บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ  จำกัด (มหาชน) หรือ NT ยังคงยกระดับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลผ่านโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ภายใต้โครงการ "เพาะพันธุ์ดี NT Youth Club" สู่การพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ควบคู่ไปกับกลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ในกระบวนการทำงาน

นอกจากเป็นหน่วยงานหลักภาครัฐในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 แล้ว NT ยังได้นำศักยภาพหลัก Core Competency ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโทรคมนาคมเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดย NT ได้จัดทำแผนแม่บทความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2564-2568 เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร และถือเป็นหนึ่งในพันธกิจเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

ในช่วงปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา NT ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการขยายโครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club เพิ่มขึ้น ณ ชุมชนเทศบาล 2 อำเภอตะพานหิน จ. พิจิตร และชุมชนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีหนองแก จ. อุทัยธานี ทั้งนี้ NT ร่วมกับทางจังหวัด สถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้และชุมชนต้นแบบในการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของนโยบาย Thailand 4.0

โครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ถือเป็นกิจกรรมหลักตามแผนงาน CSR after Process ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value หรือ CSV) ด้วยการนำศักยภาพขององค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ

ไม่เพียงการฝึกอบรมเพื่อให้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในการเพิ่มศักยภาพทั้งด้านการเกษตรและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของชุมชนแล้ว NT ยังได้ร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อต่อยอดโครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ไปสู่แพลตฟอร์มธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนให้กับชุมชน   

ขณะเดียวกัน NT ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนการศึกษาวิถีใหม่ที่ต้องใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนั้น NT จึงจัดทำโครงการมอบ SIM NT Mobile เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ให้กับเยาวชน โรงเรียน และชุมชน ในโครงการเพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ประจำปี 2564 โดยเริ่มส่งมอบไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน จนถึงปัจจุบันนับเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม  

NT ยังมอบอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนออนไลน์ให้กับบุคลากร และนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายเเดน ในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ และยังเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในเมืองกับพื้นที่ห่างไกล ส่งผลในการพัฒนาระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนต่อไป

นอกจากนี้ NT ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายโครงการ อาทิ โครงการเน็ตประชารัฐ การสนับสนุนห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” สุขศาลาพระราชทาน โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  (Universal Service Obligation : USO) และโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

ขณะเดียวกัน NT ก็ยกระดับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทำงาน หรือ CSR in Process มากขึ้นเช่นกัน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ โครงการ Green NT การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) การใช้อุปกรณ์ด้าน IT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Innovation) ทั้งนี้ NT มีการณรงค์ให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมสังคมในกระบวนการทำงานอย่างจริงจังทั่วทั้งองค์กร

นอกเหนือจากโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้ว NT ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต เช่น การสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ในกิจกรรม“พลังน้ำใจเอ็นที” โดยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประภัยนํ้าท่วมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่หลายจังหวัด อาทิ พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี พิจิตร นครราชสีมา นครศรีธรรมราช รวมถึงกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในภาวะการแพร่ระบาด ของ โควิด-19 อาทิ ด้วยการสนับสนุนด้านโทรคมนาคม บริการอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้กับศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ และโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ เป็นต้น

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

ความรับผิดชอบต่อสังคมและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนที่มั่นคง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จำกัด หรือ NT วางนโยบายภายใต้แผนงาน CSR (Corporate Social Responsibility) ให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เป็นองค์กรที่เกิดจากการควบรวมกิจการของรัฐซึ่งประกอบไปด้วย กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) จับมือ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการสนับสนุนภาครัฐบาลก้าวสู่ระบบดิจิทัลที่ล้ำหน้า กับโครงการความร่วมมือเพื่อยกระดับศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ (National Data Center) และบริการแบบคลาวด์สู่มาตรฐานสากลในระดับเทียร์ 4 (Tier IV)

การที่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ประกาศเป็นพันธมิตรกับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ผู้นำศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการการยกระดับมาตรฐานของศูนย์ข้อมูลและการบริการคลาวด์ในประเทศไทยให้ก้าวสู่ระดับ เทียร์ 4 ซึ่งจะช่วยให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ สามารถให้บริการคลาวด์แก่หน่วยงานของรัฐได้แบบเต็มประสิทธิภาพ 100% ด้วยศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเทียร์ 4 ในระดับสากลที่ทั่วโลกยอมรับ

โครงการนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความมั่นใจในระบบคลาวด์ของรัฐบาลให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเร่งเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว จากการแพร่ระบาดใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

โดยในปัจจุบัน ได้มีการนำแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนระบบดิจิทัลของรัฐบาล รวมถึงการทำงานจากที่บ้าน การประชุมทางวิดีโอ และความจำเป็นในการจัดเก็บ บริหารจัดการ และเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดในทุกวันนี้

