November 23, 2024

 Jobsdb by SEEK หนึ่งในบริษัทภายใต้ SEEK แพลตฟอร์มหางานระดับสากลจากประเทศออสเตรเลีย เปิดกลยุทธ์แตกต่างแต่เข้าถึงให้กับผู้ประกอบการและผู้หางาน ผ่าน 3 กลยุทธ์ Better Matches - Better Experience - Better Advice พร้อมปลดล็อกประสบการณ์การสรรหาบุคลากรที่ดีกว่าเคยผ่าน AI ด้วย Unified แพลตฟอร์ม ของ SEEK ที่เชื่อมต่อกับผู้สมัครและผู้ประกอบการหลายล้านทั่วเอเชีย ณ “The Empire Residence” ชั้น 53 ตึกเอ็มไพร์ทาวเวอร์

หลังจากที่ Jobsdb by SEEK ได้เข้าร่วมกับ SEEK แพลตฟอร์มหางาน Tech Company ระดับโลกที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2011 และครอบคลุมกว่า 8 ประเทศ ทั่วเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ รวมถึงขยายกิจการไปยังแถบลาติน-อเมริกา ได้แก่ บราซิลและเม็กซิโก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับผู้สมัครกว่า 40 ล้านคน และผู้ประกอบการกว่า 2.5 ล้านราย ในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเทคโนโลยีและมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล และเพื่อให้ทันยุคเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน SEEK ได้นำเอา Technology AI เข้ามาช่วยในการจับคู่งานและผู้หางานให้ลงตัวยิ่งขึ้น ภายใต้คำว่า “Better Matches”

ทำให้คนที่หางานได้พบงานที่ใช่ เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการ ส่วนผู้ประกอบการสามารถหาผู้สมัครที่ตรงใจได้เร็วขึ้น

ซึ่งผ่านมากว่า 10 ปี กว่าจะเกิด Unification Program ของ SEEK ทั้งหมดเข้าด้วยกันนี้ นับจากที่ได้รวมเอา Jobsdb และ Jobstreet มาอยู่ภายใต้ SEEK และใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ กว่า 3 ปี เงินลงทุนกว่า 4,220 ล้านบาท (หรือ 180 ล้าน ดอลล่าร์ออสเตรเลีย)

 

Mr. Lewis NG Chief Operating Officer, SEEK Asia (มร. ลูอิส เอิง กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ซีค เอเชีย) เปิดเผยถึง การรวมแพลตฟอร์มนี้ว่า “สำหรับ SEEK ทุกสิ่งที่เราทำล้วนแล้วแต่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกแง่มุม การรวมเป็นแพลตฟอร์มเดียวกันได้ นั่นหมายถึงเราสามารถที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าของเราไปสู่ประชาชนทั่วเอเชียหลายล้านคน ในรูปแบบใหม่ และนั่นจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหางานและบุคลากรที่ตรงใจได้ง่าย สะดวกมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้ทำให้ SEEK มีจุดยืนที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมและเรายังได้บรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือผู้คนกว่า 500 ล้านคน ได้พัฒนาเส้นทางอาชีพของตนภายใต้องค์กรกว่า 5 ล้านแห่งในภูมิภาคนี้

 

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK เผยว่า อัตราการจ้างงานในครึ่งแรกของปี 2024 มีโอกาสเติบโตมากขึ้นถึงร้อยละ 54 คาดการณ์จากค่าเฉลี่ยจำนวนของประกาศงานบนเว็บไซต์ Jobsdb ต่อเดือนที่สูงขึ้นร้อยละ 59 และผู้ประกอบการที่มีความต้องการที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่าอัตราผู้ว่างงานในประเทศไทยต่ำที่สุด นับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลต่ออัตราการซื้อพื้นที่เพื่อลงประกาศงานในแพลตฟอร์มจัดหางานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 โดยผู้ประกอบการต่างมองหาวิธีจ้างงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ด้านผู้สมัครงานก็มองหาวิธีที่ทำให้ตนเองโดดเด่นขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ดุเดือด

