รายงาน Digital Lives Decoded ของเทเลนอร์ เอเชีย ระบุว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล

ซึ่งแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะฟังดูสูง แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียซึ่งอยู่ที่ 93%

มนตรี สถาพรกุล Head of Data Protection แห่งบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)  เผยความเห็นว่า Data Privacy กับ Data Security คือเรื่องเดียวกัน

"ความเป็นส่วนตัวหรือ privacy นั้นหมายถึงการเคารพขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นผู้กำหนด ถ้าคุณเล่าอะไรที่เป็นส่วนตัวกับใครก็ตาม บุคคลนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากคุณในการนำเรื่องนั้นๆ ไปบอกต่อกับคนอื่นๆ เช่นเดียวกันกับข้อมูลดิจิทัล คุณในฐานะเจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลนั้นๆ และบริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลดังกล่าวมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน ที่ทรู เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ถือเป็นส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ของเราในฐานะผู้นำด้านโทรคมนาคม-เทคโนโลยี” มนตรีกล่าว

ปัจจุบัน ทรูมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายมือถือจำนวนกว่า 51 ล้านคน ไม่นับรวมบริการอื่นๆ อาทิ บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ คอนเทนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โซลูชัน IoT ทำให้ทรูถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในมิติด้านข้อมูลของประเทศไทย

“เมื่อลูกค้าทรูเปิดโทรศัพท์มือถือ จะมีการรับและส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ของพวกเขา ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้หมายรวมถึงเพียงคอนเทนต์อย่างข้อความเอสเอ็มเอสหรือวิดีโอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นในการระบุว่าใครคือผู้ส่งข้อมูลดังกล่าว และส่งจากที่ใดด้วย” มนตรีกล่าว

นี่ถือเป็นความรับผิดชอบใหญ่หลวงสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม กล่าวคือ ผู้ให้บริการต้องดูแลให้การรับส่งข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างปลอดภัย และป้องกันไม่ให้ข้อมูลนั้นถูกเข้าถึงโดยบรรดาแฮกเกอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดี ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องบังคับใช้มาตรการในการควบควมดูแลเพื่อให้การเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปตามขอบเขตและเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

“บิ๊กดาต้านั้นเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการช่วยให้เราออกแบบบริการที่ดียิ่งขึ้น และทำให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี เราไม่เคยประนีประนอมเมื่อเป็นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลของลูกค้า เราเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มข้น เราจะเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น และเราจะเข้าถึงเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็นจริงๆ” เขาอธิบาย

 

การขอ Consent จำเป็นแค่ไหน? ตามมาตรฐานด้านข้อมูลส่วนบุคคลของทรู และกฎหมายของประเทศไทยว่าด้วย พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วน

บุคคล ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมสามารถเลือกให้ความยินยอมในด้านความเป็นส่วนตัวกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้ 2 ระดับ ซึ่งการให้ความยินยอมในระดับแรกนั้นมีความจำเป็นเพื่อจุดประสงค์การให้บริการด้านโทรคมนาคม โดยจะจำกัดการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเพื่อจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น

สำหรับการให้ความยินยอมในระดับที่สองถือเป็นทางเลือก โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกให้ความยินยอมในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรับข้อเสนอหรือสิทธิประโยชน์ที่ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันของทรูหรือดีแทคอาจมีการแจ้งเตือนไปยังลูกค้าเกี่ยวกับโอกาสในการแลกสิทธิประโยชน์บางอย่างได้ฟรี โดยขึ้นอยู่กับระดับสถานะ loyalty program และตำแหน่งที่ตั้ง (location) ของผู้ใช้งาน

“เรามีการพิจารณาในสองแง่มุม คือหนึ่ง เราได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากลูกค้าหรือไม่ และสอง การใช้งานข้อมูลลูกค้านั้นนำมาซึ่งประโยชน์สำหรับลูกค้าหรือเปล่า เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นไปตามจุดประสงค์เหล่านี้ เรามีการกำหนดกลไก (control point) และมีการติดตามทุกครั้งที่มีการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า และดูแลให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์” มนตรีกล่าว

