×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

ธนชาตประกันภัย เผยผลประกอบการปี 2561 คว้ากำไรสุทธิ 1,042 ล้านบาท  สร้างเบี้ยประกันภัยรับรวมกว่า 7,987 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนกว่า 6.4% พร้อมเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วเป็น 4,930 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประกันวินาศภัย เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ เผยทิศทางปี 2562  เดินหน้าขยายธุรกิจต่อเนื่อง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หลากหลายตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงพัฒนาบริการต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุ่งสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายสูงสุด

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าและการพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ธนชาตประกันภัยจึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าซึ่งถือกรมธรรม์มากกว่า 1.5 ล้านฉบับ และมีความพึงพอใจในการบริการสูงถึง 86% นำมาสู่ความสำเร็จของบริษัทฯ จากผลการดำเนินงานในปี 2561 บริษัทฯ มีเบี้ยประกันรับรวมถึง 7,987 ล้านบาท เติบโตกว่า 6.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนและมีกำไรสุทธิ 1,042 ล้านบาท

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กรรมการผู้จัดการ ธนชาตประกันภัย

สำหรับปี 2562 เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจและการเติบโตในอนาคต บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเป็น  4,930 ล้านบาท และจากที่บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนถึง 807% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกำหนดไว้ที่ 140% ด้วยความแข็งแกร่งมั่นคงดังกล่าวทำให้ธนชาตประกันภัยสามารถต่อยอดสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้หลากหลายภายใต้ 4 กลยุทธ์สำคัญ อันได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบรับความต้องการลูกค้า (Customer Segmentation) การยกระดับบริการด้วยนวัตกรรม (Service Innovation) การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Expansion) และการร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง (Business Partnership) ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจบนช่องทางและมุมมองใหม่ๆ ในปี 2562 นี้

ด้าน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ธนชาตประกันภัยจะให้บริการผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อาชีพอิสระ ธนชาต ชูชีพ PA” เหมาะกับผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ “ประกันภัยบ้าน สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน” ให้ความคุ้มครองของใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ “ประกันภัยรถยนต์ 2+” พัฒนาขึ้นสำหรับแต่ละกลุ่มลูกค้า โดยเริ่มจาก ประกันภัยรถยนต์ 2+ ราคาพิเศษ สำหรับลูกค้าที่มีอายุ 39 ปีขึ้นไป และ “ประกันสุขภาพ” รูปแบบใหม่ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทคุ้มครองโรคร้ายแรง และประเภทคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่าย

ด้าน การยกระดับคุณภาพบริการด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ธนชาตประกันภัยเป็น ผู้ให้บริการประกันภัยเจ้าแรกที่ให้ “บริการแจ้งอุบัติเหตุผ่านไลน์” อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ โดยในอนาคตอันใกล้ ยังมีแผนเพิ่มเติมบริการใหม่ในด้านต่างๆ ผ่านไลน์ให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อยกระดับการให้บริการ เช่น การเปลี่ยนแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ “E-document” การนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาใช้ ประเมินราคาซ่อมรถยนต์แบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการพิจารณาและการส่งรถยนต์เข้าสู่กระบวนการซ่อม และ “การจัดการข้อมูลของลูกค้าอย่างเป็นระบบด้วย Enterprise Database” ที่จะช่วยเสริมศักยภาพขององค์กร ให้ใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า

ในปีนี้ยังมุ่ง ขยายพันธมิตรธุรกิจ ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เช่น Drivemate แพลตฟอร์มให้เช่ารถออนไลน์, Digital Butler แพลตฟอร์มผู้ช่วยดูแลบ้านและคอนโด และ TripBuddy แพลตฟอร์มผู้ช่วยส่วนตัวนักเดินทาง เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการ อันหลากหลายของลูกค้า ทั้งในแง่ของความคุ้มค่าและสะดวกสบายสูงสุด

บริษัทตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันรับรวมปี 2562 เติบโตจากปีก่อนไว้ที่ 6และด้วยฐานะการเงินที่มั่นคงของทุนจดทะเบียน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประกันวินาศภัย และนโยบายการขยายธุรกิจผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก พร้อมทีมผู้บริหารและพนักงานที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในธุรกิจประกันภัยมาอย่างยาวนาน เราเชื่อมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งจะได้รับความไว้วางใจและความพึงพอใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ก้าวต่อไปที่แข็งแกร่งและความสำเร็จที่ยั่งยืนของธนชาตประกันภัยต่อไปในอนาคต นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กล่าวสรุป

นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนายวรวัจน์ เจริญชัยพงศ์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการ  บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)  นำทีมผู้บริหารแถลงเปิดวิสัยทัศน์แบรนด์ใหม่นำสินประกันภัย ในโอกาสครบ 71 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 ของการดำเนินงาน ซึ่งจากนี้เป็นต้นไปนำสินประกันภัยจะมุ่งส่งมอบคุณค่าของความเป็นพันธมิตรที่ร่วมคิดร่วมทำกับลูกค้าและคู่ค้าเพื่อสรรค์สร้างให้เกิดสิ่งที่ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกัน

นายวรวัจน์ เจริญชัยพงศ์ กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการ ในฐานะผู้บริหารรุ่นใหม่กล่าวว่า การที่ให้ความสำคัญกับการ “รีแบรนด์”  ในครั้งนี้ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือ นำสินประกันภัยเป็นแบรนด์ที่มีอายุยาวนานถึง 71 ปี แม้จะเติบโตมาอย่างมั่นคง แต่เมื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โครงสร้าง และวิธีการบริโภคของลูกค้าก็มีความซับซ้อนและมีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป NSI นำสินประกันภัย จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เปลี่ยนไปตามเทรนด์ของ Digital Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยใช้ดิจิทัลมาเป็นหัวใจในการดำเนินงาน  ต้องสร้างความแตกต่างของแบรนด์นำสินประกันภัยให้ต่างไปจากยุคเก่า โดยต้องรีแบรนด์แบบยกเครื่องทั้งองค์กร

นายวรวัจน์เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ใหม่ของแบรนด์นำสินโดยจะเน้นที่คุณค่าของการเป็น Better Partner Better Together ที่ชัดเจนขึ้นคือการเป็นสมาร์ทพาร์ทเนอร์ที่เราจะต้องร่วมคิดร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ให้กับคู่ค้าและลูกค้าของเรา เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจและการดำเนินชีวิตของทุกคนก้าวหน้าก้าวไกลไปด้วยกัน “สิ่งแรกของการเปลี่ยนที่เห็นชัดเจนก่อนเลยคือการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ ที่ทันสมัยและสดใสขึ้น”    

การรีแบรนด์ครั้งนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนแค่โลโก้ และสีประจำบริษัท  แต่เป็นการเปลี่ยนทั้งแนวคิด กระบวนการทางธุรกิจ และทักษะการทำงานของบุคลากร เพื่อรองรับการเข้ามาของ InsurTech  ที่อาจเข้ามา Disruption อุตสาหกรรมประกันภัยในยุค Thailand 4.0  ดังนั้น จึงมีแผนยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลง หรือ “โรดแมพ” ในการรีแบรนด์ NSI นำสินประกันภัยอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

สำหรับเทคโนโลยีประกันภัย หรือ InsurTech ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คนไทยในยุคนี้เข้าถึงการประกันภัยมากขึ้น ทางคณะผู้บริหาร NSI นำสินประกันภัย มีแผนนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพและรูปแบบธุรกิจประกันภัยด้วยเช่นกัน นอกจากนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินกิจการแล้วยังจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการคู่ค้าและลูกค้า เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแจ้งเคลมผ่านมือถือ  ขยายช่องทางการขายผ่านระบบออนไลน์ และการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ รวมทั้งการตอบข้อซักถามและรับเรื่องร้องเรียนผ่านแชทบอท เป็นต้น นายวรวัจน์กล่าวในตอนท้าย

ทางด้านนายสมบุญ  ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ NSI เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2561 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 2,038 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นประกันภัยรถยนต์ 1,409 ล้านบาท ประกันอัคคีภัย 30 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 26 ล้านบาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและอื่นๆ 573 ล้านบาท “บริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรถยนต์สูงที่สุดคืออยู่ที่ร้อยละ 69 หรือเท่ากับ 1,409 ล้านบาท มีประกันภัยประเภทไม่ใช่รถยนต์ (Non Motor) อยู่ที่ร้อยละ 31 หรือเท่ากับ 629 ล้านบาท หากเปรียบเทียบพอร์ตระหว่างรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ กับรถยนต์ส่วนบุคคล มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 68 ต่อ 32 ซึ่งหมายความว่าธุรกิจหลักของ NSI นำสินประกันภัย ยังคงมุ่งเน้นที่ รถใหญ่ หรือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก”

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2562 นายสมบุญ กล่าวว่าจะไม่เน้นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2562 มีเป้าหมายผลิตผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 2,330 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12 โดยยังคงเน้นสัดส่วนการทำธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในอัตราร้อยละ 64 ส่วนธุรกิจการประกันภัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 36 “เรายังคงเน้นที่กรมธรรม์รถบรรทุก และรถเก๋งขนาดใหญ่กว่า 2,000 ซีซี เพราะถือว่าเป็นความถนัดและเป็นความเชี่ยวชาญของเรา และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ก็จะมีสินค้าและบริการใหม่ๆ ทั้งก่อนการขายและหลังการขายมาตอบโจทย์ลูกค้าอย่างถูกใจและใหม่ขึ้น โดยทั้งหมดจะเน้นให้สอดรับกับคุณค่าของแบรนด์ที่เราตั้งใจส่งมอบให้ลูกค้าและคู่ค้าคือการเป็น Better Partner Better Together ที่เราพร้อมจะก้าวไกลไปด้วยกันในยุค 4.0” กรรมการผู้อำนวยการ นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กล่าวในที่สุด

