ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 รวม 8 รอบๆ ละ 300 คน ตั้งใจให้ภาคธุรกิจนำส่งงบฯ ผ่านระบบให้ถูกต้อง 100%

 

 

ปัจจุบัน MarTech (Marketing Technology) ได้ถูกนำมาใช้กับการทำการตลาดอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่ได้ดี ตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการด้านการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การวางแผนการทำการตลาด การทำแคมเปญการตลาด การนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ การบริหารการขาย รวมถึงการเก็บข้อมูลและวัดผลต่างๆ ด้านการตลาดให้ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อสร้างสรรค์การให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมและเชื่อมต่อในแต่ละช่องทาง

พาณิชย์ พาสินค้าชุมชนเข้าตลาดอีคอมเมิร์ซ พร้อมแจก Code ลดราคาไม่อั้น จับมือ Shopee ดันสินค้าชุมชนไทยเข้าตลาดอีคอมเมิร์ซ

กระทรวงพาณิชย์ จับมือ กลุ่มเซ็นทรัล จัดงาน “มหกรรมสินค้าชุมชนของเรา” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ดันสินค้าชุมชนเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มพรีเมียม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพและรักสินค้าไทย เบื้องต้นนำสินค้า 4 กลุ่ม : อาหารสด อาหารแปรรูป ของใช้ในบ้าน และเสื้อผ้า มาจำหน่ายในราคาสมเหตุสมผลโดยกลุ่มเกษตรกรจากแหล่งผลิตโดยตรง กำหนดจัดงานฯ 2 ครั้ง ในกรุงเทพมหานคร คาดจบงานฯ มียอดขายไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท และต่อยอดธุรกิจขยายตลาดให้ชุมชนได้เพิ่มมากขึ้น ณ เซ็นทรัลเวิล์ด

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "กระทรวงพาณิชย์ ได้จับมือกับ กลุ่มเซ็นทรัล จัดงาน “มหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ปี 2562” ซึ่งเป็นการจัดงานร่วมกันต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 (ตั้งแต่ปี 2555) ภายใต้คอนเซป “ฟาร์มอินทาวน์ (Farms in Town)” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้แก่กลุ่มเกษตรกรแต่ละชุมชน โดยเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ผลักดันให้ชุมชนเกิดการรวมตัวกัน พัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค ตลอดจนสามารถขยายตลาดจากชุมชนเข้ามาสู่เมืองใหญ่ ซึ่งสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระยะยาว"

“การจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการนำเสนอสินค้าของแต่ละชุมชนให้เป็นที่รู้จักแล้ว ยังต้องการผลักดันสินค้าชุมชนให้สามารถเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มพรีเมียม พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพและรักสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น โดยได้นำสินค้า 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) อาหารสด กลุ่มผัก/ผลไม้สดคุณภาพเยี่ยม ปราศจากสารพิษและสินค้าออแกนิค 2) อาหารแปรรูป 3) ของใช้ในบ้าน และ 4) เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม โดยสินค้าของทั้ง 4 กลุ่ม มาจาก 48 ชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งผ่านการคัดสรรเป็นอย่างดีสำหรับผู้บริโภค และจำหน่ายในราคาที่สมเหตุสมผลโดยกลุ่มเกษตรกรจากแหล่งผลิตโดยตรง นอกจากนี้ ผู้เข้าเยี่ยมชมงานฯ จะได้พบกับ “ชุมชนต้นแบบ” ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน”

“งานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ปี 2562 กำหนดจัดขึ้น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13 - 18 มิถุนายน 2562 ณ ลานเซ็นทรัลคอร์ด และ ลานอีเดน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 - 20 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 3 กรุงเทพมหานคร โดยคาดว่าหลังจบงานฯ ทั้ง 2 ครั้ง จะมียอดขายไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท มีการเชื่อมโยงต่อยอดธุรกิจให้แก่กลุ่มชุมชนในการขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น และมีการขยายกลุ่มชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และยกระดับรายได้สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง”

การจัดงานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานในลักษณะ “ประชารัฐ” เพื่อขยายและยกระดับช่องทางการตลาดแก่สินค้าชุมชนของไทยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ปลัดกระทรวงฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอเชิญชวนผู้บริโภคทุกท่านร่วมอุดหนุนสินค้าชุมชนของไทยภายในงานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทุกท่านจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสินค้าชุมชนของไทยแล้ว ยังเป็นการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของกลุ่มเกษตรกรให้ดีขึ้น ซึ่งกลุ่มเกษตรกรถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังนั้น เมื่อกลุ่มเกษตรกรมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามลำดับไปด้วย”

