RÊVERSHARGER” ตอกย้ำเบอร์ 1 EV Ecosystem Operator ครบวงจร จับมือ บัตรเครดิต “เคทีซี” นำจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ จัดแคมเปญสุดเอ็กซ์คลูซีฟเอาใจผู้ใช้รถ EV ชาร์จครบ-สะดวก-สบายทั้งในและนอกบ้าน มอบส่วนลด 10% ค่าบริการชาร์จ-แลกคะแนน KTC FOREVER รับโค้ดส่วนลด-ซื้อและติดตั้ง EV Charger ผ่อน 0% 10 เดือน รุกขยายฐานเจ้าของรถ EV เสริมแกร่ง EV Charging Ecosystem สู่เป้าหมายยอดผู้ใช้แอปพลิเคชัน 200,000 ราย

นายพีระภัทร ศิริจันทโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้ให้บริการสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ RÊVERSHARGER และผู้นำ EV Ecosystem Operator ครบวงจร เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน กล่าวว่า RÊVERSHARGER ร่วมกับ “เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดแคมเปญยกระดับประสบการณ์ขับขี่ให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ด้วยการมอบเอกสิทธิ์พิเศษให้ผู้ถือบัตรเครดิตเคทีซี สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้ง่ายในราคาที่คุ้มค่า ครอบคลุมทั้งภายในที่อยู่อาศัยและสถานีชาร์จระหว่างทางทั่วประเทศ ต่อยอดแนวคิด RÊVERSHARGER ครบ-สะดวก-สบาย” ของบริษัท มุ่งให้บริการด้าน EV ที่ครบทุกความต้องการชาร์จ สถานีชาร์จครอบคลุมสะดวกทุกเส้นทาง และออกแบบบริการทุกขั้นตอนให้ใช้ง่ายและสบายสำหรับผู้ใช้งานมากที่สุด

“นอกจากพัฒนาเทคโนโลยีและขยายจำนวนสถานีชาร์จแล้ว ในปีนี้เรายังเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรชั้นนำ ขยาย EV Charging Ecosystem เพื่อมอบบริการชาร์จที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้รถ EV แต่ละกลุ่มให้มากที่สุด ครั้งนี้เราได้ร่วมมือกับเคทีซี ซึ่งเป็นพันธมิตรบัตรเครดิตรายแรกที่อยู่กับเรามาอย่างยาวนาน ทั้งยังมีฐานสมาชิกในไทยมากกว่า 2.6 ล้านรายครอบคลุมทั่วประเทศ ในการคัดสรรดีลโปรโมชันที่ตรงใจและตอบโจทย์การใช้งานจริงของผู้ใช้รถ EV สำหรับการชาร์จไฟฟ้าทั้งในและนอกบ้าน เราเชื่อว่าแคมเปญนี้จะผสานฐานลูกค้าของทั้ง 2 บริษัท ช่วยผลักดันยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันสู่ 200,000 รายภายในสิ้นปี และสร้างความผูกพันระหว่าง RÊVERSHARGER กับกลุ่มผู้ใช้รถ EV ยิ่งขึ้น” นายพีระภัทร กล่าว

ที่ผ่านมา RÊVERSHARGER มุ่งมั่นยกระดับการบริการด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งในหลากหลายมิติ ได้แก่ 1.การชาร์จภายในที่อยู่อาศัย เลือกให้บริการติดตั้งแบรนด์ EV Charger คุณภาพสูงจากผู้ผลิตรายใหญ่ระดับโลก เช่น ABB, Autel พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการติดตั้งทั่วประเทศ ให้ความปลอดภัยทุกการชาร์จ 2.การชาร์จระหว่างทาง มีเครือข่ายสถานีชาร์จขนาดใหญ่เตรียมให้บริการครบ 2,012 หัวชาร์จภายในปีนี้ ครอบคลุมการเดินทางไปยังทุกภูมิภาค ทุกระยะ 160 กม. มีสถานีชาร์จความเร็วสูงสุดถึง 360kW ที่ชาร์จเพียง 10 นาที วิ่งได้ไกลสุด 100 กม. 3.แอปพลิเคชัน REVERSHARGER ที่มีฟีเจอร์ Plug & Charge แค่จอดเสียบชาร์จได้ทันที พร้อมสิทธิพิเศษจากพันธมิตร มาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ประกอบกับภาพรวมยอดขายรถ EV ในงาน Motor Show ครั้งล่าสุดยังแข็งแกร่ง และคาดการณ์ว่าจะมียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) สะสมทะลุ 200,000 คันในสิ้นปีนี้ บริษัทจึงเชื่อมั่นว่า แคมเปญร่วมกับ เคทีซี จะช่วยรองรับความต้องการของผู้ใช้งานรถ EV ที่มองหา EV Charger สำหรับติดตั้งในบ้าน และสถานีบริการนอกบ้านได้

