บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน “Huawei Cloud Database Summit Thailand 2024” ภายใต้แนวคิด ‘GaussDB: ตัวเลือกที่ดีกว่าของฐานข้อมูลแห่งอนาคต’ (GaussDB: A Better Way to Database) ภายในงาน หัวเว่ยผนึกกำลังร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรชั้นนำเปิดตัวโซลูชัน GaussDB เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเข้าถึงเทคโนโลยีฐานข้อมูล AI-Native และเร่งกระบวนการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ยังเปิดตัวโครงการนำร่อง GaussDB Pioneer Program เพื่อผลักดันนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลในประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ GaussDB, ตัวเลือกสำหรับฐานข้อมูลที่ก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยคุณสมบัติชั้นนำ 6 ประการ

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวระหว่างพิธีเปิดว่า “การปฏิวัติด้านดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา โดยเราเห็นการใช้งาน AI มากขึ้นในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งฐานข้อมูลนับเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติทางดิจิทัล และการปลดปล่อยข้อมูลในยุคของบิ๊ก ดาต้าและ AI นั้นมีความท้าทายอยู่สี่ประเด็นหลัก คือ ประการแรก การประมวลผลข้อมูลปริมาณมากที่หลากหลายและกระจัดกระจายด้วยการใช้ฐานข้อมูล ประการที่สอง การคงประสิทธิภาพที่สูงในการประมวลผลข้อมูลมาก ๆ ในเวลาพร้อมกัน ประการที่สาม การรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั่วถึงและการจัดการกับการละเมิดข้อมูล และประการที่สี่ แนวโน้มดิจิทัลซึ่งได้รับความนิยมในทุกธุรกิจที่ต้องการอีโคซิสเต็มท้องถิ่นที่หลากหลายและเข้มแข็ง เราภูมิใจที่จะเสนอ GaussDB ฐานข้อมูลรุ่นต่อไปของเราให้กับประเทศไทย ซึ่งจะมอบโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อปลดล็อกคุณค่าของข้อมูลอย่างเต็มที่ และ "ให้โลกมีตัวเลือกที่ดีกว่า" "

GaussDB ได้รับการพัฒนามานานกว่า 20 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และได้รับการทดสอบผ่านการใช้งานจริง เช่น  ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ของหัวเว่ยถูกย้ายไปยัง GaussDB ช่วยลดเวลาการสร้างรายงานประจำปีจาก 30 วันเหลือเพียง 10 วัน และธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งของจีนใช้ GaussDB พลิกโฉมฐานข้อมูลเดิมให้กับระบบธุรกิจมากกว่า 150 ระบบ

บรูโน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี หัวเว่ย คลาวด์ กล่าวถึงหกก้าวสำคัญที่ทำให้ GaussDB เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับฐานข้อมูลแห่งอนาคต

ประการแรกคือ สถาปัตยกรรมขั้นสูง GaussDB ใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟแบบ 3 เลเยอร์ (three-layer pooling) ให้บริการผู้ใช้หลากหลายองค์กร (Multi-Tenancy) และปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงาน ประการที่สอง GaussDB ให้บริการแบบมัลติ-โมเดล (multi-model) ผสานฐานข้อมูลแบบ HTAP, เวกเตอร์ และมัลติ-โมเดลขจัดสภาวะคอขวดของข้อมูล และสนับสนุนธุรกิจใหม่ได้มากขึ้น ประการที่สาม ความพร้อมใช้งาน GaussDB ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างลงตัว มาพร้อมดูอัล คลัสเตอร์ ทำงานสอดผสานกันอย่างเหนือชั้น จึงพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ประการที่สี่ ความอัจฉริยะ GaussDB มาพร้อมแบบจำลองฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีระบบการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) แบบโต้ตอบทันที ลดข้อจำกัดด้านประสบการณ์ใช้งาน ประการที่ห้า การรักษาความปลอดภัย GaussDB มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยแบบ E2E พร้อมการเข้ารหัสเต็มรูปแบบและระบบป้องกันการปลอมแปลง หมดกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว และประการสุดท้าย อีโคซิสเต็มเปี่ยมศักยภาพ ฐานข้อมูลบุคคลที่สามสามารถโยกย้ายได้อย่างราบรื่นโดยอัตโนมัติและการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ ช่วยลดข้อจำกัดของอีโคซิสเต็ม

