KBank Private Banking เห็นสัญญาณบวกในภาคการลงทุน จากที่ตลาดทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ส่งผลให้ความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มกลับมา แต่ความผันผวนโดยเฉพาะความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ในระดับสูง แนะนักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุน ชู 3 กองทุนผสมภายใต้ K-ALLROAD Series* กองทุนอัจฉริยะที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย มาพร้อมปรับพอร์ตอัตโนมัติโดยยึดความเสี่ยงของสินทรัพย์เป็นหลัก จึงสร้างผลตอบแทนได้อย่างมั่นคงและควบคุมการขาดทุนได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ เผยเป็นซีรีส์กองทุนที่ลูกค้าตอบรับดี ระดมเงินลงทุนไปได้แล้วกว่า 6.3 พันล้านบาท **

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “บรรยากาศโดยรวมของการลงทุนในต้นปี 2566 นี้ปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI World Index ที่มีผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 (YTD Returns) ที่ 4.16% อย่างไรก็ดี ยังมีหลายปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องจับตา จากการประเมินของ Lombard Odier ค่าความผันผวนในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 78% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการฟื้นตัวของราคาสินทรัพย์ยังมีความเสี่ยงและยังไม่มีเสถียรภาพนัก อย่างไรก็ดี ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ (Risk Appetite) จากการประเมินของ Lombard Odier ปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ระดับ 83% ถือว่าอยู่ในระดับพร้อมลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (Risk on) จากก่อนหน้าช่วงปลายปีที่อยู่ในระดับ 36% ที่นักลงทุนไม่พร้อมที่จะรับความเสี่ยง (Risk off)

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุนท่ามกลางความผันผวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังน่ากังวล KBank Private Banking ยังคงแนะนำลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารให้แบ่งเงินลงทุน 50-60% ของพอร์ตลงทุนในสัดส่วนพอร์ตหลักโดยเน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ Risk-Based Asset Allocation เพื่อสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ช่วยให้สามารถลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในทุกสภาวะตลาด ผ่านกองทุน K-ALLROAD Series ที่มาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ในช่วงตลาดผันผวน ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด

 

กองทุน K-ALLROAD Series ประกอบด้วย 3 กองทุนซึ่งแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ K-ALLROAD-UI, K-ALLGROWTH-UI และ K-ALLENHANCE-UI โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสามารถสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

“KBank Private Banking ได้เริ่มแนะนำกองทุน K-ALLROAD Series ให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 และจากภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังดีขึ้น ตลอดไตรมาสแรกของปี 2566 กิจกรรมการตลาดกับลูกค้าใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการลงทุนและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนผ่านการลงทุนใน K-ALL ROAD Series คาดว่าจะยังคงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า ปัจจุบัน ทั้ง 3 กองทุนในซีรีส์นี้สามารถระดุมเงินลงทุนจากลูกค้าไปได้กว่า 6.3 พันล้านบาท** ” นายจิรวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v

KBank Private Banking ผู้ให้บริการที่ปรึกษาการบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัวครบวงจรและครอบคลุมทุกมิติได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี เผย 4 เทคนิค ยุติศึกชิงธุรกิจครอบครัว “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ

พร้อมรักษาสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้การส่งต่อธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน แม้การทำธุรกิจร่วมกับคนในครอบครัวจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีหลายครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ สามารถบริหารและส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้

นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่มาควบคู่กับธุรกิจครอบครัว ก็คือความอ่อนไหวและความเคยชินในการเป็นสมาชิกครอบครัว การข้ามผ่านความเป็นครอบครัวไปสู่การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพจึงเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ ครอบครัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าการก้าวผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวจะไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยเองก็มีหลายธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จและสามารถส่งต่อธุรกิจกันมาหลายต่อหลายรุ่น\

ล่าสุด เรื่องราวประเด็นปัญหาของการส่งต่อธุรกิจ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยม เล่าเรื่องเกี่ยวกับตระกูลมหาเศรษฐีที่บริหารธุรกิจกันโดยสมาชิกในครอบครัว สะท้อนให้เห็นถึงปมปัญหาธุรกิจครอบครัวที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อไปสู่รุ่นลูก โดยที่พ่อยังยึดมั่นในธรรมเนียมดั้งเดิมที่ต้องการส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโต เมื่อเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม พี่น้องจึงพร้อมแย่งชิงธุรกิจและทรัพย์สมบัติกันเองจนแทบไม่เหลือความเป็นครอบครัว