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  ขาวสุวรรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที กล่าวถึงความร่วมมือกับซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ว่าจะทำให้เอ็นที มีทางเลือกที่หลากหลายและสะดวกมากขึ้นในการใช้บริการ Data Center และ Cloud 

“ในฐานะที่เอ็นที เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการเป็นผู้ขับเคลื่อนและยกระดับการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลให้แก่ภาครัฐ ซึ่งมาจากการที่เรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมมากที่สุดและครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการนำจุดแข็งของทั้งสององค์กรมาร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการของเอ็นที โดยเรามั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายและมอบประโยชน์กับลูกค้าได้มากขึ้น” นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ กล่าว

หน่วยงานของรัฐจะสามารถเข้าถึงบริการศูนย์ข้อมูลและคลาวด์ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ข้อมูลของตนเอง โครงการนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลา และทรัพยากร อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมาก ในขณะที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาล

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ในฐานะศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลแห่งแรกในประเทศที่รองรับการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโครงข่ายโดยไม่จำกัดค่าย จะให้บริการด้านพลังงาน พื้นที่ ความปลอดภัย และระบบเชื่อมต่อเครือข่ายให้กับกระทรวงต่าง ๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูง อีกทั้งยังรับประกันความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตด้วยความยืดหยุ่นและให้ความสามารถในการปรับขยายได้

โครงการฯ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ช่วยให้รัฐบาลปรับใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมั่นใจได้ว่ากระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ใช้ง่าย มีความยั่งยืน และพร้อมรองรับการปรับขยายศักยภาพได้ตามต้องการ

“ในฐานะศูนย์ข้อมูลและผู้ให้บริการคลาวด์ที่ทันสมัยที่สุด ศูนย์ข้อมูลของเราสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ในขณะที่บริการของเราถูกจัดสรรเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่สำคัญต่อภารกิจด้วยความปลอดภัยสูงสุดและรับประกันความพร้อมใช้งานตลอดเวลา” คุณสุนิตา บ๊อตเซ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้กล่าว

“เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับเอ็นที และได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมของเอ็นที ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้วยการนำเสนอบริการโครงสร้างพื้นฐานในระบบดิจิทัลของซุปเปอร์แนป ด้วยประสบการณ์ระดับสากลและความรู้ของคนในประเทศ เพื่อสนับสนุนภาครัฐบาลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เร็วยิ่งขึ้นและปรับขยายได้ตามความต้องการ” คุณสุนิตากล่าวเสริม

ศูนย์ข้อมูล ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้รับการออกแบบในลักษณะโมดูลาร์และพร้อมรองรับการขยายศักยภาพ ด้วยการขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีก 2 อาคาร ที่สามารถให้บริการพลังงานถึง 60 เมกะวัตต์และพื้นที่รองรับได้มากกว่า 5,000 ตู้ รวมถึงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ที่ได้รับการสนับสนุนจากการออกแบบชั้นนำ ซึ่งช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของรัฐบาลสามารถเติบโตไปพร้อมกับความต้องการ

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลอันล้ำสมัยของซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ยังเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไฟเบอร์จากผู้ให้บริการโครงข่ายหลายรายแบบแยกสายและการันตีความเสถียรด้วยระบบ Redundancy สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ให้ความมั่นใจได้สูงสุดในทุกสถานการณ์

ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ที่ศูนย์ข้อมูลของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ที่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ทำให้มีข้อได้เปรียบมากมายซึ่งรวมถึงเรื่องความยั่งยืน เนื่องจากนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงานและระบบควบคุมอุณหภูมิของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ช่วยให้บริษัทกลายเป็นศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดที่ให้ความยั่งยืนด้วยการออกแบบ ซึ่งพร้อมรองรับการใช้พลังงานความหนาแน่นสูงถึง 33 กิโลวัตต์ต่อตู้ และมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ต่อปีที่ 1.35-1.45 โดยเป็นระดับที่ให้ประสิทธิภาพมากกว่าศูนย์ข้อมูลอื่น ๆ ในภาคพื้นอาเซียน

คุณสมบัตินี้จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระดับโลกสู่พลังงานสะอาด

โครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่นของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จึงช่วยให้รัฐบาลไทยจะสามารถบรรลุมาตรฐานสากลสูงสุดสำหรับศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์ และตอกย้ำสถานะและชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางดิจิทัลและเทคโนโลยีระดับโลก ที่มีความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความเป็นเลิศ

เทคโนโลยี 5G พร้อมเปิดใช้งานเชิงพาณิชย์ในไทยในช่วงกลางปี 2020 ซึ่งเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด ขณะที่กระบวนการเรียกคืนคลื่นความถี่ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตา

Page 7 of 7
X

Right Click

No right click