ฐานข้อมูลหัวเว่ย คลาวด์วางรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับข้อมูล

เทคโนโลยีฐานข้อมูลเปลี่ยนไป 5 ทิศทางหลัก: จากฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไปสู่แบบกระจาย, จากความน่าเชื่อถือของฮาร์ดแวร์เปลี่ยนเป็นความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์, จากทรัพยากรคงที่ไปจนถึงการรองรับการขยายตัวแบบยืดหยุ่นบนคลาวด์, จากการบำรุงรักษาแบบแมนนวลเปลี่ยนเป็นระบบอัจฉริยะ, และเปลี่ยนจากการป้องกันความปลอดภัยจุดเดียวเป็นการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยรอบด้าน และเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ มอบบริการฐานข้อมูลชั้นนำระดับองค์กร 3 รูปแบบ ได้แก่ GaussDB, GaussDB for MySQL และ GeminiDB ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบ multi-model NoSQL

GaussDB ผลักดันนวัตกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงิน มอบระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) แบบ deterministic และยกระดับความเสถียรและความน่าเชื่อถือของข้อมูลไปอีกขั้น

หัวเว่ยเปิดตัวโครงการ GaussDB Pioneer Program ในประเทศไทย

เซลีน เฉา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คลาวด์ ประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ สร้างอนาคตดิจิทัลอัจฉริยะแบบก้าวกระโดดบนคลาวด์ โดยเน้นย้ำว่า หัวเว่ย คลาวด์เป็นหนึ่งในสามผู้ให้บริการชั้นนำในตลาดคลาวด์สาธารณะในประเทศไทย และครองอันดับหนึ่งในตลาดไฮบริดคลาวด์ “เราภูมิใจที่ได้ครองอันดับ ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำที่ให้บริการลูกค้าจากอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สำคัญกว่านั้น ทีมงานของเราทุ่มเทอย่างเต็มที่และผนึกกำลังร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งในประเทศไทย” 

ภายในงานครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโครงการนำร่อง GaussDB Pioneer Program ในประเทศไทย พร้อม 3 สิทธิพิเศษ ประการแรกลูกค้า 100 ท่านแรกจะได้รับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 1 เดือน และได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญในช่วง 1 เดือนแรกของการใช้งาน ประการที่สองพาร์ทเนอร์ 100 รายแรก จะได้รับสิทธิ์ร่วมพัฒนาโซลูชันกับหัวเว่ย คลาวด์ พร้อมรับโอกาสทางธุรกิจและส่วนลดพิเศษ ประการที่สาม สำหรับสมาชิก คลาวด์ เนทีฟ อีลิท คลับ (Cloud Native Elite Club CNEC) โดยสมัครสมาชิก CNEC และได้สิทธิ์เป็น  100 ท่านแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมประจำเดือน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำทางความคิดระดับโลกและรับการฝึกอบรมพิเศษมากมาย

เปิดตัวคลาวด์ เนทีฟ อีลิท คลับ (Cloud Native Elite Club - CNEC) และ GaussDB (DWS) 3.0 ในไทย

หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้จัดเสวนาระหว่างประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสบการณ์ลูกค้าจากองค์กรชั้นนำเพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านฐานข้อมูล และคุณลักษณะที่จำเป็นของฐานข้อมูลในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะ โดยมีผู้นำจากธุรกิจและเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 50 รายเข้าร่วม ได้แก่ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตจากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในยุคแห่งอัจฉริยะ ความต้องการด้านข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น การดำเนินธุรกิจเป็นแบบเรียลไทม์และเป็นระบบมากขึ้น ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ด้านความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของคลังข้อมูลที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้  GaussDB (DWS) 3.0 เป็นบริการคลังข้อมูล (Data Warehouse Service – DWS) เจเนอเรชันใหม่บนคลาวด์ มาพร้อมนวัตกรรมล้ำสมัย ครอบคลุมตั้งแต่สถาปัตยกรรม, ความเข้ากันได้, ไปจนถึงการกำหนดการกู้คืนความเสียหายได้ตามความต้องการ

