นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ อาคารรัฐสภา เกี่ยวกับ “บทบาทของสำนักงาน คปภ. กับการประกันภัยเกษตรกรรม” โดยมีนายสมชาย  หาญหิรัญ ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา และนางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านตลาดทุนและธุรกิจประกันภัย ร่วมชี้แจงด้วย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับบทบาทสำนักงาน คปภ. กับการประกันภัยเกษตรกรรม โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สำนักงาน คปภ. มีหน้าที่กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความแข็งแกร่ง มั่นคง เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจและปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย รวมถึงสนับสนุนธุรกิจประกันภัยให้มีบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เช่น ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยกรมธรรม์และเบี้ยประกันภัยต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน คปภ. ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดยมีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย รับเรื่องร้องเรียนผ่านทางสายด่วน คปภ. 1186 กำกับดูแลตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัยเพื่อความโปร่งใสและให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

การดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ที่เกี่ยวกับการประกันภัยพืชผลเกษตรของภาครัฐ อาทิ โครงการประกันภัยข้าวนาปี โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยสำนักงาน คปภ. บูรณาการร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สมาคมประกันวินาศภัยไทย ซึ่งสำนักงาน คปภ. มีหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและจัดอบรมให้ความรู้ด้านประกันภัยอย่างต่อเนื่อง

สำหรับโครงการประกันพืชผลเกษตรของภาครัฐนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรทำประกันภัย ผ่านโครงการประกันภัยข้าวนาปีและประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงาน คปภ. ธกส. กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ซึ่งทั้งสองโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร
มีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติผ่านระบบประกันภัยเพื่อต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐไปสู่เกษตรกร ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและรองรับต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ดังนั้น การประกันภัยจึงเป็นการ Top Up ซึ่งเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐ โดยภาครัฐอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้บางส่วน ทั้งนี้ โครงการประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ความคุ้มครองต้นทุนและภัยที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติอันได้แก่ น้ำท่วม ฝนตกหนัก ภัยแล้ง หรือ ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุ หรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว น้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และคุ้มครองภัยศัตรูพืช โรคระบาด และภัยช้างป่า ซึ่งภัยดังกล่าวต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ประกาศเป็นเขตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทุกกรณี กรณีฉุกเฉิน ในระยะเวลาที่เอาประกันภัย

สำหรับ Pain Point หลัก ๆ ของการประกันภัยด้านเกษตรกรรม คือ ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการขับเคลื่อนเรื่องการประกันภัยเกษตรกรรม ขาดกลไกในการดำเนินนโยบายและแผนการประกันภัยเกษตรกรรม รวมถึงงบประมาณที่สนับสนุนมีจำกัดและงบประมาณสนับสนุนเบี้ยประกันภัยแบบปีต่อปี เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการทำประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเกษตรกรรมมีจำกัดเฉพาะในบางพืชผลและในสัตว์บางชนิด การเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับพื้นที่ที่ยังไม่สมบูรณ์ การประเมินความเสียหายจะใช้การประเมินโดยคนเป็นหลัก นอกจากนี้ การประกันภัยพืชผลของภาครัฐมีการรับประกันภัยทั่วประเทศ มีความเสี่ยงภัยสูง เกินขีดความสามารถของบริษัทประกันภัยที่จะรับความเสี่ยงภัยพิบัติไว้เองในประเทศ จึงต้องพึ่งพาการประกันภัยต่อในต่างประเทศ ดังนั้น บริษัทประกันภัยต่อจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเบี้ยประกันภัยดังกล่าว

เลขาธิการ คปภ. ชี้แจงเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านมาภาครัฐให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายการประกันภัยการเกษตรและเป็นโครงการที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการประกันภัยข้าวนาปี และ โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้นำเสนอแนวทางเพื่อเป็นการยกระดับการประกันภัยด้านเกษตรกรรมใน 4 แนวทางหลัก ๆ คือ 1. กำหนดเป็นนโยบายระดับประเทศและทิศทางเศรษฐกิจไว้อย่างชัดเจนอันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นประชาชน 2. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยร่วมกัน มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการลดระยะเวลาในการสำรวจภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทน และ 4. ภาครัฐควรมีส่วนร่วมในการผลักดันการประกันภัยเกษตรทั้งในส่วนของการสนับสนุนเบี้ยประกันภัยและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนการประกันภัย

ทั้งนี้ ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากสมาชิกวุฒิสภาหลายท่าน ซึ่งสำนักงาน คปภ. น้อมรับข้อแนะนำและพร้อมที่จะนำไปพัฒนาและขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดียิ่งขึ้น ต่อไป

