กลุ่มบริษัทเอไอเอ (“เอไอเอ” หรือ “บริษัท” รหัสหลักทรัพย์: 1299) ประกาศดัชนีชี้วัดธุรกิจใหม่ที่สำคัญสำหรับ 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564

สรุปสาระสำคัญทางการเงิน

อัตราการเติบโตรายงานจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ตามรายละเอียดด้านล่าง

  • มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เป็น 2,549 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เป็น 4,309 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • อัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB margin) เพิ่มขึ้น 5.1 จุด เป็นร้อยละ 58.9
  • เบี้ยประกันภัยรับรวม (TWPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 27,463 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายหลี่ หยวน ชยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า

เอไอเอมีการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ที่แข็งแกร่งถึงร้อยละ 15 ในช่วง 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน เรารักษาแรงขับเคลื่อนได้ดี และสามารถสร้างการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ซึ่งแข็งแกร่งมากที่ร้อยละ 20 เมื่อเทียบเคียงกับพื้นฐานเดิม ยกเว้นในฮ่องกงที่ยอดขายให้นักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงถูกจำกัดจากมาตรการด้านการเดินทางอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าธุรกิจใหม่ของกลุ่มบริษัทเอไอเอมีอัตราการเติบโตที่มากกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562

ในจีนแผ่นดินใหญ่ เรากำลังมีความก้าวหน้าในการสร้างการเติบโตให้แก่ พรีเมียร์ เอเจนซี่ ของเราในเมืองใหม่ได้เป็นอย่างดี และผมมีความยินดีที่ล่าสุดเอไอเอ ประเทศจีน ได้รับการอนุมัติด้านการกำกับดูแลเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจในอู่ฮั่น หูเป่ย์ นอกจากนี้ผมยังได้รับกำลังใจจากผลประกอบการในระยะเริ่มต้นที่เป็นบวก จากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารแห่งเอเชียตะวันออก (The Bank of East Asia) ในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง

ทั่วทั้งกลุ่มบริษัทของเรากำลังใช้ประโยชน์จากพลังของเทคโนโลยี ดิจิทัล และการวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่ได้วางไว้และขยายความได้เปรียบในการแข่งขันของเราออกไป ในขณะที่การระบาดใหญ่ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดบางส่วนของเรา ผลการดำเนินงานของเอไอเอแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายและยืดหยุ่นทั่วทั้งเอเชียของเราซึ่งได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยี

“ผมมั่นใจว่าเราจะยังคงมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการตามกลยุทธ์เพื่อการเติบโตของเรา และส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดของเรา พร้อมกับช่วยให้ผู้คนอีกหลายล้านคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น”

สรุปผลการดำเนินงานในช่วงระยะเวลา 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) มีมูลค่า 2,549 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2563 เอไอเอสามารถคงความแข็งแกร่งของการเติบโตในมูลค่าธุรกิจใหม่ได้อย่างดี โดยเติบโตถึงร้อยละ 20 บนพื้นฐานที่เหมือนกัน มูลค่าธุรกิจใหม่ของกลุ่มบริษัทนอกฮ่องกงยังคงสามารถเติบโตได้เหนือกว่าช่วงเวลาก่อนสถานการณ์โรคระบาดในปี 2562

