January 23, 2025

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น..แพทองธาร ชินวัตร หรือ "อุ๊งอิ๊ง" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ..แพทองธาร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นสตรีคนที่สองที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นบุคคลที่สามในตระกูลชินวัตรที่ได้นั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศไทย ส่งผลให้เกิดกระแสการพูดคุยและถกเถียงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย 

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ในช่วงวันที่ 15 - 18 สิงหาคม 2567 ถึงประเด็น “นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย” พบว่าชาวโซเชียลต่างแสดงความคิดเห็น สะท้อนทั้งความคาดหวัง และข้อกังวลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในแง่มุมที่หลากหลาย ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดและทัศนคติทางการเมืองในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน 

 

วิเคราะห์ความรู้สึกของชาวโซเชียลต่อนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Sentiment Analysis) 

ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Comment Topics) 

เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาของความคิดเห็น (Comments) ที่ปรากฎในโซเชียลมีเดีย สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธาร ได้ดังต่อไปนี้ 

  1. สานต่อนโยบายของพรรคเพื่อไทย (41.3%) 
  • ดิจิทัล วอลเล็ต (Digital Wallet) 

นโยบายแจกเงินดิจิทัล หรือ นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย ประชาชนส่วนใหญ่แสดงความกังวลว่านโยบายนี้อาจจะไม่ได้รับการดำเนินการต่อ ส่งผลให้มีทัศนคติเชิงลบต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร สูงถึง 74.7% ของการกล่าวถึงนโยบาย Digital Wallet 

  อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนที่ยังคงมีความหวังว่านายกฯ แพทองธารจะสามารถดำเนินนโยบายนี้ต่อไปได้ เนื่องจากมีข้อมูลว่างบประมาณบางส่วนได้รับการอนุมัติแล้ว 

  • นโยบายลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน 

หนึ่งในนโยบายหาเสียงสำคัญในการเลือกตั้งที่ผ่านมา คือการลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค เช่น การลดค่า Ft และค่าน้ำมัน ซึ่งสัญญาว่าจะดำเนินการได้ทันทีหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ปัจจุบัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดียอยู่ในสถานะ 'รอดู' โดยยังไม่ตัดสินว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายนี้ได้หรือไม่ ส่งผลให้ทัศนคติส่วนใหญ่เป็นกลาง คิดเป็น 85% ของการกล่าวถึงนโยบายด้านการช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภค 

  • ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) 

ก่อนการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร รับบทบาทประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ส่งผลให้ประชาชนในโซเชียลมีเดียมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการผลักดันนโยบายด้านซอฟต์พาวเวอร์ของเธอ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การผลักดันการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยว การยกระดับการผลิตสินค้า เป็นต้น 

  • การแก้ไขปัญหายาเสพติด 

ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคมไทย สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการขาดความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ นโยบายด้านสาธารณสุขที่นำกัญชาและกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดได้สร้างความท้าทายในการจัดการกับปัญหานี้ ภายหลังจากที่ น.ส.แพทองธารได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชาชนในโซเชียลมีเดียต่างแสดงความคาดหวังอย่างสูงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ความคาดหวังนี้มีรากฐานมาจากความสำเร็จในอดีตของรัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • ยกระดับฐานรายได้ 

ในช่วงหาเสียง พรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายเพื่อดึงดูดความสนใจจากประชาชน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบการศึกษาปริญญาตรี 25,000 บาท เมื่อมีการประกาศแต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ลูกสาวของอดีตนายทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประชาชนในโซเชียลมีเดียจึงให้ความสนใจนโยบายนี้ โดยหวังว่าเธอจะสามารถทำให้เศรษฐกิจดีเช่นเดียวกับบิดาของเธอที่ทำได้ในอดีต 

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางส่วน (5% ของการกล่าวถึงนโยบายการเพิ่มรายได้) ที่แสดงความไม่เชื่อมั่นว่านายกฯ แพทองธาร จะสามารถทำให้นโยบายด้านรายได้ประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ อีกประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากคือการอ้างอิงคำกล่าวของ น.ส.แพทองธารในช่วงหาเสียง “มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไปพร้อม ๆ กัน 

 

  1. ความน่าเชื่อถือและความเหมาะสม (35.2%) 
  • การไม่รักษาคำพูด 

หลังจากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สลับขั้วไปจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มขั้วอำนาจเดิมในฝั่งอนุรักษ์นิยม และทำให้พรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้าน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย รวมถึงการผิดคำมั่นที่พูดไว้เรื่อง “ปิดสวิตช์ 3 ป” ตอนหาเสียงเลือกตั้ง เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความไม่พอใจของชาวโซเชียลบางกลุ่มจนเกิดวลี “เพื่อไทยหักหลังประชาชน” รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นโดยใช้อิโมจิรูปสตรอว์เบอร์รี่เป็นสัญลักษณ์ สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นที่มีต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร ในฐานะผู้นำพรรค 