KBank Private Banking ได้ถอดบทเรียนจากซีรีส์เกาหลี สรุปปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ประการได้แก่ “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วางแผน สมาชิกในครอบครัวต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และร่วมกันวางแผนเพื่อให้สามารถเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ซึ่งนอกจากจะต้องวางแผนในเชิงธุรกิจแล้ว ระบบการจัดการภายในเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจึงต้องมีการตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของครอบครัว วางแผน และลงมือปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ เช่น ตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์ของครอบครัวเป็นสินค้าระดับโลก ธุรกิจครอบครัวจะต้องมีการปรับตัวอย่างไร สมาชิกต้องมีบทบาทและหน้าที่อะไรบ้าง สิ่งใดเป็นข้อดี สิ่งใดที่ยังขาด จะต้องมีการนำเรื่องเหล่านี้มากำหนดเป็นแผน และทำให้สมาชิกทุกคนเข้าใจตรงกัน เป็นต้น

2. กำหนดกติกา สมาชิกครอบครัวจะต้องมีการกำหนดกติกาต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ลดความขัดแย้ง โดยสมาชิกจะต้องรับรู้ถึงบทบาท สิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงผลประโยชน์ที่สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะได้รับ ซึ่งหากเป็นการตกลงร่วมกัน จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นธรรม นอกจากกติกาแล้ว การบริหารจัดการยังจะต้องแยกเสาหลักของการจัดการ “ธุรกิจ” และ “ครอบครัว” ออกจากกัน แต่ยังต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งประสานประโยชน์ระหว่างสองเรื่องนี้ได้ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจอาจทำเป็นระบบเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันการตัดสินใจในฐานะผู้ถือหุ้น การปันผลเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัว ยังคงเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นต้น

3. สร้างการมีส่วนร่วม สมาชิกในครอบครัวไม่จำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนในการดำเนินธุรกิจหรือระบบการจัดการภายในครอบครัวทุกคน แต่สิ่งสำคัญคือการยึดถือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกติกาที่ครอบครัวได้ตกลงร่วมกันไว้ นอกจากนี้ การสื่อสารภายในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดความเคลือบแคลงที่อาจเกิดเป็นปัญหาผิดใจกัน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ ในปัจจุบัน หลายๆ ครอบครัวจะมีการจัดกิจกรรมระหว่างสมาชิกครอบครัวในรุ่นต่างๆ เพื่อให้คนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ลูกพี่ลูกน้อง ป้าหลาน ปู่ย่าตายาย มีความใกล้ชิดกัน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีในแง่ของความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวมีความเข้มแข็งอีกด้วย

4. บริหารอย่างมืออาชีพ หนึ่งในการข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัวคือการบริหารอย่างมืออาชีพ บางครอบครัวอาจมีข้อตกลงร่วมกันที่จะว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ บางครอบครัวอาจจะยังให้สมาชิกในครอบครัวบริหารเองอยู่ แต่ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการบริหารมากขึ้น นอกจากตัวบุคคลแล้ว โครงสร้างของธุรกิจครอบครัว จะต้องมีการจัดระบบที่สามารถรองรับการบริหารอย่างมืออาชีพได้แทนการบริหารจัดการธุรกิจแบบครอบครัวอย่างเดิม

สำหรับการส่งมอบบริการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว KBank Private Banking นำประสบการณ์และองค์ความรู้กว่า 225 ปีที่ได้รับถ่ายทอดจาก Lombard Odier ซึ่งยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ส่งต่อกันมาถึง 7 รุ่นด้วยกัน ทำให้สามารถส่งมอบบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวได้อย่างครบวงจร เพื่อช่วยให้ทุกครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารธุรกิจครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเติบโตให้สินทรัพย์ครอบครัวงอกเงยอย่างยั่งยืน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบได้ และเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป” นายพีระพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

 