GaussDB มอบโซลูชันที่ครอบคลุมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคคลาวด์และ AI ซึ่งรวมถึงความพร้อมใช้งานสูง ช่วยลดอัตราการสูญหายและความขัดแย้งของข้อมูล พร้อมบริการกู้คืนข้อมูลสำคัญจากระยะไกลประสิทธิภาพและฟังก์ชันรองรับการขยายตัวของข้อมูลที่เหนือชั้น ทำให้สืบค้นข้อมูลที่ซับซ้อนจำนวนหลายพันล้านรายการได้ในไม่กี่วินาที ฐานข้อมูล GaussDB AI-native อัจฉริยะแบบ end-to-end มอบประสิทธิภาพการประมวลผลสูงขึ้นถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ฐานข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบทำให้ GaussDB ได้รับการรับรองความปลอดภัยระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม และที่สำคัญที่สุด GaussDB ติดตั้งและโยกย้ายข้อมูลได้ง่าย ทำให้ในปัจจุบันมีการใช้งานฐานข้อมูลของหัวเว่ย คลาวด์ มากกว่า 2,500 รายการในหลากหลายภาคส่วน รวมถึงธุรกิจการเงิน รัฐบาล ธุรกิจแบบดั้งเดิม อินเทอร์เน็ต และภาคการผลิต

หัวเว่ยวางรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทยมายาวนานกว่า 25 ปี และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะร่วมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ตลอดเวลาที่ผ่านมา หัวเว่ยร่วมผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะของเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีชีวิตชีวามากที่สุดในโลก พร้อมศักยภาพมหาศาลในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทมุ่งมั่นรับมือโลกอัจฉริยะที่กำลังจะมาถึงภายใต้กลยุทธ์ ‘All Intelligence’ ด้วยการนำเสนอโซลูชันล้ำสมัย รวมถึงเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เพื่อส่งเสริมการเติบโต ประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความร่วมมือในท้องถิ่น และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน

ไมเดียจับมือหัวเว่ย, เอไอเอส, และไชน่า ยูนิคอม ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะพร้อมระบบ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างมาตรฐานใหม่ของสายการผลิตอัจฉริยะในประเทศไทยที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย โดยการผนึกกำลังครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ปูทางสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และรองรับการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติภายใต้กระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อน

ทั้งนี้ เครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต 5G+ เชิงอุตสาหกรรม ทำให้กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ผ่านเทอร์มินัล 5G ความเร็วสูง นอกจากนี้ ยังติดตั้งไพรเวทเน็ตเวิร์ก 5G แบบเดดิเคท (Dedicated) ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับข้อกำหนดกระบวนการทำงานและให้ทำงานร่วมกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสถานการณ์การผลิตและเชื่อมต่อขั้นตอนการผลิตเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ

นายวินเซ็นท์ ไค ผู้จัดการทั่วไป โรงงานเครื่องปรับอากาศไมเดียประเทศไทย กล่าวว่า “โรงงานอัจฉริยะ 5G ในประเทศไทยได้กำหนดต้นแบบสายการผลิตแห่งโลกอนาคต เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเต็มรูปแบบของไมเดีย กรุ๊ป โดยเราได้ออกแบบสายการผลิตประสิทธิภาพสูงให้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

ทั้งนี้ โซลูชันหลักที่เสริมศักยภาพให้กับโรงงานอัจฉริยะ 5G ได้แก่:

  • การเชื่อมต่อและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G: เครือข่าย 5G มอบศักยภาพการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมหาศาลอย่างมีเสถียรภาพ จึงสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของอุปกรณ์การผลิตแบบเรียลไทม์ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์, ลดเวลาหยุดทำงาน (down time) และเพิ่มศักยภาพการใช้งานอุปกรณ์ในสายการผลิต

  • รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ 5G (Automated Guided Vehicles - AGV): เทคโนโลยี 5G พลิกโฉมการทำงานของรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) โดยปลดล็อคข้อจำกัดของ AGV ในการลำเลียงสินค้าแบบดั้งเดิม ที่ใช้การกำหนดเส้นทางล่วงหน้าร่วมกับเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ติดตั้งในพื้นที่ ด้วยการวางแผนเส้นทางแบบมีพลวัตรและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในสายการผลิตที่ซับซ้อน

  • ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ผ่านเครือข่าย 5G: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มอัตราการผลิตชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบในครั้งแรกถึง 4% ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ที่ต้องนำกลับมาแก้ไขลงจากจำนวน 4,000 ชิ้น เหลือเพียง 1,000 ชิ้น ลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และลดอัตราข้อผิดพลาดของชิ้นงานลงถึง 75%
  • แขนกลอัจฉริยะ 5G: พนักงานสามารถควบคุมแขนกลจากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ลดการใช้แรงงานคนในบริเวณที่เสี่ยงอันตราย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
  • ห้องควบคุมการปฏิบัติงานระบบ 5G: ห้องควบคุมการปฏิบัติงานจำลองและทดสอบสถานะของคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ข้างนอกผ่านระบบ 5G ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพและปราศจากข้อผิดพลาด มาพร้อมโซลูชัน 5G backhaul ที่มีค่าความหน่วงต่ำและระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันสำคัญเป็นไปอย่างราบรื่น

ในโครงการโรงงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการเครือข่ายถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญและอีโคซิสเต็มในประเทศไทยเพื่อผลักดันเครือข่าย 5G ให้บรรลุประสิทธิภาพที่เหนือชั้น, มอบการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด รวมทั้งช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการดำเนินงาน นายภูผา เอกะวิภาต รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น 5G ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวที่สามารถสร้างเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว่า 160,000 ตร.ม. รวมโรงงานผลิตถึง 3 แห่งเข้าด้วยกันได้ และในอนาคต เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนนวัตกรรมและผนึกกำลังกับผู้ผลิตระดับโลกในการสร้างโรงงานอัจฉริยะในประเทศไทย

ในขณะเดียวกัน นส. ยูนิซ เซ, ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไชน่า ยูนิคอม โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอทีว่า ความพร้อมของเครือข่าย 5G ของประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ทางไชน่า ยูนิคอม มุ่งมั่นสนับสนุนความสำเร็จของนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยสถานการณ์การใช้งานที่ครอบคลุม และสถานการณ์แบบ 5G2B ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและระบบอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม เรามองเห็นแล้วว่า 5G มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพลิกโฉมของภาคอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเองก็ได้แสดงศักยภาพด้านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้วยเทคโนโลยี 5G ให้ประจักษ์ โดยหัวเว่ยยังคงมุ่งต่อยอดความร่วมมือกับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการเครือข่าย และพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 5G ต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราได้ทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์ดิจิทัลในแต่ละราย และเจาะลึกกระบวนการผลิตและค้นหาความต้องการเฉพาะด้าน พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อเร่งนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อยกระดับสายการผลิตอัจฉริยะ”

โรงงานอัจฉริยะ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะและยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย และยังได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อร่วมกันกำหนดต้นแบบของเทคโนโลยีการผลิตแห่งโลกอนาคต

การแข่งขัน Huawei ICT Competition ระดับเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 8 ประจำปี 2023-2024 (พ.ศ. 2566-2567) ประกาศผลผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภายในงานพิธีประกาศผลรางวัลซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การแข่งขันระดับภูมิภาคภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Connection, Glory, and Future’ ครั้งนี้ ได้รับความสนใจเข้าร่วมอย่างล้นหลามจากนักเรียนนักศึกษากว่า 6,400 คน จาก 14 ประเทศและเขตการปกครองทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงตัวแทนนักศึกษา 4 ทีมจากประเทศไทย ซึ่ง 2 ทีมสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันประเภท Network Track และ AI Track รวมทั้งได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมชิงแชมป์ต่อในรอบตัดสินของการแข่งขัน Huawei ICT Competition ระดับโลก ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดบพิธีประกาศผลรางวัลนี้ยังได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ เกา กึมฮวน เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นประธานพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้แทนประจำอาเซียนและตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมในพิธีอย่างคับคั่ง