 

นายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บัตรเครดิตเคทีซีร่วมส่งเสริมสังคมไทยเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถ EV เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยการผนึกกำลังกับพันธมิตรด้านยานยนต์ไฟฟ้า ส่งมอบบริการที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้รถ EV และสามารถใช้บัตรเครดิตเคทีซีในการผ่อนชำระค่าจอง-ดาวน์รถ ซื้อประกันภัยรถ EV ไปจนถึงใช้คะแนนแลกรับส่วนลดการติดตั้งเครื่องชาร์จ ซึ่งปี 2566 ที่ผ่านมา มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในหมวดรถ EV เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 2567 จะเติบโตเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้รถ EV ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับหมวดใช้จ่ายด้านรถยนต์ของเคทีซีได้เป็นอย่างดี

“กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ EV เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง การออกแคมเปญนี้ร่วมกับ RÊVERSHARGER ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีจำนวนสถานีชาร์จและเครือข่ายผู้ใช้บริการขนาดใหญ่ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของสมาชิกบัตรฯ เพิ่มมากขึ้น” นายสุวัฒน์ กล่าว

สำหรับความร่วมมือระหว่าง RÊVERSHARGER และเคทีซี ในการมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้รถ EV ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์การชาร์จ มีดังนี้

1. สิทธิประโยชน์สำหรับใช้บริการที่สถานีชาร์จในเครือข่าย RÊVERSHARGER ทั่วประเทศ

1.1 มอบโค้ดส่วนลด 10% ไม่มีขั้นต่ำ โดยใช้เพียง 1 คะแนน KTC FOREVER ในการแลกรับผ่านแอป KTC Mobile (จำนวนจำกัด) ในสถานีที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2567

1.2 ใช้ 1,000 คะแนน KTC FOREVER แลกรับ e-Coupon ส่วนลด 130 บาท ผ่านแอป KTC Mobile ตั้งแต่วันนี้ - 31 กรกฎาคม 2567

2. สิทธิประโยชน์สำหรับบริการติดตั้ง EV Charger ภายในที่อยู่อาศัย รับสิทธิ์ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อติดตั้ง RÊVERSHARGER ภายในที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ใช้รถทุกแบรนด์ ตั้งแต่วันนี้ - 31 กรกฎาคม 2567

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC โทร. 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชัน ของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th/promotion/gas-auto ทั้งนี้ผู้ถือบัตรเครดิตควรใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี  

ผู้สนใจติดตั้ง EV Charger สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: ReverSharger หรือ Line OA: @sharge.thailand โทร. 02 114 7571  และผู้สนใจค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน REVERSHARGER ได้ที่ https://sharge.page.link/ib87 

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าการเข้ามาของ EV จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่สาเหตุเดียวของการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แต่สาเหตุที่สำคัญกว่า คือ การรุกคืบในการชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ของผู้ประกอบการจากประเทศจีนที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน และมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งผลักดันให้ยานยนต์จีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวทีโลก โดย EV เป็นเพียงหนึ่งในจุดเปลี่ยนที่เร่งแนวโน้มดังกล่าว การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดของอุตสาหกรรมรถยนต์จีนจะสร้างแรงกระเพื่อมมายังเศรษฐกิจและยานยนต์ไทยมากขึ้น

โดยผลกระทบต่อตลาดรถยนต์จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่กลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก EV แต่จะขยายวงกว้างไปยังตลาดรถ “ปิกอัพ” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจยานยนต์ไทยและตลาดส่งออกของไทยอีกด้วย

EV เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ปิกอัพไทยเสี่ยงถูกชิงตลาดเช่นกัน