Jobsdb by SEEK เล็งเห็นความสำคัญในประเด็นนี้ จึงได้เปิดกลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างแต่เข้าถึงให้กับผู้ประกอบการและผู้หางาน ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.Better Matches ช่วยจับคู่การจ้างงานให้ได้คนที่เหมาะสมอย่างง่ายและรวดเร็วด้วยความฉลาดของ AI ในการค้นหา แนะนำและช่วยการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม 2.Better Experience การจ้างงานไร้รอยต่อทั่วเอเชียแปซิฟิก พร้อมเข้าถึงกว่า 40 ล้านคนที่

เป็นบุคลากรระดับเวิร์ลคลาส โดยผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการค้นหาผู้หางานได้ทุกประเทศในเครือ SEEK 3.Better Advice กลยุทธ์เชิงรุกที่เพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์ของ SEEK ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับประกาศงานและค่าใช้จ่าย เข้าใจ Demand และ Supply ของตำแหน่งงาน รวมถึงรายงานจากแบบสำรวจและคำแนะนำในการจ้างงานที่เป็นประโยชน์ ช่วยให้การสรรหาเป็นเรื่องง่ายและสามารถนำไปปรับให้เข้ากับกลยุทธ์การจ้างงาน

 

Mr. Neeraj Goswami Head of Product, SEEK (มร.นีราช กอสวามี ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาค) ซีค เผยว่า SEEK มี เป้าหมายที่จะยกระดับประสบการณ์การสรรหาและจ้างงานบุคลากรที่ต้องการให้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น บนการรวมแพลตฟอร์มในครั้งนี้ด้วยเทคโนโลยี AI จาก SEEK ที่มีฐานข้อมูลครอบคลุมทั้งเอเชียแปซิฟิกตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี พร้อมด้วยทีมงานมากกว่า 200 คน ที่ดูแลภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกนี้ จึงนับเป็นประโยชน์ต่อ Jobsdb by SEEK อย่างมากโดยข้อมูลที่นำมาใช้งานยังได้มีการปรับปรุงให้เหมาะกับอินไซด์ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน สำหรับ Unification Program ของ SEEK พร้อมแล้วที่จะให้คำแนะนำที่ล้ำกว่าเดิมสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มคุณภาพในการสรรหาบุคลากรและเป็นต่อเหนือคู่แข่ง อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลที่อัปเดตผ่านแดชบอร์ด การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของประกาศงานกับคู่แข่งและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้สมัคร การให้คำแนะนำในการปรับปรุงประสิทธิภาพของประกาศงาน นอกจากนี้ระบบ Unification ยังได้เปิดให้บริการอีก 3 ส่วน ได้แก่ 1. AI Smarter Search ใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมการค้นหาของผู้สมัครในอดีตเพื่อแสดงตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นให้กับผู้สมัคร ซึ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 โดยการใช้ AI ร่วมกับข้อมูลเชิงลึกของตลาดและข้อมูลของ SEEK 2. ปรับปรุงโปรไฟล์ของผู้สมัครและเสริมเครื่องมือในการแนะนำเพื่อส่งผลลัพธ์ในการจับคู่ผู้สมัครกับงานที่ดีกว่าเดิม และ 3.คำถามสำหรับผู้สมัครงาน แนะนำโดย AI เพื่อคัดกรองผู้สมัครที่ใช่ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

การรวมกันของแพลตฟอร์มจาก SEEK ในครั้งนี้เป็นการช่วยแนะนำผู้สมัครที่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยี AI นี้ ยังช่วยให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามเนื้องานที่มีการเปิดรับอยู่สามารถมองเห็นโอกาสได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการค้นหาโดยใช้ภาษาสนทนาที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ได้อีกด้วย

