December 18, 2024

· 35% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ยินดีจ่ายค่าบริการกับการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่างกัน

· ผลวิจัยฉบับนี้เป็นตัวแทนผู้บริโภค 1.1 พันล้านราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G อยู่ 750 ล้านราย

· รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP)

ผลวิจัยล่าสุดจาก Ericsson (NASDAQ: ERIC) ConsumerLab เผยการใช้แอปพลิเคชัน Generative AI กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นความสนใจกับการเชื่อมต่อที่แตกต่างตามการใช้งานที่จำเป็นของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ทั่วโลก พร้อมรับประกันว่าการเชื่อมต่อจะมีคุณภาพอยู่ในระดับไฮเอนด์และไม่สะดุดในเวลาที่ต้องการใช้งานมากที่สุด

จากจำนวนเจ้าของสมาร์ทโฟนที่ใช้แอป Generative AI อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้สอดคล้องกับยูสเคสการใช้งานเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันเช่นวิดีโอคอล สตรีมมิ่ง และการชำระเงินออนไลน์ ที่ผู้ใช้ระบุว่าพวกเขาเต็มใจจ่ายเพิ่มกับบริการในระดับพรีเมียม

บริการเชื่อมต่อที่มีความแตกต่างและผู้บริโภคที่เต็มใจจ่ายค่าบริการให้กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) เพื่อรับประกันว่าจะได้รับการเชื่อมต่อประสิทธิภาพสูงในการใช้งานแอปที่จำเป็น เป็นหัวข้อในรายงานระดับโลกล่าสุดจาก Ericsson ConsumerLab ในชื่อว่า Elevating 5G with Differentiated Connectivity ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

เกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้ Gen AI ระบุว่ายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่ม 35% กับบริการที่รับประกันว่าจะได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและปลอดภัยระหว่างที่ใช้แอปพลิเคชันที่มีความจุสูง

ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า 35% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G สนใจที่จะจ่ายค่าบริการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันสำหรับใช้งานแอปพลิเคชันที่จำเป็นต่าง ๆ

รายงานฉบับนี้ ยังระบุถึงโอกาสต่าง ๆ ในการสร้างรายได้สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารอีกด้วย

แจสมีต เซธิ หัวหน้าฝ่ายวิจัย ConsumerLab ของอีริคสัน กล่าวว่า “ผลการวิจัยล่าสุดในรายงาน Ericsson ConsumerLab เผยว่า เมื่อแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น ความคาดหวังของผู้ใช้ต่อประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ดีก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคคาดหวังความสามารถในอนาคตของแอปพลิเคชัน AI ที่อาจเกี่ยวข้องกับ การสร้างภาพ เสียง หรือวิดีโอ และพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการเพื่อให้ได้ความสามารถเหล่านั้นมาใช้ทำงานที่ได้ความรวดเร็วและมีคุณภาพสูง

นี่เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโอกาสของผู้ให้บริการทั่วโลกที่จะสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ด้วยการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ปรับแต่งได้”

เซธิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อผู้ให้บริการปรับใช้โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ จะมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากบริการเชื่อมต่อที่แตกต่าง รวมถึงการนำเสนอแพ็กเกจบริการที่สามารถปรับแต่งและการรับประกันคุณภาพการเชื่อมต่อที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในตลาด”

“การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) ของบริการ 5G เพิ่มขึ้น 5-12% เนื่องจากผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้และมีการรับประกันสำหรับแอปพลิเคชันเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ยังมีโอกาสปลดล็อกช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากความต้องการอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มผู้ใช้บริการ 5G ที่ต้องการใช้แอปประสิทธิภาพสูง โดย 1 ใน 3 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ยินดีจัดสรรงบประมาณ 10% จากค่าใช้จ่ายแอปมือถือในปัจจุบัน เพื่อมาซื้อแอปที่มีคุณภาพการเชื่อมต่อสูงอยู่ในตัว ด้วยการเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึง Network APIs แบบ Quality on Demand (QoD) ทำให้ผู้ให้บริการฯ สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ และช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำเสนอประสบการณ์ระดับพรีเมียมที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมปลดล็อกช่องทางรายได้ใหม่ ๆ ในกระบวนการนี้ได้” เซธิ กล่าวเพิ่ม

ประเด็นสำคัญ:

· พร้อมจ่ายค่าบริการเพิ่ม: 35% ของผู้ใช้ 5G ทั่วโลก ยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อรับบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่างกัน เพื่อรับประกันประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกับงานที่มีความสำคัญ

· กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความมั่นใจ หรือ Assurance Seekers: แม้จะมีความเชื่อว่าผู้ใช้จะไม่ยอมจ่ายค่าบริการเครือข่ายเพิ่ม แต่ผลสำรวจพบว่า 20% ของผู้ใช้งาน ซึ่งเรียกว่า 'Assurance Seekers' กำลังมองหาการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อใช้แอปพลิเคชันสำคัญและพวกเขาเต็มใจจะจ่ายเพิ่ม

