December 22, 2024

 Jobsdb by SEEK ได้เปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานทั่วโลกและในประเทศไทยจากบทสรุปข้อมูลเชิงสำรวจเกี่ยวกับการทํางานและความสมัครใจในการโยกย้าย ซึ่งนําเสนอข้อมูลระดับโลกพร้อมข้อมูลเชิงลึกในระดับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผลสํารวจ ชุด Global Talent Survey 2024 จัดทำโดย JobStreet และ Jobsdb ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK ร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) (บริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จำกัด) และ The Network (เดอะ เน็ตเวิร์ค) พันธมิตรระดับโลก จัดทำร่วมกัน

ซึ่งการสำรวจนี้ได้สํารวจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสถานที่ทํางานและวิธีการทํางานที่ผู้หางานทั่วโลกต้องการจากผู้ทำแบบสำรวจกว่า 150,000 คน จากกว่า 180 ประเทศ โดยผลการสํารวจระดับโลกนี้อ้างอิงตามกลุ่มตัวอย่างจํานวนมากที่มีความหลากหลายและครอบคลุมถึงตลาดผู้หางานหลักที่สําคัญ  

บทสรุปสำคัญ 

  • แนวโน้มการโยกย้าย: 63% ของผู้หางานทั่วโลกเปิดรับการย้ายถิ่นฐานเพื่อทำงาน โดยมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับก่อนโควิดที่มีอัตราเปิดรับการย้ายถิ่นฐานที่ 71%   
  • ความกระตือรือร้นในการหางาน: 25% ของผู้หางาน กำลังมองหางานในต่างประเทศเพราะมีความคาดหวังโอกาสในการทำงาน คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และรายได้ที่มากขึ้น  
  • แนวโน้มการทำงานทางไกลระหว่างประเทศ: ภาพรวมผู้หางานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 66% สนใจที่จะทำงานในต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องมีการย้ายถิ่นฐาน แสดงให้เห็นถึงการโยกย้ายแบบเสมือน หรือ Virtual Mobility ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย ตอบรับการทำงานทางไกลระหว่างประเทศสูงถึง 76% เทียบกับปี 2563 ที่มีสัดส่วนเพียง 50%  
  • ผู้หางานชาวไทยสนใจในการทำงานต่างประเทศมากขึ้น: ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยกว่า 66% มีความสนใจในการโยกย้ายไปทำงานต่างประเทศ และ 79% ของกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อย ที่แสดงความสนใจในการไปทำงานต่างประเทศ ปัจจัยของความสนใจโยกย้ายถิ่นฐานนี้มาจาก ความมุ่งมั่นเกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ตลอดจนโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ในระดับนานาชาติ และถึงแม้ตัวเลขจะยังไม่ถึงจุดสูงสุดก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2561 แต่ความสนใจถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึง ปรากฏการณ์สมองไหล โดยเฉพาะคนทำงานในกลุ่มการศึกษาและการฝึกอบรม กฎหมาย การจัดการธุรกิจ และไอที 
  • การพัฒนากลยุทธ์สำหรับบริษัทจ้างงาน เพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลก: การสร้างมาตรฐานองค์กรสากลเพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลกด้วยข้อเสนอที่ตอบสนองกับความต้องการของชาวต่างชาติอย่างการสนับสนุนในการย้ายถิ่นฐานพร้อมกับการจัดการเรื่องวีซ่าเเละที่อยู่อาศัย และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้าง ไม่แบ่งแยก เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคุณภาพระดับโลก 

ประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายยอดนิยมของผู้หางาน 

ประเทศไทยยังได้ถูกยกให้เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นที่ต้องการของผู้หางานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ขยับขึ้นมาลำดับที่ 31 จากลำดับที่ 39 ในการจัดอันดับโลกนับจากปี 2561 ประเทศไทยดึงดูดผู้ที่มีความสามารถหลากหลายจากทั่วโลกถึง 62% ให้เข้ามาทำงาน เนื่องจากชื่นชอบในคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นมิตรและการไม่แบ่งแยก ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องค่าครองชีพที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย โดยผลสำรวจในเดือนมีนาคมปี 2566 ได้เปิดเผยว่าในประเทศไทยมีพนักงานต่างชาติกว่า 2.7 ล้านคน ซึ่งนับเป็น 7% ของแรงงานในประเทศ  

จุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวไทย 

79% ของผู้หางานชาวไทยเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มีความสนใจในการทำงานในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงความมุ่งมั่นในความก้าวหน้าในอาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มการศึกษาและการฝึกอบรม ขณะที่สาขาเช่นการบริการทางการเงินและธุรการมีความสนใจที่น้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะมีโอกาสในประเทศมากกว่า  

จุดหมายปลายทางที่แรงงานไทยให้ความนิยมได้แก่ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศจีน ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่นความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ศักยภาพทางการตลาด และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม 60% ของผู้ที่ได้ไปทำงานในต่างประเทศมีความตั้งใจที่จะกลับมายังประเทศไทยในท้ายที่สุด เเละอีก 18% ที่ต้องการอยู่ต่ออย่างไม่มีกำหนด 

ตัวอย่างสาขาอาชีพที่มีความพร้อมในการโยกย้าย: 

การศึกษาและการฝึกอบรม: 85% ของอาจารย์เเละผู้สอนในประเทศไทยนั่นเชื่อว่าจะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายเเละเติบโตในหน้าที่จากการสอนระหว่างประเทศ 

กฏหมาย: 73% ของนักกฎหมายชาวไทยกำลังมองหาบทบาทระดับนานาชาติเพื่อขยายความเชี่ยวชาญทางกฎหมายและสร้างเครือข่ายระดับโลก 

การจัดการธุรกิจ: นักบริหารธุรกิจมีความต้องการที่จะมองหาโอกาสการทำงานในต่างประเทศอย่างสิงคโปร์และฮ่องกงเพื่อการเติบโตด้านการตลาด สื่อดิจิทัล และอุตสาหกรรม AI 

ไอที: ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีมีความมุ่งมั่นที่จะไปทำงานในประเทศที่มีการพัฒนาในด้านเทค อย่าง สหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะเสริมสร้างความรู้ในแง่ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาและปฏิบัติการร่วมกัน 

วิศวกรรมและเทคนิค: วิศวกรมีความต้องการที่จะทำงานในองค์กรขนาดใหญ่เเละครบวงจรโดย 69% ของวิศวกรมีความยินดีที่จะย้ายสถานที่ทำงาน 

แนวโน้มการทำงานทางไกลระหว่างประเทศ 

แนวโน้มการทำงานระยะไกลเพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี 2563 ผู้หางานชาวไทยมีความต้องการในการทำงานระยะไกลหรือการทำงานแบบไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพิ่มขึ้นถึง 26% จาก 50%ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 76% ในปี 2566 แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับความสนใจในการย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างประเทศที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะผู้หางานมองว่าตนเองสามารถทำงานทางไกลได้จากประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานได้เช่นกัน 

 

ข้อเสนอแนะสําหรับผู้ประกอบการชาวไทย 

การพัฒนากลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลก: 

  1. การวางแผนเกี่ยวกับความต้องการบุคลากรระดับโลก: เพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรในอนาคต ผู้ประกอบการไทยควรวางแผนจำนวนบุคลากรล่วงหน้าโดยเฉพาะในสาขาที่มีทักษะสูง เนื่องจากประชากรสูงวัยและภาคดิจิทัลมีช่องว่างด้านบุคลากรจึงอาจพิจารณาดึงคนจากประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ที่สนใจย้ายมาทำงานในไทย 
  2. การดึงดูดเเละสรรหาบุคลากรจากทั่วโลก: เพื่อดึงดูดผู้หางานคุณภาพจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการในประเทศไทยควรปรับข้อเสนอขององค์กรให้เหมาะสมกับความต้องการของแรงงานทั่วโลกโดยการมุ่งเน้นไปที่คุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์กร รายได้ ภาษี และค่าครองชีพ นอกจากนี้ การเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มสรรหาบุคลากรที่มีเครือข่ายทั่วภูมิภาค เช่น SEEK ก็ช่วยเปิดโอกาสในการค้นหาผู้หางานได้มากขึ้นเช่นกัน 
  3. การย้ายถิ่นฐานเเละการต้อนรับดูแลบุคลากรจากทั่วโลก: ผู้ประกอบการไทยควรให้การสนับสนุนดูแลบุคลากรจากทั่วโลกที่ย้ายมาทำงานในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการช่วยเหลือด้านวีซ่า ที่อยู่อาศัย และการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการปฐมนิเทศและโปรแกรมเพื่อนร่วมงานในช่วงแรก 
  4. การรักษาพนักงานคุณภาพระดับโลก: เพื่อปลดล็อกศักยภาพของวัฒนธรรมองค์กรควรที่จะสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างเเละไม่แบ่งแยกโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการทำงานเเละยังมุ่งเน้นในการสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายเช่น การจัดทีมงานระหว่างวัฒนธรรม การฝึกอบรมหัวหน้างานเกี่ยวกับการไม่ลำเอียง และการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม 