เมื่อพิจารณาโครงสร้างการส่งออกรถยนต์ของจีนไปทั่วโลกจะพบว่า จีนส่งออกทั้ง EV และรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) โดย EV คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 30% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดจากจีนเท่านั้น ในขณะที่อีก 70% ที่เหลือเป็นรถยนต์สันดาปภายในที่มีการส่งออก “ปิกอัพ” รวมอยู่ด้วย ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นคู่แข่งโดยตรงในตลาดส่งออกปิกอัพสำคัญของยานยนต์ไทย โดยเริ่มที่จะเห็นสัญญาณชัดเจนขึ้นในตลาดออสเตรเลียในปี 2023 ที่ปิกอัพของจีนสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดได้มากถึง 8% ของยอดขายกลุ่มรถยนต์เชิงพาณิชย์ทั้งหมดของออสเตรเลียภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ดังนั้น ผลกระทบต่อการส่งออกปิกอัพไทยจึงมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้เร็วแม้ยังไม่มีการเปิดตัวปิกอัพ EV

ครั้งนี้ไม่เหมือน 1980s…การลงทุนจีนอาจไม่ช่วยต่อยอดยานยนต์ไทย

การเข้ามาของทุนจีนในปัจจุบันเป็นไปเพื่อใช้กำลังการผลิตส่วนเกินในจีนมาเจาะตลาดภายในประเทศมากกว่าการมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกแบบญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980s โดยยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ซึ่งจะกดดันให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น ตลาดส่งออกจึงเป็นทางออกที่สำคัญสำหรับยานยนต์จีนในการระบายสต็อกรถยนต์ อย่างไรก็ตาม จีนไม่สามารถส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลกได้ง่ายนัก ท่ามกลางการแบ่งขั้วมหาอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลให้มีการกีดกันสินค้าจากจีนรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยุโรปยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มภาษีการนำเข้ารถยนต์จีนมากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป ส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นเป้าหมายหลักถัดไปสำหรับการระบายรถยนต์จีน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีมาตรการให้เงินสนับสนุนการซื้อ EV และยังยกเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์จีนผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก China-ASEAN FTA ซึ่งไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่เปิดให้นำเข้ารถไฟฟ้า นอกจากนี้การลงทุนของจีนอาจสร้างความน่ากังวลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมากขึ้นด้วยปัจจัยภายใต้ภาวะอุปสงค์และอุปทานตลาดรถยนต์ของไทยที่ปรับแย่ลง ได้แก่

(1) ตลาดรถยนต์ในประเทศของไทยได้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศจะเปลี่ยนเป็นทิศทางขาลงต่อเนื่อง และในอนาคตมีแนวโน้มไม่สามารถรองรับ EV จีนที่จะทะลักเข้า

มาในตลาดและที่กำลังจะมีการผลิตภายในประเทศได้ทั้งหมด ทางออกที่สำคัญ คือ ความสามารถในการส่งออก EV จากไทยไปยังประเทศอื่นที่จะช่วยพยุงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปได้

(2) อย่างไรก็ตาม ไทยต้องแข่งกับจีนโดยตรงในตลาดส่งออกรถยนต์ในต่างประเทศ จากการที่ผู้ประกอบการจีนมีการส่งออกและเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศต่าง ๆ โดยตรง จะกดดันให้ส่วนแบ่งตลาดการส่งออกรถยนต์ของไทยมีขนาดเล็กลง ทำให้โอกาสสำหรับไทยในการเป็นผู้นำส่งออกรถยนต์ EV มีความท้าทายมากขึ้น

(3) มูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (domestic value add) ที่ไทยจะได้รับจากการผลิตรถยนต์ EV 1 คัน ต่ำกว่าการผลิตรถยนต์ ICE อย่างมาก จากการที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญจากต่างประเทศ ในขณะที่ในกลุ่มสินค้าเดิมที่ไทยสามารถผลิตได้มีแนวโน้มต้องลดราคาเพื่อแข่งกับผู้ประกอบการจีน เพราะบริษัทจีนสามารถนำเข้าโดยตรงจากจีนด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าไทยมาก ทำให้ถึงแม้จะมีการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในไทย แต่ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการผลิตรถยนต์จะน้อยกว่าในอดีต

วิกฤตยานยนต์...สายเกินแก้แล้วหรือยัง?