· ความต้องการใช้แอป Gen AI: คาดว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ใช้แอป Gen AI รายสัปดาห์จะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดย 1 ใน 4 ของผู้ใช้ AI ในปัจจุบัน เต็มใจจ่ายค่าบริการเพิ่มถึง 35% เพื่อแลกกับบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับประสิทธิภาพที่รวดเร็วและตอบสนองเป็นอย่างดีเมื่อใช้แอป AI

· ความสนใจระดับภูมิภาค: ตลาดอินเดีย ประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย มีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่สนใจบริการเชื่อมต่อที่แตกต่างหรือ Differentiated Connectivity มากกว่าฝรั่งเศสและสเปนถึง 2 เท่า

· 5 ขั้นตอนสำหรับผู้ให้บริการ: รายงานฉบับนี้ยังได้นำเสนอการวางแนวทางสำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร เพื่อเปลี่ยนจากการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มือถือทั่วไป ไปสู่โมเดลที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพและแพลตฟอร์ม ซึ่ง Network APIs จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างประสบการณ์การใช้แอปที่ปรับแต่งเฉพาะได้

การสำรวจนี้เป็นการสำรวจทางออนไลน์กับผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากกว่า 23,000 ราย และมากกว่า 17,000 รายเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G โดยมีอายุระหว่าง 15-69 ปี ครอบคลุมใน 16 ตลาดสำคัญทั่วโลก นักวิจัยของอีริคสันยังระบุว่าการสำรวจนี้เสมือนเป็นตัวแทนผู้ใช้บริการมือถือ 1.1 พันล้านคนโดยในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G 750 ล้านราย

ผู้ใช้บริการ 5G ที่ร่วมการสำรวจมาจาก: ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, จีน, ฝรั่งเศส, ฮ่องกง, อินเดีย, ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สเปน, ไต้หวัน, ไทย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

เกือบ 4 ทศวรรษแห่งการสั่งสมประสบการณ์ เอกราช ปัญจวีณิน มองเห็นถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีต่อการใช้ชีวิตของผู้คน ตั้งแต่วันที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งเติมเต็มจนกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป มีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยในมิติเทคโนโลยี ไม่เพียงทัดเทียม แต่ก้าวนำนานาประเทศ

ภายใต้วิสัยทัศน์ “Empowering Digital Equity” ของคุณเอกราช เป็นความตั้งใจที่ไม่ได้มองเพียงมิติของการเข้าถึงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาของ ทรู ดิจิทัล พาร์ค นอกจากจะเป็นที่ทำงานของคุณเอกราชแล้ว ที่นั่นยังถือเป็นแหล่งบ่มเพาะและถ่ายทอดวิถีแนวคิดแบบก้าวหน้า ซึ่งในวันที่ทีม True Blog ได้พบและพูดคุยกับคุณเอกราช โซน True X ใน True Branding Shop ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ที่รวบรวมหลากหลายอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอัจฉริยะและโดรนอัตโนมัติ ก็เพิ่งเปิดให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ล้ำสมัย ยิ่งไปกว่านั้น ตลอดโถงทางเดิน ก็จะเห็นชาวเทคเจน Z เดินกระทบไหล่เหล่า digital nomad ทั้งจากลอนดอน เซี่ยงไฮ้ ซานฟรานซิสโก สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของการทำงานที่มีพลวัตที่คุณเอกราชได้ร่วมบ่มเพาะ “การทรานสฟอร์มเป็นสิ่งที่เราทำอยู่ในทุกๆวัน” เขากล่าวด้วยสายตาอันแน่วแน่ “มันคือการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมาย”

ซึ่งการเดินทางที่ว่านี้ คุณเอกราช มองว่าจะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยเทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ Hyperconnectivity, AI, Quantum Computing, Blockchain, Web3, Integrated IoT, Green Energy, Climate Technology และเชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยที่แข็งแกร่ง ตลอดจนปฏิวัติพลิกโฉมทุกสิ่งตั้งแต่ภาคการเกษตรจนถึงการคมนาคมขนส่ง

 AI ที่ก้าวล้ำ ก่อกำเนิดไลฟ์สไตล์ดิจิทัลรูปแบบใหม่กลุ่มธุรกิจภายใต้การกุมบังเหียนของคุณเอกราช ได้สร้างบทบาทที่ทวีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจคอนเทนท์ อย่าง ทรูไอดี (True ID) ที่มีผู้ใช้งานเกือบ 40 ล้านคน ทรูเอ็กซ์ (True X) ที่ผลักดันระบบบ้านอัตโนมัติอัจฉริยะทั่วทั้งประเทศ รวมถึง MorDee (หมอดี) แอปพลิเคชันที่สามารถส่งผ่านการรักษาทางไกลโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ถึงผู้ป่วยบนสมาร์ทดีไวซ์ได้ในไม่กี่คลิก และที่สำคัญ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรธุรกิจไทยอีกนับพันแห่ง ด้วยโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แพลตฟอร์มข้อมูล รวมถึงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อยกระดับทักษะ ด้วยบริการที่ครอบคลุมและหลากหลาย ควบคู่กับความก้าวล้ำของเทคโนโลยี AI คุณเอกราช เชื่อว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะก้าวต่อไปสู่คลื่นลูกใหม่แห่งนวัตกรรม

