หลายปีที่ผ่านมาอาจสังเกตได้ว่า มีพี่น้องแรงงานเมียนมาและกัมพูชาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในหลากหลายกิจการทั้งเล็กและใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เผยสถิติล่าสุดในเดือนเมษายน 2567 ว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 3,326,034 คน โดยเป็นแรงงานชาวเมียนมา 2,302,459 คน และแรงงานกัมพูชา 448,967 คน เห็นตัวเลขแล้วก็ไม่น่าแปลกใจ ที่เราต่างได้เห็นความหลากหลายในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

จากการดูแลกลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมาและกัมพูชากว่า 88 เปอร์เซ็นต์ในตลาด ทีมทำงานของทรูและดีแทคเดินตลาดสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อย่างต่อเนื่อง และมี Insights ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตไกลบ้านของพี่น้องแรงงานต่างชาติทั้งเมียนมาและกัมพูชา ที่ทำให้เราเข้าใจพวกเขาได้มากกว่าเดิม

ทำงานสู้ชีวิต หาเงินเพื่อครอบครัว และเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

พวกเขามีความเชื่อในเรื่องการสู้ชีวิต เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงให้คุณค่ากับการทำงานหนัก ขยันและอดทน โดยมีเป้าหมายที่จะหาเงินให้ได้มาก ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาทำงานอย่างน้อย 6 วันต่อสัปดาห์ จากการเก็บข้อมูลพบว่า แรงงานข้ามชาติมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับค่าจ้างเป็นแบบรายวัน แต่โดยรวมแล้วมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 12,424 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการทำงานในประเทศของพวกเขาเอง

โอนเงินกลับบ้านให้ครอบครัวเป็นประจำ

รายได้จากการทำงานพวกเขาจะเก็บออมและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่ หรือลูกที่อยู่ในประเทศของตัวเอง เพื่อให้นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเก็บไว้ซื้อรถ สร้างบ้าน รวมถึงนำไปลงทุนในกิจการส่วนตัว เพราะพวกเขามักเป็นเสาหลักของครอบครัว รายงานจาก UNDP เผยว่า เงินที่ส่งกลับมาจากต่างประเทศเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของครัวเรือนในเมียนมาเสมอมา เนื่องจากโอกาสในการทำอาชีพต่างๆ ลดลง และมีแรงงานออกจากประเทศมากขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจคือ การโอนเงินกลับบ้าน พวกเขายังเลือกใช้ช่องทางไม่เป็นทางการที่รู้จักกันในชื่อ “โพยก๊วน” หรือการโอนส่งเงินระหว่างกันโดยอาศัยนายหน้า การศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า แรงงานเมียนมาเลือกใช้ระบบนี้ เพราะคนรับเงินปลายทางสะดวกกว่า จากการที่นายหน้านำเงินส่งให้ถึงบ้าน ไม่เหมือนกับการโอนผ่านธนาคาร ที่ผู้รับเงินต้องเดินทางไปรับเงินเอง รวมถึงระบบนี้ไม่ต้องใช้เอกสารยืนยันใดๆ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Regional Center for Social Science and Sustainable Development (RCSD) ที่เผยว่า แรงงานกัมพูชาเลือกส่งเงินจากไทยผ่านช่องทางไม่เป็นทางการ เพื่อให้นายหน้าหรือญาติถอนเงินสดไปให้ครอบครัว ระบบนี้ยังคงได้รับความนิยมเนื่องจากส่วนใหญ่รู้จักนายหน้าจากการแนะนำต่อกัน และจากประสบการณ์ที่ได้รับเงินเต็มจำนวนตามที่ตกลงกันไว้

มีวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ กิจกรรมยอดฮิตคือ เล่นอินเทอร์เน็ต

วันหยุดประจำสัปดาห์มีเพียงวันเดียวคือ วันอาทิตย์ เนื่องจากพวกเขามักทำงานในกิจการที่เปิดทำการทุกวัน เช่น พนักงานร้านค้า พนักงานร้านอาหาร คนงานก่อสร้าง พนักงานโรงงาน รวมถึงงานรับจ้างต่างๆ