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่าในแต่ละองค์กรมีการแข่งขันเรื่องงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ ที่ยังคงไม่สงบนิ่ง อาทิ โรคระบาดโควิด – 19 ที่ยังไม่หมดไป หรือสภาพเศรษฐกิจของทั่วโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และบางองค์กรที่ต้องเร่งสร้างผลงานเพื่อให้พนักงาน องค์กรอยู่รอดและมั่นคง จึงทำให้พนักงานในองค์กรต้องคอยผลักดันตนเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้มากขึ้นและกลายเป็น ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ในที่สุด ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงาน มาจากความเครียดสะสมในการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งบางรายอาจกลายเป็นคนมีทัศนคติค่อนข้างเป็นเชิงลบต่อการทำงานของตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเองไปในที่สุด ส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานของแต่ละองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

จากภาวะ Burnout ที่มีทิศทางสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทาง JobsDB by SEEK แพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) จึงเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนที่ทุกองค์กรต้องหันมาสนใจในสุขภาพของพนักงานและป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะหมดไฟแก่พนักงานในองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ seekTALKS “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน”

 

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand ( บริษัท จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย จำกัด) กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะพันธมิตรการจ้างงานที่ผู้ประกอบการไว้วางใจ JobsDB by SEEK ได้เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้สมัครงานและฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่

ค้นหาผู้สมัครงาน จึงได้จัดงาน seekTALKS สัมมนาออนไลน์ร่วมมือกับสถาบันชั้นนำต่างๆ ในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและองค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์การจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป เรียนรู้ และนำไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผ่านผู้นำทางความคิดที่มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ อาทิ เรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุง กลยุทธ์ วางแผน และพัฒนาองค์กร การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมแชร์ประสบการณ์และกรณีศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และพนักงาน จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่องค์กรควรผลักดัน เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการทำงานและมีใจรักในการทำงาน ที่จะเสริมสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรแบบยั่งยืน”

โดยล่าสุดได้รับเกียรติจากหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน” ที่กำลังเป็นกระแสแรงอยู่ในขณะนี้ ไปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมฟังสัมมนากว่า 700 คน ผ่านทางระบบซูม

อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนในยุคนี้ต้องเผชิญแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และขาดแรงจูงใจในการทำงาน แม้ว่าอาการของโรคนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้สะสมนานจนเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรละเลย และต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังกับระบบการทำงานที่อาจทำให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าสะสมจนเกิดเป็นภาวะหมดไฟที่กระทบกับสภาพจิตใจของคนทำงาน”

 

ในส่วนของความเครียด สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ 1.ความเครียดในระดับน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราวในการทำงาน ความเครียดแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ทุกคนตื่นตัว หรือมีไฟในการทำงาน 2.ความเครียดใน

ระดับที่มากขึ้น เกิดขึ้นนานในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อพนักงานมีความเครียดแบบนี้ ทุกคนต้องมองหาการสนับสนุน 3.ความเครียดในระดับที่มากเป็นระยะเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งความเครียดในระดับนี้จะทำให้ทุกคนเข้าสู่ภาวะหมดไฟนั่นเอง โดยเนื้อหาในการสัมมนาได้กล่าวถึง องค์ประกอบและปัจจัยที่สามารถให้องค์กรสามารถช่วยปลดล็อคให้กับพนักงานในภาวะหมดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานเข้าสู่ภาวะหมดไฟ การช่วยเหลือพนักงานควรมีโปรแกรมการลดภาวะหมดไฟอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โปรแกรม CBT บำบัดผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม โดยนักจิตบำบัด ต้องทำต่อเนื่อง 2 เดือน โดยให้พนักงานลองไปฝึกได้ใช้จนกลายเป็นนิสัย, โปรแกรมการฝึกสติ อาจจะใช้เวลา 3 เดือนเป็นต้นไป, โปรแกรมการรับมือกับความเครียด จะต้องมีการเช็กอัพว่าสามารถนำไปใช้ได้บ้าง เพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมไปเรื่อยๆ, โปรแกรมการออกกำลังกาย ใช้ให้การบัตรกำนัล หรือทำกิจกรรม เล่นฟุตบอลหลังเลิกงาน ตีแบตมินตัน อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทำจนชินเป็นนิสัย, โปรแกรมซาบซึ้ง เช่น ในทุกกิจกรรมที่พบเจอ ใช้เวลา 5 นาที แลกเปลี่ยนว่ามีเรื่องดีๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือการขอบคุณคนในทีมทุกๆ ครั้งที่มีกิจกรรม, และโปรแกรม EAP (Employee assistance program) การช่วยเหลือพนักงาน โดยให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาครอบคลุมทุกปัญหา เช่น เรื่องส่วนตัว สุขภาพ รูปแบบ in-house หรือภายใน