ผลตอบแทน [2.90 – 4.25]% ต่อปี ผ่าน 6 สถาบันการเงินชั้นนำ คาดว่าเปิดให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อในเดือนพฤษภาคมนี้

เสริมความปลอดภัย รับแนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH จัดพิธีเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่อย่างเป็นทางการ  ณ อาคารทิพยประกันภัย พระราม 3  โดยถือฤกษ์มงคลเวลา 05.30 น. อัญเชิญพระพุทธรูปตั้งประดิษฐานที่โต๊ะหมู่บูชา โดยมี ดร.สมพร สืบถวิลกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงาน TIPH เข้าร่วมในพิธีเปิดสำนักงานแห่งใหม่ดังกล่าว

“บมจ.สตาร์ มันนี่ หรือ SM” ผู้นำสินเชื่อแห่งภาคตะวันออก ส่งสัญญาณ Q1/67 อู้ฟู่ ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาตรการ Easy E-Receipt ของภาครัฐหนุนกำลังซื้อ ขณะที่ กางแผนปี 67 เดินหน้า All Time High คาดพอร์ตสินเชื่อใหม่เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% คุมเข้มคุณภาพลูกหนี้  ลั่น NPL สิ้นปีไม่เกิน 4% จากการขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางสาขา และดิจิทัล จับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนรูปแบบการทำงานและกระบวนใหม่ จัดทำโครงการ Lock มือถือ และการปรับดอกเบี้ยเช่าซื้อ นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตมุ่งสู่นิวไฮอย่างมีคุณภาพ

นายชูศักดิ์ วิวัฒน์วงศ์เกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์ มันนี่ จำกัด (มหาชน) หรือ SM ผู้ประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกัน รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 ซึ่งเป็นโค้งแรกของปีคาดว่าจะมีทิศทางการเติบโตที่ดี เนื่องจากส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาตรการ Easy E-Receipt ของภาครัฐ กระตุ้นกำลังซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้สูงสุด 50,000 บาท รวมถึง โครงการสนับสนุนการขาย และรายได้จากธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยที่จะเติบโตควบคู่ไปกับธุรกิจการให้สินเชื่อ ตอกย้ำผู้นำธุรกิจสินเชื่อรายใหญ่ในภาคตะวันออกของไทย

ในด้านแผนการดำเนินธุรกิจปี 2567 เดินหน้าทำ All Time High รับเศรษฐกิจฟื้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ จะสนับสนุนกำลังซื้อที่เข้ามา พร้อมตั้งเป้าหมายการขายสินค้าและสินเชื่อใหม่เติบโตรวมไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อน ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องเช่นกัน จากพอร์ตสิ้นปี 2566 อยู่ที่ 2,566.1 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 10.7% ภายใต้การควบคุมคุณภาพหนี้ บริหารจัดการ NPL ให้อยู่ที่ 3.58%

สำหรับปี 2567 SM ยังคงเดินตามแผนเชิงกลยุทธ์และขับเคลื่อนการเติบโต สำหรับการดำเนินการหลัก ได้แก่ มุ่งเน้นเติบโตในพอร์ตสินเชื่อที่สร้างผลตอบแทนที่ดี ผ่านการจัดทำโครงการ Lock มือถือ เพื่อสนับสนุนยอดขายสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน และลดความเสี่ยง NPL ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สะท้อนจากตัวเลขผลการจัดเก็บที่ดีขึ้นตั้งแต่ทำโครงการในช่วงปลายปี 2566 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวมทั้ง กลยุทธ์การปรับดอกเบี้ยเช่าซื้อ สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เพิ่มผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

พร้อมกับแผนธุรกิจในการทำ Digital Transformation นำเทคโนโลยีมาช่วยปรับกระบวนการทำงาน เพื่อการพิจารณาสินเชื่อที่รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การปรับปรุงระบบ ERP e-KYC เป็นต้น อีกทั้ง ยังช่วยลดต้นทุนในการขยายสาขา เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายในการช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการลง 40%

ตลอดจน มุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันออนไลน์เพื่อความครบวงจร และเดินหน้าขยายบริการสินเชื่อใหม่ๆ เจาะกลุ่ม B2B และ B2C รวมถึง ให้ความสำคัญในการมองหาความร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าในหลายธุรกิจ อาทิเช่น ธุรกิจด้าน Green Energy เป็นต้น

ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 SM มีสาขาจำนวน 98 แห่ง ประกอบด้วยสาขาส่วนใหญ่ในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด รวมทั้งสาขาที่ตั้งอยู่ในตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา โดยเป็นสาขาหลัก 16 สาขา สาขาย่อย 71 สาขา และสาขา Express 8 สาขา นอกจากนี้ยังคงเดินหน้าสำรวจพื้นที่ในทำเลที่มีศักยภาพเพื่อเปิดสาขาเพิ่มเติมต่อไป

“SM วางกลยุทธ์การเติบโตในปี 2567 ครอบคลุมทุกมิติทั้งในด้านการขยายพอร์ตสินเชื่อที่รัดกุม การนำผลิตภัณฑ์ใหม่มาสนับสนุน ควบคู่ระบบเทคโนโลยี และการขยายพันธมิตร ตอกย้ำความแข็งแกร่งของธุรกิจ และโอกาสจากการมีสาขาเกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่เขต EEC ที่กำลังเติบโตตามอุตสาหกรรมและการลงทุน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ” นายชูศักดิ์ กล่าว

ปัจจุบันธุรกิจหลักของ SM ได้แก่ 1. จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถจักรยานยนต์ และ 2. ธุรกิจให้บริการปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกัน และสินเชื่อบุคคล โดยหลักประกันเงินให้กู้ยืม เช่น เล่มทะเบียนรถจักรยานยนต์ โฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และให้บริการอื่นเพิ่มเติม เช่น การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย หรือ ประกันชีวิต เป็นต้น

ผลประกอบการปี 2566 มีรายได้รวม 1,379.85 ล้านบาท กำไรสุทธิ 61.75 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าเติบโตจากปีก่อน 14.6% เป็น 15.1% อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรอง (PPOP) เดิบโตจากปีก่อน 18.8% เป็น 21.9%

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดสำหรับงวดดำเนินงานวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.03 บาท กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นด้วย

พร้อมช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้นำเบอร์ 1 อสังหาริมทรัพย์ไทยยั่งยืนระดับโลกบน DJSI World 2023 และผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล, โครงการที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Imagining better futures for all’ มุ่งพัฒนา ‘พื้นที่’ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย NET Zero 2050 อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เข้าร่วมรับรางวัลโล่เกียรติคุณกลุ่ม Developer ชั้นนำของเมืองไทยร่วมสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว ในงาน Inclusive Green Growth Days Empowered by SCG: เติบโตและยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมี คุณชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director, Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เข้ารับรางวัลจาก นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน

นายชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่าทางเซ็นทรัลพัฒนารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก Cement and Green Solution Business ภายใต้ SCG ในครั้งนี้ โดยที่ผ่านมาเราได้จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อผลักดันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ นำร่องโครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีขององค์กรที่มีทิศทางด้านความยั่งยืน โดยเราได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกในกลุ่มซีเมนต์ คอนกรีต และกรีนโซลูชันในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูสสำคัญของเราคือ โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ และโครงการ เซ็นทรัล นครปฐม ที่เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มี.ค.67 โดยเลือกใช้ปูน Low Carbon รวมถึงมีการรีไซเคิลเสาเข็มที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่การพัฒนาโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัลจันทบุรี และการดำเนินงานภายใต้ Green Standard ต่างๆ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ช่วยให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมาย NET Zero 2050 ได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ เซ็นทรัลพัฒนา มีแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ NET Zero 2050 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 แบ่งได้ 3 หมวดหลัก คือ หมวดที่ 1: Decarbonized operational emissions ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 2) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด (solar) 3) ลดขยะฝังกลบ 4) ลดการใช้น้ำ 5) ชวนร้านค้าผู้เช่าลดการใช้พลังงานและแยกขยะ; หมวดที่ 2: Decarbonized embodied emission ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การนำมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล Green building เช่น LEED, TREES, EDGE มาเป็นแนวทางในการก่อสร้าง 2) การวัด LCA-Life cycle assessment ของการก่อสร้าง 3) ร่วมมือกับ supplier และ contractor ในการเพิ่มปริมาณรีไซเคิลในวัสดุก่อสร้าง และ หมวดที่ 3: Carbon removal โดยการปลูกป่าทดแทน และ R&D เพื่อหานวัตกรรม Sustianovation มาช่วย capture carbon

รับเครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 11,000 บาท และแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 12% พร้อมรับเพิ่มบัตรกำนัลห้างฯ รวมสูงสุด 2,200 บาท

สำนักงาน คปภ. ผนึกภาคธุรกิจประกันภัย แถลงผลการประชุมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

X

Right Click

No right click