สำหรับกิจกรรมในวันหยุดเป็นไปอย่างเรียบง่าย เน้นการพักผ่อน อยู่กับครอบครัว นัดเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน และเล่นอินเทอร์เน็ต จากการเก็บข้อมูลพบว่า ประเภทของแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานสูงสุด 6 อันดับ คือ 1. โซเชียลมีเดีย 2. สตรีมมิง 3. การเงิน 4. ออนไลน์ช้อปปิ้ง 5. เกม 6. การท่องเที่ยว เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการพักผ่อนของพวกเขา ค่าใช้จ่ายสำหรับการโทรและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่พวกเขายินดีจ่ายอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อเดือน โดยเลือกใช้เป็นแพ็กเกจแบบเติมเงิน ทรูและดีแทคจึงได้มอบสิทธิพิเศษในการเล่นโซเชียลมีเดีย และสตรีมมิงแอปได้ฟรีทุกเดือน เพียงมียอดการเติมเงินหรือใช้จ่ายต่อเนื่อง

จุดน่าสังเกตคือ แต่เดิมนั้นลูกค้ากลุ่มนี้จะมีความเชื่อว่า การซื้อซิมใหม่ทุกเดือนจะทำให้ได้เล่นอินเทอร์เน็ตที่มีความแรงมากกว่าการใช้ซิมเดิมต่อในเดือนที่ 2 จึงมียอดการทิ้งซิมเดิม และซื้อซิมใหม่ในอัตราที่สูงมาก อย่างไรก็ตามเมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ได้ใช้ชีวิตในประเทศไทยนานขึ้น ก็จะมีเริ่มเข้าใจการใช้งานและมียอดการทิ้งซิมเดือนต่อเดือนลดลง

ชอบทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ

แรงงานชาวเมียนมาและกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา การไปวัดถือทำบุญจึงถือเป็นประเพณีสำคัญ แม้ย้ายมาทำงานในประเทศไทย พวกเขายังคงนัดกันไปทำบุญตามวัดที่ศรัทธา ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจยามไกลบ้านเกิด โดยอาจเป็นวัดที่มีพระชาวเมียนมาหรือกัมพูชาจำวัดอยู่ หรือวัดที่มีสถาปัตยกรรมหรือสิ่งปลูกสร้างที่พวกเขาคุ้นเคย ชาวเมียนมาหลายคนยังคงการแต่งตัวด้วยชุดประจำชาติไปวัดอีกด้วย

ในเพจเฟซบุ๊ก of dtac Myanmar, True Myanmar, dtac Cambodia, and True Cambodia ที่ถือเป็นคอมมูนิตี้ของพี่น้องแรงงานจะมีปฏิทินบอกวันสำคัญทางศาสนาทั้งในไทย เมียนมา และกัมพูชา ให้กับกลุ่มลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน

 

อยากพูดไทยได้ และเขินอายที่ออกเสียงภาษาไทยได้ไม่ชัด

พี่น้องแรงงานเมียนมาและกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในไทยนานแล้วหรืออยู่ในเขตเมือง จะเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้คล่องแคล่ว แต่ก็ยังมีส่วนหนึ่งที่ยังออกเสียงภาษาไทยไม่ชัด ซึ่งก็ทำให้พวกเขารู้สึกเขินอายและไม่มั่นใจที่จะพูดกับคนไทย พวกเขาจึงพยายามที่จะฝึกพูดภาษาไทยกับเพื่อน รวมถึงการเรียนรู้จากคนไทยและสื่อบันเทิงของไทย อย่างไรก็ดี พวกเขาก็อาจยังขาดทักษะในการอ่านหรือเขียนภาษาไทย ซึ่งอาจมีผลทำให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างจำกัด รวมไปถึงความก้าวหน้าทางอาชีพอีกด้วย

