รับเครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 11,000 บาท และแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 12% พร้อมรับเพิ่มบัตรกำนัลห้างฯ รวมสูงสุด 2,200 บาท

สำนักงาน คปภ. ผนึกภาคธุรกิจประกันภัย แถลงผลการประชุมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

เอปสันลงทุนเสริมความแกร่งธุรกิจในไทย เปิดโซลูชั่น เซ็นเตอร์ รวมครบโปรเจคเตอร์ เครื่องพิมพ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม หุ่นยนต์แขนกล และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อธุรกิจ ชูจุดแข็งทางด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ตอบโจทย์ลูกค้า B2B ที่กำลังปรับตัวในไทย

โซลูชั่น เซ็นเตอร์ของเอปสัน ประเทศไทย พื้นที่กว่า 600 ตร.ม. ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ด้านหน้าอาคารปัน (PUNN Smart Workspace) ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย โดยพิธีเปิดในวันนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารทั้งจากบริษัทแม่  ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น และจากสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วม

มร.จุนคิชิ โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจเครื่องพิมพ์ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เอปสันไม่ได้กำหนดความก้าวหน้าขององค์กรที่ความสำเร็จด้านผลกำไรเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญอย่างมากกับความยั่งยืน และได้นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม เอปสันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน อย่างเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้เทคโนโลยี Heat-Free ลิขสิทธิ์เฉพาะของเอปสัน ที่ใช้พลังงานน้อยและช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความทุ่มเทนี้ทำให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น จนกลายเป็นแบรนด์เครื่องพิมพ์อิงค์แทงค์อันดับ 1 ของโลกด้วยยอดจำหน่ายสะสมสูงถึง 90 ล้านเครื่องเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ เอปสันยังครองอันดับ 1 ในตลาดโปรเจคเตอร์ทั่วโลกมายาวนานถึง 22 ปีติดต่อกัน ที่สำคัญ บริษัทฯ ได้เดินหน้าขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าองค์กร หรือ B2B มาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถก้าวขึ้นเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาดเครื่องพิมพ์หน้ากว้างของตลาดอาเซียนในปีที่ผ่านมาได้สำเร็จ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 21%

“เอปสันตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการดำเนินงานเพื่อลูกค้า B2B และความสำคัญในการลงทุนด้านโครงสร้างเพื่อสนับสนุนโครงการใหม่ๆ ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตในธุรกิจด้าน B2B ดังนั้นโซลูชั่น เซ็นเตอร์นี้จึงเป็น ทัชพอยต์สำคัญที่จะทำให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของเอปสันได้พบและรับประสบการณ์อันน่าประทับใจโดยตรงด้วยตัวเองกับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้าน B2B ใหม่ๆ ของเอปสัน บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าภาคธุรกิจมีหน้าที่ต้องช่วยแก้ไขปัญหาในสังคม และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน เมื่อมองไปที่อนาคต เอปสันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยให้องค์กรต่างๆ ให้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ยั่งยืนของเอปสัน เพื่อยกระดับชีวิตและสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าให้แก่คนรุ่นต่อไป” มร.จุนคิชิ กล่าว

มร.ซิ่ว จิน เกียด กรรมการผู้จัดการภูมิภาค เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การเปิดโซลูชั่นเซ็นเตอร์ในประเทศไทยถือเป็นอีกย่างก้าวสำคัญของเอปสัน เพราะเมื่อรวมกับความสำเร็จในการเปิดโซลูชั่นเซ็นเตอร์ที่ผ่านมาในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เอปสันก็จะมีทัชพอยต์สำหรับลูกค้า B2B ได้ครอบคลุมภูมิภาคนี้ได้มากยิ่งขึ้น ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีบทบาทสำคัญต่อเอปสันมาโดยตลอด ถือเป็นตลาดหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเอปสันได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2533 หรือเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ทศวรรษแล้ว นอกจากนี้ เอปสัน ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางในการดำเนินธุรกิจในกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และปากีสถานอีกด้วย การเปิดโซลูชั่น เซ็นเตอร์แห่งใหม่ล่าสุดวันนี้จึงสะท้อนถึงความทุ่มเทของเอปสันที่จะสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ และตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจการในประเทศไทย

“โซลูชั่น เซ็นเตอร์ของเอปสัน ประเทศไทยได้รวมนวัตกรรมและความยั่งยืนมาไว้ด้วยกัน การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเอปสันในด้านความยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์และการฉายภาพอันทันสมัยของเอปสันมารังสรรค์พื้นที่ภายในให้สามารถใช้จัดแสดงโซลูชั่นระดับนวัตกรรม ไปพร้อมกับส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ลูกค้าได้ใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นและความยั่งยืนในเวลาเดียวกัน เมื่อลูกค้าเปิดรับความยั่งยืนและประยุกต์ใช้ในธุรกิจ ก็จะสามารถช่วยลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจได้”

“ขณะที่บริษัทฯ เดินหน้าขยายธุรกิจไปพร้อมกันทั่วทั้งภูมิภาค ความมุ่งมั่นในเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมยังคงแน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลง ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอองค์กรของเอปสันและสะท้อนอยู่ในการดำเนินธุรกิจ รากฐานของทุกสิ่งที่ทำมาจากปรัชญาของนวัตกรรมที่รวมทั้งประสิทธิภาพ ขนาดกะทัดรัด และความแม่นยำ บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าโซลูชั่นที่ช่วยประหยัดพลังงาน นวัตกรรมที่ช่วยลดขนาดพื้นที่ใช้งาน และเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำที่สูงพิเศษจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างชุมชนให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นได้” มร.ซิ่ว จิน เกียด กล่าว

ด้านนายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอปสันมองเห็นถึงศักยภาพและการเติบโตของสินค้าในกลุ่มธุรกิจ B2B ในทุกตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้วางกลยุทธ์เพื่อรุกตลาดนี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่ด้านโครงสร้างของธุรกิจ การพัฒนาทีมงาน ไปถึงการพัฒนาและการให้การสนับสนุนตัวแทนจำหน่าย การลงทุนสร้างโซลูชั่น เซ็นเตอร์ในทุกประเทศก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ เพื่อเป็นทัชพอยต์สำหรับลูกค้า B2B ซึ่งโซลูชั่น เซ็นเตอร์แห่งใหม่ที่ประเทศไทยนี้ใช้งบประมาณกว่า 30 ล้านบาท

“นอกจากจะได้รับการออกแบบให้สามารถใช้พื้นที่กว่า 600 ตร.ม. ได้อย่างคุ้มค่าและอเนกประสงค์แล้ว เอปสันยังได้เลือกคอนเซ็ปต์ “Sustainability of Asia and Season Changes” ที่สนับสนุนจุดยืนทางด้านความยั่งยืนของเอปสันทั่วโลก การตกแต่งภายในทั้งหมดเน้นใช้วัสดุที่มีผิวสัมผัสและสีที่เป็นธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังตกแต่งด้วยภาพพิมพ์จากเครื่องพิมพ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม และภาพฉายด้วยโปรเจคเตอร์ของเอปสัน”

สำหรับสินค้าไฮไลท์ที่จัดแสดงในวันเปิดโซลูชั่น เซ็นเตอร์ ประกอบด้วยเครื่องพิมพ์สิ่งทอแบบ Direct-to-Garment รุ่น Epson Monnalisa ML-8000 ที่ใช้หมึก UltraChrome ฐานน้ำ เครื่องพิมพ์ป้ายขนาดใหญ่ รุ่น Epson SureColor SC-S60670 ที่ใช้หมึก Eco-Solvent หรือรุ่น SureColor SC-R5030L ที่ใช้หมึกเรซิ่น ซึ่งหมึกที่ใช้ในเครื่องพิมพ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมทั้งสามประเภทของเอปสันล้วนแต่ไร้กลิ่น ไร้สารพิษ ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากมาตรฐานระดับโลก อาทิ Greenguard Gold, AgBB และ French-VOC A+ Class เป็นต้น

สำหรับกลุ่มหุ่นยนต์แขนกล จะมีการจัดแสดงทั้งแบบ Scara และแบบ 6 แกน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ มีความยืดหยุ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพิ่มผลผลิต และลดของเสียหรือปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ทำงานแทนคนในพื้นที่อันตรายหรือมีสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพ ช่วยลดการใช้พลังงานและลดพื้นที่การใช้งานได้สูงสุดถึง 40% และลดเวลาการดำเนินการและจัดการเรื่องระบบผลิตอัตโนมัติ

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี Heat-Free อย่าง Epson WorkForce Enterprise AM-Series ซึ่งไม่ใช้ความร้อน ใช้พลังงานต่ำ และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ รวมถึงใช้วัสดุสิ้นเปลืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ทั้งยังถูกออกแบบระบบภายในให้สามารถใช้งานและบำรุงรักษาง่าย เพราะมีชิ้นส่วนอะไหล่ที่ต้องดูแลรักษาน้อย ใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนาน

ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วย

สำหรับ SME ที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจกับภาครัฐที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึง 12% ของ GDP ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 30% ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นำมาสู่แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb จึงขอแนะโอกาสสำหรับ SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG เพื่อให้สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีภาครัฐเอาไว้ได้

 ทำไม ESG ถึงสำคัญสำหรับ SME

  1. นโยบายภาครัฐ ภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ จึงส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่คำนึงถึง ESG
  2. เทรนด์โลก นักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  3. การเติบโตอย่างยั่งยืน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

จากปัจจัยดังกล่าว SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG จึงมีความได้เปรียบบนเวทีการค้ากับภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. โอกาสทางธุรกิจ ภาครัฐมีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างที่แน่นอนต่อปี ทำให้ SME สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ ราคา และ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานองค์กร และแนวคิดด้าน ESG จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้สามารถคว้างานจากภาครัฐได้มากขึ้น
  2. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน SME ที่ดำเนินการด้าน ESG จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐว่าธุรกิจนั้นมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืน
  3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สนับสนุน SME ที่มีการดำเนินการด้าน ESG ผ่านสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน ESG สำหรับ SME แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)

ลดการใช้พลังงาน จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้สินค้ารีไซเคิล ด้านสังคม (S : Social) ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมเข้าด้วยกัน และด้านธรรมาภิบาล (G : Governance) ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ป้องกันการคอร์รัปชัน การไม่สนับสนุนการทุจริตใด ๆ มีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ

เพิ่มโอกาสให้ SME เข้าถึงการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐด้วยสินเชื่อธุรกิจที่เข้าใจ

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนการส่งมอบงานให้ได้เป็นคู่ค้ากับภาครัฐมากขึ้น SME ควรมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและการทำงานกับภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเสนอและรับงานจากหน่วยงานภาครัฐและนำไปต่อยอดได้ ด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

ทีทีบี มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ SME ไว้วางใจ พร้อมสนับสนุนให้ SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงมีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สนับสนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคู่ค้าภาครัฐ ที่เข้าใจลักษณะการทำงานกับภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ SME สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีภาครัฐได้


ที่มา : ttb และ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดคลาสอบรมหลักสูตร Six Sigma Green Belt ณ ห้องประชุมใหญ่ “เคทีซี“ ชั้น 11​ อาคารสมัชชาวาณิช 2 โดยมีนางสาวชนิดาภา สุริยา  ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจ ซึ่งได้รับการรับรองเป็น Master Black Belt จากสถาบัน Global Six Sigma Experts ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากรและโค้ชฝึกอบรม เพื่อเพิ่มทักษะให้ผู้บริหารเคทีซีระดับกลาง (Middle Management) สามารถนำเทคนิค Six Sigma ไปใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจให้สูงขึ้น ทั้งการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินโครงการปรับปรุง Six Sigma ในระดับ Certificated Green Belt ได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยมีผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ เข้ารับการอบรมเป็นเวลา 9 สัปดาห์  ได้แก่ Customer Service & Business Support / Operations Control & Merchant Operations / Merchant Acquiring / Recovery / Auto Loan / Item Processing และ Process Development พร้อมนำเสนอโครงการพัฒนาคุณภาพที่เกี่ยวเนื่องกับกลยุทธ์ขององค์กร และกลยุทธ์หรือแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน และรับใบประกาศรับรอง Green Belt

นายภาณุมาศ  ธีรสันติกุล  หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรมและนำเสนอโครงการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการขายผลิตภัณฑ์สินเชื่อทางโทรศัพท์  กล่าวว่า “การเรียนหลักสูตร Six Sigma สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดผลสำเร็จในงานจริง โดยเห็นได้จากผลที่เกิดขึ้นซึ่งดีกว่าที่คาดหวังมาก และสามารถนำหลักการที่เรียนมาต่อยอดในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอื่นๆ เพิ่มได้ โดยที่ไม่มีต้นทุนเพิ่ม”

นางสาววิริยา  กลมอ่อน  ผู้นำเสนอโครงการ Improve Agent Productivity on Process Dispute ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยการลดเวลาที่ใช้ทำงานในกระบวนการลง สามารถใช้จำนวนพนักงานเท่าเดิม รองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น กล่าวถึงการได้เรียน Six Sigma ว่า “รู้สึกดีที่เคทีซีมอบโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และท้าทายอยู่เสมอ  ประทับใจอาจารย์ผู้สอน (Master Black Belt) ที่ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ รวมถึงทีมพี่เลี้ยง (Mentor) ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือการจัดทำโครงการให้สำเร็จ สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ คือ หลักการคิดในการทำโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ และได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม รวมทั้งนำกระบวนการคิดจากการเรียน Six Sigma มาใช้ในการบริหารทีมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมได้”