การสำรวจแรงงานทั่วโลก หรือ Global Talent Survey 2024 โดย Jobsdb by SEEK แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับบุคลากรระดับมืออาชีพทั้งจากโอกาสทางอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันความสนใจของชาวไทยในการทำงานต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การปรับกลยุทธ์ในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตอบรับกับแนวโน้มการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้

 Jobsdb by SEEK หนึ่งในบริษัทภายใต้ SEEK แพลตฟอร์มหางานระดับสากลจากประเทศออสเตรเลีย เปิดกลยุทธ์แตกต่างแต่เข้าถึงให้กับผู้ประกอบการและผู้หางาน ผ่าน 3 กลยุทธ์ Better Matches - Better Experience - Better Advice พร้อมปลดล็อกประสบการณ์การสรรหาบุคลากรที่ดีกว่าเคยผ่าน AI ด้วย Unified แพลตฟอร์ม ของ SEEK ที่เชื่อมต่อกับผู้สมัครและผู้ประกอบการหลายล้านทั่วเอเชีย ณ “The Empire Residence” ชั้น 53 ตึกเอ็มไพร์ทาวเวอร์

หลังจากที่ Jobsdb by SEEK ได้เข้าร่วมกับ SEEK แพลตฟอร์มหางาน Tech Company ระดับโลกที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2011 และครอบคลุมกว่า 8 ประเทศ ทั่วเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ รวมถึงขยายกิจการไปยังแถบลาติน-อเมริกา ได้แก่ บราซิลและเม็กซิโก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับผู้สมัครกว่า 40 ล้านคน และผู้ประกอบการกว่า 2.5 ล้านราย ในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเทคโนโลยีและมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล และเพื่อให้ทันยุคเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน SEEK ได้นำเอา Technology AI เข้ามาช่วยในการจับคู่งานและผู้หางานให้ลงตัวยิ่งขึ้น ภายใต้คำว่า “Better Matches”

ทำให้คนที่หางานได้พบงานที่ใช่ เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการ ส่วนผู้ประกอบการสามารถหาผู้สมัครที่ตรงใจได้เร็วขึ้น

ซึ่งผ่านมากว่า 10 ปี กว่าจะเกิด Unification Program ของ SEEK ทั้งหมดเข้าด้วยกันนี้ นับจากที่ได้รวมเอา Jobsdb และ Jobstreet มาอยู่ภายใต้ SEEK และใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ กว่า 3 ปี เงินลงทุนกว่า 4,220 ล้านบาท (หรือ 180 ล้าน ดอลล่าร์ออสเตรเลีย)

 

Mr. Lewis NG Chief Operating Officer, SEEK Asia (มร. ลูอิส เอิง กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ซีค เอเชีย) เปิดเผยถึง การรวมแพลตฟอร์มนี้ว่า “สำหรับ SEEK ทุกสิ่งที่เราทำล้วนแล้วแต่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกแง่มุม การรวมเป็นแพลตฟอร์มเดียวกันได้ นั่นหมายถึงเราสามารถที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าของเราไปสู่ประชาชนทั่วเอเชียหลายล้านคน ในรูปแบบใหม่ และนั่นจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหางานและบุคลากรที่ตรงใจได้ง่าย สะดวกมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้ทำให้ SEEK มีจุดยืนที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมและเรายังได้บรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือผู้คนกว่า 500 ล้านคน ได้พัฒนาเส้นทางอาชีพของตนภายใต้องค์กรกว่า 5 ล้านแห่งในภูมิภาคนี้