นางวรรธนา มงคลศรี (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา “เปิดเกมรุกบุกตลาดโลก ปี 62” จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดการค้าโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ อาทิ อาหารและอาหารแปรรูป เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องจักรกล และเครื่องประดับ ณ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy : NEA)  โดยมีนายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการ NEA ให้การต้อนรับ เมื่อเร็วๆ นี้

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แถลงความพร้อมการจัดงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ระดับแถวหน้าของเอเชีย หรือ STYLE Bangkok เดือนเมษายน พร้อมดันผู้ผลิต ผู้ส่งออกและดีไซเนอร์กลุ่มไลฟ์สไตล์ จัดแสดงสินค้ากว่า 1,600 คูหา ครอบคลุมพื้นที่ 41,000 ตารางเมตร ของไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2562

งานแถลงข่าวฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯถนนวิทยุ ได้รับเกียรติจากรองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) นางวรรณภรณ์ เกตุทัต เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคม สมาพันธ์และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมงานอย่างคับคั่ง ภายในงานยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไฮไลต์ในรูปแบบนิทรรศการและแฟชั่นโชว์แสนประทับใจจากความร่วมมือของนิตยสารชื่อดังระดับนานาชาติโว้กประเทศไทย

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า "STYLE Bangkok เดือนเมษายน 2562 เป็นการรวมงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ที่สำคัญ 3 งาน ได้แก่ งานแสดงสินค้าแฟชั่นและงานแสดงสินค้าเครื่องหนัง หรือ BIFF & BIL งานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน หรือ BIG+BIH และงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ หรือ TIFF สามงานแสดงสินค้านานาชาติที่จัดต่อเนื่องยาวนาน เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มไลฟ์สไตล์ของโลกและตอบรับกับความต้องการของผู้ซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเพื่อตอบสนองแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าที่ลดระยะเวลาและภาระต่างๆ ในการเดินทางเพื่อสั่งซื้อสินค้า"

“การรวมงานแสดงสินค้าทั้ง 3 งานเข้าด้วยกัน จึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อให้สามารถพบสินค้าที่หลากหลายและครบครันภายในงานเดียว สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าปลีก, Concept Store, ตัวแทนจัดซื้อ นักออกแบบ, มัณฑนากร, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ห้างสรรพสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นการขยายโอกาสทางการค้าของผู้ร่วมแสดงสินค้าที่จะได้พบผู้ซื้อ-คู่ค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น”

นางวรรณภรณ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “STYLE Bangkok เดือนเมษายนจัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Crenovative Origin เพื่อสะท้อนแนวคิดในการผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์ไทย (Original) เข้าไว้ด้วยกัน โดยชูจุดเด่นของสินค้าไลฟ์สไตล์ของผู้ประกอบการไทยที่มีการต่อยอด พัฒนาผลงานอย่างสร้างสรรค์ผสานนวัตกรรมนำสมัย เพื่อยกระดับพื้นฐานวิถีไทยสู่เวทีการค้าโลก งานในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และCLMV ทั้งสิ้น 876 บริษัท 1,687 คูหา คาดการณ์จะมีผู้เข้าชมงานกว่า 45,000 ราย จาก 70 ประเทศทั่วโลกคาดการสั่งซื้อภายในงานทันทีไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท”

ภายในงาน นอกจากจะมีสินค้าไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายและครบครันแล้ว ยังมีการจัดนิทรรศการที่น่าสนใจกว่า 20 นิทรรศการซึ่งถือเป็นอีกไฮไลต์ที่แตกต่างจากงานอื่นๆ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ SMEs ผู้ประกอบการจากภูมิภาค ประกอบด้วย นิทรรศการ The New Faces, คูหาพาณิชย์จังหวัด, นิทรรศการ OTOP เพื่อการส่งออก ฯลฯ  กลุ่มนักออกแบบและแบรนด์น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการ Designers' Room & Talent Thai, Innovation and Design Showcase, Niche Product สินค้าสัตว์เลี้ยง ผู้สูงอายุ แม่และเด็ก และกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งโรงแรม รีสอฺร์ท และที่พักอาศัย (Hospitality & Home) Art Zone ตลอดจนนิทรรศการส่งเสริมความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ อาทิ นิทรรศการสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ Functional Textile, The Pattern Creator พัฒนาและส่งเสริมนักสร้างต้นแบบตัดเย็บสู่ระดับสากล, Material Solution นิทรรศการนำเสนอแนวโน้มการใช้วัสดุต่างๆ ในการสรรค์สร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ย้ำว่า “กรมฯ มุ่งหวังที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีคุณภาพของภูมิภาคอาเซียน และผลักดันให้งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok เป็นงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ระดับนานาชาติที่ตอบสนองทุกความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายในอุตสาหกรรมฯ รวมทั้ง เป็นเวทีที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้พบปะ เจรจาธุรกิจ แลกเปลี่ยนความรู้ อัพเดทเทรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ จึงถือเป็นงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ครบวงจรอย่างแท้จริง และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จึงอยากขอเชิญชวนผู้ซื้อ นักธุรกิจ นักออกแบบ และประชาชนทั่วไปร่วมเลือกซื้อสินค้าภายในงานและที่สำคัญคือร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจกับศักยภาพอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ของไทย”