มีงานวิจัยพบว่า การรู้ภาษาไทยจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานเมียนมาโดยเฉพาะในเขตเมือง เพราะทำให้พวกเขามีโอกาสได้งานทำมากขึ้นเมื่อเข้าใจสิ่งที่นายจ้างต้องการ รวมถึงการได้ทำงานที่ใช้แรงงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแรงงานที่พูดภาษาไทยไม่ได้ และหากมีทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยได้ พวกเขาจะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีกว่า

จากความเข้าใจลูกค้ากลุ่มนี้ ทรูจึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network) หรือ LPN เปิดสอนภาษาไทยพื้นฐานให้กับชาวเมียนมาที่สนใจเรียนรู้ ผ่านช่องทาง Live online ที่เพจเฟซบุ๊ก dtac Myanmar ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวน 3 ล้านบัญชี และ True Myanmar ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 6 แสนบัญชี ถือได้ว่าเป็น Community ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตและทำงานในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น

 

รักพวกพ้อง ไว้ใจเพื่อน และชอบความคุ้นเคย

พวกเขาชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย มีใจรักบ้านเกิดและพวกพ้อง การที่ต้องมาทำงานไกลบ้านทำให้รวมตัวติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม คำแนะนำจากเพื่อนที่มาอยู่ไทยก่อนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ เรียกได้ว่า เพื่อนหรือคนใกล้ชิด เป็นผู้มีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างมาก เช่น การเลือกแพ็กเกจใช้งาน พวกเขาจะไม่ได้เปรียบเทียบข้อเสนอเป็นหลัก แต่มักเลือกใช้ตามกัน และเลือกตามงบที่จ่ายได้ต่อเดือน

นอกจากนี้ กลุ่มแรงงานต่างชาติชอบที่จะเลือกใช้สินค้าต่างๆ ที่เคยมีในประเทศของตัวเอง เพราะมีความคุ้นเคย และไว้วางใจในสิ่งที่เคยใช้มาแล้ว Insight ที่น่าสนใจในประเด็นนี้ คือ กลุ่มลูกค้าแรงงานเมียนมาคุ้นเคยและวางใจแบรนด์ Telenor ตั้งแต่อยู่ในเมียนมา เมื่อย้ายมาทำงานในไทยจึงเลือกค่ายที่คุ้นเคยก่อนเป็นอันดับแรก

ด้วยความเข้าใจ ใส่ใจ และให้ความสำคัญของพี่น้องแรงงานชาวเมียนมาและกัมพูชา ที่มาทำงานต่างบ้านต่างเมือง ทรู และดีแทค จึงให้บริการพร้อมดูแลเคียงข้างอย่างรู้ใจ ผ่านการพูดภาษาเดียวกันกับคอลเซ็นเตอร์ภาษาเมียนมาและกัมพูชา สร้างคอมมูนิตี้ในเพจ Facebook และ TikTok ในภาษาเมียนมาและกัมพูชา เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร สร้างแรงบันดาลใจ และมีคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์อย่างแท้จริง

พร้อมไปกับการมอบประสบการณ์การใช้งานที่คุ้มและตรงใจที่สุดกับแพ็กเกจที่คัดสรรให้ตรงความต้องการ โดยตั้งใจมอบให้ลูกค้าชาวเมียนมาและกัมพูชาได้มีความสุขในทุกวันที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

เพื่อเสริมศักยภาพในการทำงาน และคุณภาพชีวิตที่ดี ตอกย้ำทรู ดีแทค เครือข่ายอันดับ 1 เพื่อพี่น้องชาวพม่าและกัมพูชาในไทย

  • NVDIA ผู้ผลิตชิปเซตยักษ์ใหญ่ของโลก หุ้นขึ้นกว่า 250%
  • KResearch คาดการณ์ว่า ไทยจะมีเม็ดเงินการลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์ราว 7,800 ล้านดอลลาร์ในอีก 3 ปีข้างหน้า
  • McKinsey&Co ประมาณการณ์ว่า การพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจโลกมูลค่าราว 13 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2573

ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนถึงการเติบโตด้านการลงทุนในอีโคซิสเต็มที่เกี่ยวข้องกับ AI เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงกลยุทธ์ขององค์กรที่ต่างใช้ AI เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล

“การประยุกต์ใช้ AI นั้นประกอบด้วยหลากหลายมิติและปัจจัย ไม่ใช่เพียงการลงทุนในฮาร์ดแวร์หรือทุ่มเงินดึงตัวผู้เชี่ยวชาญใน AI เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว การประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจเริ่มต้นจาก “วัฒนธรรมองค์กร” ต่างหาก ทัศนคติที่เชื่อว่าองค์กรสามารถเปลี่ยนผ่านจากองค์กรแบบ AI-Ready เป็น AI-First” ศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฉายภาพการแข่งขันบนสมรภูมิ AI ในงาน AI Gets Real

เธอขยายความว่า ปัจจุบัน มีบริษัทจำนวนมากที่นำ AI มาใช้พัฒนา ‘บางส่วน’ ของธุรกิจ นั่นคือ AI-Ready Organization อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาเรื่อง “บทบาทของ AI เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ” จาก McKinsey Analytics แสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้า เมื่อบริษัททั่วโลกที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ จำนวนราว 1,000 บริษัท มีเพียง 8%  เท่านั้นที่มีแนวทางการปรับใช้ AI อย่าง “ถ้วนทั่ว” ทั้งองค์กร และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า “ทำไมองค์กรจึงต้องเปลี่ยนทิศทางต่อการใช้ AI จาก AI-Ready สู่ AI-First”

“AI-First เป็นกรอบแนวคิดตั้งต้นของทรู เพื่อรับมือและใช้ประโยชน์จากการเกิดขึ้นของ AI อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีรากฐานสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงในระดับมายด์เซ็ตและวัฒนธรรมองค์กร” ศรินทร์รา กล่าว

3 วิถีการทำงานแบบ AI-First

ทั้งนี้ การเปลี่ยนรูปแบบสู่องค์กร AI-First นั้นจำเป็นต้องทรานสฟอร์มวิถีการทำงาน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

  1. เปลี่ยนจากการทำงานแบบแยกส่วนสู่การทำงานแบบบูรณาการ (From Siloed Work to Interdisciplinary Collaboration) ตัวอย่างเช่น ในการพัฒนาผู้ช่วยบริการลูกค้า มะลิ (Mari) ที่มีเทคโนโลยี AI อยู่เบื้่องหลังนั้น ได้มีการจัดตั้งทีมงานในรูปแบบ Squads ทำงานแบบ Agile โดยระดมขุนพลจากแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแผนกวิเคราะห์ข้อมูล ไอที ประสบการณ์ลูกค้า บริการลูกค้า
  2. เปลี่ยนจากการตัดสินใจผ่านประสบการณ์ของผู้นำ สู่การตัดสินใจด้วยดาต้าโดยคนหน้างาน (From Experience-based to Data-driven Decision Making) กรณีศึกษาในกลุ่มทรัพยากรบุคคล ที่ได้คัดเลือกและตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในรูปแบบดาต้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้กลุ่มงานรับมือกับการเปลี่ยนผ่านองค์กรขนาดมหึมาได้อย่างราบรื่น อันเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค ผ่านการใช้ดาต้าในการประเมินศักยภาพพนักงานผ่านทักษะและตัวชี้วัดด้านองค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งการบ่งชี้กลุ่มคนที่มีศักยภาพ ระบุช่องว่างทักษะ และการจัดทีมให้เหมาะสม ซึ่งผลปรากฏว่า ทรูสามารถพิชิตเป้าหมายเชิงการจัดการทรัพยากรบุคคลในปี 2566 ที่ผ่านมาได้เร็วกว่ากำหนด
  3. เปลี่ยนจากการทำงานที่เข้มงวด ไม่กล้าเสี่ยง สู่การทำงานแบบเอไจล์ เปิดโอกาสให้ทดลอง ปรับปรุงเมื่อผิดพลาด (From rigid and risk-averse to agile, experimental, and adaptable) การทดลองถือเป็นความท้าทายที่คงอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาช้านาน เนื่องด้วยความคาดหวังจากลูกค้าต่อบริการที่ต่อเนื่อง ความผิดพลาดต้องเป็นศูนย์ ถึงเช่นนั้น ก็ไม่สามารถหยุดความพยายามในการพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีกว่าได้ กรณีของ “มะลิ” ที่ทีมเปิดให้ทดลองทำงานภายใต้ “ขอบเขต” ที่กำหนดไว้ ทั้งการเข้าถึงข้อมูล กลุ่มลูกค้าที่ได้รับบริการจากมะลิ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานก่อนให้บริการเต็มรูปแบบ