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวเกี่ยวกับการแข่งขันว่า “เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 มานี้ เราได้เพิ่มการแข่งขันในหมวด Computing Track เข้ามาอีกหนึ่งประเภท นอกเหนือไปจากประเภท Network Track, Cloud Track และ Innovation Track เรายังได้ออกแบบกิจกรรมที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างทักษะเรื่องความเป็นผู้นำและทักษะเพื่อการทำงานให้กับนักเรียน และด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันทางการศึกษา โดยเราหวังที่จะได้เพาะบ่มผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญ และนักนวัตกรรมในอนาคตให้กับภูมิภาคนี้”

ผู้ชนะรางวัลสูงสุดในแต่ละประเภทของการแข่งขันระดับเอเชียแปซิฟิกในปีนี้ ประกอบด้วย สถาบัน Cebu Institute of Technology ประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับประเภท Innovation Track สถาบัน Institut Teknologi Bandung ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเภท Network Track สถาบัน Singapore Polytechnic สำหรับประเภท Cloud Track และสถาบัน i-Academy ประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับประเภท Computing Track ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีอีก 16 ทีมจากทั่วภูมิภาค ซึ่งรวมถึงทีมนักศึกษาไทยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังและจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับรางวัลอันดับหนึ่ง อันดับสอง และอันดับสาม พร้อมด้วยสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Huawei ICT Competition รอบตัดสินในระดับโลก 

นายมากิ คัตสึโนะ-ฮายาชิคาวา ผู้อำนวยการและตัวแทนจากสำนักงานยูเนสโก (UNESCO) ส่วนภูมิภาค ประจำกรุงจาการ์ตา กล่าวแสดงความชื่นชมหัวเว่ยสำหรับความตั้งใจในฐานะที่เป็น “พันธมิตรในโครงการ Global Skills Academy (GSA) ของยูเนสโก ซึ่งหัวเว่ยได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการฝึกอบรมออนไลน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนนักศึกษาทั่วโลกโดยผ่านทางโครงการ Huawei ICT Academy เพื่อเป็นการบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีที”   

ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน กล่าวย้ำถึงความจำเป็นของทักษะการมีองค์ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ว่า “ในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียแปซิฟิก ความรู้และความเชี่ยวชาญในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่แค่ทักษะที่ควรติดตัวไว้ แต่คือทักษะที่มีความจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันบนเวทีโลก”

การแข่งขัน Huawei ICT Competition เปิดเวทีให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้ามาร่วมแข่งขันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการเพาะบ่มองค์ความรู้ด้านไอซีทีและเสริมทักษะด้านการปฏิบัติจริง นับตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 แล้ว ที่มีการจัดการแข่งขันขึ้นในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นไม่เพียงเพื่อมุ่งยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างด้านบุคลากรดิจิทัล หัวเว่ย มีความมุ่งมั่นที่จะขยายการสนับสนุนด้านการศึกษา ด้วยแผนการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรม Huawei ICT Academy จำนวน 500 แห่ง เพื่อบ่มเพาะนักศึกษากว่า 200,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568  

ทีมนักศึกษาไทยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับรางวัลอันดับ 3 ในการแข่งขันประเภท Network Track และ AI Track ตามลำดับ โดยสามารถคว้าชัยชนะด้วยผลงานแอปพลิเคชันเทคโนโลยีสุดล้ำที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนในสังคม

จากการแข่งขันระดับประเทศของนักศึกษาไทยจำนวน 317 คน จากมหาวิทยาลัย 14 แห่งทั่วประเทศ คัดเลือกเหลือเพียง 4 ทีมเพื่อเข้าแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลังเสร็จสิ้นพิธีประกาศรางวัลรอบเอเชียแปซิฟิก นักเรียนไทยผู้ชนะทั้ง 2 ทีม ได้แสดงความรู้สึกดีใจที่ได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายในระดับโลก และเปิดเผยว่าการแข่งขันได้ให้ประสบการณ์มากมาย ได้เรียนรู้ทักษะทางเทคนิคเพิ่มเติมในสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ รวมไปถึงได้เรียนรู้วิธีที่เหมาะสมมากขึ้นในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม โดยทั้งสองทีมยังได้เผยแผนการต่อยอดโครงการสำหรับการแข่งขันในระดับโลกและหวังที่จะคว้ารางวัลสูงสุดกลับมาเช่นกัน

หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาทางด้านดิจิทัลให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับพันธกิจที่มีต่อประเทศไทย ในการ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ และพันธกิจต่อภูมิภาคอาเซียนในการ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ ในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบโซลูชันล้ำสมัยและส่งเสริมการพัฒนาทางด้านบุคลากรผ่านโครงการต่าง ๆ ต่อไป เพื่อเสริมสร้างการเติบโต ยกระดับประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ตลอดจนการร่วมมือกับพันธมิตรในแต่ละประเทศเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย พร้อมเป็นอีกหนึ่งกำลังในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน    

หัวเว่ยจัดงานประจำปีอย่างยิ่งใหญ่ "ไทยแลนด์ พาร์ทเนอร์ ซัมมิต 2024" ภายใต้ธีม “ความร่วมมือเพื่อยุคแห่งการแบ่งปัน (Joining Hands for a Shared Era)” ตอกย้ำความเชื่อมั่นของเหล่าพาร์ทเนอร์ในการจับมือไปพร้อมกันในประเทศไทย พร้อมประกาศเร่งเครื่องตลาด HUAWEI eKit และกลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม สร้างแรงจูงใจให้พาร์ทเนอร์ เร่งความอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมดึงเทคโนโลยีองค์กรขั้นสูง เสิร์ฟตลาดองค์กรในทุกระดับ

นายแชนด์ เฉิน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและการจัดการพาร์ทเนอร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ หัวเว่ย ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ อิงค์ ระบุว่าปริมาณยอดการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้น 6.8% และคาดว่ายอดการใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทยจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านบาทเป็นครั้งแรก โดยจะมาจากกลุ่มธุรกิจบริการด้านไอทีซึ่งลงทุนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานในองค์กร ขณะเดียวกัน หัวเว่ยยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่มีความยั่งยืนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านสำหรับการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยปัจจุบัน หัวเว่ยมีพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในตลาดระดับองค์กรทั่วโลกกว่า 40,000 ราย สำหรับในไทย บริษัทยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพาร์ทเนอร์สำคัญในอุตสาหกรรมไอซีทีทั้ง “วีเอสที อีซีเอส” และ “ซินเน็ค” ซึ่งช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้ หัวเว่ยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมและล้ำหน้าในด้านการสื่อสารข้อมูล ออพติคัล พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสําเร็จทางธุรกิจ และได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและยุคอัจฉริยะ โดยหัวเว่ยจะยังคงทํางานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อเร่งขับเคลื่อนระบบอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรม และยังอํานวยความสะดวกในการพัฒนาระบบดิจิทัลและเศรษฐกิจอัจฉริยะให้กับลูกค้าในประเทศไทยอีกด้วย”

นายวิล ชิล รองประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า บริษัทจะเน้นในด้านการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ในทุกระดับ โดยการส่งเสริมทั้งการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและได้รับการไว้วางใจจากลูกค้าในการทำงาน รวมถึงสนับสนุนการทำกิจกรรมการตลาดร่วมกัน เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับองค์กร นอกจากนี้ ในปีนี้หัวเว่ยยังจะเดินหน้าตามแผนการขยายตลาดใหม่ในกลุ่มองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นไป หลังได้มีการเปิดตัว "HUAWEI eKit" ซึ่งเป็นแบรนด์ย่อยที่มุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการทำตลาดในกลุ่มเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