เอไอเอ ประเทศจีน ยังคงเป็นตลาดที่สร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่มบริษัทเอไอเอมากที่สุดด้วยมูลค่าธุรกิจใหม่เติบโตคิดเป็นตัวเลข 2 หลักในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 บนพื้นฐานเหมือนกัน ด้วยความแตกต่างของโปรแกรมพรีเมียร์ เอเจนซี่ ที่สามารถผลักดันให้ตัวแทนสร้างผลงานได้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2563 รายได้โดยเฉลี่ยของตัวแทนสูงขึ้นกว่าเมื่อช่วงก่อนมีสถานการณ์โรคระบาดในปี 2562 ซึ่งช่วยสนับสนุนในด้านการรับสมัครตัวแทนใหม่และรักษาตัวแทนเดิม ผลิตภัณฑ์ประกันที่มอบความคุ้มครองแบบดั้งเดิมยังคงได้รับความนิยม โดยสร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ได้สูงที่สุด ซึ่งเราประสบความสำเร็จอย่างมากกับผลงานการขายจากการขยายผลิตภัณฑ์ประกันเพื่อการออมระยะยาว ทำให้เราสามารถได้ส่วนแบ่งเงินในกระเป๋าของลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นจากการที่เราริเริ่มและพัฒนาโปรแกรมพรีเมียร์ เอเจนซี่ ในเมืองใหม่ๆ ของเอไอเอ ประเทศจีน เราเพิ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการธนาคารและการประกันภัยแห่งประเทศจีน ในการดำเนินธุรกิจในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์

ธุรกิจของเราในฮ่องกงได้รับรายงานถึงมูลค่าธุรกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมจากการแบ่งกลุ่มลูกค้าในประเทศ ยอดขายจากนักท่องเที่ยวในจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงมีข้อจำกัดเนื่องมาจากมาตรการจำกัดการเดินทางที่ยังดำเนินอยู่ ตลอด 9 เดือนแรกของปีนี้ ตัวแทนในพรีเมียร์ เอเจนซี่ ได้ส่งมอบมูลค่าธุรกิจใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องไตรมาสต่อไตรมาส เรายังประสบผลสำเร็จในช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ที่มีการเติบโตอย่างดีเยี่ยม โดยมีแรงสนับสนุนจากพันธมิตรใหม่ของเรา นั่นก็คือ The Bank of East Asia เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา

เอไอเอ ประเทศสิงคโปร์ และเอไอเอ ประเทศมาเลเซีย สร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ที่มีการเติบโตอย่างดีใน 9 เดือนแรกของปี 2564 ในขณะที่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี มาตรการการจำกัดจากสถานการณ์โรคระบาดส่งผลกระทบต่อมูลค่าธุรกิจใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของทั้ง 2 ตลาดในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 อย่างไรก็ดี เราได้พัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของตัวแทนในการสร้างผลผลิตของพรีเมียร์ เอเจนซี่ ในทั้ง 2 ประเทศ

นอกจากเอไอเอ ประเทศเวียดนาม ตลาดอื่นๆ ที่มูลค่าธุรกิจใน 9 เดือนแรกของปี 2564 มีอัตราเติบโตที่สูงขึ้นจากปี 2563 เปรียบเทียบบนพื้นฐานเดียวกัน ผลกระทบจากโรคโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อหลายๆ ตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 เอไอเอ เวียดนาม ได้รับผลกระทบจากยอดผู้ติดเชื้อและมาตรการล็อคดาวน์อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงมาจนถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ อย่างไรก็ดี การปรับตัวในด้านกระบวนการขายโดย Remote sales process ช่วยบรรเทาผลกระทบจากโรคระบาดให้ลดลง มูลค่าธุรกิจในตลาดอื่นๆ ลดต่ำลงอย่างเล็กน้อยในช่วงระยะเวลา 9 เดือนแรกของปี 2564 บนพื้นฐานเหมือนกัน

เอไอเอ ประเทศไทย มีมูลค่าธุรกิจที่เติบโตอย่างยอดเยี่ยม โดยมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจากทั้งช่องทางตัวแทนและแบงก์แอสชัวรันส์ และมีการเติบโตจากครึ่งปีแรกของปี 2564 ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสที่ 3