“หลักการทำงานทั้ง 3 ข้อขององค์กรแบบ AI-First จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการปรับกระบวนทัศน์ทางวัฒนธรรมองค์กรและทักษะ ซึ่งจะเกิดขึ้นในลักษณะบนลงล่าง (Tone from the Top) หรือ “ผู้นำ” และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมองค์กรแบบ AI-Ready จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีมายด์เช็ตแบบ AI-First เพื่อนำพาองค์กรสู่อีกขั้นของการทรานสฟอร์ม” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เน้นย้ำ

ผู้นำแบบ AI-First

แล้วผู้บริหารแบบ AI-First เป็นอย่างไร?

ศรินทร์รา อธิบายว่า ผู้บริหารแบบ AI-First ในแบบของทรู ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. Big Picture Visionary เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ พร้อมแผนกลยุทธ์ภาพใหญ่ที่เห็นถึงการเติบโตและโอกาสในอนาคต
  2. Action Ignitor เป็นผู้ผลักดัน เปลี่ยนกลยุทธ์บนกระดาษสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร ตั้งแต่การสื่อสาร การติดอาวุธให้คนทำงาน การให้ผลตอบแทน
  3. Talent Magnet เป็นผู้ที่สามารถดึงดูดและรักษาทาเลนท์ไว้ได้ผ่าน 3 หลักการ Build-Buy-Borrow สร้างคนในองค์กร ซื้อตัวจากตลาด และยืมความเชี่ยวชาญจากผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ เทเลนอร์กรุ๊ป หรือไชน่าโมบาย
  4. Ethical Guardian ที่สำคัญ ผู้บริหารแบบ AI-First จะต้องยึดมั่นในจริยธรรม การใช้ AI และเข้าถึงข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาลและกฎหมาย ซึ่งภายใต้ AI Strategy ของทรู ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญปัญญาประดิษฐ์เป็นองค์กรเอกชนแรกของไทย รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการใช้ AI อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ลักษณะผู้บริหารแบบ AI-First นั้น อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่มุมมองและการนิยามของแต่ละองค์กร สำหรับทรู เราได้จัดเตรียมกลไกต่างๆ ที่ช่วยลับคมมุมมองผู้บริหารระดับสูงให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจาก AI ได้ ตัวอย่างเช่น

  1. โครงการ Venture Capital Investors โดยนำผู้บริหารระดับสูง 20 คนมาอบรมบ่มเพาะมายด์เช็ตแบบนักลงทุนโดย Global Innovation Catalyst ที่มี Kamran Elahain ผู้ประกอบการระดับโลกที่เคยร่วมก่อตั้ง 10 สตาร์ทอัพและ 3 ใน 10 ประสบความสำเร็จเป็นยูนิคอร์น โดยปัจจุบัน ผู้บริหารทั้ง 20 คนกำลังทำหน้าที่เมนทอร์ให้กับ 10 โปรเจ็คธุรกิจที่ดำเนินการแบบสตาร์ทอัพภายในทรู
  2. Reverse Mentoring โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและทาเลนท์รุ่นใหม่ (True Next Gen) แลกเปลี่ยนมุมมอง เมนทอร์ซึ่งกันและกัน

