จีนกำลังจะเปิดเมือง!

จีนมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น แม้การออกจากนโยบาย ‘โควิดเป็นศูนย์’ในช่วงแรกค่อนข้างล่าช้า แต่การส่งสัญญาณจากรัฐบาลจีนว่าให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจะควบคุมการระบาดโดยให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด คือ ก้าวแรกและก้าวสำคัญที่ชี้ว่าในปี 2023 จีนกำลังจะเปิดเมืองหลังจากที่บังคับใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างเข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา KKP Research ประเมินว่าการหากจีนสามารถเปิดเมืองได้เต็มที่ในปีหน้าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความผันผวนที่จะเพิ่มขึ้น

การเปิดเมืองจะล่าช้าในช่วงแรก เนื่องจาก

1) อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำจะยังกดดันระบบสาธารณะสุขจีน ในวันที่อัตราการฉีดวัคซีนในจีนยังไม่แพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและวัคซีนจีนเองยังถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของจีนทั้งหมดอาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระดับที่ระบบสาธารณะสุขรับไม่ไหว จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากได้ และอาจสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลอาจต้องกลับไปล็อคดาวน์หนักอีกครั้ง ดังนั้น ภาครัฐมีแนวโน้มจึงผ่อนคลายมาตรการแบบค่อยเป็นไป

2) เงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นเร็วอาจเพิ่มแรงกดดันในการทำนโยบายภาครัฐ การเปิดเมืองจะทำให้อัตราเงินเฟ้อที่ในปัจจุบันอยู่ที่ 2% มีความเสี่ยงเร่งตัวสูงขึ้นได้มาก โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ที่อั้นมาเป็นเวลานานในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ (pent-up demand) กลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัจจัยการผลิต (เช่น แรงงานในภาคบริการหรือโรงงานที่ถูกปิดตัวไป) ไม่สามารถกลับมาได้เร็วเท่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นขึ้นอาจกดดันให้ธนาคารกลางจีนต้องขึ้นอัตราเบี้ยและถอนสภาพคล่องออกจากระบบ แต่ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาฯ โดยจะทำให้การเข้าถึงสภาพคล่องของบริษัทอสังหาฯ จีนทำได้ยากขึ้น ดังนั้นการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดจึงมีแนวโน้มค่อยเป็นค่อยไปโดยจีนจะมีนโยบายสนับสนุนการขยายตัวของอุปทานไปด้วยเพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเผชิญกับหลายอุปสรรคในระยะสั้น

ภาคการบริโภคของจีนจะหดตัวในระยะสั้นแม้ว่าจีนจะเริ่มคลายมาตรการโควิดแล้วก็ตาม เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจะบั่นทอนความมั่นใจของผู้บริโภคในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนกำลังชะลอตัว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจจีนยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในครึ่งแรกของปี 2023 อย่างไรก็ตามภาคการบริโภคจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นเมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มผ่านจุดสูงสุดและผู้คนมีความคุ้นชินและเรียนรู้ที่จะอยู่กับไวรัสมากยิ่งขึ้นซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า

ราคาพลังงานโลกอาจพุ่งสูงขึ้นเมื่อจีนเปิดเมือง

ผลกระทบที่สำคัญของการหลังจีนเปิดเมือง คือ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์จะเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาจากจุดสูงสุดแต่ราคายังค้างอยู่ในระดับที่สูงกว่าก่อนการระบาดโดยที่จีนยังไม่ได้เปิดเมืองด้วยซ้ำ วิกฤตราคาพลังงานสูงจากการตัดขาดอุปทานพลังงานจากรัสเซียที่ยังไม่สิ้นสุด การเปิดประเทศของจีนจะทำให้เกิดการนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากและจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีความเสี่ยงที่จะพุ่งสูงขึ้นอีกได้ในปีหน้า