 

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK เผยว่า อัตราการจ้างงานในครึ่งแรกของปี 2024 มีโอกาสเติบโตมากขึ้นถึงร้อยละ 54 คาดการณ์จากค่าเฉลี่ยจำนวนของประกาศงานบนเว็บไซต์ Jobsdb ต่อเดือนที่สูงขึ้นร้อยละ 59 และผู้ประกอบการที่มีความต้องการที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่าอัตราผู้ว่างงานในประเทศไทยต่ำที่สุด นับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลต่ออัตราการซื้อพื้นที่เพื่อลงประกาศงานในแพลตฟอร์มจัดหางานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 โดยผู้ประกอบการต่างมองหาวิธีจ้างงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ด้านผู้สมัครงานก็มองหาวิธีที่ทำให้ตนเองโดดเด่นขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ดุเดือด

Jobsdb by SEEK เล็งเห็นความสำคัญในประเด็นนี้ จึงได้เปิดกลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างแต่เข้าถึงให้กับผู้ประกอบการและผู้หางาน ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.Better Matches ช่วยจับคู่การจ้างงานให้ได้คนที่เหมาะสมอย่างง่ายและรวดเร็วด้วยความฉลาดของ AI ในการค้นหา แนะนำและช่วยการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม 2.Better Experience การจ้างงานไร้รอยต่อทั่วเอเชียแปซิฟิก พร้อมเข้าถึงกว่า 40 ล้านคนที่

เป็นบุคลากรระดับเวิร์ลคลาส โดยผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการค้นหาผู้หางานได้ทุกประเทศในเครือ SEEK 3.Better Advice กลยุทธ์เชิงรุกที่เพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากรด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์ของ SEEK ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับประกาศงานและค่าใช้จ่าย เข้าใจ Demand และ Supply ของตำแหน่งงาน รวมถึงรายงานจากแบบสำรวจและคำแนะนำในการจ้างงานที่เป็นประโยชน์ ช่วยให้การสรรหาเป็นเรื่องง่ายและสามารถนำไปปรับให้เข้ากับกลยุทธ์การจ้างงาน

 

Mr. Neeraj Goswami Head of Product, SEEK (มร.นีราช กอสวามี ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาค) ซีค เผยว่า SEEK มี เป้าหมายที่จะยกระดับประสบการณ์การสรรหาและจ้างงานบุคลากรที่ต้องการให้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น บนการรวมแพลตฟอร์มในครั้งนี้ด้วยเทคโนโลยี AI จาก SEEK ที่มีฐานข้อมูลครอบคลุมทั้งเอเชียแปซิฟิกตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี พร้อมด้วยทีมงานมากกว่า 200 คน ที่ดูแลภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกนี้ จึงนับเป็นประโยชน์ต่อ Jobsdb by SEEK อย่างมากโดยข้อมูลที่นำมาใช้งานยังได้มีการปรับปรุงให้เหมาะกับอินไซด์ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน สำหรับ Unification Program ของ SEEK พร้อมแล้วที่จะให้คำแนะนำที่ล้ำกว่าเดิมสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มคุณภาพในการสรรหาบุคลากรและเป็นต่อเหนือคู่แข่ง อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลที่อัปเดตผ่านแดชบอร์ด การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของประกาศงานกับคู่แข่งและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้สมัคร การให้คำแนะนำในการปรับปรุงประสิทธิภาพของประกาศงาน นอกจากนี้ระบบ Unification ยังได้เปิดให้บริการอีก 3 ส่วน ได้แก่ 1. AI Smarter Search ใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมการค้นหาของผู้สมัครในอดีตเพื่อแสดงตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นให้กับผู้สมัคร ซึ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 โดยการใช้ AI ร่วมกับข้อมูลเชิงลึกของตลาดและข้อมูลของ SEEK 2. ปรับปรุงโปรไฟล์ของผู้สมัครและเสริมเครื่องมือในการแนะนำเพื่อส่งผลลัพธ์ในการจับคู่ผู้สมัครกับงานที่ดีกว่าเดิม และ 3.คำถามสำหรับผู้สมัครงาน แนะนำโดย AI เพื่อคัดกรองผู้สมัครที่ใช่ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