ในการจะเข้าถึงคลังข้อมูลของทรูนั้น บุคคลที่เป็นผู้ใช้งานภายใน (internal user) ต้องสามารถชี้แจงได้ว่าคำร้องขอของตนนั้นเป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งมาตรการนี้มีการบังคับใช้กับผู้ใช้งานภายในทุกคน รวมทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ (audit and quality assurance) รวมทั้งยังครอบคลุมถึงกรณีคำขอต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐด้วย

“หน่วยงานภาครัฐไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าโดยตรง และต้องยื่นคำร้องขอการเข้าถึงข้อมูลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือผลประโยชน์แห่งชาติ เรามีการประเมินคำร้องขอทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าคำร้องขอนั้นๆ มาจากหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจทางกฎหมาย และคำร้องขอนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด เฉพาะในกรณีดังกล่าว เราจึงจะอนุญาตให้หน่วยงานรัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้” มนตรีกล่าว

 

ข้อมูลส่วนบุคคลคือราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ? มนตรียังเล็งเห็นด้วยว่าผู้บริโภคชาวไทยนั้นมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และคาวมแพร่หลายของเทคโนโลยีอย่าง AI, IoT และบิ๊กดาต้า ก็ยิ่งเร่งให้หลายฝ่ายหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นการยกระดับธรรมาภิบาลของข้อมูล (data governance) ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภค

“จุดมุ่งหมายของทรูในการก้าวไปเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคม-เทคโนโลยีนั้น ไม่ได้ถึงเพียงการเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมเท่านั้น แต่เราต้องการเป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลอื่นๆ ด้วย หากการจะไปถึงจุดนั้นได้ เราต้องเริ่มต้นจากการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าของเราก่อน จึงเป็นสาเหตุที่เรามีเจตนารมณ์แรงกล้าในการก้าวไปเป็นผู้นำด้านความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้งานของเราต้องได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของตนอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันเราต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งานในการเข้าถึงข้อมูลของพวกเขา และเราจะเข้าถึงข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ในการมอบบริการที่ดีที่สุดและนำเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่านั้น” เขากล่าว

เพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงในมิติความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ปัจจุบัน มนตรีกำลังประเมินถึงผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ยกตัวอย่างเช่น TrueX ซึ่งให้บริการโซลูชันบ้านอัจฉริยะ หรือบริการ telemedicine จากหมอดี ซึ่งล้วนเป็นบริการที่เข้าไปอยู่ในชีวิตส่วนตัวของลูกค้า

“ถึงแม้จะเป็นประเด็นเรื่อง AI หรือ IoT เราก็ยังคงยึดถือหลักการเดียวกันในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เราต้องดูแลให้การใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจำเป็นในการให้บริการ และสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า หากเรารักษามาตรฐานนี้ไว้ได้ ผมเชื่อมั่นว่าการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานของเราอย่างแน่นอน” มนตรีทิ้งท้าย

ศีล 5 กับจริยธรรมทางเทคโนโลยี เป็นเซตแนวปฏิบัติที่มีจริยธรรมในแวดวงธุรกรรมทางเทคโนโลยี   

ได้รับแรงบันดาลใจจากศีลห้าของพุทธศาสนา แต่ได้รับการปรับให้เข้ากับปัญหาเฉพาะทางในวงการออกแบบและใช้งานเทคโนโลยี

 ศีล 5 (5 precepts) ในทางเทคโนโลยี ได้แก่การละเว้น (abstrain)

Harm ละเว้นการใข้เทคโนโลยีก่อความรุนแรง:  ซึ่งหมายถึงหลีกเลี่ยงสร้างหรือใช้คอมพิวเตอร์ให้ เป็นอันตรายต่อผู้คน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังหมายถึงหลีกเลี่ยงใช้เทคโนโลยีเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือแสดงความเกลียดชัง

Dishonesty :  ละเว้นการไม่ซื่อสัตย์ในการออกแบบใช้งานเทคโนโลยี :  หมายถึงการซื่อสัตย์เมื่อติดต่อกับคู่ค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์  นอกจากนี้ยังหมายถึงหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ ไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพในรูปแบบอื่นใด

Disrespectful : ละเว้นการไม่เคารพผู้อื่น ที่มีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี : หมายถึงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างให้เกียรติและมีน้ำใจ แม้ว่าจะเห็นต่างก็ตาม  นอกจากนี้ยังหมายถึงหลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้งให้อับอายบนอินเทอร์เน็ตและการคุกคามออนไลน์ในรูปแบบอื่นใด

Irresponsible ละเว้นการไม่แสดงความรับผิดชอบต่อผลเมื่อเราออกแบบใช้งานเทคโนโลยี : หมายถึงตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการออกแบบใช้งานของคุณโดยแสดงความรับผิดชอบต่อระบบเหล่านั้น  และหมายถึงคำนึงถึงผลกระทบทางเทคโนโลยีของคุณต่อผู้อื่นด้วย

Closed-minded  ละเว้นการใจแคบ ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่  : หมายถึง เต็มใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และยอมรับมุมมองที่แตกต่าง  นอกจากนี้ยังหมายถึงเปิดกว้างและต้อนรับทุกคนไม่เลือกจำกัดทางเทคโนโลยี

ศีลห้าข้อในแวดวงเทคโนโลยีไม่ใช่กฎเกณฑ์ แต่เป็น ข้อแนะนำ ช่วยให้เราตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมในการทำงาน

ศีล 5 หรือ ข้อห้าม ทั้งห้า ทางเทคโนโลยี นี้มีความสำคัญเนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันมีอิทธิพลสามารถสร้างผลกระทบต่อโลกมหาศาล ความรับผิดชอบและจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 ตัวอย่างการนำศีล 5 ในเทคโนโลยี ไปใช้ในทางปฏิบัติ:

ห้ามทำอันตราย: เมื่อออกแบบแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ใหม่ ควรพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้และสังคมเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวอย่างเช่น แอปโซเชียลมีเดียควรได้รับการออกแบบเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และป้องกันการแพร่กระจายของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง:

ซื่อสัตย์: เมื่อเขียนบทความวิจัยหรือโพสต์เผยแพร่บนบล็อก สิ่งสำคัญคือต้องอ้างอิงแหล่งที่มาและหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ  plagiarism หรือ ข้อสำคัญคือต้องแสดง"ความจริง"เกี่ยวกับสิ่งที่คุณค้นพบ ไม่พูดเกินจริงหรือบิดเบือนความจริง

ให้ความเคารพ: เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทางออนไลน์ สิ่งสำคัญคือต้องสุภาพและให้เกียรติ แม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับพวกเขาก็ตาม  สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากคำพูดของคุณ และหลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตและการคุกคามทางออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ
มีความรับผิดชอบ: เมื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  ตัวอย่างเช่น เมื่อพัฒนาอัลกอริทึมใหม่ สิ่งสำคัญคือต้องทดสอบความเบี่ยงเบน bias หรือ

คำตอบที่เข้าข้างใคร เช่น รถไร้คนขับ จะรักษาชีวิตคนเดินถนน หรือ คนขับ การรับรองว่ามันยุติธรรมและเป็นกลางสำคัญมาก


เปิดใจกว้าง: เมื่อทำงานเป็นทีม สิ่งสำคัญคือต้องเปิดรับแนวคิดและมุมมองใหม่ๆ  สิ่งสำคัญคือต้องมีความครอบคลุมและยินดีต้อนรับผู้คนจากทุกแบบ


ศีล 5 ในถือเป็นแนวทางอันทรงคุณค่าสำหรับจริยธรรมในสาขา  การปฏิบัติตามหลักคำแนะนำเหล่านี้ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าคอมพิวเตอร์จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

