ฉากแรก คือประมาณปลายปี 2540 ณ กลางซอยทองหล่อ คลาคล่ำไปด้วยผู้ซื้อผู้ขายที่นำรถยนต์ของตัวเองมาเปิดท้ายขายของดีๆ

ที่ขนมาจากบ้าน เพื่อต้องการลดภาระผ่อนบ้านผ่อนรถและนำเงินสดไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะตัวเองเพิ่งจะตกงานทั้งผัวทั้งเมีย

 

ใช่แล้ว “ตลาดนัดคนเคยรวย”
สื่อมวลชนทั่วโลกพากันมาทำข่าวและสัมภาษณ์ผู้ขายเหล่านั้นซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น “มนุษย์ทองคำ” อยู่ในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เงินเดือนสูงและโบนัสมากกว่า 24 เดือนต่อเนื่องกันหลายปี
การสั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ ตามคำแนะนำของ IMF เจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลขณะนั้น ทำให้พวกเขาตกงานแบบฉับพลัน

 

มูลเหตุสำคัญคือวิกฤติหนี้ต่างประเทศ (ภาคเอกชนก่อหนี้ต่างประเทศมาก) และการเก็งกำไรทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจมาเป็นเวลายาวนาน

 

ทว่า ไม้ขีดไฟก้านแรกที่จุดชนวนระเบิด เกิดจากการที่แบงก์ชาตินำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปปกป้องค่าเงินบาทแต่ขาดทุนเกือบหมดหน้าตัก

จนรัฐบาลต้องลอยค่าเงินบาทเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม และเข้าพึ่งพิง IMF ส่งผลให้หนี้สินต่างประเทศของภาคเอกชนซึ่งมีจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ สูงขึ้นกว่าเท่าตัว 

แล้วทุกอย่างก็เหมือนถูกเบรก ราคาสินทรัพย์ตกลงฮวบฮาบ ดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างมหาโหด เงินหายไปจากระบบ ภาคเอกชนทยอยเจ๊ง ติดต่อกันไปในแทบทุกอุตสาหกรรม

 

เหมือนกับปาร์ตี้ที่กำลังเฮฮาอู้ฟู้ อาหารเครื่องดื่มหรูหราไม่อั้น ทุกคนสนุกสนานมัวเมา จู่ๆ ก็ถูกถอดปลั๊ก สะดุดหยุดลงดื้อๆ

ลูกโป่งที่ประดับประดาสวยงาม พากันแตกโป้ง ต่อหน้าต่อตา เหลือไว้แต่ขยะกับหนี้สิน ที่ต้องช่วยกันเก็บกวาด

 

อีกนานกว่าชีวิตจะกลับมาเหมือนเดิม
ขณะที่คนไทยทั้งประเทศกำลังช็อกอยู่นั้น วิกฤติที่รุนแรงแบบเดียวกันก็ได้ลุกลานไปยัง อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย แล้วต่อไปยังรัสเซีย บลาซิล อาร์เจนตินา ฯลฯ

 

เกิดความโกลาหลไปทั่วทั้งโลก มากบ้างน้อยบ้างตามแต่จำนวนหนี้ที่ตนก่อไว้
ฉากต่อมา คือวันที่ 15 กันยายน 2551 ที่ผู้คนเป็นร้อย พากันเดินออกจากอาคารพร้อมกับกล่องใส่ของใช้ส่วนตัว ลงไปที่ถนน William Street ในแมนฮัตตัน
พวกเขาคืออดีตพนักงานของวานิชธนกิจเก่าแก่และมีชื่อเสียง Lehman Brother ที่ยื่นขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

 

พนักงานกว่า 25,000 คนทั่วโลก ต้องตกงานพร้อมกัน เพราะความโลภของ Lehman ที่เข้าไปเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ที่เรียกกันว่า “Sup Prime”
วิกฤติ Lehman ได้จุดชนวนให้วิกฤติเศรษฐกิจลุกลามอย่างรวดเร็ว จนรัฐบาลต้องเข้าอุ้มสถาบันการเงินทั้งระบบและกิจการขนาดใหญ่ ด้วยแพ็คเกจช่วยเหลือจำนวนมหาศาล และต้องออกนโยบาย QE และกดดอกเบี้ยให้ต่ำจนผิดปกติไว้ต่อมาอีกนานมาก

 

“วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ครั้งนั้น ไม่ได้จำกัดตัวอยู่เฉพาะอเมริกา แต่ได้ติดต่อไปยังญี่ปุ่น จีน และยุโรป
ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่โลกเศร้าหมอง และต้องมารับกรรมกับสิ่งที่พวก Wall Street ก่อไว้ โดยหาตัวคนรับผิดชอบมาลงโทษไม่ได้เลย

 

ทั้ง “วิกฤติต้มยำกุ้ง” และ “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” พิสูจน์ให้เราเห็นกับตามาแล้วว่า เมื่อเกิดวิกฤติทำนองนี้ขึ้น ความเสียหายมันจะไม่จำกัดขอบเขตอยู่เป็นเอกเทศ
มันมักจะลุกลามเป็นวงกว้าง
ฉากสุดท้าย ที่กำลังดำเนินอยู่ ณ ขณะนี้ เกิดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

ทุกคนล้วนทราบดีว่า Evergrande บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่ก่อหนี้จำนวนมากที่สุดในโลก (มูลหนี้ประมาณ 330,000 ล้านเหรียญฯ) ถูกทางการเข้าสอบสวนมาได้สักพักใหญ่ และเจ้าของซึ่งมีฐานะระดับอภิมหาเศรษฐีเพิ่งถูกรัฐบาลจับตัวไป
ที่สำคัญ Evergrande ได้ยื่นศาลในสหรัฐฯ ขอคุ้มครองในกระบวนการล้มละลาย ภายใต้มาตรา 15 หรือ Chapter 15 เมื่อเดือนที่ผ่านมา และตำรวจสหรัฐฯ ก็ได้เข้าจับกุมพนักงานของ Evergrande Wealth Management จำนวนหนึ่ง

 

Evergrande นั้นเป็นกิจการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ที่ทำโครงการกว่า 1,300 โครงการใน 280 เมือง และมีหนี้สินถึง 330,000 เหรียญฯ เท่ากับประมาณ 2% ของ GDP จีน
ตั้งแต่ปี 2564 Evergrande เริ่มผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ และต่อมาก็ทยอยเบี้ยวหนี้ที่ถึงกำหนดแทบทุกก้อน

 

ความใหญ่และเครื่อข่ายที่กว้างขวางของ Evergrande ส่งผลให้เกิดโรคติดต่อขึ้นในแวดวงอสังหาฯ คือตั้งแต่ 2564 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประมาณ 40% ของกิจการอสังหาฯ ในจีนก็ผิดนัดชำระหนี้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง

 

ที่ทุกคนเป็นห่วงมากคือ Country Garden ซึ่งปุบปับก็ผิดนัดชำระหนี้ด้วย มันไม่เหมือน Evergrande ซึ่งถูกสอบสวนมานานแล้ว แต่กรณี Country Garden นั้นมันค่อนข้าง Surprise
แม้เจ้าหนี้จะร่วมกันแก้ปัญหาผ่อนผันเตะถ่วงไปให้ แต่ในระยะยาวก็ยังคงน่าเป็นห่วง

ว่ากันว่า Country Garden นั้นมีโครงการก่อสร้างในมือมากกว่า Evergrande ถึง 4 เท่า และเป็นกิจการอสังหาฯ ที่ทำรายได้มากที่สุดในจีน แม้มูลหนี้จะน้อยกว่า เพียง 190,000 ล้านเหรียญฯ
ข้อมูลที่เปิดเผย บอกว่า Country Garden มีอพาร์ทเม้นต์ที่กำลังก่อสร้างในมือถึง 1 ล้านยูนิต
มันควรจะเป็นกิจการที่มีเงินสดตุนไว้มาก และสุขภาพดี แต่การที่มันผิดนัดชำระหนี้เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา ย่อมสร้างความกังวลให้รัฐบาลและทุกคนที่จับตาดูจีนอยู่

 

Country Garden ประเมินตอนต้นปีว่าจะสามารถส่งมอบยูนิตสร้างเสร็จในปีนี้ 7 แสนยูนิต แต่ถึงขณะนี้ บริษัทเพิ่งส่งมอบจริงได้เพียงครึ่งเดียว
ราคาหุ้นของบริษัทลดลงจากตอนต้นปีกว่า 70% แล้ว
ความเสี่ยงที่ Country Garden จะผิดนัดชำระหนี้และถูกฟ้องล้มละลายนั้นยังไม่หมดไป

 

ด้วยฐานะของมัน ถ้ามันไปอีกราย อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์จีน พังทลายลงในรอบนี้ก็ได้