การเปลี่ยนผ่านของตลาดรถยนต์ทั่วโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง นั่นอาจจะหมายถึงโอกาสสำหรับไทยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) เริ่มชะลอตัวลงทั่วโลก แต่ยอดขายรถยนต์ไฮบริด (Hybrid Vehicles) กลับขยายตัวได้มากขึ้น สาเหตุหลักมาจากข้อจำกัดหลายด้านทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี ทำให้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าใครจะเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ยุคใหม่ที่แท้จริง และอาจช่วยยืดเวลาสำหรับรถยนต์สันดาปภายในได้อีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าค่ายรถจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องเพื่อดันไทยเป็นหนึ่งในฐานการส่งออกหากการกีดกันสินค้าจากสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกรุนแรงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่อาจเอื้อให้เกิดการโอนถ่ายความรู้เทคโนโลยีให้กับไทยได้

อย่างไรก็ตาม นโยบายสนับสนุน EV ในปัจจุบันเอื้อต่อการเน้นการนำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบภายในประเทศมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าเพิ่มที่ไทยได้รับจากการผลิต EV ลดลงมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการไทยอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันและอนาคตหากต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำในภาคยานยนต์ไว้ และอาจจำเป็นต้องมีการทบทวนมาตรการด้านการให้เงินอุดหนุน EV เพื่อลดการบิดเบือนโครงสร้างและราคาในตลาดรถยนต์ รวมถึงการเพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดและตรวจวัดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local content ratio) เพื่อซื้อเวลาให้ภาคยานยนต์ในระยะสั้น และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้ยังคงได้รับประโยชน์และมีเวลาปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ในระยะยาว

โรงงานรถยนต์และชิ้นส่วนเสี่ยงปิดตัวสูงหากปล่อยตามกลไกตลาด

สถานการณ์ปัจจุบันมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่การปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของบางรายที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ในสมรภูมิใหม่หากภาครัฐปล่อยไปตามกลไกการแข่งขันในปัจจุบัน ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นหลายค่ายได้เสียส่วนแบ่งตลาดในไทยให้กับ EV จีนมากกว่า 10% ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สต็อกรถยนต์ ICE เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังการผลิตรถยนต์ ICE เริ่มปรับลดลง แต่โดยรวมยังไม่สามารถลดกำลังการผลิตได้มากนักจากข้อจำกัดเรื่องต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเพื่อระบายสินค้าและกดดันอัตรากำไรของบริษัทยานยนต์ในประเทศ อย่างไรก็ดี ค่ายรถยนต์บางรายอาจไม่สามารถสู้การตัดราคาขายแข่งได้และมีแนวโน้มขาดทุน ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการปิดตัวของโรงงานผลิตรถยนต์บางแห่ง คล้ายกับสถานการณ์ที่ค่ายรถญี่ปุ่นต้องเผชิญในประเทศจีน ซึ่งหากมีบริษัทจำเป็นต้องปิดตัวก็จะส่งผลเพิ่มเติมต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจไทยในวงกว้างมากขึ้น

 

[]

คนจำนวนมากที่หันมาใช้รถ EV แล้วนึกว่าตัวเองได้ช่วยรักษ์โลกอย่างยิ่งใหญ่ เพราะเลิกใช้พลังงานสกปรกอย่างน้ำมัน หันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างไฟฟ้าแทน

คนเหล่านี้คิดผิดไปถนัด

เพราะพวกเขามิได้มองภาพรวม น้อยคนที่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “แล้วพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์ตแบ็ตรถอีวีนั้นมาจากไหน?” “โรงไฟฟ้าเหล่านั้นใช้พลังงานอะไรในการผลิตไฟฟ้า...ถ่านหิน น้ำมัน เขื่อน ก๊าซธรรมชาติ แสงอาทิตย์จากแผงโซล่า หรือพลังงานลมจากกังหันยักษ์?”