กำไรจากมูลค่าธุรกิจใหม่โดยภาพรวมตลอดระยะเวลา 9 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 5.1 จุด (pps) คิดเป็นร้อยละ 58.9 จากการปรับรูปแบบการผสมผสานผลิตภัณฑ์ ลดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้น กำไรจากมูลค่าธุรกิจใหม่มาจากการจัดการด้านค่าใช้จ่ายและการลงทุนระยะยาว โดยผลตอบแทนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากที่แสดงในรายงานประจำปี 2563 ในส่วนของกำไรได้ถูกรายงานเป็นมูลค่าปัจจุบันของเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ คิดเป็นร้อยละ 10 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 เบี้ยประกันภัยรับปีแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เป็น 4,309 ล้านเหรียญสหรัฐ และเบี้ยประกันภัยรับรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 27,463 ล้านเหรียญสหรัฐ

ภาพรวม

รายได้ที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงประกันภาคเอกชนที่อยู่ในระดับที่ต่ำ และความคุ้มครองสวัสดิการสังคมที่จำกัดยังคงเป็นตัวผลักดันความต้องการในผลิตภัณฑ์ประกันของเอไอเอทั่วเอเชีย ข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญของเราช่วยให้เราสามารถต่อยอดความต้องการเหล่านี้เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืน แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2564 แต่ผลกระทบต่อเนื่องของโรคระบาดได้ชะลอการเติบโตในไตรมาสที่ 3 เรายังคงเห็นข้อจำกัดจากมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดและการเรียกร้องสินไหมประกันที่เพิ่มขึ้นในบางตลาดของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีระดับการได้รับวัคซีนต่ำ แม้จะมีความไม่แน่นอนในระยะสั้น แต่เรามั่นใจว่าการดำเนินการตามลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของเราจะสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว

ความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยน

เอไอเอได้รับเบี้ยประกันภัยส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลท้องถิ่น ซึ่งทำให้สินทรัพย์และหนี้สินของเรามีมูลค่าใกล้เคียงกัน ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ในรายงานงบการเงินรวมของกลุ่มที่มีการแปลเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน  ดังนั้น เราจึงมีการเปรียบเทียบอัตราการเติบโตจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เว้นแต่ระบุเป็นอย่างอื่น เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนของผลการดำเนินธุรกิจ


หมายเหตุ

  1. ผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ของเอไอเอปี 2564 และปี 2563  สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 และวันที่ 30 กันยายน 2563 ตามลำดับ
  2. ตัวเลขทั้งหมดแสดงในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามจริงในรอบปี (AER) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น การเปลี่ยนแปลงที่แสดงโดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (CER) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนคงที่คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เฉลี่ยสำหรับปี 2564 และ 2563
  3. สมมติฐานเชิงเศรษฐกิจระยะยาวที่ใช้ในการคำนวณหามูลค่าธุรกิจสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 เหมือนกันกับที่แสดงไว้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งปรากฏอยู่ในข้อมูลมูลค่าธุรกิจที่แทรกไปกับรายงานประจำปี 2563 สมมติฐานอื่นที่ไม่ใช่ในเชิงเศรษฐกิจคำนวณตามข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ที่มีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุด
  4. มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) คิดจากสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง ณ เวลาขาย โดยเริ่มในปี 2564 อัตราความเสี่ยงที่รวมอยู่ในการคำนวณมูลค่าธุรกิจใหม่ถูกกำหนดที่ระดับของผลิตภัณฑ์ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายในช่วงของการรายงานผลประกอบการประจำปี 2563

มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ของกลุ่มบริษัท ไม่รวมในส่วนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) และมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) สำหรับตลาดอื่น รวมร้อยละ 49 ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมหุ้นในประเทศอินเดีย บริษัท ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต จำกัด (ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต)