  • คุณวุฒิและวัยวุฒิ 

ประเด็นความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องอายุและประสบการณ์ทางการเมือง ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมา ได้แก่ อายุน้อยเมื่อเทียบกับนายกรัฐมนตรีคนก่อน ๆ และขาดผลงานทางการเมืองที่เป็นที่ประจักษ์ 

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวอ้างถึงคำพูดของนายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่เคยกล่าวเมื่อครั้งที่มีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า “ไม่ต้องการได้สามเณรเป็นเจ้าอาวาส” ในครั้งนี้จึงมีการเปรียบเปรยกันในบางส่วนของสังคมออนไลน์ว่า "ได้แม่ชีเป็นเจ้าอาวาส" โดยต้องการสื่อถึง น.ส.แพทองธาร อย่างไม่เป็นทางการ 

  • สืบทอดอำนาจครอบครัวชินวัตร 

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ น.ส.แพทองธาร โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  • พรรคเพื่อไทยไม่ใช่พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมาเป็นอันดับหนึ่ง 
  • ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการทางการเมืองไทย: สถานการณ์นี้ถูกมองว่าสะท้อนปัญหาในระบบการเมืองของไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน 
  • อิทธิพลของตระกูลชินวัตร: มีการตั้งคำถามว่าการได้รับตำแหน่งนี้อาจเป็นผลมาจากอิทธิพลของครอบครัว และมีการตั้งข้อสังเกตว่าน.ส.แพทองธาร อาจเป็นเพียงตัวแทนในการบริหารประเทศแทนอดีตนายกฯ ทักษิณ 

ข้อสงสัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความกังวลของประชาชนต่อความโปร่งใสและความเป็นอิสระในการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

 

  • ตัวแทนคนรุ่นใหม่  

ชาวโซเชียลบางส่วนแสดงความยินดีและพร้อมสนับสนุนนายกฯ แพทองธาร โดยมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารประเทศได้ดี จึงอยากให้โอกาสและรอดูผลงานก่อนแล้วค่อยตัดสินทีหลัง โดยสิ่งที่ชาวโซเชียลกำลังจับตาพิจารณาในช่วงนี้คือการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจว่าจะใช้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมบริหาร หรือเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่าที่เคยทำงานกับนายทักษิณมาก่อน 

  1. เสถียรภาพทางการเมือง (17.6%)   

เหตุการณ์ที่ผ่านมาได้สร้างความกังวลให้กับประชาชนในโซเชียลมีเดีย โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  1. ความเปราะบางของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง หลังจากดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึง 1 ปี 2
  2. ความกังวลว่านายกฯ แพทองธารอาจเผชิญชะตากรรมเดียวกัน 3
  3. ความกังวลเกี่ยวกับการบริหารประเทศของนายกฯ แพทองธาร ภายใต้อิทธิพลของนายทักษิณ 4
  4. ประเด็นการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการถูกตัดสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับกรณีการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 

ประเด็นเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองในปัจจุบัน 

  1. เฝ้ารอการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ (5.9%)   

แม้ว่าประเด็นหลักซึ่งมีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันในหลากหลายแง่มุมจะเกี่ยวข้องกับความนิยมของตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย รวมถึงการแบ่งแยกแนวคิดทางการเมืองระหว่างอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยม แต่ก็ยังคงมีการพูดถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจดังนี้ 

  • ประเด็นปากท้อง: บางส่วนให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นหลัก 
  • ความสงบของบ้านเมือง: มีการแสดงความคิดเห็นที่เน้นความสำคัญของเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม 

Insight ที่น่าสนใจจาก Reaction ของผู้คนบนเฟซบุ๊ก 

การวิเคราะห์การแสดงอารมณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกฯ แพทองธารผ่าน Reaction บนเฟซบุ๊ก พบประเด็นที่น่าสนใจ คือโดยปกติผู้ใช้เฟซบุ๊กมักจะกดไลค์ (Like) เพราะกดง่าย แตกต่างจาก Reaction อื่นที่ต้องเลื่อนเพื่อจะเลือก แต่จากการศึกษาโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธารซึ่งมี Engagement สูงกว่า 10,000 ครั้ง กลับพบว่ามีการกดปุ่ม "หัวเราะ" เฉลี่ยสูงถึง 29% ของ Reaction ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ 

 