“เราอยู่ในยุคของ AI แต่ AI เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น” เขากล่าวย้ำ “ยังมีอีกหลากหลายเทรนด์เทคโนโลยีที่เรายังต้องจับตา ไม่ว่าจะเป็น Hyper-connectivity, AI, Blockchain และ การผสานเชื่อมโยง IoT ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเป็นแกนหลักของกรอบการทำงานทางเทคโนโลยีในอนาคต”

วิถีการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัลของคุณเอกราช เป็นการเปลี่ยนผ่านแบบองค์รวมที่มุ่งผสานเทคโนโลยีเข้าไปอยู่ในทุกมิติของการใช้ชีวิต “การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นมากกว่าแค่เรื่องของความสะดวกสบาย แต่เป็นการตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคลได้อย่างทันท่วงที เพราะวันนี้ ผู้บริโภคจะไม่รออะไรนานๆ ทุกอย่างต้องตอบสนองได้โดยทันที” เขากล่าวเสริม

วิสัยทัศน์ของคุณเอกราช จึงมีหัวใจสำคัญที่ไม่ใช่เพียงการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ แต่คือ การออกแบบเทคโนโลยีตามความต้องการ เขาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การคิดค้นนวัตกรรมควรเริ่มต้นจากความเข้าใจในปัญหาเฉพาะเจาะจงที่ผู้คนกำลังเผชิญ จากนั้นจึงมองหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการและแก้ไขปัญหาเหล่านั้น “เราเริ่มต้นจากลูกค้า ด้วยปัญหาที่ลูกค้าต้องการแก้ไข จากนั้น เราจึงมองหาเทคโนโลยีที่จะพัฒนาอยู่ด้านหลังเพื่อขับเคลื่อนและตอบสนองลูกค้า ซึ่งนั่นก็คือ การที่เราส่งเสริมให้มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Empowering Digital Equity)” 

ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

แม้ว่า “Empowering Digital Equity” อาจจะดูเหมือนเป็นแนวคิดแบบเลิศหรู แต่สำหรับคุณเอกราช และทรู ดิจิทัล กรุ๊ป นั้น วิสัยทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานความคิดจากโลกแห่งความจริงที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับชุมชนและสังคม ซึ่งหนึ่งในโครงการที่เราเข้าไปพัฒนา นั่นคือ การช่วยเหลือเกษตรกรในหลายพื้นที่ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร

“เราใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ช่วยตรวจวัดระดับน้ำ และใช้โดรนวิเคราะห์และฉีดพ่นทั่วพื้นที่การเกษตร” เขาอธิบาย ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการดังกล่าวสามารถจับต้องได้ สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อวันมากขึ้นกว่า “เท่าตัว”

เมื่อถามถึงแนวทางการพัฒนาสังคมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล คุณเอกราชได้กล่าวถึง แอปฯ “MorDee” (หมอดี) ที่มีบทบาทช่วยรักษาชีวิตคนไข้ที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงโซลูชัน IoT ที่ช่วยผลักดันการรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อธุรกิจ “เหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องการ ใช่ไหม? ไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้เทคโนโลยี แต่เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกในระบบนิเวศ”

ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับโรงพยาบาล หรือ การอบรมคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้าน AI ก็ตาม สิ่งที่สำคัญของโครงการเหล่านี้ของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นพยายาม เพื่อให้เรามั่นใจว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

อย่างไรก็ตาม คุณเอกราชเข้าใจดีว่า โซลูชันเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้เกิดความกังวล ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง หรือแม้แต่ความยุ่งยากซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วๆไป ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมีความตั้งใจที่จะทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องง่าย ภายใต้วิถีทางของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เพื่อให้เทคโนโลยี “ง่ายต่อการนำไปใช้ และยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้” และนี่เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแก่นความเชื่อของเขาที่ว่า “เทคโนโลยีควรเป็นสิ่งที่ผู้คนเข้าถึงด้วยวิธีที่ถูกต้อง บนอุปกรณ์ที่ใช่ และด้วยความพยายามที่ตรงจุด”

 แม้ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญความท้าทายอีกมากมายบนเส้นทางสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง แต่สำหรับคุณเอกราชแล้ว ประเด็นที่เป็นแรงกดดันมากที่สุดคือ “ความเหลื่อมล้ำทางทักษะด้านดิจิทัล”

“เรามีปัญหาด้านทักษะที่ใหญ่มาก ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้เทคโนโลยีให้เป็น แต่คือการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี” เขาเน้นย้ำปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข หากประเทศไทยต้องการรักษาความสามารถทางการแข่งขันให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค แม้ไทยจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในด้านอี-คอมเมิร์ซ การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างแพร่หลาย แต่คุณเอกราชเชื่อว่า เรายังสามารถทำได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการสนับสนุนและส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เป็นนวัตกรทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จึงมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน “ปัจจุบัน เรามีเวทีแสดงความคิดเห็นมากมาย กับหลากหลายหน่วยงานและองค์กร แต่นั่นก็ยังเป็นการทำแบบแยกส่วนๆ เราจำเป็นต้องมีกรอบการ

