7 สิงหาคม 2566 เป็นวันดีอีกวันหนึ่งของ Warren Buffet
Berkshire Hathaway เพิ่งรายงานผลกำไรของไตรมาส 2 ปีนี้ ว่าสูงถึง 3.6 หมึ่นล้านเหรียญฯ ถือเป็นกิจการที่ทำกำไรสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยเป็นมา (All Time High)
ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับนี้ ราคาหุ้น BRKA ขึ้นไปปิดที่ 550,446.06 เหรียญฯ คือราวๆ 19.5 ล้านบาทต่อหุ้น
ถือว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับผู้ถือหุ้น BRKA ในรอบสิบกว่าปีมานี้ ซึ่ง Buffet ช่วยให้พวกเขากลายเป็นมหาเศรษฐีกันถ้วนหน้า
ตัวเขาเอง นอกจากจะมีตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยในระดับ Top 10 ของโลกแล้ว ยังเป็นดัง “พระเจ้า” ของแวดวงนักลงทุน นักเล่นหุ้น ทั่วโลก ที่ล้วนแต่เงี่ยหูฟังคำแนะนำของเขา
ที่ผ่านมา เขาได้แบ่งปันความรู้และวิธีคิดตลอดจนกลยุทธ์การลงทุนที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของเขาเสมอมา
ดูเผินๆ คำแนะนำเหล่านั้น ก็ราวกับเป็น common sense พื้นๆ
ใช่แล้ว เรื่องพื้นๆ นี่แหล่ะ ที่จะช่วยเตือนสติเรา ให้คำนึงถึงรากฐานที่ต้องแน่นเสียก่อนจะต่อยอดไปไหน
เช่นแนวคิดเรื่อง “Wide Moat” ที่เขาชอบพูดเสมอๆ
เข้าใจว่า Buffet เริ่มเสนอแนวคิดนี้ตั้งแต่ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง ในคราวการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire เมื่อปี 2538 ที่เขาเปรียบเทียบกิจการที่เขาชอบเข้าไปซื้อหุ้นว่า เหมือนกับปราสาทที่มีป้อมปราการสูงและมั่นคง ล้อมรอบไปด้วยคูน้ำคันดินที่กว้างขวาง ลึก และแข็งแรง ยากแก่การโจมตีของข้าศึก
อีกทั้งยังต้องบริหารจัดการโดยอัศวินหรือเจ้าของปราสาทที่เก่งกล้าสามารถและซื่อสัตย์สุจริต
ตีความได้ว่า กิจการที่เขาชอบที่จะเข้าไปลงทุนนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มั่นคง และมีขีดความสามารถเชิงแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่เหนือกว่าคู่แข่ง ยากแก่การเอาชนะได้
ไม่ว่าขีดความสามารถนั้น จะเป็นต้นทุนที่ต่ำจนคู่แข่งในอุตสาหกรรมไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือกิจการเหล่านั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีขวากหนามสูง (High Entry Barrier) ยากแก่การที่คนนอกจะเข้ามาแข่งขันได้โดยง่าย หรือกิจการนั้นอาจครอบครองแบรนด์ชั้นนำที่มีคุณค่าในสายตาลูกค้า และลูกค้ามีความจงรักภักดีอย่างยิ่ง
นั่นคือเหตุผลเบื้องลึกที่พอร์ตของ Berkshire Hathaway ต้องถือครองหุ้นอย่าง Amazon.com (AMZN), Apple (AAPL), Visa (V), และ Coca-Cola (KO)
Amazon.com เพราะสามารถทำต้นทุนต่ำ ในขณะที่มีสินค้าครอบคลุมหลากหลายอย่างมากมายมหาศาล เป็น One-stop Destination สำหรับผู้บริโภค ยากต่อการลอกเลียน
Apple เพราะเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีสาวกมากมายทั่วโลก และผลิตสินค้าทุกชนิดออกมาขาย ล้วนเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง
Visa เพราะเป็นกิจการที่คนรู้จักดีทั่วโลก แบรนด์ไม่เสีย และทะลุทะลวงสู่ตลาดใหม่ๆ เสมอ
Coca-Cola เพราะเป็นกิจการเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก มีคนรู้จักแบรนด์ Coca-Cola ทั่วโลก ตั้งแต่เด็กจนถึงคนแก่ล้วนรู้จักดี
ที่สำคัญ กิจการเหล่านี้ล้วนบริหารโดยอัศวินหรือนักบริหารที่ (อย่างน้อย) เขาคิดว่าเป็นกลุ่มที่สามารถ และเห็นแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน (แม้หลายครั้ง คนเหล่านี้จะทำให้เขาต้องปวดหัว และต้องลงมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ก็ตาม)
แน่นอนว่าแนวคิดอันนี้ เป็นแนวคิดที่ทรงพลัง
ทว่า ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก และเป็นพลังพื้นฐานเบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของ Berkshire Hathaway ซึ่งบัพเฟตยึดถือมาตลอดในการสร้างพอร์ตของเขา
นั่นคือแนวคิดที่ว่า “คุณต้องพร้อมเสมอที่จะลงทุนเมื่อโลกทั้งโลกกำลังหยุด”
เขากล่าวไว้ในปาฐกถาเมื่อปี 2556 ณ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ว่า