ประเด็นที่น่ากังวลยิ่งกว่า คือ ราคาของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผ่านกระบวนการกลั่นเรียบร้อยแล้วเช่น ราคาน้ำมันดีเซลอาจพุ่งสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าราคาน้ำมันดิบจากทั้งเรื่องน้ำมันสำรองของหลายประเทศที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำมากในปีนี้รวมไปถึงกำลังการกลั่นที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าหลังโควิด แม้ว่ากำลังการกลั่นในจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่หากจีนยังคงจำกัดการส่งออกปิโตรเลียมต่อไปในขณะที่จีนเริ่มเปิดเมืองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาพลังงานอาจไม่ลดลงได้แม้เศรษฐกิจในภูมิภาคจะเริ่มชะลอตัวลง

การส่งออกของประเทศแถบเอเชียอาจยังชะลออยู่แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัว

หากจีนสามารถเปิดเศรษฐกิจได้เต็มที่จริงจะเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภาคการส่งออกโลกในแถบเอเชียที่มีการส่งออกสินค้าไปจีนติดลบในช่วงที่ผ่านมา โดยประเทศที่คาดว่าจะได้ประโยชน์คือ 1) ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย 2) ประเทศที่มีการพึ่งพาภาคการบริโภคในจีนสูงได้แก่ ฮ่องกง 3) ประเทศที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวจีนสูงได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

อย่างไรก็ตาม การที่อุปสงค์ในจีนกลับมาฟื้นตัวดีอีกครั้งไม่ได้แปลว่าภาคการส่งออกของไทยและประเทศอื่นๆจะขยายตัวได้ดีในช่วงปีหน้า เพราะในขณะที่จีนกำลังจะฟื้นตัว เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวและอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยการส่งออกโดยรวมยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากอุปสงค์ที่มาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรปและสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนรวมกันมากกว่าอุปสงค์ที่มาจากจีน

4 ความผันผวนที่จะสูงขึ้นในปี 2023

KKP Research ประเมินว่าแนวโน้มการเปิดเมืองของจีนในครั้งนี้จะเป็นปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม โดยปัจจัยที่สำคัญในปีหน้า คือ

1) ความผันผวนต่ออัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นได้จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เร่งตัวขึ้นหลังการเปิดเมือง นอกจากนี้หากราคาพลังงานเร่งตัวขึ้น อาจเกิดการส่งผ่านต้นทุนพลังงานไปยังราคาสินค้าหมวดอื่นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เพราะ เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงได้ถูกฝังเข้าไปในการคาดการณ์ของผู้ผลิต

2) ความผันผวนต่อสถานะทางการคลัง หากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นโดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก pent-up demand ในจีนที่จะทำให้ภาระต้นทุนของรัฐบาลในการพยุงกองทุนน้ำมันที่กำลังขาดทุนอยู่และตรึงราคาไว้ที่ 34.99 บาทต่อลิตรเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงขึ้นกว่าที่คาด

3) ความผันผวนต่อค่าเงินบาท ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าการนำเข้าพลังงานของไทยเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ดุลการค้าขาดดุลมากขึ้นและกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกจาก

จีนที่จะมาช่วยพยุงการส่งออกไทยบางส่วนรวมไปถึงนักท่องเที่ยวจีนที่อาจจะกลับมามากกว่าที่หลายคนคาดในปีหน้าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้น

4) ความผันผวนต่ออัตราดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อค้างอยู่ในระดับสูงและได้รับแรงสนับสนุนจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในสหรัฐ ฯ (Terminal Fed Fund Rate) สูงเกินกว่าที่ตลาดคาดที่ 5% ในช่วงกลางปีหน้า ในสถานการณ์นี้นโยบายการเงินไทยจะได้รับแรงกดดันให้ต้องปรับดอกเบี้ยสูงมากขึ้นจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่กว้างขึ้น ในขณะที่ราคาพลังงานจะเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อไทยค้างอยู่ในระดับที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจจีนหลังโควิดคือความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