ทำงานระดับมหภาคที่ผสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชนเข้าด้วยกัน” คุณเอกราช ย้ำชัด พร้อมทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศไทยเอง มากกว่าการพึ่งพาผู้ให้บริการจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว “ไม่ใช่แค่เรื่องของแพลตฟอร์ม แต่คือการคิดค้นนวัตกรรมที่เราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เพราะเราเท่านั้นที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสิ่งที่ประเทศต้องการ”

 

ผู้นำที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ และเชื่อมั่นในพลังของ “คน”

ด้วยความตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของทุนมนุษย์ต่อการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัลในครั้งนี้ คุณเอกราช กล่าวว่า “สินทรัพย์ที่ทรงพลังที่สุดของเราคือ คน” เขากล่าวอย่างไม่ลังเล “เรามีบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลาย และแต่ละคนสามารถผสานความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและคุณค่าอย่างแท้จริง”

แนวคิดและความเชื่อในพลังของคน ได้รับการโอบรับสู่ปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของคุณเอกราช การสั่งการในลักษณะจากระดับผู้บริหารลงไปสู่ระดับปฏิบัติการถือเป็นสิ่งล้าสมัย โดยคุณเอกราชยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Inclusive) สนับสนุนความร่วมมือกัน พร้อมกับแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างเปิดเผย “ผู้นำในวันนี้ต้องมีลักษณะของการเป็นผู้ฟัง” เขาอธิบายว่า “เราต้องเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ จากลูกค้าของเรา และเปิดรับมุมมองใหม่ๆ”

การเปิดกว้างนี้ยังสะท้อนชัดผ่านการใช้ชีวิตของคุณเอกราชเอง นอกจากหมวกนักบริหารแล้ว เขายังเป็นผู้ที่ชื่นชอบกีฬาเกี่ยวกับความเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกีฬาแข่งรถ “เพราะมันคือศิลปะ” เขากล่าวพร้อมอธิบายว่า การปรับแต่งเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละสนามแข่งถือเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน “วิถีบนสนามแข่งต้องอาศัยสมาธิ การตัดสินใจที่ถูกต้องและถูกเวลา รวมถึงการควบคุมทุกอย่าง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับโลกธุรกิจได้เช่นกัน”

การรับรู้และเข้าใจถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ของธุรกิจแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมการทำงานของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป แม้จะต้องมีการวางโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับการเติบโตของบริษัท แต่คุณเอกราชยังคงยืนหยัดในจิตวิญญาณแห่งการคิดค้นที่ไม่หยุดนิ่งของสตาร์ตอัพ “เรายังคงยึดหลักที่ว่า ล้มเหลวเพื่อก้าวไปข้างหน้า” เขากล่าว “แต่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์และเดินหน้าด้วยวิถีที่มีกลยุทธ์รัดกุมมากขึ้น”

 การสร้างสมดุลระหว่างความล้มเหลวและการก้าวไปข้างหน้า ถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่ดำเนินต่อเนื่องของทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เปิดโอกาสให้เราได้ลองผิดลองถูก พร้อมสร้างการเติบโต โดยคุณเอกราชเปรียบเทียบทรู ดิจิทัล กรุ๊ป กับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกว่า แม้แต่ยักษ์ใหญ่ สุดท้ายแล้วยังต้องเดินบนเส้นทางเพื่อความยั่งยืนขององค์กร และนั่นจึงทำให้เขา ยังคงมองเป้าหมาย 2025 ในทิศทางบวก “เราได้ก้าวผ่านข้อจำกัดต่างๆ ค้นพบเส้นทาง และพร้อมที่เติบโต” และย้ำว่า “เทคโนโลยีใม่ได้เป็นอุปสรรคอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถทำในสิ่งที่เราตั้งใจได้”

อาจกล่าวได้ว่า สมดุลระหว่างนวัตกรรม กลยุทธ์ การเติบโตของธุรกิจ ควบคู่กับการมุ่งเน้นให้ความสำคัญด้านบุคลากรและความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนับสนุนการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง คือนิยามแห่งความเป็นผู้นำของ เอกราช ปัญจวีณิน แม้การนำทางของคุณเอกราชสู่ภูมิทัศน์แห่งเทคโนโลยีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงชัดเจน คือ คุณเอกราชมีความแน่วแน่ที่จะทำให้อนาคตดิจิทัลของประเทศไทยเป็นหนึ่งในการมีส่วนร่วมโดยไม่แบ่งแยก นวัตกรรม และการเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาคสำหรับทุกคน

Coursera Inc. (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศเปิดตัวเส้นทางการศึกษาระดับปริญญาแบบใหม่, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 8 หลักสูตร, ใบรับรองความรู้ด้าน GenAI 20 หลักสูตร รวมไปถึงความเชี่ยวชาญพิเศษและเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในงาน Coursera Connect ประจำปี 2024 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2568 การพัฒนาในครั้งนี้สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับ AI ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของประเทศไทย โดยส่งเสริม 'การศึกษา 6.0' ผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงและถ่ายทอดทักษะที่สำคัญ เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับความต้องการของยุคดิจิทัล