"HUAWEI eKit เป็นอีกหนึ่งในแพลตฟอร์มสำคัญของเราที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์ ในการเพิ่มโอกาสและช่องทางการนำเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเรามีรากฐานที่แข็งแกร่งมากอยู่แล้วในตลาดองค์กรขนาดใหญ่ เป็นการเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่เหมาะสมมาประยุกต์และทำราคาในระดับที่ธุรกิจเล็กก็เข้าถึงได้และใช้งานได้ไม่ซับซ้อน ถือเป็นการช่วยผลักดันให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเติบโตได้ดีมากขึ้นด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่เทียบชั้นการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ แต่จะมีราคาที่จับต้องได้และใช้งานได้ง่าย" นายชิลกล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าไอทีชั้นนำ เปิดเผยว่า ในปีนี้วีเอสทีได้เตรียมพร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และทีมงานพร้อมทั้งออฟฟิศจัดจำหน่าย 11 สาขาทั่วประเทศ เพื่อรองรับธุรกิจในกลุ่มคอมเมอร์เชียลและเอ็นเตอร์ไพรส์ที่เป็นธุรกิจฐานใหญ่ของบริษัท  การขยายตัวของตลาด และการเติบโตขององค์กรขนาดย่อมที่เป็นอีกหนึ่งตลาดใหญ่ในประเทศไทย

สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับการยอมรับใช้งานอย่างแพร่หลายอันดับต้น ๆ และได้มีการทำงานร่วมกันกับบริษัทมาอย่างยาวนาน และล่าสุดบริษัทได้เข้าเป็นพาร์ทเนอร์หลักในการผลักดันตลาดดิสทริบิวชัน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากในขณะนี้

"เราเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ยมาอย่างยาวนาน ผ่านความท้าทายในธุรกิจมาหลายฤดูกาลกว่า 10 ปี และเราก็ยังมองเห็นสัญญาณที่ดียิ่งขึ้นในปีนี้ โดยหัวเว่ยก็ยังคงให้การสนับสนุนเราเป็นอย่างดีเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาทักษะของทีมงาน รวมไปถึงแรงจูงใจในการขายต่าง ๆ จากการเป็นพาร์ทเนอร์ในการผลักดันผลิตภัณฑ์ HUAWEI eKit ทำให้เรามีเครื่องมือและสินค้าที่เหมาะกับธุรกิจรายย่อยมากขึ้น และน่าจะส่งเสริมแผนการเติบโตธุรกิจให้กับเราได้เป็นอย่างดี” นายสมศักดิ์กล่าว

ขณะที่นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับซินเน็คเองในปีนี้มีแผนที่จะเน้นบริหารจัดการกลุ่มสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่สินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียลที่เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งหัวเว่ยถือเป็นแบรนด์ที่เติบโตได้เป็นอย่างดีในกลุ่มสินค้าองค์กรสำหรับซินเน็ค และบริษัทก็จะยังเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วยสินค้าและบริการที่ครบวงจร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ทุกกลุ่ม รวมถึงในระดับองค์กรด้วยเช่นกัน

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับหัวเว่ย และเติบโตไปพร้อมกับพาร์ทเนอร์คนสำคัญของเรา ซึ่งเทคโนโลยีที่ดี ประกอบกับบริการที่ดี จะเป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อการเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน ภายใต้สโลแกน Trusted by Synnex ” นางสาวสุธิดากล่าว

หัวเว่ย ยึดมั่นที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางด้านดิจิทัลในประเทศไทย เป็นไปตามพันธกิจที่ว่า ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ และ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ โดยในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบโซลูชันล้ำสมัยเพื่อช่วยส่งเสริมการเติบโต การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมการทำงานร่วมกันในระดับท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และขับเคลื่อนให้ประเทศไทยได้เดินหน้าเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียนในอนาคต

ร่วมสำรวจโอกาสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

Page 1 of 30
X

Right Click

No right click