  1. มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) รวมธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) และอัตรากำไรของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB margin) ไม่รวมธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและก่อนการหักส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
  2. การประกาศธุรกิจใหม่รายไตรมาส การเติบโตแบบเทียบเคียงกัน อ้างอิงถึงการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% ที่บังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 สำหรับเอไอเอ ประเทศจีน ไม่รวมถึงกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวจากจีน แผ่นดินใหญ่ ในธุรกิจของเราที่ฮ่องกง และไม่รวมถึงการจ่ายครั้งเดียวให้กับ Commonwealth Bank of Australia (CBA) ในไตรมาสแรก
    ของปี 2563 สำหรับตลาดอื่นๆ
  3. เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) คำนวณจากร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยรายปีในปีแรก และร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยแบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวก่อนการเอาประกันภัยต่อ และไม่รวมถึงการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  4. เบี้ยประกันภัยรับรวม (TWPI) ประกอบด้วยร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยปีต่ออายุ ร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัย
    ปีแรก และร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยแบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว ก่อนการเอาประกันภัยต่อ
  5. ในรายงานของเรา ฮ่องกงหมายถึงการดำเนินงานในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (SAR) และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สิงคโปร์หมายถึงการดำเนินงานในสิงคโปร์และบรูไน และตลาดอื่น ๆ หมายถึงการดำเนินงานในออสเตรเลีย กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย เมียนมาร์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน (จีน) และเวียดนาม
  6. ผลประกอบการของทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต นับรวมในช่วงระยะเวลาสามเดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในผลประกอบการรวมของเอไอเอสำหรับไตรมาสสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 เพื่อความเข้าใจ เบี้ยประกันภัยรับรวม (TWPI) ไม่ได้นับรวบในผลประกอบการจากทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต

 

เอไอเอ ประเทศไทย ตอกย้ำการเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศ* ร่วมมือกับ RISE

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รับรางวัล ‘บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารดีเด่น’ อันดับที่ 3

เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป มอบบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) สำหรับการดูแลสุขภาพใจ แก่ลูกค้าเอไอเอทั่วประเทศ เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก

 กรุงเทพฯ, 7 ตุลาคม 2564 – เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำในอุตสาหกรรมประกันชีวิตและประกันสุขภาพของไทย ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการดิจิทัลครบวงจร ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมทำแบบประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก หรือ World Mental Health Day ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี พร้อมมอบสิทธิเข้ารับบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine)[1] ผ่านแอปพลิเคชันทรู เฮลท์ (True HEALTH) แก่ลูกค้าเอไอเอ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ ตอกย้ำคำมั่นสัญญาที่มุ่งสนับสนุนให้คนไทยให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’

 นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงมีผลกระทบต่อผู้คนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งในด้านความเป็นอยู่จากการถูกจำกัดพื้นที่ หรือจำกัดการเดินทาง ไม่ได้ออกไปพบปะเพื่อนฝูงหรือแม้แต่ครอบครัว และการต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from home) รวมถึงการต้องปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะความเครียดและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้นั้น เอไอเอ ประเทศไทย ในฐานะบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเรามีโปรแกรมเอไอเอ ไวทัลลิตี้ (AIA Vitality) ที่คอยดูแลและส่งเสริมในด้านสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ลูกค้ามีสุขภาพในองค์รวมที่ดีอย่างยั่งยืน เราตระหนักถึงความกังวลและความตึงเครียดที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของลูกค้า จึงได้ร่วมมือกับทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ส่งมอบบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) แก่ลูกค้าเอไอเอที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตรายเดี่ยวกว่า 5.19 ล้านคน[2] รวมถึงสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้ ในการทำแบบประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของสุขภาพใจ สำหรับลูกค้าท่านใดที่มีผลการทดสอบที่แสดงว่ามีภาวะเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า เอไอเอจะมอบโค้ด (Code)[3] เพื่อนำไปลงทะเบียน พร้อมพูดคุยและรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฟรี ผ่านทางแอปพลิเคชัน ทรู เฮลท์ (True HEALTH) โดยบริการพิเศษนี้ จัดขึ้นเนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งเป็นการผสานความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพ มุ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุคดิจิทัลด้วยการยกระดับประสบการณ์ด้านสุขภาพแก่ลูกค้าเอไอเอ”