Coursera ยังได้ต้อนรับพันธมิตรมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 รายอย่างเป็นทางการ อาทิ Saïd Business School - มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ IMD Business School รวมไปถึงบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม 5 บริษัท ได้แก่ Airbus Beyond, Amazon และ Xbox การร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนในไทยสามารถเข้าถึงเนื้อหาคุณภาพสูงที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

คุณรากาฟ กุปตา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Coursera กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลและปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต Coursera มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้โดยมอบทักษะที่จำเป็น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ประกาศนียบัตรและใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงให้แก่ผู้เรียนและสถาบันต่าง ๆ โดยเป้าหมายของเราคือการส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อร่วมพัฒนาและกำหนดทิศทางอนาคตด้านดิจิทัลของประเทศไทย”

โดยประกาศใหม่จาก Coursera ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย:

● เส้นทางการเรียนปริญญาหลักสูตรใหม่จาก University of London (UoL): โปรแกรม International Foundation Programme (IFP) ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยมอบทักษะพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และการเขียนโปรแกรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์การศึกษาหรือการทำงานมาก่อนหรือไม่ก็ตาม และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีแบบออนไลน์ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of London ได้โดยตรง

● ประกาศนียบัตรวิชาชีพใหม่ 8 หลักสูตร ที่จะช่วยให้ผู้เรียนชาวไทยเรียนรู้หรือต่อยอดในสายอาชีพที่มีความต้องการสูง: ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ค่าตอบแทนและสวัสดิการ จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน Payroll จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับจูเนียร์ จาก Amazon ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านวิศวกรรมข้อมูล จาก DeepLearning.AI และ AWS ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านการออกแบบเกม จาก Epic Games ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ iOS และ Android จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับ Program Manager จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร จาก Microsoft ● ใบรับรองวิชาชีพระดับเริ่มต้น 6 หลักสูตรจาก Google ได้แก่ Google Cybersecurity, Google Data Analytics, Google Digital Marketing & E-commerce, Google IT Support, Google Project Management และ Google UX Design โดยหลักสูตรทั้งหมดได้รับการพัฒนาด้วยการอัปเดตจาก GenAI พร้อมมอบการฝึกอบรมด้าน AI ที่สามารถนำไปใช้ได้ได้จริงจากผู้เชี่ยวชาญของ Google

● หลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบใหม่จาก IBM และ Microsoft มอบทักษะ GenAI ที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำ AI มาใช้ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้:

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ IBM ครอบคลุมอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ BI, ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ทางข้อมูล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะเน้นที่การใช้ศักยภาพของ GenAI ในหน้าที่งานต่าง ๆ

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน Copilot ของ Microsoft ที่จะสอนการผสมผสาน AI ให้เข้ากับงานประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น Microsoft Copilot สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาด, การขาย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ● การพัฒนาของ Coursera Coach ที่ใช้ AI เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นส่วนตัวและโต้ตอบได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งกว่าเดิม:

○ ระหว่างนักเรียนและครูในประเทศไทย โดย Coach จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยให้คำแนะนำส่วนบุคคล คำตอบ และสรุปวิดีโอบรรยายเป็นภาษาท้องถิ่น

○ Coach for career guidance: ภายในสิ้นปี Coach จะช่วยให้ผู้เรียนสำรวจเส้นทางอาชีพและระบุทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ไปยังเส้นทางการเรียนรู้หรืออาชีพอื่นได้ พร้อมทั้งแนะนำเส้นทางการเรียนรู้ที่ปรับแต่งตามประสบการณ์และเป้าหมายของผู้เรียน

○ Coach for interactive instruction: ปัจจุบันผู้สอนสามารถใช้ Coach เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สมจริง โดยเริ่มจากบทสนทนาแบบ Socratic หรือการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามด้วยการโต้ตอบแบบข้อความ ผู้สอนสามารถระบุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ สไตล์การสอน และเกณฑ์การประเมินได้ ผ่านการใช้แนวทางการสอนและเนื้อหาหลักสูตรที่ดีที่สุดของ Coursera โดยมี Google Gemini เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ตัวแรกที่ขับเคลื่อนฟีเจอร์นี้\

● เพิ่มหลักสูตรเนื้อหาภาษาไทยถึงสองเท่า: ปัจจุบันมีหลักสูตรที่แปลเป็นภาษาไทยกว่า 4,700 หลักสูตร สำหรับผู้เรียนรายบุคคลและภายในองค์กร โดยจำนวนหลักสูตรภาษาไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,000 หลักสูตรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

● ความร่วมมือใหม่ครั้งใหม่กับ PWC ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ และเซ็นทรัล รีเทล

คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนา “ทักษะการเรียนรู้” สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับทักษะของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera ตั้งแต่ปี 2561 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Coursera เพื่อสร้างหลักสูตรภาษาไทย ขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างไกลออกไปนอกแพลตฟอร์ม และยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านโครงการ CSR ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียนกว่า 4,000 คน และเร็วๆ นี้ SCB Academy จะเปิดตัวโปรแกรมการเรียนรู้แบบครอบคลุมทั่วประเทศ โดยผสมผสานเวิร์กช็อปแบบโต้ตอบและจัดกิจกรรมในสถานที่จริงตามหลักสูตร “Learning How to Learn” ของ Coursera ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับผู้สอน นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีแผนที่จะร่วมมือกับดร. บาร์บารา โอ๊คลีย์ เพื่อแปลหลักสูตร “Accelerate Your Learning with ChatGPT” เป็นภาษาไทยภายในปี 2568 โดยใช้ประโยชน์จาก AI เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทย

 Bridgewise (บริดจ์ไวส์) แพลตฟอร์มข้อมูลข่าวสารการลงทุนทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์ทั่วโลก ประกาศเปิดตัว BRIDGETTM เครื่องมือการลงทุนด้วย AI แบบสนทนา ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับภาคการลงทุนสถาบัน รวมถึงโบรกเกอร์และแพลตฟอร์มการซื้อขาย โดยนำเทคโนโลยี AI โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM - Large Language Model) ที่สามารถประมวลผลภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด BRIDGETTM ช่วยพลิกโฉมการรายงานข้อมูลการลงทุนแบบดั้งเดิม ให้กลายเป็นการสนทนาแบบโต้ตอบและให้คำแนะนำการลงทุน ผ่านแพลตฟอร์มที่ปรับแต่งได้หลากหลายภาษา ปัจจุบันบริดจ์ไวส์ มีให้บริการกว่า 25 ภาษา ใน 15 ตลาด และครอบคลุมเครื่องมือทางการเงินทั่วโลกมากกว่า 50,000 รายกา

การเปิดตัวในครั้งนี้ ได้รวมถึงการประกาศความสำเร็จในการระดมทุนได้ถึง 21 ล้านดอลลาร์ มีการเปิดตัว Bridgewise Funds (FundWise) และการแต่งตั้งบุคคลากรในอุตสาหกรรมตลาดทุนอีกหลายท่านเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและนวัตกรรมของบริดจ์ไวส์อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2019 โดยมีสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาปัจจุบันหลากหลายท่าน หลากหลายประสบการณ์ อาทิ คริสเตียน รูส (อดีต CEO ของตลาดหลักทรัพย์สวิส) ดาโต เนโต (อดีตกรรมการผู้จัดการของ Banco Model ประเทศบราซิล) เดวิด เลนชัส (กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัยของ HC Wainright) เดวิด ซีเกล (อดีต CEO ของ Investopedia และประธานของ Seeking Alpha) และ โยไค คอร์น (อดีตหัวหน้าฝ่ายข้อมูลตลาดและการวิจัยทั่วโลก Interactive Brokers)

คุณ เคลวิน ฟัว ผู้อำนวยการทั่วไปของบริจ์ไวส์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะนำ BRIDGETTM มาสู่เอเชีย ซึ่งเราเห็นศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนแปลงการลงทุนด้วยข้อมูลข่าวสารทางการเงินที่ขับเคลื่อนด้วย AI บริดจ์ไวส์มองว่าตลาดเอเชียแปซิฟิกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เห็นได้จากเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย พร้อมทั้งการขยายไปสู่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย เราเชื่อว่าเทคโนโลยีของบริดจ์ไวส์ และความสามารถด้านข้อมูล

ข่าวสารทางการเงิน AI สามารถปฏิวัติวิธีการดำเนินงานของตลาดทุนเอเชียแปซิฟิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายการเข้าถึงของภูมิภาคนี้ในตลาดทุนโลก”

จากงานวิจัยได้มีการประเมินว่า Generative AI (Gen AI) สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่ 200,000 ล้านดอลลาร์ ถึง 340,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 2.8 ถึง 4.7 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดของอุตสาหกรรมในภาคการธนาคารทั่วโลก ท่ามกลางศักยภาพการเติบโตสูงนี้ Gen AI ได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของนวัตกรรมและการพลิกโฉมอุตสาหกรรม เสริมพลังให้สถาบันการเงินสามารถให้บริการได้มากกว่าความคาดหวังของลูกค้าและนักลงทุนในปัจจุบัน ที่มีความต้องการบริการที่รวดเร็ว สะดวก และทันสมัยมากขึ้น เนื่องจากกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติระหว่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