เศรษฐกิจจีนอาจไม่กลับไปเติบโตแบบในอดีตจากความท้าท้ายหลายประการได้แก่ 1) จำนวนประชากรโดยรวมและประชากรวัยทำงานที่กำลังหดตัว 2) ปริมาณหนี้ขนาดใหญ่ที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน 3) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะยาวแม้ว่าในระยะสั้นอาจฟื้นตัวได้ดีหลังการเปิดเมือง ประเด็นที่สำคัญคือ หากเศรษฐกิจจีนไม่กลับไปเติบโตเหมือนในช่วงก่อนโควิด-19 ผลกระทบสืบเนื่องที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยคือ

1) อุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเพื่อการลงทุนและภาคการบริโภคของจีนจะได้รับผลกระทบด้านลบสูงจากการชะลอตัวในระยะยาวของเศรษฐกิจจีน

2) FDI จากจีนบางส่วนที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการค้าของไทยและจีนอาจชะลอตัวลง

3) จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนมายังไทยอาจลดลงในระยะยาวและไม่กลับไปยังระดับ 11 ล้านคนก่อนที่การระบาดของโควิด-19 จะเกิดขึ้น

 Cr: ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ  KKP

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้จัดการอาวุโส - การตลาดบัตรเครดิต ร่วมกับ โม โม พาราไดซ์" (Mo-Mo-Paradise) ร้านชาบู - สุกี้สไตล์ญี่ปุ่น พาสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีผู้โชคดีจากแคมเปญ “กินลุ้นโก! เอ็กซ์คลูซีฟทริป ทู เจแปน” ที่ใช้จ่ายผ่าน บัตรฯ ที่ร้าน โม โม พาราไดซ์ จำนวน 10 ท่าน ( 5 รางวัล รางวัลละ 2 ที่นั่ง) บินลัดฟ้าร่วมทริปเดินทาง 5 วัน 4 คืน เยือนกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พร้อมรับประทานมื้ออาหารสุดเอ็กซ์คลูซีฟกับการลิ้มลองชาบูสุกี้ เนื้อลายหินอ่อนที่ร้านโม โม พาราไดซ์ สาขาต้นตำรับใจกลางย่านชินจูกุ เมื่อเร็วๆนี้ โดยมูลค่ารางวัลจากแคมเปญดังกล่าวรวมทั้งสิ้นกว่า 800,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th สมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก เคทีซี ทัช ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์ http://bit.ly/apply-ktc

บริษัท จี-ยู ครีเอทีฟ จำกัด ประกาศเปิดตัวผลงานของศิลปินและสินค้าดิจิทัลเพื่อให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้แล้วทางแพลตฟอร์ม EAST NFT อย่างเป็นทางการ

YouTrip (ยูทริป) ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล (Multi-currency wallet) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย เผยผลสำรวจแผนการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศจากผู้ใช้งานพบว่าคนไทย 7 ใน 10 คนพร้อมออกเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้งใน 6 เดือนข้างหน้า โดยจุดหมายหลัก 3 อันดับแรก คือ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นในโอกาสครบรอบ 2 ปีการให้บริการ YouTrip ในประเทศไทยเพื่อสำรวจความต้องการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศอีกครั้งภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกเริ่มคลี่คลายลง

นักท่องเที่ยวชาวไทยพร้อมออกเดินทางอีกครั้ง

ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม - ต้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยพร้อมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าไม่เพียงนักท่องเที่ยวต่างชาติอยากเดินทางมาประเทศไทย แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยก็พร้อมออกเดินทางไปต่างประเทศเช่นกัน โดยร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีช่วงอายุระหว่าง 25 – 45 ปี และพร้อมที่จะเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้งภายใน 6 เดือนข้างหน้า

ข้อสรุปอื่นจากผลสำรวจที่น่าสนใจ

· นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยากออกเดินทางไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ โดยผลสำรวจเผยถึงเหตุผล 3 อันดับที่คนไทยอยากเดินทางไปต่างประเทศ โดยอันดับแรกคือเหตุผลเรื่องอยากไปเที่ยวต่างประเทศเพื่อพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศ และหาประสบการณ์ใหม่ๆ ร้อยละ 83 ตามมาด้วยอันดับ 2 คือการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนๆ ในต่างประเทศ ร้อยละ 7 และอันดับ 3 คือการไปต่างประเทศเพื่อเรียนต่อ ร้อยละ 5 นอกจากนี้การเดินทางไปต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะมีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น โดยร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการไปเที่ยวต่างประเทศครั้งต่อไปอยู่ที่ 1 - 2 สัปดาห์

· ทวีปเอเชียยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลัก โดยประเทศที่อยากไปเที่ยวมากที่สุด 10 อันดับแรก มีประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 เกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 3 และสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 5 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับที่ 2 และ 4 ตามลำดับ

· นักท่องเที่ยวพร้อมช้อปมากขึ้นและหลีกเลี่ยงการพกเงินสด โดยผลสำรวจพบว่าคนไทยร้อยละ 20 พร้อมที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 50% หากได้ไปเที่ยวต่างประเทศ นอกจากนี้กว่าร้อยละ 90 เลือกการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส (เช่น การใช้จ่ายผ่าน Multi-currency wallet บัตรเดินทาง และบัตรเครดิต) และหลีกเลี่ยงที่จะพกเงินสดในการไปเที่ยวต่างประเทศ โดยนอกเหนือจากเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยแล้ว การใช้จ่ายผ่าน Multi-currency wallet ยังให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่า และสามารถเติมเงินหรือแลกเงินเพื่อใช้จ่ายได้ตลอดเวลาขณะเดินทาง หมดห่วงเรื่องเงินหมดระหว่างทริป

นางสาวจุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย กล่าวว่า “การที่ประเทศต่างๆ เริ่มเปิดประเทศนับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เดินทางมาเกือบ 2 ปี โดยเราเชื่อว่าผู้ใช้งาน YouTrip จะเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่เดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยที่ประเทศปลายทางแล้ว การค้นหาโปรโมชั่นน่าสนใจจากสายการบินหรือโรงแรมต่างๆ รวมถึงการแลกเงินเก็บไว้เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ล้วนเป็นวิธีที่จะช่วยประหยัดเงินเมื่อวางแผนไปเที่ยวต่างประเทศได้ทั้งสิ้น”

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการกระตุ้นให้สังคมไร้เงินสดมาถึงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะในบางประเทศอย่างเช่น อังกฤษ ที่ร้านอาหาร โรงแรมและร้านค้าส่วนใหญ่ปฏิเสธการรับเงินสด เนื่องจากความกังวลเรื่องความสะอาดและปลอดภัย อย่างไรก็ตาม YouTrip ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแลกเงินภายในแอปและการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส (Contactless) ตามร้านค้าต่างๆ ทั่วโลก ที่รองรับ Mastercard ช่วยให้นักเดินทางมั่นใจกับการใช้จ่ายอย่างไร้กังวลตลอดทริป”

“ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของการให้บริการในประเทศไทย YouTrip ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ ในการใช้จ่ายและการใช้งานด้วยเรทที่ดีกว่าแก่นักเดินทางชาวไทย และเราหวังว่า YouTrip จะเป็นเพื่อนคู่ใจนักเดินทางเมื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเริ่มกลับมา หากมีปัญหาในการใช้งาน YouTrip พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชัน โทรศัพท์และช่องทางต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง” ตอบโจทย์ด้วยเรทที่ดีกว่า และใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน

นอกเหนือจากการเป็นเพื่อนคู่ใจของนักเดินทางแล้ว YouTrip ยังเป็นตัวเลือกหลักในการใช้จ่ายออนไลน์เป็นสกุลเงินต่างประเทศอีกด้วย โดยในปีที่ผ่านมา2 YouTrip มียอดใช้จ่ายออนไลน์เป็นสกุลเงินต่างประเทศเติบโตขึ้นเกือบ 250% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นการใช้จ่าย เช่น การเติมเกมออนไลน์ การซื้อของออนไลน์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ชื่อดังของต่างประเทศ และการจ่ายค่าเรียนและค่าที่พักในต่างประเทศ