Six Sigma เป็นวิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการใช้งานมานานในระดับสากล และหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก เพราะเป็นวิธีการที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม วิธีการของ Six Sigma มีการกำหนดขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการค้นหาปัญหา หรือความสูญเสียของกระบวนการที่มีอยู่และจัดทำแผนการปรับปรุงแก้ไข โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าควบคู่ไปด้วย ตามวิธีการ DMAIC ซึ่งมีขั้นตอนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ Define รู้ปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ Measure รวบรวมข้อมูลเพื่อวัดผลกระบวนการปัจจุบัน  Analyze การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา Improve ปรับปรุงแก้ไขปัญหา โดยอาจจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบ เพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด Control ติดตามตรวจสอบและควบคุมการแก้ไขปัญหา เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำของปัญหา โดย Six Sigma มีการใช้เทคนิคทางสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องมีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ เพื่อจะได้รู้ว่าโอกาสในการปรับปรุงอยู่ตรงไหน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร

พร้อมคว้า บิวกิ้น พุฒิพงศ์ นั่งแท่นพรีเซนเตอร์ ส่งต่อความอร่อยสดชื่นรูปแบบใหม่

ครบครันด้วยสินค้านวัตกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมตอบโจทย์ความยั่งยืน

ดีป้า เดินหน้าเสริมศักยภาพดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยต่อเนื่อง รุกส่งเสริม 3 โครงการผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล คาดสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า 25 ล้านบาท พร้อมช่วยกระตุ้นการจ้างงาน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ผู้ใช้บริการดิจิทัลโซลูชันจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ได้รับการส่งเสริม

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า มุ่งยกระดับศักยภาพดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยในทุกระยะการเติบโตด้วยการเสริมสร้างความรู้และทักษะสำคัญผ่านโครงการต่าง ๆ ควบคู่กับการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล พร้อมเปิดโอกาสให้เกิดการจับคู่ธุรกิจกับเหล่าผู้ประกอบการ เกษตรกร และชุมชนที่กำลังมองหาดิจิทัลโซลูชันที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองก่อนนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งร่วมผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพที่มีความพร้อมเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากล โดยปัจจุบัน ดีป้า ยกระดับดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยแล้วมากกว่า 165 ราย ขณะที่ปี 2567 มีแผนที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพเพิ่มกว่า 20 ราย

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ดีป้า มีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการที่ขอรับการส่งเสริมสนับสนุนตามมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) ระยะเริ่มต้น (Early Stage) จำนวน 3 ราย รวมมูลค่าการลงทุน 3 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • Pettinee Televets แพลตฟอร์มให้บริการปรึกษาสัตวแพทย์ทางไกลและดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงครบวงจร โดย บริษัท เพทที่นี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ThaiMarket แพลตฟอร์มจับคู่ระหว่างพ่อค้าแม่ค้า และเจ้าของตลาด โดย บริษัท สวัสดีไทยมาร์เก็ต จำกัด
  • Lightster แพลตฟอร์มทดสอบผลิตภัณฑ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้งานสำหรับบริษัทเทคโนโลยี โดย นายปฏิเวธ เสถียรสัมฤทธิ์

สำหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 รายที่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนฯ ในครั้งนี้มาจากบริการดิจิทัลที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคประชาชน อีกทั้งมีศักยภาพที่จะเติบโตสู่ระดับสากลได้ในอนาคต พร้อมกันนี้ยังประเมินว่า ดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 ราย จะสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 25 ล้านบาท ทั้งในส่วนของการต่อยอดบริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การยกระดับทักษะบุคลากร กระตุ้นการจ้างงาน ตลอดจนการมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้บริการจากดิจิทัลสตาร์ทอัพทั้ง 3 รายผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System Standard Testing Center) โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งภาครัฐและเอกชน (depa Digital Infrastructure Fund) โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) พื้นที่รวมกว่า 800 ตารางเมตรของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในอาคาร (Indoor Labs) และพื้นที่ทดสอบการบินบริเวณลานบิน รองรับความต้องการวิเคราะทดสอบและยืนยันศักยภาพของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