อย่าลืมว่าการทำงานของแผงโซล่าต้องอาศัย Toxic Chemical หลายชนิด และในกระบวนการผลิตก็มีการปล่อย Greenhouse Gas หลายชนิด เช่น Nitrogen Trifluoride และ Sulfur Hexafluoride เป็นต้น
และเมื่อใช้งานเกิน 15 ปี ประสิทธิภาพของแผงโซล่าจะลดลงมาก จนต้องรื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนแผงใหม่ และการรื้อทิ้งนี่แหล่ะที่ก่อปัญหามาก เพราะมันรีไซเคิลลำบาก ตอนนี้โลกก็ต้องเผชิญกับขยะโซล่าที่ต้องฝังหรือทิ้งไว้ตามพื้นที่รกร้างต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งการติดตั้งแผงโซล่านั้นต้องอาศัยพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างโครงการเม็กกะโปรเจ็ก Gemini Solar Project กลางทะเลทรายของรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกานั้น ต้องใช้พื้นที่ถึงราว 7 พันเอเคอร์ ซึ่งต่อมานักธรรมชาติวิทยาพบว่า มันกระทบกับพฤติกรรมของสัตว์จำนวนมาก และมีความเสี่ยงที่สัตว์หลายชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแถบนั้นได้ เช่น เต่าทะเลทราย (Desert Tortoise) จิ๊งจอกคิต (Kit Fox) และนกฮูกเบอร์โรวิ่ง (Burrowing Owl) เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนยิ่งไม่ต้องพูดถึง ว่ามันกระทบต่อทางเดินของน้ำและระบบนิเวศมากเพียงใด

ไฟฟ้าพลังลมเองก็ต้องอาศัย Wind Farm ที่ติดตั้งเสาสูงพร้อมกังหันลมยักษ์จำนวนมาก ที่อาจกระทบต่อเส้นทางอพยพของนกบางชนิด และวัสดุที่ใช้ทำใบพัดของกังหันก็ต้องเป็นวัสดุพิเศษราคาแพงที่เมื่อหมดอายุใช้งานแล้ว ย่อมก่อปัญหาขยะมลพิษเช่นกัน

น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงประเด็นเหล่านี้ เพราะเมื่อดูแบบครบวงจรแล้ว พวกมันล้วนสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอยู่ดี แม้จะไม่เกิดขึ้นในรอบแรกเหมือนการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกของน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแบบโต้งๆ แต่ก็ยังแอบปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อมในรอบที่สองและรอบต่อๆ ไปอยู่ดี


ยังไม่นับว่าพลังงานประเภท Renewable Energy เหล่านี้ ยังต้องอาศัยแหล่งเก็บพลังงานสำรอง (เช่นแบ็ตเตอรี่) ที่ทรงประสิทธิภาพสูงอีกด้วย (เก็บไว้ใช้ในช่วงที่แสงแดดน้อยหรือลมพัดเอื่อยๆ) อย่างกรณีของแผงโซล่านั้น เทคโนโลยีปัจจุบันส่วนใหญ่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพียงประมาณ 15-18% เท่านั้นเอง แม้ในวันที่แสงแดดแรงกล้าก็ตาม


ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวเกี่ยวกับพลังงานสะอาด หรือ Clean Energies นั้น เราต้องคิดให้ลึกและรอบคอบ ต้องมองภาพรวมให้ออกว่า พลังงานแต่ละประเภทผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุและเคมีชนิดใดบ้าง และเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วจะก่อเกิดขยะที่เป็นปัญหาหรือไม่ อย่างไร ?

ประเด็นเหล่านี้นำเรามาสู่พลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nuclear Fusion ซึ่งน่าจะเป็นอนาคตของพลังงานสะอาดที่แท้จริง เพราะพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยา Nuclear Fusion (ต่างกับ Nuclear Fission) จะปราศจากกากนิวเคลียร์ (Radioactive Waste) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานสะอาดประเภทอื่น