นอกจากการช่วยเหลือพนักงานหมดไฟแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้พนักงานยังมั่นคงอยู่และยังดึงดูดพนักงานใหม่ สามารถทำได้ดังนี้ 1.มีนโยบายไม่ต้องตอบงานนอกเวลา การกำหนดอย่างชัดเจนว่าหลังเวลางาน พนักงานไม่จำเป็นต้องตอบเรื่องงาน และจะไม่มีผลต่อการประเมิน ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานหลายที่ต้องการ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงต้องต้องเป็นเรื่องการตกลงภายในบริษัท 2.คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการทำงาน ด้านเวลา พนักงานสามารถเลือกเวลาเข้าออกได้เอง, ด้านสถานที่ พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 3.สนับสนุนให้พนักงานได้พักผ่อน บริษัทสามารถสร้างนวัตกรรมในการใช้วันลา ‘อย่างสบายใจ’ โดยทุกคนสามารถออกแบบเวลาพักเบรกได้ และบริษัทฯ ยังคงให้สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจได้ 4.สร้างบรรยากาศในที่ทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพจิต คือการสร้างพื้นที่ที่ทำงานสำหรับทุกคนให้สามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น นโยบาย DE&I ที่สามารถพาลูกมาที่ทำงานได้ เป็นต้น 5.สร้างความเคารพ และมีส่วนร่วม สถานที่ทำงานควรเป็นที่ปลอดภัยทางจิตใจ สามารถแสดงความเห็นได้ พร้อมยังส่งเสริมให้คนทำงานมีความสุข สุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน 6.พนักงานมีความต้องการและจำเป็นหลากหลาย การออกแบบการทำงาน การสื่อสาร สวัสดิการ การอบรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือตัวตนของพนักงาน ความหลากหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ HR ต้องคำนึง และสิ่งสำคัญคือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บจากพนักงาน สำรวจความรู้จัก ความต้องการเป็นประจำ

ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “องค์กรควรจะใส่ใจพนักงาน พร้อมหมั่นสังเกตว่า หากพบพนักงานมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟในการทำงาน ทั้งหมดใจหรือหมดไฟ การเข้าไปช่วยเหลือและให้คำปรึกษาทันที ตามแนวทางที่เหมาะสม หรือการที่พนักงานจะเข้าไปพูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจและเข้าใจจะช่วยบรรเทาอาการของภาวะ Burnout Syndrome ได้ และสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานเมื่อต้องเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน การหยุดพักผ่อน ให้เวลาตัวเองได้จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ เพื่อปรับสมดุลชีวิตให้กลับสู่ภาวะปกติ และหา Work Life Balance ในการทำงาน ก็จะเป็นการผ่อนคลายและช่วยป้องกันภาวะ Burnout Syndrome ไม่ให้กลับมากวนใจในชีวิตได้อีก เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความสุขได้ค่ะ”

“สำหรับกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ seekTALKS ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เราจัดเป็นประจำทุกเดือน โดยหัวข้อก็จะสลับเปลี่ยนไปตามประเด็นที่น่าสนใจในช่วงนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ พาร์ทเนอร์และองค์กร ได้นำองค์ความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ หากบริษัทไหนที่สนใจ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ หรือสามารถติดต่อได้ที่ https://th.jobsdb.com/ ค่ะ” คุณดวงพร กล่าวปิดท้าย

X

Right Click

No right click