 ดร.อดิภัทร ชัยชนะสกุล กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการดิจิทัลครบวงจร ได้พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ “ทรู เฮลท์” โดยผสานความล้ำสมัยของเทคโนโลยีดิจิทัลกับบริการทางการแพทย์ เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้สามารถดูแลสุขภาพและเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการเดินทางไปโรงพยาบาล ปรึกษาเรื่องสุขภาพเบื้องต้นผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ กับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากชีวีบริรักษ์คลินิกเวชกรรม ซึ่งให้บริการครอบคลุมกว่า 20 สาขา ทั้งสุขภาพกายและใจ ล่าสุด เราได้มีการขยายความร่วมมือกับเอไอเอ ประเทศไทย ร่วมดูแลสุขภาพใจของคนไทย เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก โดยมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเอไอเอที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตรายเดี่ยว และสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้ ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าจากการทำแบบประเมินฯ เข้ารับบริการปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจผ่านแอปพลิเคชัน True HEALTH ฟรีตามเงื่อนไขที่เอไอเอกำหนด โดยลูกค้าเอไอเอสามารถใช้บริการได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน True HEALTH แล้วเลือกแพทย์ในแผนกสุขภาพใจและนัดหมายขอรับคำปรึกษาได้ตามวันและเวลาที่สะดวก พูดคุยกับแพทย์แบบเรียลไทม์ได้หลายรูปแบบทั้ง แชต โทร หรือ วิดีโอ คอล (VDO Call) พร้อมบริการส่งยาตามที่แพทย์สั่งถึงหน้าบ้านทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ[4] เราเชื่อมั่นว่า “ทรู เฮลท์” จะเป็นอีกหนึ่งบริการที่ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง เพื่อก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน”

 นพ.ณัฐพล พิพัฒฐาดร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจิตเวช จากทรู เฮลท์ กล่าวว่า “การดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะสุขภาพใจมีผลต่อความรู้สึก ความคิดและการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การมีสุขภาพใจที่ดีจะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและครอบครัว ซึ่งการดูแลสุขภาพใจให้ดีสามารถทำได้หลายวิธี การปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพทางใจได้ หลายคนอาจจะคิดว่าการปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจเป็นเรื่องน่าอาย แต่ในปัจจุบันเราสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล สามารถนัดหมายขอรับคำปรึกษา พูดคุยได้แบบเรียลไทม์ตามวันและเวลาที่สะดวก ยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนมีความเครียดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็ก หรือวัยรุ่น ไม่ว่าจะเจอความเครียดอะไร มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ควรมองข้าม สามารถเข้ามาปรึกษากับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพใจของ True HEALTH ได้ตลอด การได้รับคำแนะนำที่ดี แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดจะช่วยให้มองเห็นทางออกของปัญหาได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้อาการที่เป็นอยู่ทวีความรุนแรงขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงการปรึกษาแพทย์ได้เมื่อต้องการ และมีความต่อเนื่องของการรักษา”

 ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถทำแบบประเมินผ่านลิงค์ https://bit.ly/3Dou0gj หรือแอปพลิเคชัน AIA iService ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2564 และสามารถศึกษารายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.aia.co.th/vitality หรือติดต่อ AIA Call Center 1581 และหากสนใจผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและสุขภาพ รวมถึงบริการต่างๆ จากเอไอเอ สามารถติดต่อตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ ประเทศไทย กว่า 55,000 คนทั่วประเทศ

 

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้ามอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท สมทบทุนโครงการ “ประกันภัยรวมใจมอบวัคซีนต้านโควิดสู่ประชาชน” เพื่อร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อสนับสนุนในการจัดหาวัคซีนต้าน โควิด19 ‘ซิโนฟาร์ม’ จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 20,000 โดส ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมสานต่อคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ที่มุ่งสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านการให้ความสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยงานจัดขึ้น ณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เมื่อเร็ว ๆ นี้

 

-จบ-

X

Right Click

No right click