YouTrip ฉลองครบรอบ 2 ปีด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษ #BirthdayTrippin รับเงินคืนและของรางวัลทั้งเดือนรวม 400,000 บาท โดยมีกิจกรรมที่สามารถร่วมสนุกได้ทุกสัปดาห์ เพียงลงทะเบียนร่วมโปรโมชั่นที่ https://go.you.co/birthdaytrippin-2/ ตั้งแต่วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2564

 

 

 

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ประกาศจัดแคมเปญ “Japan Fruits Festival ~Seasonal Gift from Japan~” ร่วมกับร้านค้าที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย “Japanese Food Supporter”(*) และบริษัทผู้ส่งออก-นำเข้าผลไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสกับเสน่ห์และได้ลิ้มรสความอร่อยของผลไม้นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นไปที่ผลไม้ตามฤดูกาลยอดนิยม 3 ชนิด ได้แก่ แอปเปิ้ล มันหวาน และสตรอว์เบอร์รี่

แคมเปญจัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 ถึง วันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565 โดยการผนึกกำลังระหว่างร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ และสื่อชั้นนำ ร่วมประชาสัมพันธ์เสน่ห์ของผลไม้ญี่ปุ่นในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งยังมีกิจกรรมสุดพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อผลไม้นำเข้าจากญี่ปุ่น หรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์/เพจโครงการ เพียงตอบแบบสอบถามที่หน้าร้านหรือบนมือถือ รับ “มันหวานญี่ปุ่นแท้ ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่น 1 กิโลกรัม” มูลค่า 350 บาทจำนวน 20,000 รางวัล

นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานเจโทร กรุงเทพฯ กล่าวถึงแนวคิดที่มาและความคาดหวังต่อการดำเนินโครงการว่า “ก่อนอื่นผมขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งไทยและญี่ปุ่น ที่มีส่วนสำคัญทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น ประเทศญี่ปุ่นส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารมายังประเทศไทยมากเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยในปี 2563 มีมูลค่าถึง 40,100 ล้านเยน (ประมาณ 11,460 ล้านบาท) ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชาวไทยจำนวนมากเดินทางไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นและได้ลิ้มลองเพลิดเพลินไปกับรสชาติอาหาร ผลไม้ ขนมต่างๆ แบบฉบับต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ๆ ส่งผลให้กระแสความนิยมอาหารญี่ปุ่นของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารมายังประเทศไทยกลับเติบโตสูงขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา แคมเปญนี้มุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยได้มีประสบการณ์และมีโอกาสรู้จักกับผลไม้ญี่ปุ่นคุณภาพพรีเมียมที่มีเอกลักษณ์ความอร่อยตามแต่ละฤดูกาล และกลายมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ของผลไม้ญี่ปุ่นในอนาคต ผมหวังว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปด้วย”

นายโทชิฮิโระ คุโด Chief Executive Officer สหกรณ์การเกษตร ทสึการุ มิไร ผู้ส่งออกแอปเปิ้ลรายใหญ่มายังประเทศไทยกล่าวว่า “ผมอยากให้คนไทยได้ลองชิมแอปเปิ้ลสดๆ จากสวนแอปเปิ้ลที่จังหวัดอาโอโมริ ที่ได้รับการปลูกอย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอนด้วยความใส่ใจจากเกษตรกรของเรา” นอกจากนี้ นายศุภวุฒิ ไชยประสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการใหญ่บริหารซุปเปอร์มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้แทนร้านค้าจากกูร์เมต์ มาร์เก็ต กล่าวเสริมว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมโปรโมทผลไม้ญี่ปุ่นคุณภาพพรีเมียมในครั้งนี้ ซึ่งตรงตามคอนเซ็ปต์ของเราที่บรรจงคัดสรรสินค้าคุณภาพส่งตรงถึงมือผู้บริโภค เราหวังว่าจะช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้”