คุณ กาเบรียล ดิอาแมนต์ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริดจ์ไวส์ กล่าวว่า “BRIDGETTM ของบริดจ์ไวส์ เป็นตัวช่วยการลงทุนด้วย AI แบบสนทนาที่นำเสนอการพลิกโฉมที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการลงทุนและหลักทรัพย์ระดับโลก โดยการผสาน AI ขั้นสูงเข้ากับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เราไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำของการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น แต่ยังทำให้มั่นใจว่าการตัดสินใจเหล่านี้เกิดขึ้นภายในกรอบที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับกฎระเบียบ ในฐานะหนึ่งในแพลตฟอร์มข้อมูลข่าวสารการลงทุนทางการเงินเพียงไม่กี่แห่งของโลกที่มุ่งให้บริการแก่ภาคการลงทุนสถาบัน เราสามารถปรับแต่ง BRIDGETTM ให้ตรงกับมาตรฐานและข้อกำหนดเฉพาะของสถาบัน เครื่องมือนี้นับเป็น Game Changer สำหรับสถาบันการเงินที่ต้องการอยู่แถวหน้าในภาคการเงินที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผู้วิเคราะห์และนักลงทุนได้รับข้อมูลที่เฉียบคมจากการโต้ตอบกับระบบในรูปแบบที่ใช้งานง่าย พร้อมมีข้อมูลเชิงลึก ส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

การแก้ไขปัญหาสำคัญ

ในสภาพแวดล้อมทางการเงินที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ผู้วิเคราะห์และนักลงทุนเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการได้รับข้อมูลที่ล้นหลาม ข้อจำกัดด้านเวลา และความต้องการข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำและสามารถนำไปใช้ได้จริง BRIDGETTM ของบริดจ์ไวส์ มอบข้อมูลเชิงลึกในการลงทุน รวมถึงคำแนะนำการซื้อ/ขายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับหุ้น BRIDGETTM ยังแก้ไขข้อบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับแชทบอท AI หลายประการ เช่น

· การขาดคำแนะนำการลงทุน: แชทบอทแบบดั้งเดิมไม่สามารถแนะนำการลงทุนในหุ้นตัวใด ๆ ได้ ในขณะที่ BRIDGETTM ให้คำแนะนำที่สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงคำแนะนำการซื้อ/ขายที่เฉพาะเจาะจง

· ความเชี่ยวชาญด้านการเงิน: BRIDGETTM ใช้ Micro Language Model (MLM) เฉพาะสำหรับการสนทนาเกี่ยวกับการลงทุนและตลาดทุน

· การวิเคราะห์ข้อมูลที่ผิดพลาด: แชทบอทอื่น ๆ มักสร้างข้อเสนอแนะที่ไม่ถูกต้องหรือไร้เหตุผล เช่น แนะนำหุ้นที่ไม่มีอยู่จริงหรือหุ้นที่มีพื้นฐานไม่ดี BRIDGETTM ได้รับการออกแบบเพื่อลดข้อบกพร่องเหล่านี้ เนื่องจาก MLM ของบริษัทได้รับการฝึกอบรมโดยเฉพาะเพื่อทำความเข้าใจและแก้ไขความละเอียดของหัวข้อเฉพาะการลงทุน

  • 99% ขององค์กรในไทยเชื่อว่า AI จะเข้ามาปฏิรูปอุตสาหกรรม 
  • 27% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กำลังเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดสู่การนำ GenAI มาใช้งานจริง  
  • 98% ขององค์กรไทยกล่าวว่าข้อมูลคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้าน AI 
  • 89% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กล่าวว่าเครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์ และให้ผลลัพธ์สูงสุด 

 

ผลการวิจัย Dell Technologies Innovation Catalyst Research   99% สำหรับองค์กรไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) โดยองค์กรที่รายงานการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2023 มีสูงถึง 91% (เพิ่มขึ้น 25%) และลดลงเหลือ 75% สำหรับองค์กรที่รายงานการเติบโตรายได้ลดลง (1-5%) และมีรายได้คงที่หรือถดถอย  

จากการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 6,600 คน ครอบคลุม 40 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AI และ GenAI แต่ระดับความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ล้วนแตกต่างกันไปมาก  เกือบทุกองค์กรในประเทศไทย (98%) กล่าวว่าตัวเองมีจุดยืนที่ดีในการแข่งขันและมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 80% ทั่วโลก 82%) ขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจที่เป็นองค์กรในไทยต่างไม่แน่ใจว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 50% ทั่วโลก 48%) และทุกองค์กร (100%) รายงานถึงความยากลำบากในการตามให้ทันกับสถานการณ์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% ทั่วโลก 57%) โดย 40% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทยกล่าวว่ายังขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 41% ทั่วโลก 35%) โดย 37% รายงานถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 31%) และ 34% ขององค์กรในประเทศไทยรายงานถึงการขาดงบประมาณ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 31% ทั่วโลก 29%) ว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม 

GenAI จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง 

60% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่า GenAI ให้ศักยภาพที่โดดเด่นในการปฏิรูปการทำงาน ช่วยสร้างคุณค่าในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยไอที (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 52%) และ 65% อ้างถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดี (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 53% ทั่วโลก 52%) ขณะที่ 62% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย อ้างถึงศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้น (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 51%) นอกจากนี้ ผู้ร่วมการสำรวจยังตระหนักดีถึงความท้าทายที่ต้องรับมือ 88% ขององค์กรในไทยกลัวว่า AI จะนำพาปัญหาใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยภัยและความเป็นส่วนตัวมาด้วย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 69% ทั่วโลก 68%) และ 90% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) เห็นพ้องว่าข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรตนมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาไว้ในเครื่องมือ GenAI ที่บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงได้ 