STYLE Bangkok จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2562 ณ ไบเทค บางนา โดยเปิดเจรจาธุรกิจ ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน เวลา 10.00-18.00 น. และเปิดจำหน่ายปลีกสำหรับประชาชนทั่วไป ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน เวลา 10.00-21.00 น. ชมรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ที่ www.stylebangkokfair.com หรือโทรสายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และ บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น หรือ ซี.พี. เวียดนามคว้า 7 รางวัลระดับโลก Total Productive Maintenance : TPM 2018 สะท้อนภาพลักษณ์องค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านการควบคุมและจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตองค์กร และมีระบบงานตามแนวคิด “การป้องกัน” ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน พร้อมเอื้อประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ 4 แห่ง ได้แก่ โรงงานบางนา กม.21, โรงงานพิษณุโลก, โรงงานหนองแค และโรงงานปักธงชัย ผ่านการประเมินรางวัล TPM จากผู้เชี่ยวชาญ TPM Assessor ของสถาบัน JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) โดยวิธีการประเมิน 5 ด้าน คือ 1.ด้านการบริหารจัดการโรงงาน ที่มีการถ่ายทอดนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (Policy Deployment) เริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ไปจนถึงการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงาน 2.ด้านระบบ ประเมินความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผลของระบบที่ถูกสร้างขึ้น ที่สามารถนำมาปฏิบัติและสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้จริงเป็นไปตามแนวทางของ TPM 3.ด้านบุคลากร ประเมินทักษะความสามารถของพนักงานทุกระดับในการวิเคราะห์ ปรับปรุง (Kaizen) เพื่อกำจัดความสูญเสียผ่านโครงการต่างๆ โดยเฉพาะผู้ควบคุมเครื่องจักร (Operator) 4.ด้านผลลัพธ์ ประเมินผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับระบบและทักษะความสามารถของบุคลากร ทั้งความสมเหตุสมผลของตัวชี้วัด ความท้าทายของเป้าหมายและผลสำเร็จ 5.ด้านการมีส่วนร่วม ประเมินความมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อกำจัดความสูญเสียของพนักงานทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน

 

“กระบวนการประเมินทั้ง 5 ด้าน นอกจากจะส่งผลให้โรงงานมีประสิทธิภาพการผลิตที่ดี ลดการสูญเสีย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังส่งผลถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน อาทิ การลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ลดการเกิดมลภาวะภายในชุมชน พร้อมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” นายเรวัติ กล่าว

 

ขณะเดียวกัน โรงงานอาหารสำเร็จรูปสระบุรี ยังสามารถคว้ารางวัล Award for TPM Excellence, Category A ได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย ทั้งนี้นอกจากประเทศไทยแล้วซีพีเอฟยังขับเคลื่อนให้สถานประกอบการของบริษัทในต่างประเทศมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

 

นายชำนาญ หวังอัครางกูร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์และพันธุ์สัตว์ ซี.พี.เวียดนาม เปิดเผยว่า โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของบริษัท 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานด่องนาย และโรงงานบิ่นเยือง ผ่านการประเมินรางวัล Award for TPM Excellence, Category A นับเป็นสถานประกอบการ 2 แห่งแรกของ ซี.พี.เวียดนาม ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว

“การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางและเป้าหมายของ TPM ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างานทุกระดับ และทุกหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าพนักงานทุกระดับของบริษัทมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันในเรื่อง 3 Zero คือ Zero Accident, Zero Defect และ Zero Breakdown ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัย และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า” นายชำนาญ กล่าว

 

ทั้งนี้ ในปี 2015-2016 ธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟ สามารถคว้ารางวัล Award for TPM Excellence, Category A รวม 11 รางวัล สำหรับรางวัล TPM 2018 สถาบัน JIPM จะจัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 21 มีนาคม 2562 ณ เกียวโต อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเฟอร์เรนท์ เซ็นเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น

X

Right Click

No right click