“Berkshire ต้องถือเงินสดจำนวน 2 หมึ่นล้าน ไว้ในมือเสมอ ฟังดูเหมือนบ้า เพราะธุรกิจไม่จำเป็นต้องทิ้งเงินไว้เฉยๆ แยะขนาดนั้น แต่วันหนึ่งในอนาคต อาจจะเป็น 100 ปีข้างหน้าที่โลกหยุดอีกครั้ง ถึงตอนนั้นเราก็พร้อมเสมอ มันต้องมีวิกฤติเกิดขึ้น อาจเป็นพรุ่งนี้ แต่ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ เราจำเป็นต้องมีเงินในกระเป๋า เพราะถึงตอนนั้น เงินสดจะเปรียบเหมือนอ็อกซิเจน (ที่เราต้องใช้หายใจ ถ้าขาดมันเราก็ต้องตาย)”
ใช่ “Cash at that time is like Oxygen”
แต่ในความเป็นจริง โลกเรามักจะเจอวิกฤติเสมอ ไม่ต้องรอถึง 100 ปีหรอก
จากวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 มาสู่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 และวิกฤติโควิดที่เพิ่งผ่านพ้นไป
มันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคนที่มีเงินสดในมือจำนวนมากนั้น สามารถเลือก “ช้อนซื้อ” สินทรัพย์ดีๆ ได้ในราคาถูกมากๆ อย่างยากที่จะหาได้ในเวลาปกติ
และเมื่อตลาดเริ่มเปลี่ยนเป็นขาขึ้น พวกเขาก็จะทำกำไรได้อย่างมหาศาล
นั่นคือบทเรียนที่เราเรียนรู้จากความสำเร็จของ Warren Buffet
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine
29/09/2566
ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน
อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน
การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง
ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น
นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการ
เติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย
หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต
“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้
จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว
“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์
AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ
เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ" ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”
AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล
“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย
“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”
“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว
AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565
ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million
ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce”
AWS สนับสนุนไฟเซอร์ให้สามารถนำเสนอนวัตกรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และพัฒนาปฏิบัติการด้านการผลิตยาที่ดีขึ้นเพื่อช่วยการบำบัดรักษาแห่งอนาคต
ฟอร์ติเน็ต (Fortinet®; NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจรและอัตโนมัติ ประกาศเปิดตัวโซลูชั่น FortiWeb Cloud Web Application Firewall (ฟอร์ติเว็บ คลาวด์ เว็บ แอปพลิเคชั่น ไฟร์วอลล์ แอส อะ เซอร์วิส) หรือบริการป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ที่ให้บริการบนคลาวด์ (Cloud Service) บนแพลทฟอร์มสำหรับระบบคลาวด์ชั้นนำ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาใช้แอปพลิเคชั่นบนเว็บได้อย่างรวดเร็วในขณะที่สร้างความปลอดภัยที่ดีที่สุดให้กับแอปพลิเคชั่นหลักสำคัญขององค์กรเหล่านั้น สามารถป้องกันแอปพลิเคชั่นบนเว็บและ APIs จากภัยคุกคามทั้งหลาย และช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฏข้อบังคับต่างๆ ได้ ทั้งนี องค์กรที่เลือกปกป้องแอปพลิเคชันบนเว็บด้วยโซลูชัน Software-as-a-Service (SaaS) นี้สามารถเลือกใช้โซลูชัน WAF ได้เต็มศักยภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้และจัดการโครงสร้างพื้นฐานหรือมีทักษะด้านความปลอดภัยของแอปพลิเคชันบนเว็บโดยเฉพาะใดๆ เลย