ในภาพรวม การตอบแบบสอบถามยังชี้ว่าองค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของ GenAI ในการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การนำมาใช้งานจริง 27% ของผู้ร่วมการสำรวจจากไทยกล่าวว่ากำลังเริ่มนำ GenAI มาใช้งาน เนื่องจากองค์กรต่างๆ กำลังนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งความกังวลหลักจะอยู่ที่การทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงตรงจุดไหนบ้าง และใครรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น โดย 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย เห็นพ้องว่าองค์กรควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของ AI มากกว่าตัวระบบ การใช้งาน หรือสาธารณะเองก็ตาม 

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าบรรดาธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงของ AI และ GenAI ที่ให้ศักยภาพสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้า ความท้าทายในขณะนี้ คือการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การใช้งานจริง และการสร้างระบบนิเวศของพันธมิตรที่เชื่อถือได้คือสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้องค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย สามารถปรับขยายเพื่อรองรับนวัตกรรมได้ อีกทั้งช่วยตอบโจทย์ความกังวลใจหลักอย่างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม และการสร้างความยั่งยืน   

องค์กรกำลังต่อกรกับความท้าท้ายของภาพรวมภัยคุกคามในปัจจุบัน 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในวงกว้าง ความกังวลเหล่านี้ มีที่มาที่ไป เนื่องจาก 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากการโจมตีความปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 83%) ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ (96%) กำลังนำกลยุทธ์ Zero Trust มาใช้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 90% ทั่วโลก 89%) และ 94% ขององค์กรในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรตนมีแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Plan) อยู่แล้ว ในการรับมือการโจมตี หรือข้อมูลรั่วไหล (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 78%) 

ปัญหาหลักสามอันดับแรก ได้แก่ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการละเมิดข้อมูล ในรายงานยังเน้นว่าปัญหาที่เกิดจากฟิชชิ่ง เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมา โดยพนักงานมีบทบาทต่อภัยคุกคามในภาพรวม ตัวอย่างเช่น 86% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 72% ทั่วโลก 67%) เชื่อว่าพนักงานบางคนหลบหลีกข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในองค์กรเพราะทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ 91% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย กล่าวว่าภัยคุกคามจากในองค์กรเป็นความกังวลอย่างมาก (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 70% ทั่วโลก 65%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเพราะบุคลากรคือด่านแรกในการป้องกัน 

โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ  

การวิจัยยังเผยว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง GenAI กำลังเดินหน้าพัฒนาและมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการปรับขยายได้ ถูกหยิบยกว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ธุรกิจต้องปรับปรุงเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในประเทศไทย (78%) กล่าวถึงความชื่นชอบในโมเดลแบบ on-prem หรือไฮบริด ว่าช่วยตอบโจทย์ความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดจากการนำ GenAI มาใช้ในองค์กร 

นอกจากนี้ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลทั่วองค์กร ยังนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม 53% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 33%) กล่าวว่าปัจจุบันตนสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังรับมือกับความท้าทาย 98% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 82%) กล่าวว่าข้อมูลคือปัจจัยที่สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ GenAI ต้องสัมพันธ์กับการใช้และปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ผู้ร่วมการสำรวจเกินครึ่ง (62%) ในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 47% ทั่วโลก 42%) ยังอ้างว่าตัวเองคาดว่าภายในห้าปีข้างหน้า จะมีปริมาณข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมาจากเอดจ์ 

ผลวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ รวมถึงประเด็นต่อไปนี้ 

  • เรื่องทักษะ เกือบสามในสี่ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (78%) (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 74% ทั่วโลก 67%) อ้างว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะซึ่งจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรม ความคล่องตัวในการเรียนรู้และปรับตัว ความเชี่ยวขาญด้าน AI และความสร้างสรรค์ รวมถึงการคิดในเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการจัดให้เป็นทักษะและความสามารถด้านการแข่งขันในอันดับต้นสำหรับห้าปีข้างหน้า 
  • ความยั่งยืน 64% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 48% ทั่วโลก 42%) เชื่อว่า “การขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนให้สภาพแวดล้อม” คือส่วนสำคัญที่ต้องปรับปรุง และประสิทธิภาพด้านพลังงานคือประเด็นหลัก 92% ขององค์กรในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 79%) กำลังทดลองใช้โซลูชันเชิงบริการ (as-a-Service) เพื่อจัดการสภาพแวดล้อมไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 97% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) กำลังย้ายการดำเนินงานด้าน AI Inferencing ไปที่เอดจ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน (เช่น อาคารอัจฉริยะ) 
  • การทำไอที ให้เป็นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  ปัจจุบัน 82% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) มีเหตุผลในการแยกผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ออกจากการสนทนาที่เป็นเชิงกลยุทธ์ กระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังถูกจัดว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ควรปรับปรุงและสำคัญเป็นอันดับสอง 
  • การให้ผลลัพธ์ 89% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย เชื่อว่าเครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์และให้ผลลัพธ์สูงสุด 
Page 1 of 18
X

Right Click

No right click