AI เพิ่มโอกาสพัฒนาขีดความสามารถมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ในระยะแรก ทรูใช้กลยุทธ์ลักษณะ “บนลงล่าง” เป็นสำคัญ เพราะผู้บริหารเหล่านี้เปรียบเสมือนผู้ทำหน้าที่คัดท้ายเรือ ขณะเดียยวกัน การเปลี่ยนแปลงจาก “ล่างขึ้นบน” ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ภายในสิ้นปีนี้ ทรูตั้งเป้าในการเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัลที่สำคัญแก่พนักงาน 2,400 คนในปีนี้ และเพิ่มเป็น 5,000 คนในปี 2568 โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจแก่พนักงานทุกคน เช่น การวิเคราะห์ดาต้า นวัตกรรมธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และระบบออโตเมชั่น

ทั้งนี้ คอร์สเรียนนี้ได้รับการออกแบบโดย General Assembly สถาบันฝึกอบรมระดับโลกสัญชาติอเมริกา มีจุดมุ่งหมายให้พนักงานสามารถนำทักษะเชิงเทคนิคมาผนึกกับความรู้ทางธุรกิจ แก้ไขปัญหาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและลูกค้าต่อไป โดยพนักงานทุกคนจะต้องผ่านการอบรมภาคบังคับ Digital Foundation (12 ชม.) ตามด้วยการทำบททดสอบ สำหรับผู้ที่มีคะแนน 60% ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าอบรมในขั้นถัดไปภายใต้โปรแกรม Digital Citizen (35 ชม.) และสำหรับผู้ที่มีคะแนนมากกว่า 70% จะมีสิทธิเข้าอบรมระดับ Expert ซึ่งเนื้อหาก็จะเข้มข้นมากขึ้น เช่น คอร์สสำหรับผู้ประกอบอาชีพ Data Scientist ที่กินระยะเวลา 6 เดือนเต็ม ซึ่งทรูตั้งเป้าในการพัฒนาพนักงานให้อยู่ในระดับ Expert จำนวน 1,000 คน ภายในปี 2568

ที่ผ่านมา ทรูได้มีการประกาศวิสัยทัศน์องค์กรผ่าน “AI Strategy” โดยมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า การเติบโตด้านดิจิทัล และผลประกอบการที่แข็งแรง แต่ไม่ว่ากลยุทธ์อะไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นที่ “คน” นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทรูให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสมรรถนะสูง (Performance-driven Culture) ผ่านองค์ประกอบ 4C ได้แก่ Compassion, Credibility, Co-creation และ Courage

“AI ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อมาทดแทนแรงงานมนุษย์ ในทางกลับกัน AI เป็นโอกาสของมนุษย์ให้พัฒนาความสามารถไปอีกขั้น โดยทักษะที่สำคัญที่นำไปสู่ AI First ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การแก้ไขปัญหา (Problem-solving) และการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)” ศรินทร์รา กล่าวทิ้งท้าย

ทรู คอร์ปอเรชั่น นำทีมโดย นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี พร้อมคณะผู้บริหารและทีมวิศวกรเยือนสงขลา ตรวจสอบคุณภาพสัญญาณทรู 5G ให้ดีที่สุด เน้นแลนด์มาร์ค และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ของจังหวัด เช่น หาดสมิหลา เมืองเก่าสงขลา จุดชมวิวเขาคอหงส์ พระพุทธมงคลมหาราช ให้ดีที่สุด และครอบคลุมทั่วภาคใต้ ชูความโดดเด่นเน็ตเวิร์คคุณภาพ รองรับการท่องเที่ยว ภาคใต้ ทรู 5G ใช้ดีทุกย่าน ครบทุกคลื่น แรงลื่นทุกที่ทุกจุดท่องเที่ยวอันซีนต้องไม่อันสัญญาณ เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ชูแคมเปญ “ทรูทั่วไทย” ทั่วไทย ทั่วถึง ทุกคน เช็คสัญญาณถึงที่ 4 ภาคทั่วไทย เช็คอินความสุขให้คนไทย เช็คสปีดเน็ตไม่สะดุด ชัวร์ทุกพื้นที่ ร่วมสร้างประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสเพื่อลูกค้าทั้งทรูและดีแทค นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ พร้อม สินค้าบริการ และสิทธิพิเศษ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวยุคดิจิทัลอย่างครบครัน   

ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ชูแคมเปญ “ทรูทั่วไทย” ทั่วไทย ทั่วถึง ทุกคน : เช็คสัญญาณถึงที่ 4 ภาคทั่วไทย เช็คอินความสุขให้คนไทย เช็คสปีดเน็ตไม่สะดุด ชัวร์ทุกพื้นที่ นำคณะผู้บริหารเยือนขอนแก่นตรวจสอบคุณภาพสัญญาณทรู 5G ให้ดีที่สุด ทั่วภาคอีสาน  ชูความโดดเด่นเน็ตเวิร์คคุณภาพ รองรับการท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจุดท่องเที่ยวอันซีนต้องไม่อันสัญญาณ สร้างประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสเพื่อลูกค้าทั้งทรูและดีแทค  นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ พร้อมคัดสรรสินค้าบริการ และสิทธิพิเศษ เพื่อรักษาฐานลูกค้า สร้างความแตกต่าง และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวยุคดิจิทัลอย่างครบครัน   

ขยายเน็ตเวิร์ค ยกระดับเครือข่ายทรู 5G  ให้ความเร็วสูงสุดเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมให้ความมั่นใจกับคนไทย และนักท่องที่ยวทุกคน ว่า ทรู 5G  เป็นเครือข่ายที่ดีที่สุด โดยเฉพาะภายหลังการรวมกัน  ทำให้มีเสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น คลื่นความถี่เพิ่มมากขึ้น ความครอบคลุมกว้างไกลยิ่งขึ้น ทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและระดับโลกที่ผ่านมากขึ้น รวมทั้งการนำ AI  เข้ามาเสริมศักยภาพเครือข่ายให้อัจฉริยะยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังเดินหน้ายกระดับเครือข่ายทรู 5G ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น (Network Modernization)  ทยอยอัปเกรดเสาสัญญาณทั่วประเทศมาตั้งแต่ปลายปี 2566 นำร่องไปแล้วหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองที่เป็นสมาร์ท ซิตี้อย่าง ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต และสงขลา ตลอจนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากคือคุณภาพสัญญาณและความเร็วสูงสุดในการใช้งานบนมือถือ ทั้ง 5G และ 4G เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งจะเสริมศักยภาพการใช้งานเน็ตในทุกจุดท่องเที่ยวให้ได้รับประสบการณ์ระดับเวิล์คลาสได้อย่างแน่นอน  ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning มาใช้ตรวจดูการใช้สัญญาณ ทำให้เรารู้ถึงปริมาณการใช้งานในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว หรือช่วงเทศกาลที่มีคนใช้งานเยอะ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วหากเกิดกรณีฉุกเฉิน เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีที่สุด จากข้อมูล* พบว่า อัตราการใช้งานดาต้าเฉลี่ยทั่วประเทศ15.59 % ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13.14 % จึงทำให้ทีมเร่งขยายเน็ตเวิร์ค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น  ทั้งนี้การันตีจากสถาบันทดสอบคุณภาพระดับโลก nPerf ฝรั่งเศสกับรางวัลเครือข่ายที่ดีที่สุด 8 ปีซ้อน