ช่องทางในการถูกโจมตีในคลาวด์มีมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน องค์กรต่างปรับใช้แอปพลิเคชั่นไปยังคลาวด์และสร้างแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์มากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อย่างไรก็ตาม การปรับใช้ที่รวดเร็วนี้อาจนำมาซึ่งช่องโหว่ของระบบในที่ต่างๆ องค์กรจึงต้องการกระบวนการด้านความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่ขยายกว้างขึ้นและปกป้องแอปพลิเคชันจากภัยคุกคามนานาประเภท ทั้งนี้ หากองค์กรใช้ทูลส์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายที่แยกออกจากกันยิ่งจะเป็นอุปสรรค์ในการปกป้องพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้น ทีมไอทีจึงต้องการโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ปกป้องเว็บซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์กรได้อย่างแม่นยำ ใช้งานง่าย จัดการได้ง่าย เพื่อที่จะโอนย้ายแอปพลิเคชั่นไปยังคลาวด์หรือสร้างแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์ได้อย่างคล่องตัว ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรเผชิญกับสถานการณ์ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชั่นบนเว็บ จึงทำให้ทีม DevOps ที่รับผิดชอบจัดการแอปพลิเคชันบนเว็บยิ่งต้องการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยที่ใช้งานง่าย มีศักยภาพสูงในการดักตรวจภัยในสิ่งแวดล้อมไฮบริดคลาวด์
ฟอร์ติเน็ตช่วยองค์กรใช้ประโยชน์จากคลาวด์ได้เต็มที่
ฟอร์ติเน็ตสามารถช่วยทีมไอทีและทีม DevOps แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยเสนอโซลูชั่น FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service หนึ่งในโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ชั้นนำของฟอร์ติเน็ต โดยจัดโซลูชั่น FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service ให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ในแพลทฟอร์ม AWS Marketplace หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายของฟอร์ติเน็ตที่ท่านต้องการ และเริ่มติดตั้งโซลูชั่นได้บน AWS ได้โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความปลอดภัยซึเคียวริตี้แฟบริค ของฟอร์ติเน็ต จึงสามารถมอบประโยชน์ให้แก่องค์กรได้ดังนี้:
FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service บน AWS ทำให้องค์กรสามารถมีไฟร์วอลล์สำหรับแอปพลิเคชั่นบนระบบคลาวด์ได้ง่าย และหากอยู่ในบน AWS ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จะสามารถเริ่มต้นใช้งานในการป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทั้งนี้ AWS ในหลายภูมิภาคได้ให้บริการโซลูชันประเภท SaaS ของฟอร์ติเน็ตนี้เรียบร้อยแล้ว ทำให้โซลูชั่นทำงานใกล้กับแอปพลิเคชันของลูกค้ามากที่สุด บริการจึงมีประสิทธิภาพสูงและมีความยืดหยุ่นในแง่การลงทุนสูง - กล่าวโดย นายแดน พลาสติน่า รองประธานฝ่ายบริการความปลอดภัยของ Amazon Web Services, Inc.
ที่ Steelcase เราเชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างที่สำคัญ เราเป็นรายแรกๆ ที่ใช้ระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโซลูชันบนคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า และเมื่อเราเริ่มโอนย้ายแอปพลิเคชั่นและเวิอร์คโหลดไปยังระบบคลาวด์สาธารณะ เราได้ตัดสินใจเลือกฟอร์ติเน็ต เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในคุณสมบัติด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ที่แข็งแกร่งที่ผนวกรวมเข้ากับโครงสร้างความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบริคของฟอร์ติเน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ FortiWeb ที่ได้ช่วยให้ Steelcase สามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่แอปพลิเคชันบนเว็บของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เราบริหารการปฏิบัติงานและรายงานต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น - กล่าวโดย นายแฟร้งค์ สตีเวนส์ Cloud Security Architect ของ Steelcase
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service