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับ กลุ่มเซ็นทรัล ในการให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการขยายช่องทางการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าชุมชนได้โดยง่าย และได้มีการใช้ช่องทางการตลาดของแต่ละองค์กรเป็นศูนย์กลางในการช่วยกระจายสินค้าชุมชนออกสู่ท้องตลาด ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ใช้ช่องทางการกระจายสินค้าผ่านโครงการต่างๆ เช่น ธงฟ้าประชารัฐ ร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ในส่วนของกลุ่มเซ็นทรัล ใช้ช่องทางการตลาด เช่น ท็อปมาร์เก็ต ท็อปซูเปอร์สโตร์ ท็อปเดลี่ เซ็นทรัลฟู๊ดคอร์ท ไทวัสดุ ฯลฯ ในการกระจายสินค้า ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 150 ชุมชน และมีสินค้ากว่า 2,200 รายการ โดยสามารถสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้มากกว่า 1,300 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2563 จะมีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเป็น 160 - 170 ชุมชน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ” 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดงาน ประชารัฐรวมใจ คัดสรร OTOP Select 2019” ร่วมกับ 24 พันธมิตรจากภาครัฐ Trader และ Buyer ยักษ์ใหญ่ จับมือกันคัดผลิตภัณฑ์ OTOP Select 3-5 ดาว ที่ผู้ผลิตสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมกว่า 2,000 รายการทั่วประเทศ จำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ กินดี อยู่ดี สวยดี และดูดี รวมถึงมอบรางวัล Best of OTOP Select (ระดับจังหวัด) และ Top of The Best OTOP Select (ระดับประเทศ) 4 กลุ่ม  มั่นใจ!! ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโอกาสสำคัญต่อยอดธุรกิจไปสู่ช่องทางการตลาดที่หลากหลาย พร้อมเผยแพร่อัตลักษณ์ไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ

นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดงาน “ประชารัฐรวมใจ คัดสรร OTOP Select 2019” ขึ้น ณ อาคารหอประชุม 100 ปี ธัญบุรี เทศบาลนครรังสิต มีกำหนดจัดงานตั้งแต่วันนี้-14 มิถุนายน 2562 โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ ซึ่งเป็นการผสานพลังที่จะช่วยกันคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีความพร้อมในการพัฒนาทั้งด้านสินค้าและการตลาดเพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด   

รองอธิบดี กล่าวต่อว่า “กิจกรรมนี้มีหน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ จำนวน 24 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, บริษัทสยามพิวรรธน์, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท คิง พาวเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด, บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท นารายภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ตำรับไทย สมุนไพร จำกัด, บริษัท อะราวนด์ เดอะ เนค จำกัด, บริษัท โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด, บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด, บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน), บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด, บริษัท สยามเจมส์กรุ๊ป จำกัด, สมาคมสินค้าตกแต่งบ้าน, สมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย), สมาคมของขวัญของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน, สมาคมออกแบบสร้างสรรค์, สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย”

“ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 4 วัน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจะร่วมกันพิจารณา ผลิตภัณฑ์ OTOP Select” ที่มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP 3-5 ดาวจากทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2,000 รายการ โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กินดี (Eat well) อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 520 รายการ 2) อยู่ดี (Live well) อาทิ ของใช้ ของที่ระลึก จำนวน 445 รายการ 3) สวยดี (Look well) อาทิ ครีมบำรุง ผลิตภัณฑ์สปา จำนวน 260 รายการ และ 4) ดูดี (Dress well) อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ จำนวน 775 รายการ โดยแนวทางหลักคณะกรรมการจะพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ และพร้อมจะต่อยอดทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกรมฯ จะประกาศผลผู้ที่ผ่านการคัดสรร ในวันที่ 26 มิ.ย.62 ผ่านทางเว็บไซต์ www.dbd.go.th

“นอกจากการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ OTOP Select ในข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมการคัดเลือกสุดยอด ผลิตภัณฑ์ OTOP Select ในอีก 2 กิจกรรมคือ 1)  Best of OTOP Select (ระดับจังหวัด) และ 2) Top of The Best OTOP Select (ระดับประเทศ) 4 กลุ่ม เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ผลิตได้มีกำลังใจในการพัฒนาสินค้าและก้าวไปสู่การเป็นต้นแบบให้กับผู้ผลิตรายอื่นๆ และเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ตอบโจทย์การตลาดแต่ยังคงอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของไทยเอาไว้ นำไปสู่การเป็นที่ประจักษ์ในสายตาผู้บริโภคมากขึ้น พร้อมการกระตุ้นและสร้างความนิยมในการซื้อสินค้าท้องถิ่นของไทย ก่อนต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP Select เข้าสู่ช่องทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วโลก”

“กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือที่สำคัญ ในการผลักดันธุรกิจท้องถิ่นของประเทศให้เดินหน้าไปพร้อมกันกับภาคเอกชนรายใหญ่ ลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำในวงจรธุรกิจของประเทศและเติมศักยภาพให้ธุรกิจรายย่อยสามารถแข่งขันได้” รองอธิบดี กล่าวในท้ายที่สุด

Page 3 of 4
X

Right Click

No right click