 

และแน่นอน ผลกระทบย่อมลุกลามไปสู่สถาบันการเงินและบรรดาเจ้าหนี้ของกิจการเหล่านั้นทั่วโลก (การที่ Evergrande ยื่นศาลสหรัฐฯ คุ้มครองภายใต้ Chapter 15 แสดงว่าเจ้าหนี้ของกิจการจำนวนพอสมควรอยู่ในสหรัฐฯ)
นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมวิกฤติเศรษฐกิจจีนรอบนี้ จะไม่ใช่ปัญหาของจีนแต่เพียงลำพัง

PT Bank Rakyat Indonesia (Persero) Tbk (IDX: BBRI) เปิดเผยกลยุทธ์เพื่อเร่งการทำระบบนิเวศ UMi (Ultra-Micro Holding) ในอินโดนีเซีย หลังจากการก่อตั้ง UMi holding อย่างเป็นทางการในวันที่ 13 กันยายน 2564 โดย BRI มีการใช้กลยุทธ์หลัก 3 ประการตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2564

สำหรับระบบนิเวศนั้น BRI ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Rights Issue) สูงสุด 28,213,191,604 หุ้นสำหรับการระดมทุนรอบ B Series ที่ราคา 3,400 รูเปียห์ต่อหุ้น รัฐบาลอินโดนีเซียได้จองซื้อตามสิทธิทั้งหมดในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (inbreng) โดยใช้หุ้นใน PT Pegadaian (Pegadaian) และ PT Permodalan Nasional Madani (PNM) แก่ BRI

ในช่วง 3 ปีแรก BRI ตั้งเป้าในการวางพื้นฐานผ่านแผนหลังบูรณาการ ขณะเดียวกันก็ดำเนินการตามการริเริ่มต่าง ๆ รวมถึงโคโลเคชันด้วย ส่วนในเฟส 2 นั้น BRI, Pegadaian และ PNM จะเริ่มระยะการเสริมความแข็งแกร่ง ซึงรวมถึงการริเริ่มใหม่ ๆ เช่น ช่องทางดิจิทัลที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของ UMi holding ได้ง่ายขึ้น

ในเฟส 3 BRI จะยกระดับความสามารถในด้านการเงินที่ครอบคลุมในอินโดนีเซีย โดย BRI วางแผนจะเปิดตัวโปรแกรมเพิ่มความสามารถเต็มรูปแบบเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการเงิน การเติบโตของธุรกิจ และการเข้าถึงดิจิทัลสำหรับลูกค้าองค์กรทั้ง 3 นี้

กระทรวงสหกรณ์และ SME เปิดเผยว่า มีองค์กรขนาดย่อยราว 45 ล้านแห่งในอินโดนีเซียที่ต้องการเงินทุนสนับสนุนในปี 2562 แต่มีธุรกิจขนาดย่อยเพียง 20 ล้านแห่งเท่านั้นที่เข้าถึงสถาบันในระบบได้

Catur Budi Harto รองประธานของ BRI กล่าวว่า “ธุรกิจรายย่อยราว 12 ล้านแห่งเข้าถึงเงินทุนจากแหล่งนอกระบบ เช่น ครอบครัว ญาติ และสถาบันนอกระบบอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจรายย่อยราว 14 ล้านแห่งไม่มีโอกาสเข้าถึงเงินทุนเลย ไม่ว่าจะในระบบหรือนอกระบบ สิ่งนี้จะเป็นเป้าหมายสำหรับการเติบโตของธุรกิจรายย่อยในอนาคต”

ในแง่ของธุรกิจนั้น UMi Ecosystem จะเปิดโอกาสให้องค์กรทั้งสามได้เสริมแกร่งกระบวนการได้มาและการค้ำประกัน ด้วยการผนวกรวมฐานข้อมูลลูกค้าสินเชื่อกว่า 20 ล้านรายการโดยใช้ขีดความสามารถทางดิจิทัลและการวิเคราะห์

นับจนถึงวันนี้ BRI มีลูกค้าเงินฝากกว่า 120 ล้านราย และลูกค้าสินเชื่อกว่า 13 ล้านราย ในฐานะผู้นำตลาดธุรกิจรายย่อยในอินโดนีเซีย BRI คว้าส่วนแบ่งตลาดมาได้ 60% ซึ่งประกอบด้วยลูกค้ารายย่อย 12.4 ล้านราย

X

Right Click

No right click