 แคมเปญ “Japan Fruits Festival ~Seasonal Gift from Japan~” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของบริษัท วิสเมแทค ฟู้ดส์ จำกัด และบริษัท นิฮง อะกรี จำกัด ผู้ส่งออก-นำเข้าผลไม้รายใหญ่ของญี่ปุ่น รวมทั้งร้านค้าปลีกที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย “Japanese Food Supporter” ว่าเป็นร้านค้าที่ใช้และจัดจำหน่ายวัตถุดิบนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นจำนวน 7 แบรนด์ 138 สาขา และร้านค้าออนไลน์อีก 15 แพลตฟอร์ม ในการร่วมประชาสัมพันธ์เสน่ห์ของผลไม้ญี่ปุ่นตามฤดูกาล

แคมเปญประชาสัมพันธ์ผลไม้นำเข้าจากญี่ปุ่น “ฟิน เหมือนบินไปกินที่ญี่ปุ่น” ผนึกกำลังโปรโมทผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่

· ช่องทางที่ 1 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชั้นนำรวมทั้งอินฟลูเอนเซอร์ในหลายรูปแบบ โดยใช้คีย์เวิร์ดที่แตกต่างกันเพื่อส่งต่อเรื่องราวอันน่าสนใจของผลไม้ญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้และเพื่อเพิ่มจำนวนแฟนพันธุ์แท้ของผลไม้ญี่ปุ่น หน้าเพจหลักของแคมเปญเราได้ร่วมมือกับ Wongnai แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารและโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งานประจำกว่า 10 ล้านคนต่อเดือน รวมทั้งยังร่วมมือกับ The Cloud แมกกาซีนออนไลน์นำเสนอเรื่องราวความน่าสนใจของเกษตรกรชาวญี่ปุ่นที่บ่งบอกถึงความใส่ใจในทุกกระบวนการเพาะปลูก และยังร่วมมือกับ 5 อินฟลูเอนเซอร์สายฟู้ดเผยแพร่เคล็ดลับความอร่อยของผลไม้ญี่ปุ่น โดยนำผลไม้มารังสรรค์เป็นเมนูสุขภาพและเมนูสร้างสรรค์ต่างๆ ให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ลิ้มลอง

· ช่องทางที่ 2 ประชาสัมพันธ์ผ่านร้านค้าปลีกและร้านค้าออนไลน์ ผ่านทางการแนะนำของพนักงานขายและสื่อประชาสัมพันธ์ที่ติดตั้ง ณ พื้นที่ขาย สามารถตรวจสอบร้านค้าที่ร่วมแคมเปญได้จากหน้าเพจ Wongnai

· ช่องทางที่ 3 กิจกรรมตอบแบบสอบถาม “ส่งต่อความอร่อยของญี่ปุ่น” ตอบแล้วอร่อย! ได้รับแล้วดีใจ! เพียงตอบแบบสอบถามที่หน้าร้านหรือบนมือถือ ท่านจะได้รับรางวัลสุดพรีเมียม “มันหวานญี่ปุ่นแท้ ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่น 1 กิโลกรัม” มูลค่า 350 บาท จำนวน 20,000 รางวัล สำหรับคนที่คิดว่า “ผลไม้ญี่ปุ่นดูน่ากิน แต่มีราคาแพง …แต่ว่าก็อยากลองชิมดูสักครั้ง” ห้ามพลาดกิจกรรมดีๆ ถึง 31 มกราคม 2565 เท่านั้น

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดโครงการดังกล่าว ทางเจโทรฯ ยังมีกำหนดจัดงานเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ JETRO Online Business Matching & Exhibition of Japanese Food Products 2021 ขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งภายในปีงบประมาณนี้ โดยการเจรจาจับคู่ธุรกิจครั้งที่ 1 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป คาดการณ์ว่าจะสร้างให้เกิดมูลค่าการซื้อขายประมาณ 1,100 ล้านเยน (ประมาณ 333 ล้านบาท) ส่วนการเจรจาธุรกิจครั้งที่ 2 จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งโครงการทั้งสองจะสร้างให้เกิดโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดให้กับผู้ส่งออกสินค้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย

 

 

 

Page 2 of 5
X

Right Click

No right click