วิสัยทัศน์ของเราคือในอนาคตจะมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น โดยการใช้เตาปฏิกรณ์หรือเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง (Compact Nuclear Reactor) กระจายกันไปในหลายพื้นที่ ตามแต่ความต้องการการใช้พลังงานในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลก  เป็นการผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized Energy Production และราคาถูก นั่นเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ทิศทางของเทคโนโลยีและการทดลองในโลกล้วนบ่งชี้ว่าจะเป็นไปในแนวนั้น ไม่ว่าจะเป็น Joint European Torus (JET) laboratory (ผู้ผลิตเตาปฏิกรณ์ ITER) Commonwealth Nuclear Fusion Systems และ TAE Technologies
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Zap Energy ที่คิดค้นระบบ Z-pinch และได้รับความสนใจจากบรรดา Venture Capitalist เบอร์สำคัญๆ เพราะเมื่อเร็วๆ นี้สามารถระดมทุนในรอบ Series C ได้ถึง 270.4 ล้านเหรียญฯ ทั้งๆ ที่การระดมทุนครั้งก่อนหน้า (Series B) ได้มาเพียง 27.5 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น แสดงว่าบรรดานักลงทุนมองวิธีการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบ Z-pinch ว่าอาจจะมาปฏิวัติวงการนี้ก็ได้
Zap Energy แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีแบบ Z-pinch ทำงานด้วยแนวคิดง่ายๆ เฉกเช่น “การจุดไฟในขวด” (Creates Lightening in a Bottle) ดังรูปประกอบข้างล่างนี้

Zap Energy’s Approach to Fusion

Source: ARPA-E
กล่าวแบบรวบรัดคือ ทีมงานจะค่อยๆ ฉีดพลาสม่าลงไปในห้องว่างที่เป็นสูญญากาศ แล้วจุดไฟเผาพลาสม่าให้ร้อนในห้องสูญญากาศนั้นบรรจุไว้ด้วยธาตุที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่น ซึ่งเมื่อพลาสม่าร้อนถึงระดับที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นขึ้น และนิวตรอนที่ทรงพลังงานศักย ก็จะคายพลังงานออกมา โดยนิวตรอน (หรือตอนนี้เป็นพลังงาน) เหล่านั้นจะถูกจับไว้โดย Jacket โลหะที่ห่อหุ้มแกนกลางของชุดปฏิกรณ์นี้อยู่ (ที่เป็นรูปตัว U คว่ำในภาพ) โดยขณะนั้นอุณหภูมิก็จะเย็นลง พลังงานที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นับว่าใช้พลังงานเริ่มต้น (ในการเผาพลาสม่า) น้อยกว่าวิธีอื่น (เช่นของ ITER เป็นต้น)

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน เราขอสรุปให้ฟังอย่างง่ายว่า Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้ นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้นักต่อต้านนิวเคลียร์ทั้งหลาย คลายความกังวลลงได้ ทั้ง NGO นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักการเมือง และผู้กุมอำนาจรัฐบางส่วน

เทคโนโลยีที่ใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในโลกปัจจุบันทั้งหมดเป็นแบบ Nuclear Fission Technology พูดแบบง่ายๆ คือใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำการแยกนิวเคลียสของอะตอม (โดยทั่วไปใช้ธาตุยูเรเนียมเป็นวัตถุดิบ) จากหนึ่งให้เป็นสองหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะได้พลังงานจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์ นั่นเอง แล้วค่อยเอาพลังงานความร้อนอันนี้ไปต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำไปปั่นเครื่องปั่นไฟ แล้วค่อยนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อดีของพลังงานแบบนี้คือมันสะอาด ไม่ปล่อยคาร์บอนและสารพิษสู่อากาศ มีเสถียรภาพ ผลิตไฟได้มากและไม่ขาดสาย แม้โรงงานและเครื่องปฏิกรณ์ (Nuclear Reactor) จะแพง แต่พลังงานที่ได้มีราคาถูก ในระยะยาวจะประหยัดกว่ามาก

ส่วนข้อเสียคือมันจะเกิดขยะกัมมันตภาพรังสี แม้จะมีเพียงจำนวนน้อย แต่ถ้าจัดเก็บไม่ดี หรือกำจัดไม่ถูกวิธี มันจะเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่นิยมของมหาชนเพราะเมื่อมันเกิดอุบัติเหตุ ขยะกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ส่งผลร้ายแรงต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นข่าวคึกโครม ดังตัวอย่างที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor มีระบบความปลอดภัยสูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง

ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ ซึ่งผู้พัฒนาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว (MBA เราได้อธิบายไว้ในบทความและคลิปที่ออนไลน์ไปแล้วด้วย)
เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้มหาชนในบางประเทศวางใจต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้นักการเมืองกล้าตัดสินใจอนุมัติให้สร้างโรงใหม่ๆ ได้ เพราะความต้องการไฟฟ้าในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ถ้าไม่เร่งสร้าง อาจเกิดขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ และพลังงานนิวเคลียร์นี่แหล่ะที่จะช่วยปิดสวิสต์โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย และจะช่วยให้โลกสะอาดขึ้นและเย็นลง
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-of ดังนั้น การหันมาใช้แหล่งพลังงานสะอาดจึงจำเป็นต่อการอนุรักษ์โลก ทว่า การวางยุทธศาสตร์พลังงานสะอาดในระยะยาว ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยแบบครบวงจรที่กล่าวข้างต้นด้วย

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

20/01/2567

 

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย ประกาศเปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ด้วยกำลังการผลิตกว่า 50,000 ก้อนต่อปี พร้อมเข้าสู่บทบาทการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีแห่งภูมิภาคอาเซียน

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ได้เปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ HASCO-CP BATTERY SHOP ในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 75 ไร่ หลังทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนการประกอบแบตเตอรี่ ประกอบด้วยสายการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยอย่างการนำหุ่นยนต์ (Robotic) เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานที่แม่นยำ การเชื่อมโดยเลเซอร์ (Laser Welding) เพื่อให้ได้คุณภาพของการเชื่อมที่ดี การตรวจสอบด้วย CCD (Charge Coupled Device) เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบเทียบกับต้นแบบในทุกขั้นตอนก่อนนำไปใส่ในตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% และส่วนการทดสอบมาตรฐานของแบตเตอรี่ กว่า 60 ขั้นตอน อาทิ การตรวจสอบค่าการเก็บการคายประจุ (Charge & Discharge) การตรวจสอบน้ำรั่วซึมเข้าสู่แบตเตอรี่ (Air Leak test) ทดสอบความเป็นฉนวน (Insulation Test) ทดสอบการควบคุมพลังงาน (Static Test) เป็นต้น โดยในสายการผลิตแห่งนี้สามารถประกอบแบตเตอรี่ Cell-To-Pack ได้สูงสุดมากกว่า 50,000 ก้อนต่อปี ซึ่งแบตเตอรี่ที่ประกอบในประเทศไทยจะเป็นมาตรฐานเดียวกับสายการผลิตระดับโลก สำหรับแบตเตอรี่ที่ออกจากสายการผลิตนี้จะถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MG4 ELECTRIC เป็นรุ่นแรก รวมถึงรถไฟฟ้ารุ่นอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของสายการผลิตเพื่อเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2567”

 

นายจ้าว เฟิง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เปิดเผยว่า “โรงงานแบตเตอรี่อีวี เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE 2) จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ เพิ่มงบลงทุนอีกกว่า 500 ล้านบาท โดยจะใช้เป็นโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวีในรูปแบบ Cell-To-Pack (CTP) ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง RUBIK's CUBE BATTERY ด้วยข้อได้เปรียบในเรื่องของศักยภาพและโอกาสในการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการที่บริษัทแม่อย่าง SAIC MOTOR CORPORATION และ HASCO-CP เล็งเห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

 

“โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ที่ เอ็มจี ได้บุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สู่ปัจจุบันที่รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็น ที่นิยม และมีการเติบโตในตลาดแบบก้าวกระโดด ตอกย้ำความเชื่อมั่น ด้วยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสะสมรวมกว่า 18,000 คัน ด้วยผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Ecosystem ที่มีความแข็งแกร่งและครอบคลุมในทุกมิติของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จไฟแบบเร็ว หรือ MG SUPER CHARGE รองรับการเดินทางที่สะดวกสบาย ทั่วประเทศ ล่าสุด เอ็มจี เดินหน้าแผนงานอีวี มุ่งยกระดับอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการเปิดตัวโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวี และถือเป็นเครื่องสะท้อนความตั้งใจของ เอ็มจี หลังจากนี้ยังคงเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ในแผนงานระยะถัดไป เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ โดยมีกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567”

 

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย เผยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของเอ็มจีทั้งรุ่น NEW MG ZS EV
และ MG EP ได้รับการตอบรับเพิ่มมากขึ้นหลังประกาศปรับลดราคาราว 227,000 - 246,000 บาท

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click