บทความโดย : ผศ.ดร. พิษณุ  คนองชัยยศ  

                   ภาควิชาคอมพิวเตอร์ / คณะวิศวฯ จุฬาฯ 

 CIS 2023 - Corporate Innovation Summit  งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบลงมือทำที่ครั้งใหญ่ในเอเชีย จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค

RISE เผยถึงธีมหลักของการจัดงานปีนี้ คือ “Accelerating Growth While Saving The World” ที่ต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจและประเทศไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจแบบ ก้าวกระโดด และการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของ RISE ในการขับเคลื่อน 1% GDP ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกให้ได้ 1%

ในปีนี้ RISE มุ่งขยายความสำเร็จจากงานในปีก่อนๆ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน สปีกเกอร์ระดับโลกมากกว่า 100 คน และเวิร์คช็อปมากกว่า 60 หัวข้อ รวมไปถึง โชว์เคสสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 60 บริษัทจากทั่วโลก

ทั้งนี้ สปีกเกอร์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน CIS 2023 คือ

- Chris Cowart, Managing Director จาก Nomura-SRI Innovation Center ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้าง Siri ใน iPhone, อดีต Associate Partner ของ IDEO บริษัทที่ปรึกษาด้านการดีไซน์ระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมเม้าส์คอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก

- Lake Dai ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน AI จาก Carnegie Mellon University ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้าน AI ของโลกและเจ้าของ #RealAIusecases ผู้วิเคราะห์ผลกระทบของ AI ต่อกลยุทธ์ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและนำเสนอหนทางรอดของมวลมนุษยชาติ

- Christopher Mowry, CEO, Type One Energy, บริษัทพลังงานสะอาดแรกของโลก ที่มีแผนนำเอานิวเคลียร์ฟิวชั่นมาให้บริการกับผู้บริโภค โดยได้รับเงินให้เปล่าจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และได้รับเงินลงทุนจาก Breakthrough Energy Ventures ของ Bill Gates

- Michelle Khoo, Center Leader of Center of the Edgte จาก Deloitte SG ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาแนวหน้าที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกจากโอกาสทางธุรกิจและเทคโนโลยี

- 2 ผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Jackie Wang, Country Director, Google Thailand และ แพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ประจำ Meta Thailand

CIS 2023 จะดำเนินไปภายใต้ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Corporate Innovation, Sustainability, Deep Technology, People Transformation และ Future of Investment ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความเคลื่อนไหวของโลกที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่กับครั้งแรกในประเทศไทย ของงาน LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่จาก LINE ประเทศไทย กับการเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับเมืองไทยโดยเฉพาะ มุ่งสู่การเป็น “Open platform” หรือ แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย นอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาไทย ในการสรรค์สร้างโซลูชั่นใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับ LINE ได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้น

 

ภายในงานเต็มไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะการอัปเดตโร้ดแมปผลิตภัณฑ์ของ LINE ที่หลากหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีการคิดค้นโดยทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตลาดไทยโดยฉพาะมาแล้ว เช่น เครื่องมือ MyCustomer, บริการ LINE SHOPPING และ LINE MELODY เป็นต้น โดยในช่วงปี 2023-2024 LINE มีโร้ดแมปใหม่ๆ มากมาย ที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ในด้าน API & Plug-in ซึ่งมุ่งเน้นเปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้ครอบคลุมและหลากหลาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่นใหม่ตอบโจทย์เฉพาะด้านได้มากขึ้น อาทิ

1. LINE SHOPPING API เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนาไทยที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบสินค้าของร้านค้าบน LINE SHOPPING ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบการขายได้ดียิ่งขึ้น ผ่าน 4 API ได้แก่

· Product API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารข้อมูลสินค้า อัปเดตสินค้าจำนวนมากเข้าสู่หน้ารายการสินค้าได้โดยอัตโนมัติ

· Inventory API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารสต๊อกสินค้า เติมสินค้าเข้าหน้าร้านโดยอัตโนมัติเมื่อสินค้าหมดสต๊อก