การรวมกันของแพลตฟอร์มจาก SEEK ในครั้งนี้เป็นการช่วยแนะนำผู้สมัครที่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยี AI นี้ ยังช่วยให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามเนื้องานที่มีการเปิดรับอยู่สามารถมองเห็นโอกาสได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการค้นหาโดยใช้ภาษาสนทนาที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ได้อีกด้วย

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่าในแต่ละองค์กรมีการแข่งขันเรื่องงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ ที่ยังคงไม่สงบนิ่ง อาทิ โรคระบาดโควิด – 19 ที่ยังไม่หมดไป หรือสภาพเศรษฐกิจของทั่วโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และบางองค์กรที่ต้องเร่งสร้างผลงานเพื่อให้พนักงาน องค์กรอยู่รอดและมั่นคง จึงทำให้พนักงานในองค์กรต้องคอยผลักดันตนเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้มากขึ้นและกลายเป็น ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ในที่สุด ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงาน มาจากความเครียดสะสมในการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งบางรายอาจกลายเป็นคนมีทัศนคติค่อนข้างเป็นเชิงลบต่อการทำงานของตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเองไปในที่สุด ส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานของแต่ละองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

จากภาวะ Burnout ที่มีทิศทางสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทาง JobsDB by SEEK แพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) จึงเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนที่ทุกองค์กรต้องหันมาสนใจในสุขภาพของพนักงานและป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะหมดไฟแก่พนักงานในองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ seekTALKS “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน”

 

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand ( บริษัท จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย จำกัด) กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะพันธมิตรการจ้างงานที่ผู้ประกอบการไว้วางใจ JobsDB by SEEK ได้เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้สมัครงานและฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่

ค้นหาผู้สมัครงาน จึงได้จัดงาน seekTALKS สัมมนาออนไลน์ร่วมมือกับสถาบันชั้นนำต่างๆ ในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและองค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์การจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป เรียนรู้ และนำไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผ่านผู้นำทางความคิดที่มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ อาทิ เรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุง กลยุทธ์ วางแผน และพัฒนาองค์กร การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมแชร์ประสบการณ์และกรณีศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และพนักงาน จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่องค์กรควรผลักดัน เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการทำงานและมีใจรักในการทำงาน ที่จะเสริมสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรแบบยั่งยืน”

โดยล่าสุดได้รับเกียรติจากหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน” ที่กำลังเป็นกระแสแรงอยู่ในขณะนี้ ไปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมฟังสัมมนากว่า 700 คน ผ่านทางระบบซูม

อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนในยุคนี้ต้องเผชิญแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และขาดแรงจูงใจในการทำงาน แม้ว่าอาการของโรคนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้สะสมนานจนเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรละเลย และต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังกับระบบการทำงานที่อาจทำให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าสะสมจนเกิดเป็นภาวะหมดไฟที่กระทบกับสภาพจิตใจของคนทำงาน”

 

ในส่วนของความเครียด สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ 1.ความเครียดในระดับน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราวในการทำงาน ความเครียดแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ทุกคนตื่นตัว หรือมีไฟในการทำงาน 2.ความเครียดใน

ระดับที่มากขึ้น เกิดขึ้นนานในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อพนักงานมีความเครียดแบบนี้ ทุกคนต้องมองหาการสนับสนุน 3.ความเครียดในระดับที่มากเป็นระยะเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งความเครียดในระดับนี้จะทำให้ทุกคนเข้าสู่ภาวะหมดไฟนั่นเอง โดยเนื้อหาในการสัมมนาได้กล่าวถึง องค์ประกอบและปัจจัยที่สามารถให้องค์กรสามารถช่วยปลดล็อคให้กับพนักงานในภาวะหมดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานเข้าสู่ภาวะหมดไฟ การช่วยเหลือพนักงานควรมีโปรแกรมการลดภาวะหมดไฟอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โปรแกรม CBT บำบัดผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม โดยนักจิตบำบัด ต้องทำต่อเนื่อง 2 เดือน โดยให้พนักงานลองไปฝึกได้ใช้จนกลายเป็นนิสัย, โปรแกรมการฝึกสติ อาจจะใช้เวลา 3 เดือนเป็นต้นไป, โปรแกรมการรับมือกับความเครียด จะต้องมีการเช็กอัพว่าสามารถนำไปใช้ได้บ้าง เพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมไปเรื่อยๆ, โปรแกรมการออกกำลังกาย ใช้ให้การบัตรกำนัล หรือทำกิจกรรม เล่นฟุตบอลหลังเลิกงาน ตีแบตมินตัน อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทำจนชินเป็นนิสัย, โปรแกรมซาบซึ้ง เช่น ในทุกกิจกรรมที่พบเจอ ใช้เวลา 5 นาที แลกเปลี่ยนว่ามีเรื่องดีๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือการขอบคุณคนในทีมทุกๆ ครั้งที่มีกิจกรรม, และโปรแกรม EAP (Employee assistance program) การช่วยเหลือพนักงาน โดยให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาครอบคลุมทุกปัญหา เช่น เรื่องส่วนตัว สุขภาพ รูปแบบ in-house หรือภายใน

