูลค่าการลงทุนรวม 7,275 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ The Village บางนา, โครงการ COMO PRIMO บางนา, โครงการ The Colors บางนา และบางบัวทอง, โครงการ Mandarina เกษตร – รามอินทรา, โครงการคอนโดมิเนียม A Space Mega บางนา 2, โครงการ The Parti เกษตร – นวมินทร์ และ โครงการ Busaba บ้านเดี่ยวติดถนนเสรีไทย

ในส่วนของการอยู่อาศัยแบบ Green and Clean มีการนำเทคโนโลยี Clean Air and Energy Saving ที่ได้พาร์ทเนอร์ใหม่อย่าง พานาโซนิค มาช่วยเสริมด้านเทคโนโลยี Clean Living ให้อากาศภายในบ้านปลอดโปร่ง สะอาด ปราศจากเชื้อโรค รวมถึงช่วยประหยัดพลังงาน และ  เทคโนโลยีควบคุมบ้านผ่านปลายนิ้วสัมผัส ด้วยระบบ Self-Managed Home Automation at Fingertips รวมถึงกิจกรรม Recycle Day ที่ได้มีการพัฒนาระบบในรูปแบบของแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้การคัดแยกขยะของลูกบ้านง่ายและสะดวกขึ้น จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างมาก   

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมามีการเปิดตัวแคมเปญใหม่ คือ “ความสุขมีตัวตน” เพื่อต้องการสื่อสารให้สอดรับกับความทันสมัยของผู้บริโภค รับกับรสนิยม และการใส่ใจสุขภาพกายและใจของสังคมเมือง 

และเพื่อเสริมการปรับภาพลักษณ์ใหม่ อารียาปรับโฉมใหม่เว็บไซต์หลัก www.areeya.co.th ให้มีความทันสมัย ใช้งานง่าย และรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่ม LiveChat ที่จะช่วยตอบคำถามผ่านหน้าเว็บไซท์ทุกวัน และลูกค้าสามารถชมบ้านตัวอย่างแบบ 360 องศาผ่านเว็บไซท์อารียาได้โดยไม่เดินทางไปถึงสถานที่จริงอีกด้วย

 

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click