ล่าสุด ยกระดับบริการ “สำนักงานครอบครัว” ตอบทุกโจทย์ความต้องการลูกค้าเศรษฐีไทย

กรุงเทพฯ 28 กันยายน 2565 : STA เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้และหุ้นกู้ดิจิทัล อายุ 4 ปี ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A” แนวโน้ม “คงที่” จัดอันดับโดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สะท้อนความมั่นคงของธุรกิจจากแนวโน้มการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยางธรรมชาติและความต้องการใช้ถุงมือยางที่ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง คาดเสนอขายเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยหุ้นกู้ทั่วไปจองซื้อผ่านธนาคารกสิกรไทย และหุ้นกู้ดิจิทัลจองซื้อผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย

นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้นำในธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้ทั่วไป และหุ้นกู้ดิจิทัล โดยหุ้นกู้ทั้ง 2 ชุด มีอายุ 4 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ฯ ให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนให้ทราบในภายหลัง ทั้งนี้ หุ้นกู้ฯ และบริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ระดับ “A” แนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยคาดว่าจะเสนอขายในเดือนพฤศจิกายน 2565

ทั้งนี้ อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยางธรรมชาติและความต้องการใช้ถุงมือยางที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ที่ดีขึ้น โดยทริสเรทติ้ง คาดว่า บริษัทฯ จะมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งในช่วง 12 - 18 เดือนข้างหน้า โดยบริษัทฯ มีภาระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระจำนวน 2.7 - 4.4 พันล้านบาทในระหว่างปี 2565 - 2567 ในการนี้ ทริสเรทติ้ง ประมาณการว่า กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทฯ จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.2 - 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 บริษัทฯ มีเงินสดในมือและเงินลงทุนระยะสั้นจำนวน 1.75 หมื่นล้านบาท และมีวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้อีกกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท

“บริษัทฯ มั่นใจว่า หุ้นกู้ STA จะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนที่เป็นประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี หลังจากก่อนหน้านี้เราประสบความสำเร็จจากการขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ที่จองซื้อเข้ามาเกินจำนวนที่จัดสรรไว้ สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ลงทุน ที่มองเห็นโอกาสจากความมั่นคงของกิจการที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ขณะเดียวกัน การเสนอขายหุ้นกู้ให้กับประชาชนทั่วไปในครั้งนี้ บริษัทฯ ยังเพิ่มความหลากหลายในการเข้าถึงการลงทุน ซึ่งจะทำให้การลงทุนในหุ้นกู้สะดวกยิ่งขึ้น” นายวีรสิทธิ์กล่าว

สำหรับช่องทางการจำหน่ายหุ้นกู้ฯ ของ STA ในครั้งนี้ จะแบ่งเป็นหุ้นกู้ทั่วไป เสนอขายผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท และหุ้นกู้ดิจิทัล เสนอขายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท

ปัจจุบัน บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายยางธรรมชาติแบบครบวงจร (Full Supply Chain) ในหลากหลายประเทศ เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ ได้แก่ การทำสวนยางพาราในประเทศไทย ธุรกิจกลางน้ำ ประกอบด้วย การผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ ทั้งยางแท่ง (TSR) ยางแผ่นรมควัน (RSS) และน้ำยางข้น (Concentrated Latex) รวมถึงธุรกิจปลายน้ำ ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง และสินค้าสำเร็จรูป อาทิ ท่อไฮดรอลิกแรงดันสูง โดยบริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนดอกเบี้ยในระดับต่ำ เนื่องจากได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ในระดับที่แข็งแกร่ง

กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร STA กล่าวด้วยว่า การออกและเสนอขายหุ้นกู้ฯ ของ STA ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ โดยปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการขยายกำลังการผลิตยางแท่ง 140,160 ตันต่อปี ที่โรงงานจังหวัดตรัง คาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จและเริ่มทยอยเดินเครื่องจักรเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมิถุนายนและเดือนกันยายนปี 2566 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนขยายกำลังการผลิตยางธรรมชาติในปี 2566 เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่แผนการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯ วางเป้าหมายมีปริมาณการขายยางธรรมชาติทุกประเภทรวม 1.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากปีก่อนที่มีปริมาณการขายรวมประมาณ 1.3 ล้านตัน

พร้อมส่งแคมเปญพิเศษรับเงินคืนเมื่อจ่ายค่าเรียนสกุลเงินต่างประเทศ

Page 4 of 6
X

Right Click

No right click