นอกจากการช่วยเหลือพนักงานหมดไฟแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้พนักงานยังมั่นคงอยู่และยังดึงดูดพนักงานใหม่ สามารถทำได้ดังนี้ 1.มีนโยบายไม่ต้องตอบงานนอกเวลา การกำหนดอย่างชัดเจนว่าหลังเวลางาน พนักงานไม่จำเป็นต้องตอบเรื่องงาน และจะไม่มีผลต่อการประเมิน ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานหลายที่ต้องการ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงต้องต้องเป็นเรื่องการตกลงภายในบริษัท 2.คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการทำงาน ด้านเวลา พนักงานสามารถเลือกเวลาเข้าออกได้เอง, ด้านสถานที่ พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 3.สนับสนุนให้พนักงานได้พักผ่อน บริษัทสามารถสร้างนวัตกรรมในการใช้วันลา ‘อย่างสบายใจ’ โดยทุกคนสามารถออกแบบเวลาพักเบรกได้ และบริษัทฯ ยังคงให้สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจได้ 4.สร้างบรรยากาศในที่ทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพจิต คือการสร้างพื้นที่ที่ทำงานสำหรับทุกคนให้สามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น นโยบาย DE&I ที่สามารถพาลูกมาที่ทำงานได้ เป็นต้น 5.สร้างความเคารพ และมีส่วนร่วม สถานที่ทำงานควรเป็นที่ปลอดภัยทางจิตใจ สามารถแสดงความเห็นได้ พร้อมยังส่งเสริมให้คนทำงานมีความสุข สุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน 6.พนักงานมีความต้องการและจำเป็นหลากหลาย การออกแบบการทำงาน การสื่อสาร สวัสดิการ การอบรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือตัวตนของพนักงาน ความหลากหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ HR ต้องคำนึง และสิ่งสำคัญคือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บจากพนักงาน สำรวจความรู้จัก ความต้องการเป็นประจำ

ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “องค์กรควรจะใส่ใจพนักงาน พร้อมหมั่นสังเกตว่า หากพบพนักงานมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟในการทำงาน ทั้งหมดใจหรือหมดไฟ การเข้าไปช่วยเหลือและให้คำปรึกษาทันที ตามแนวทางที่เหมาะสม หรือการที่พนักงานจะเข้าไปพูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจและเข้าใจจะช่วยบรรเทาอาการของภาวะ Burnout Syndrome ได้ และสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานเมื่อต้องเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน การหยุดพักผ่อน ให้เวลาตัวเองได้จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ เพื่อปรับสมดุลชีวิตให้กลับสู่ภาวะปกติ และหา Work Life Balance ในการทำงาน ก็จะเป็นการผ่อนคลายและช่วยป้องกันภาวะ Burnout Syndrome ไม่ให้กลับมากวนใจในชีวิตได้อีก เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความสุขได้ค่ะ”

“สำหรับกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ seekTALKS ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เราจัดเป็นประจำทุกเดือน โดยหัวข้อก็จะสลับเปลี่ยนไปตามประเด็นที่น่าสนใจในช่วงนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ พาร์ทเนอร์และองค์กร ได้นำองค์ความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ หากบริษัทไหนที่สนใจ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ หรือสามารถติดต่อได้ที่ https://th.jobsdb.com/ ค่ะ” คุณดวงพร กล่าวปิดท้าย

X

Right Click

No right click