LINE SHOPPING ผู้ให้บริการโซเชียลคอมเมิร์ซของไทย ประกาศผลผู้ชนะจาก LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 เวทีเฟ้นหาสุดยอดผู้พัฒนาไทยที่พร้อมสร้างสรรค์และพัฒนาโซลูชั่นสำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซของไทย ภายใต้ธีม “Reshaping a new paradigm for social commerce growth” โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างคึกคักจากเหล่าผู้พัฒนาไทยมากมายทั่วประเทศที่มาร่วมประชันกันด้วยไอเดียอันหลากหลาย จนเกิดเป็นโซลูชั่นใหม่ที่ตอบโจทย์การช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเข้าใจคนไทย โดยมี คุณวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ และคุณจิรัฏฐ์ วรรธนกรินธ์ ผู้จัดการฝ่ายการเติบโตและกลยุทธ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ร่วมเป็นคณะกรรมการ

คุณจิรัฏฐ์ วรรธนกรินธ์ ผู้จัดการฝ่ายการเติบโตและกลยุทธ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เปิดเผยว่า กิจกรรม LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 เป็นการจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย และได้รับความสนใจจากเหล่าผู้พัฒนามากมาย ทั้งผู้ศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยมีผู้พัฒนาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคึกคัก และมีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้ายในวัน Demo Day ที่ผ่านมารวมทั้งสิ้นจำนวน 8 ทีม ซึ่งผลการแข่งขันมี ดังนี้

· รางวัลชนะเลิศอันดับ 1: ทีม AOIJAI กับโซลูชั่นที่ช่วยดูแลคนขายตั้งแต่ต้นจนจบการขายบน LINE SHOPPING ด้วยการนำเครื่องมือ LINE SHOPPING API และ Generative AI มาใช้ในการบริหารสินค้า จัดการราคา รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพการขาย ไปจนถึงสร้างกลยุทธ์การตลาดและแคมเปญแบบอัตโนมัติจากข้อมูลลูกค้า

· รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1: ทีม Admax แอดมิน AI ผู้ช่วยซัพพอร์ตที่ดูแลอย่างเข้าใจพร้อมดูแลช่วยเหลือในการตอบคำถามลูกค้า และการสร้างคำสั่งซื้อ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย

· รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2: ทีม Evolve by Deva แนะนำสินค้าอย่างรู้ใจคนซื้อ เข้าถึงและมัดใจลูกค้าได้มากกว่าเคยด้วยการแนะนำสินค้าที่ปรับให้เหมาะสมกับจุดเด่นของแต่ละร้านค้า พร้อมสนับสนุนการขายผ่านโซเชียลมีเดีย

 

คุณจตวัฒน์ เซี่ย ตัวแทนทีม AOIJAI ผู้ชนะเลิศการแข่งขันอันดับ 1 กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า “ดีใจมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เนื่องจากตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา ทีมของเราทุ่มเททั้งเวลาและความคิดมากมาย เพื่อสร้างโซลูชั่นสำหรับช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้าคนไทยให้ครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่ต้นจนจบการขาย โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก การมองเห็นว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตลาดเพื่อลูกค้าอยู่มาก แต่ในฐานะที่เรารู้จักกับคนขายของใน LINE SHOPPING ทำให้เข้าใจหัวอกคนขาย และเลือกตีโจทย์ด้วยมุมนี้ว่าจะมีโซลูชั่นอะไรที่ช่วยเหลือผู้ขายได้บ้าง จนออกมาเป็นโซลูชั่นดังกล่าว”

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันยังได้ประสบการณ์ที่เปิดกว้าง ผ่านการพบปะและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากเพื่อนผู้เข้าแข่งขัน รวมทั้งยังได้ใกล้ชิดกับเมนเทอร์ผู้เชี่ยวชาญทั้งฝั่งธุรกิจและผู้พัฒนาจาก LINE ประเทศไทยตลอดการทำงาน ตั้งแต่การให้คำปรึกษา คิดค้น และลงมือทำ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่หาได้เฉพาะงานนี้เท่านั้น

“เวที LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของ LINE SHOPPING ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ โดยดึงเอาความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องมือที่ตรงกับพฤติกรรมการซื้อ-ขายอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยอย่างการแชทพูดคุย มาผสานเข้ากับจุดแข็งของผู้พัฒนาไทยทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้คนไทยเป็นอย่างดี จนเกิดเป็นกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับผุ้พัฒนา และเปิดโอกาสกว้างให้คนกลุ่มนี้ได้มีพื้นที่แสดงศักยภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายผู้พัฒนาไทยที่แข็งแกร่ง ช่วยเพิ่มพูนและเติมเต็มทักษะความรู้ซึ่งกันและกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พร้อมได้รับการต่อยอดและผลักดันโซลูชั่นออกสู่ตลาดจริง เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ยุคใหม่ และยกระดับประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่าเดิมให้คนไทยทุกคน และในปีต่อไป เราหวังว่าจะได้เห็นคนรุ่นใหม่มาร่วมแสดงศักยภาพการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซไปได้อีกขึ้น เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการซื้อ-ขายของคนไทยในอนาคต” คุณจิรัฏฐ์ กล่าวทิ้งท้าย

X

Right Click

No right click