· Order API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลออเดอร์ได้ เพื่อเข้าดูข้อมูลออเดอร์โดยละเอียด

· Webhook Order ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการแจ้งเตือน ส่งแจ้งเตือนสถานะการสั่งซื้อไปยังผู้ขายหรือแอดมิน เช่น สั่งซื้อแล้ว, จ่ายเงินแล้ว ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ

โดยในอนาคต LINE มีแผนพัฒนา API ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การทำงานให้นักพัฒนาไทยที่ต้องการจัดการระบบการขายบน LINE SHOPPING ได้ดียิ่งขึ้นอย่าง Chat Invoice API ให้นักพัฒนาสามารถสร้างลิงก์ชำระเงินของสินค้าบน LINE SHOPPING ส่งให้ลูกค้าผ่านช่องทางใดก็ได้ เพื่อกลับมายังหน้าการซื้อขายบน LINE SHOPPING อีกครั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

2. LINE OA Plus Plug-in Store ต่อยอดการพัฒนาจาก LINE OA Store เพื่อเป็นช่องทางให้นักพัฒนาภายนอกองค์กรสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มเครื่องมือภายใต้ LINE OA Plus ไม่ว่าจะเป็น MyShop, MyCustomer และ MyRestaurant โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมนำเสนอให้กับนักการตลาด หรือแบรนด์ที่มองหาโซลูชั่นเฉพาะด้าน

3. New Messaging API เพิ่มประสิทธิภาพ Messaging API เพื่อขยายศักยภาพการพัฒนาโซลูชั่นบนแชท LINE ให้นักพัฒนาไทย ตัวอย่างเช่น

· Audience Created for Step messages เปิดให้นักพัฒนาไทย สามารถนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการใช้งาน Messaging API มาประยุกต์ใช้กับการส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าผ่านฟีเจอร์ Step Messages บน LINE OA ได้

· Quote messages ฟังก์ชั่นใหม่ในการพัฒนาแชทบอท ให้ทั้งผู้ใช้และบอทสามารถส่งข้อความตอบกลับโดยอ้างอิงจากข้อความก่อนหน้าในห้องแชทได้

· Rich Menu Link/Unlink Batch อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาไทย สามารถออกชุดคำสั่งเปลี่ยน Rich Menu แบบ Personalize ใน LINE OA ให้แสดงผลสู่กลุ่มเป้าหมายจำนวนมากขึ้นได้ ด้วยชุดคำสั่งเดียว

· อัปเดตฟังก์ชั่นใหม่ๆ ในการสร้างข้อความรูปแบบ Flex Message เช่น การขยายขนาดของกล่องข้อความให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาสามารถเลือกได้ตามต้องการ และความสามารถในการกำหนดขนาดตัวอักษรและไอคอน ให้แสดงผลตามการตั้งค่าในแอปฯ LINE ของผู้ใช้แต่ละคนได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ LINE ยังได้เปิดตัวบริการใหม่อย่าง LON หรือ LINE Official Notification ข้อความแจ้งเตือนผ่านเบอร์โทรศัพท์ให้ผู้ใช้งานด้วยการแสดงผลผ่าน LINE OA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างแบรนด์หรือองค์กร ไปยังลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและมั่นใจด้านความปลอดภัย ด้วยความหลากหลายของรูปแบบข้อความแจ้งเตือนให้นักพัฒนาได้เลือกใช้ โอกาสของนักพัฒนาไทยในการสร้างโซลูชั่นการแจ้งเตือนรูปแบบใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมลดปัญหาข้อความสแปม

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย จากงาน LCT23 เพื่อการต่อยอดสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ในหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอกย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ LINE ในการเป็นองค์กร

เทคฯ ที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้เหล่านักพัฒนาไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อน เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย ให้เติบโตในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับนักพัฒนาไทย ได้ที่ LINE OA: @linedevth, เฟซบุ๊ก LINE Developers Thailand หรือ LINE Developers Group Thailand

ครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย กับงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ ทิศทาง และกลยุทธ์ก้าวต่อไปในการพัฒนาและดำเนินการด้านเทคโนโลยีใหม่แห่งปี สู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย” เปิดโอกาสเชื่อมต่อเทคโนโลยีอย่างไร้รอยต่อ พร้อมเผยแผนการพัฒนาโซลูชั่นภายใต้ความเข้าใจผู้ใช้ชาวไทย พันธมิตร และนักพัฒนา ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิต (Life Infrastructure) ยุคใหม่

“เปิดโอกาส” สู่อนาคตแห่งนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี Hyper-localized

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย เปิดเผยว่า กว่า 12 ปีที่ LINE ประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน ภายใต้พันธกิจ "Closing the Distance" ผ่านแพลตฟอร์มและบริการที่มีผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคน ตอกย้ำการเป็นโครงสร้างพื้นฐานชีวิตในยุคดิจิทัล (Life Infrastructure) พร้อมผลักดันจุดแข็งแห่งการมีทีมนักพัฒนาประจำประเทศไทย ที่จะเป็นบันไดสู่อนาคตขั้นถัดไปของนวัตกรรมในการขับเคลื่อน Smart Country ด้วยเทคโนโลยี Hyper-Localized เพื่อ “เปิดโอกาส” ให้คนไทยเติบโตในยุคดิจิทัลได้ในหลากหลายมิติอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไม่ทิ้งจุดแข็ง Group Chat เล็งพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการทำงาน

ภายในงาน นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ยังได้เผยถึงบริการพื้นฐานอย่าง ‘แชท’ ที่เป็นจุดแข็งของ LINE ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Group Chat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทย สะท้อนจากสถิติการเติบโตที่สูงขึ้นกว่า 56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และอัตราการส่งข้อความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เสียง และวิดีโอ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก

โดยผลสำรวจจาก LINE ประเทศไทยพบว่า หมวดหมู่ Group Chat ยอดนิยม ได้แก่ กลุ่มเพื่อน 82% ครอบครัว 80% ที่ทำงาน 77% และโรงเรียน 27% สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้และวิธีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้กว่า 77% ระบุว่ากลุ่มแชทครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน Group Chat ยังสามารถช่วยให้

กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดสังคมการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าในอดีต นำมาสู่ความมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ Work Group สำหรับคนไทย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน การใช้ชีวิต และครอบครัวไปด้วยกัน

 

นอกจากนี้ นายนรสิทธิ์ ยังได้เผยถึงแผนเปิดตัว LINE STICKERS PREMIUM บริการสติกเกอร์จ่ายรายเดือน/รายปี สำหรับคนไทย อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเลือกใช้งานชุดสติกเกอร์ได้หลากหลายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในทิศทางการพัฒนาจุดแข็งของแพลตฟอร์ม LINE ด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เปิดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปีครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย

นายวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (CPO) กล่าวว่า LINE ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะองค์กรเทคฯ เพื่อคนไทย โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิด” ที่พร้อมเปิดรับการเชื่อมต่อกับหลากหลายเทคโนโลยีนำสมัย นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้งในด้านผู้ใช้งาน ธุรกิจ และพันธมิตร โดยอาศัยแนวคิดตั้งต้นจากทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสำหรับตลาดไทยโดยเฉพาะ ผ่าน 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1. Extensive Plug-Ins เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชั่นอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชั่นที่คิดค้นเพิ่มเติมโดย LINE เอง และระบบที่พาร์ทเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น

2. Data Utilization ส่งเสริมให้พันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ นำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างแท้จริง

3. Performance Marketing เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งขึ้น สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ของ LINE ได้อย่างยั่งยืน

4. Privacy Focused คงไว้ซึ่งการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด

ปู 3 โร้ดแมป ยกระดับเทคโนโลยี

1. Customer Data Tools เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค โดยให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ภายใต้ขอบเขตการยินยอมจากผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) และในอนาคต สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะ

2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE ให้สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และการเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

3. API & Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชั่นสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการ

 

Page 2 of 7
X

Right Click

No right click