รักษาฐานลูกค้า สร้างความแตกต่างและเติมเต็มความสุขทุกไลฟ์สไตล์

นายฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ด้วยพันธกิจของทรู คอร์ปอเรชั่น ตั้งแต่ไตรมาส 2 ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เป้าหมายหลักคือ  ดูแลลูกค้าคนสำคัญด้วยการมุ่งสร้างประสบการณ์ระดับเวิล์ดคลาส  ด้วยกลยุทธ์หลัก 5 ด้าน 1. เครือข่ายคุณภาพที่ดีที่สุด  2. การให้บริการและดูแลลูกค้าด้วยหัวใจ ทั้งหน้าช็อป และ Call Center 3. เติมเต็มด้านสิทธิประโยชน์ และสิทธิพิเศษให้ลูกค้า ทั้งอิ่ม ช้อป เพลิน กับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ 4. ตอบรับวิถีดิจิทัลด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น แอปไอเซอร์วิส แอปดีแทค “มะลิ AI” เพื่อให้ลูกค้าสามารถเช็คข้อมูลการใช้งานได้ง่ายๆด้วยตัวเอง และ 5. สร้างความแตกต่างให้ลูกค้ารู้สึกว่า ใช้บริการทรู คุ้มค่าที่สุด  สามารถรับชมความบันเทิงระดับโลก ทั้งพรีเมียร์ลีก หนังดัง ซีรีส์ฮิต และแอปดัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำความพร้อมด้านเครือข่ายคุณภาพของทรู จึงเป็นที่มาของแคมเปญ “ทรูทั่วไทย”  ที่จะนำคณะผู้บริหารเดินทางไป 4 ภาคทั่วประเทศตลอดทั้งปี 2567  เพื่อร่วมพิสูจน์สัญญาณทรู 5G  เช็คสปีดเน็ตทุกพื้นที่ และยกระดับประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั่วไทย ทั่วถึง ทุกคน ทุกพื้นที่ ทั้งในเมืองหลวง เมืองหลักและเมืองรอง  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาที่จังหวัดขอนแก่น เน้นแลนด์มาร์ค และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ของจังหวัด ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เช่น ศาลหลักเมืองขอนแก่น บึงแก่นนคร พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วัดเก่าแก่ดั้งเดิมของขอนแก่น มีอายุมากว่า 200 ปี นอกจากนี้ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะสัมผัสกับประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาส พร้อมทั้งจัดเตรียมแพ็กเกจที่ดีที่สุดและได้รับความนิยมสูงจากพี่น้องชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” 

  • ซิมฮัลโหล จากทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน
  • โทรฟรีไม่อั้น เม้าส์ได้ทั้งวันทั่วไทย เพียง 49 บาท
  • เปิดเบอร์ วันนี้ ใช้ฟรี 5 วัน (หลังจากนั้นหักค่าบริการอัตโนมัติ 49 บาท ทุกๆ 5 วัน)
  • เน็ตเร็ว 15Mbps 5GB (FUP 384 Kbps)
  • โทรฟรีทุกเครือข่าย 30 นาที
  • WiFi ฟรี ไม่อั้น
  • รับโบนัสโทรฟรีในเครือข่ายเพิ่ม นาน 30 วัน เพียงเติมเงินสะสมครบ 150 บาท/เดือน และกดรับสิทธิ์ *900*9815# โทรออก ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พ.ค. 2567

หมายเหตุ :

  • กดรับสิทธิ์ ภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับ SMS แจ้งสิทธิ์
  • รับสิทธิ์ต่อเนื่องได้นานสูงสุด 12 เดือน เมื่อเติมเงินสะสมครบทุกเดือน และกดรับสิทธิ์ทุกครั้ง
  • ซิมโซเชียล 4G+ จากทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน
  • เล่นโซเชียลแอปดัง ฟรีไม่อั้นทั้งปี เพียง 49 บาท
  • เปิดเบอร์ วันนี้ ใช้ฟรี 5 วัน (หลังจากนั้นหักค่าบริการอัตโนมัติ 49 บาท ทุกๆ 5 วัน)
  • เน็ตเร็ว 15Mbps 5GB (FUP 384 Kbps)
  • โทรฟรีทุกเครือข่าย 30 นาที
  • WiFi ฟรี ไม่อั้น
  • รับโบนัสเพิ่มฟรี นาน 30 วัน เพียงเติมเงินสะสมครบ 150 บาท/เดือน และรับสิทธิ์ต่อเนื่องได้นานสูงสุด 12 เดือน เมื่อเติมเงินสะสมครบทุกเดือน เล่นฟรีโซเชียล 6 แอปฮิตไม่อั้น ไม่เสียค่าเน็ต 30 วัน (เฟชบุ๊ค, แมสเซนเจอร์, ไลน์, ไอจี, ทวิตเตอร์, วอตส์แอปป์) ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พ.ค. 2567

*ข้อมูล YoY เดือนกุมภาพันธ์ 2566 : กุมภาพันธ์ 2567

Page 1 of 15
X

Right Click

No right click