×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

เอสซีจี โดยนายชนะ ภูมี Vice President-Cement and Construction Solution Business เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และนายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับกองทัพบก และเครือข่ายจิตอาสา ส่งมอบถังเก็บน้ำผลิตด้วยวัสดุพอลิเมอร์ “เอลิเซอร์” ของเอสซีจี จำนวน 115 ถัง ให้แก่ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ถัง และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จำนวน 65 ถัง เพื่อช่วยเหลือเเละบรรเทาภัยแล้งระยะเร่งด่วนแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” ที่ร่วมเฉลิมพระเกียรติเเละถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จขึ้นครองราชย์ พร้อมเชิญชวนจิตอาสาระดมพลังสร้างฐานติดตั้งถังเก็บน้ำจากวัสดุรีไซเคิลที่เหลือจากการก่อสร้าง ซึ่งออกแบบโดยทีมงานเอสซีจีให้สอดคล้องกับแนวทาง SCG Circular Way หรือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.scg.com/volunteerproject

เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” ผ่านการดำเนิน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” และกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย” เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การผลักดันสังคม และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน และสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ผลิตต่างก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าที่สุด โดยการใช้ให้น้อยและนานที่สุด หรือ

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี แถลงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2562 เผยกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรอย่างยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า บริการ และกระบวนการผลิต และการขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ SCG Circular Way เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและการใช้งานบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคทั้งในไทยและอาเซียนอย่างครบวงจร

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง ต้องรับมือกับความท้าทายจากความผันผวนของราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน ตลอดจนการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด ขณะเดียวกันก็มีโอกาสจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีมูลค่าถึง 50,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตประมาณร้อยละ 5 ส่วนในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตของตลาดอยู่ที่ร้อยละ 3 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังมีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มที่เปลี่ยนไป เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่นิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มความสะดวกสบาย และกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ขณะที่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารต้นทุนเป็นหลัก ธุรกิจแพคเกจจิ้งจึงวางแผนกลยุทธ์รับมือกับความท้าทายและโอกาสเหล่านี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแข่งขัน การเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงการเป็น Total Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดทางธุรกิจที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับ 3 กลยุทธ์หลักที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ใช้รับมือกับโอกาสและความท้าทายในการดำเนินธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมาย ได้แก่ การสร้างการเติบโตของธุรกิจด้วยการขยายฐานการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร โดยในช่วงปี 2017-2018 ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ได้ลงทุนเพิ่มฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์และงานพิมพ์คุณภาพสูงและฐานการผลิต Rigid Plastic Packaging ในประเทศไทย ฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษในประเทศอินโดนีเซีย และฐานการผลิต Food Packaging ในประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย แบรนด์ Fest อีก 2 โรงงาน ซึ่งปีนี้ บริษัทฯ จะยังคงมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างความเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้มีฐานการผลิต  บรรจุภัณฑ์ครอบคลุมทั่วประเทศและภูมิภาคอาเซียนในการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตไปพร้อม ๆ กันกับเรา

กลยุทธ์ต่อมาคือ การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งวิจัยและพัฒนาสินค้าให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้พัฒนากระบวนการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Value Chain อย่างมีประสิทธิภาพ (Data Visibility) และการใช้เทคโนโลยี MARs (Mechanization, Automation, Robotics) ที่ช่วยปรับกระบวนการผลิตในโรงงานให้เป็น Smart Factory อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการทำงานระหว่างเอสซีจีกับลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

การดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวปฏิบัติ     SCG Circular Way ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ใช้ให้น้อย ใช้ให้นาน หรือนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นอีกกลยุทธ์ที่ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี ให้ความสำคัญ ด้วยการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งกระดาษและพลาสติกให้ใช้งานง่าย โดยใช้ทรัพยากรน้อย แต่ยังคงทนแข็งแรง และสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซ้ำได้ครบวงจร (Close-loop Packaging) อาทิ ถุงกระดาษรีไซเคิลที่มีคุณภาพและสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี อีกทั้งเมื่อใช้งานแล้วยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก (R-1) ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย เนื่องจากผลิตด้วยการนำวัสดุชนิดเดียวกันมาประกบกันหลายชั้น (Multilayer Laminated : Mono Material) จึงมีคุณสมบัติป้องกันความชื้น แข็งแรง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะกระดาษและพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยใช้เครือข่ายโรงงานอัดเศษกระดาษในการเก็บขยะพลาสติกเพื่อนำมาผลิตซ้ำ และการร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะ ตลอดจนการร่วมผลักดัน ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์และการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์หลังใช้งานแล้ว และการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CEFLEX (A Circular Economy for Flexible Packaging) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก เพื่อร่วมส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชั่น รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

“ด้วยแนวโน้มของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ยังสามารถเติบโตทางเศรษฐกิจได้ตามการเติบโตของประเทศและภูมิภาค ทำให้คาดการณ์อัตราการเติบโตของตลาดไทยและอาเซียนในปีนี้ว่าจะยังคงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ธุรกิจ   แพคเกจจิ้ง เอสซีจี จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานตามกลยุทธ์เหล่านี้ จะสามารถสร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และทำให้เราพร้อมเป็นคู่คิดด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรให้กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทั้งในไทยและอาเซียนได้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยการมุ่งขยายการเจริญเติบโตไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน การจัดสรรงบลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง และเน้นการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลัก เพื่อให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างยั่งยืน” คุณธนวงษ์ กล่าวสรุป

จากความต้องการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายภาคส่วนหันมาให้ความสนใจกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 20 ปี มุ่งการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคประชาชนเริ่มตื่นตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง ด้านองค์กรเอกชนก็ต่างปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้จริง หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยและอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals : SDGs)

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีมี Passion และให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาปรับใช้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Committee) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ และนโยบาย ตลอดจนติดตามเรื่อง Circular Economy ในระดับสากลแล้วนำมาปรับใช้ในการสร้างความร่วมมือระดับท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายระดับประเทศ รวมถึงพัฒนาสินค้าและบริการตามแนวทาง Circular Economy ด้วยการใช้นวัตกรรม และส่งเสริมให้พนักงานและคู่ธุรกิจนำไปปรับใช้ ภายใต้แนวปฏิบัติ Circular Way โดยเริ่มส่งเสริมให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการแยกขยะลงถังขยะ 6 ประเภทที่วางไว้ตามจุดต่างๆ ในเอสซีจี โดยมีเป้าหมายเพื่อการจัดการขยะ (Waste Management) ให้สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และก้าวสู่การเป็น Zero Landfill โดยขยะที่ถูกแยกประเภทแล้ว จะถูกส่งไปเข้ากระบวนการจัดการ และขยะบางประเภทที่สามารถนำกลับมาสร้างมูลค่าหรือสร้างประโยชน์ได้อีก เช่น กระดาษขาว-ดำ ก็จะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษไอเดียกรีน กระดาษน้ำตาล หรือนำไปผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับทำลอนลูกฟูก อีกทั้งในอนาคตจะมีการแปรรูปขยะประเภทเศษอาหารเพื่อนำกลับมาใช้ในการปรับปรุงดิน รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรม “Green Meeting” หรือการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกโอกาสของเอสซีจี”

อย่างไรก็ตาม เอสซีจีเพียงองค์กรเดียว คงไม่สามารถสร้างให้เกิดผลสำเร็จในวงกว้างได้ เอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันผลักดันและสนับสนุนให้ประเทศไทยและประเทศในอาเซียน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกได้ (Sustainable Development Goals : SDGs)

“นับเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยได้เป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมผู้นำและรัฐมนตรีประเทศอาเซียน ตลอดทั้งปี 2562 เอสซีจีจึงได้มีส่วนร่วมแบ่งปันแนวคิดนวัตกรรม “Green Meeting” ใน 5 หมวด สำหรับการจัดประชุมดังกล่าวร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ การจัดเตรียมสถานที่ที่เดินทางได้สะดวกด้วยระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะ (Green Venue) การลดใช้เอกสารในทุกขั้นตอน (Green Document) การออกแบบตกแต่งสถานที่ เวที นิทรรศการ ด้วยวัสดุที่สามารถใช้ซ้ำ นำกลับไปใช้ใหม่ รวมถึงการประหยัดพลังงาน (Green Arrangement) การจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้เพียงพอ ไม่เหลือทิ้ง เลือกอาหารพื้นถิ่น ไม่เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ (Green Catering) และการคำนวณค่าคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน แล้วชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้ทนแทน (Climate Protection) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรณรงค์สร้างจิตสํานึก และชวนผู้ร่วมงานร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย นายศักดิ์ชัย กล่าว

ไม่เพียงคำนึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่เอสซีจียังมุ่งคิดค้น และนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับตลอดกระบวนการผลิตให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

นายศักดิ์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากแนวคิดนวัตกรรม “Green Meeting” แล้ว เอสซีจียังมีส่วนร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิลในการจัดประชุมผู้นำอาเซียน เช่น นิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิล ฉากหลังสำหรับถ่ายภาพ เก้าอี้กระดาษ แท่นบรรยาย กล่องกระดาษสำหรับรับคืนป้ายชื่อคล้องคอ สมุดโน้ตจากกระดาษรีไซเคิล 100% บรรจุภัณฑ์อาหาร Fest หลอดกระดาษ ขวดน้ำพับได้ Fill Fest และถังขยะแยกประเภท รวมถึงกระเป๋าถุงปูน และตะกร้าสานจากเส้นเทปกระดาษที่นำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของเอสซีจีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมาจากความมุ่งมั่นของเอสซีจีที่ต้องการใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อยที่สุด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด โดยใช้นวัตกรรมการผลิตให้สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ และเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลที่สูงขึ้น แต่ยังคงคุณภาพของกระดาษให้แข็งแรง เพื่อให้สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่างๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานร่วมปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

เอสซีจี และกระทรวงการต่างประเทศ ยังมีแนวคิดร่วมกันที่จะประยุกต์ใช้นวัตกรรม Green Meeting และผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล สำหรับการจัดประชุมตลอดทั้งปี 2562 และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน อุปกรณ์จากกระดาษรีไซเคิลบางส่วนจะถูกมอบให้หน่วยงานที่มีความต้องการใช้ เพื่อสร้างประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ส่วนที่เหลือก็จะถูกนำกลับไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษรีไซเคิลได้อีกครั้ง เพื่อให้เกิดขยะจากการประชุมน้อยที่สุด ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกทั้งยังได้ขยายแนวคิดดังกล่าวไปสู่กระทรวงอื่นๆ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง

ก้าวต่อไป เอสซีจีจะยังคงมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวปฏิบัติ Circular Way ด้วยการพัฒนาและต่อยอดความยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผสานกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโต ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals : SDGs) และพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ช่วยถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ที่สนใจ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยและอาเซียนให้เจริญก้าวหน้าตามแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ต่อไป

(บุคคลในภาพ จากซ้ายไปขวา 1.คุณนรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 2.คุณวิศรุต พูลวรลักษณ์ ผู้อำนวยการ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 3.ณวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 4.คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี 5.คุณยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี 6.ม.ล.เอวิตา ยุคล 7.คุณกษิดิศ กลศาสตร์เสนี)

 

เอสซีจี โดย คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดย คุณวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร เป็นประธานเปิดตัวโครงการ SCG x MAJOR SYNERGY INNOVATION DAY” ณ โรงภาพยนตร์ อีนิกม่า พารากอนซีนีเพล็กซ์ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมภายใต้แนวคิด Circular Economy, Digital Platform, Universal Design และ One Stop Logistic Solution  โดยมีสตาร์ทอัพจากทั้ง 2 องค์กรมาทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการชมภาพยนตร์ที่เหนือระดับให้กับลูกค้า นับเป็นการจับมือครั้งสำคัญของผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบ Cross Industry ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรม Entertainment อย่างแท้จริง

 

X

Right Click

No right click