ชูจุดเด่นดีไซน์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ในงาน STYLE Bangkok 2024 อย่างเป็นทางการ 20-24 มี.ค.นี้

บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ (BNP Paribas Wealth Management) เป็น Private Bank ชั้นนำในยุโรป และเอเชีย วางแผนขยายธุรกิจ ด้วยการเปิดตัวธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) อย่างเป็นทางการในประเทศไทยผ่าน บริษัทหลักทรัพย์ บีเอ็นพี พารีบาส์ (ประเทศไทย) (“BNP Paribas Securities Thailand) โดยทางบริษัทฯคาดว่าจะเพิ่มจำนวน Relationship Managers เพื่อให้บริการลูกค้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการขึ้นเป็น 3 เท่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการลูกค้าในประเทศให้ดียิ่งขึ้น

นายอาร์โนลด์ เทลิเยร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงความสำคัญของตลาดไทยต่อธุรกิจระดับภูมิภาคว่า ประเทศไทยที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยผู้ประกอบการที่มีพลวัต มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค โดยมีการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนำไปสู่การเร่งสร้างความมั่งคั่ง

“บีเอ็นพี พารีบาส์ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลา 45 ปี โดยปัจจุบันมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินมากกว่า 500 แห่ง ทีมบริหารความมั่งคั่งของเรามุ่งเดินหน้าต่อยอดจากธุรกิจที่มีอยู่ และร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจเดิม คือ Corporate and Institutional Banking เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมสำหรับแต่ละผู้ประกอบการและครอบครัว เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีความซับซ้อน และความต้องการการบริหารความมั่งคั่งที่มากขึ้น”

บริษัทหลักทรัพย์บีเอ็นพี พารีบาส์ (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจ ที่แตกต่างจากผู้ให้บริการในประเทศรายอื่นๆ ด้วยการผสมผสานการดูแลลูกค้าในประเทศอย่างใกล้ชิด เข้ากับการจัดการบัญชีทรัพย์สินในต่างประเทศ โมเดลนี้ช่วยให้ลูกค้าชาวไทยสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มที่ได้รับรางวัลในระดับสากลของ บีเอ็นพี พารีบาส์ ในประเทศสิงคโปร์ ในขณะเดียวกันก็มั่นใจได้ว่า Relationship Manager ในประเทศไทยจะช่วยดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ลูกค้าในประเทศไทยสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ได้แก่ asset management, wealth planning, advisory services, brokerage services และเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท อาทิ หุ้น ตราสารหนี้ hedge funds และ structured products

 

นายวินเซนต์ เลอคอมต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บีเอ็นพี พารีบาส์ เวลท์ แมเนจเม้นท์ เป็น Private Bank ชั้นนำในยูโรป และมีประสบการณ์อันยาวนานในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและครอบครัวเจ้าของธุรกิจชั้นนำมากมายทั่วโลก การคว้าโอกาสสำคัญจากความมั่งคั่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียถือเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หลักสำหรับธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งของเรา ด้วยความเป็นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ระดับโลก (One Bank’ approach) จุดยืนทางการเงินที่แข็งแกร่ง การบริหารจัดการที่หลากหลาย และความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ครอบคลุม ต่อทุกความต้องการของครอบครัวนักธุรกิจ เราจึงมีความโดดเด่นในด้านการมอบบริการที่เต็มรูปแบบให้แก่ลูกค้าในเอเชียด้วยมาตรฐานของธนาคารชั้นนำระดับโลก

จากข้อมูลของ Forbes พบว่า ความมั่งคั่งรวมของมหาเศรษฐี 50 อันดับแรกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 15% เป็น 173 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566[1] แม้จะมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับมหภาคที่ท้าทายก็ตาม อีกทั้งรายงาน Hurun Global Rich List ฉบับล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2566 ระบุว่าประเทศไทยเป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมหาเศรษฐี 46 ราย (แต่ละรายมีทรัพย์สินอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2565 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก[2] โดยความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนี้ ช่วยผลักดันให้เกิดความต้องการในการวางแผนความมั่งคั่งที่มีความซับซ้อน การลงทุนระหว่างประเทศ และการกำกับดูแลครอบครัว (Family Governance) ที่มากขึ้น


[1] Thailand’s 50 Richest 2023: Despite Political Uncertainty, Tycoons Get A Double-Digit Boost To Their Combined Wealth

[2] Hurun Report - Info - JDYD LIQUOR · Hurun Global Rich List 2023

X

Right Click

No right click