สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สนับสนุน บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” เพื่อให้เกษตรกรรู้เท่าทันสภาพอากาศล่วงหน้า 7 วันรายพิกัด รายแปลง สามารถตั้งหลักรับมือภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร คาดภายใน 3 ปี มีเกษตรกรเข้าถึงข้อมูล 10 ล้านคน ช่วยลดต้นทุนและเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ 1,000 ล้านบาทต่อปี

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยเหตุนี้ ดีป้า จึงร่วมมือกับ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด ในการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะของประเทศ โดยล่าสุดได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ที่มีชื่อว่า “ฟ้าฝน” ภายใต้โครงการ “CPS AGRI: ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย” ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Infrastructure Fund for Private Investment)

“แพลตฟอร์มดังกล่าวคือ แอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งเกษตรกรสามารถทราบผลการพยากรณ์อากาศ ล่วงหน้า 7 วัน ช่วยเตือนภัยธรรมชาติ รับทราบถึงข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนล่วงหน้าในพื้นที่ของตนเองได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการทรัพยากร วางแผนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงการนี้ยังให้บริการในลักษณะของข้อมูลด้านบริการ (Data as a Service) ให้กับดิจิทัลสตาร์ทอัพ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล API จนนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการแบบใหม่สำหรับเกษตรกร ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย คิดเป็น 28% ของประเทศ” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

 

ด้าน ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรประมาณ 80% ของประเทศ อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและฝนเป็นหลัก ดังนั้น แอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” จึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบถึงสภาพอากาศแบบรายชั่วโมง หรือล่วงหน้า 7 วัน โดยดูการเคลื่อนไหวของสภาพอากาศผ่านดาวเทียมที่มีความละเอียดและแม่นยำ รวมถึงสามารถตั้งค่าเพื่อรับการแจ้งเตือนพายุ ฝน ลม และการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิได้แบบรายแปลง รายพิกัด

นอกจากนี้ แอปพลิเคชันดังกล่าวยังรองรับการสร้างเครือข่ายชุมชนเกษตรกร พร้อมมีเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่แปลงเพาะปลูก ได้แก่ การรังวัดเพื่อหาพิกัด ความยาว และพื้นที่ การคำนวณปริมาตรดิน สำหรับขุดบ่อและถมดิน ตลอดจนการหาขอบเขตพื้นที่ภายในระยะรัศมีที่ต้องการ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว แพลตฟอร์ม “ฟ้าฝน” ยังเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเดินทาง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย การวางแผนทำกิจกรรมกลางแจ้งอีกด้วย คาดว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ได้แล้วทั้งระบบ Android และ iOS

สำหรับโครงการ CPS AGRI: ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยถือเป็นโครงการที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มากถึง 10 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลฝนจากดาวเทียมประมาณ 9 ดวง ผลการพยากรณ์อากาศความละเอียดสูง การสังเกตและผลการพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อน พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน ผลการพยากรณ์ภูมิอากาศความละเอียดสูงล่วงหน้า 10 ปี ข้อมูลสภาพอากาศจากอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศ ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจ (ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา) ผลการพยากรณ์ผลผลิตอ้อย ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากดาวเทียม และสถานภาพความสมบูรณ์ของพืชจากดาวเทียม พร้อมมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ 500 จุดทั่วประเทศ

ปัจจุบัน โครงการนี้ได้ให้บริการข้อมูลพยากรณ์อากาศแก่ประชาชน เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก “พยากรณ์อากาศประเทศไทย” จากการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพอากาศแบบครอบคลุมรอบด้าน ทำให้เพจเฟซบุ๊ก “พยากรณ์อากาศประเทศไทย” มีผู้ใช้งานกดติดตามข้อมูลข่าวสารเกือบล้านคน

ดีอีเอส-ดีป้า เปิดฉาก “อาคารแสดงประเทศไทย” อย่างยิ่งใหญ่ ในงาน ‘World Expo 2020 Dubai’ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก “เชื่อมความคิด สร้างอนาคต: Connecting Minds, Creating the Future” มีผู้เข้าร่วมงาน 192 ประเทศ เพื่อแสดงถึงศักยภาพความพร้อมด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั่วโลก พร้อมเปิดให้นานาชาติเข้าร่วมชมเต็มรูปแบบตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป มั่นใจว่าตลอดการจัดงานอาคารแสดงประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในพาวิลเลียนยอดนิยม โดยได้รับเกียรติจาก

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมพิธีเปิดอาคารแสดงประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วย นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะ Commissioner General of Section for Thailand Pavilion นายวราวุธ ภู่อภิญญา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี นายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ นายชัยวัฒน์ ตามไท ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานดูไบ และ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และผู้อำนวยการโครงการ World Expo 2020 Dubai ร่วมงาน

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะ Commissioner General of Section for Thailand Pavilion เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งเป็นมหกรรมใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก สำหรับอาคารแสดงประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “การขับเคลื่อนสู่อนาคต” (Mobility for the Future) นำเสนอนโยบายการขับเคลื่อนประเทศ ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการ ทั้ง 4 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องที่ 1: Thai Mobility ผ่านความงดงามของศิลปะไทย จัดแสดงในรูปแบบ Walkthrough Exhibition ผู้เข้าชมจะได้พบกับความงดงามตระการตาของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง และราชรถจำลอง ให้ความรู้เกี่ยวกับการเดินทางของคนไทยในอดีต ห้องที่ 2: Mobility of Life น้ำขับเคลื่อนชีวิตไทย จัดแสดงในรูปแบบ Aquatic Performance สะท้อนภาพประวัติศาสตร์ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตจากอดีต สู่ปัจจุบัน ห้องที่ 3: Mobility of the Future นำเสนอภาพยนตร์แอนิเมชัน 360 องศา เพื่อแสดงภาพในอนาคตของประเทศไทยที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลผ่านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) พร้อมผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาค และห้องที่ 4: Heart of Mobility นำเสนอภาพยนตร์สั้น โดยใช้เทคนิค Pyramid Motion Picture บอกเล่าเรื่องราวเสน่ห์ของประเทศไทยในหลากหลายมิติ ที่สร้างความประทับใจให้ชาวต่างชาติเดินทางมาเยี่ยมเยือน ทำธุรกิจ หรือใช้ชีวิตในประเทศไทย

โดยยังมีส่วนของร้านอาหารไทย ‘The Taste of Thai’ ให้ผู้เข้าชมงานได้ลิ้มรสความอร่อยของอาหารไทยแท้ และร้านของที่ระลึก ‘Thai Souk’ ที่คัดสรรสินค้าดีมีคุณภาพจากประเทศไทยมาร่วมสร้างความประทับใจ ส่วนบริเวณด้านหน้าอาคารมีเวทีกิจกรรมจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “Thai iconic: ความเป็นไทยสู่สายตานานาชาติ” รวมทั้งยังมีนิทรรศการ และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาหมุนเวียนมาร่วมจัดแสดง ภายใต้แนวคิด The Best of Thailand เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดของประเทศไทย ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ และศักยภาพด้านต่างๆ ของประเทศไทยบนเวทีโลก โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจัดกิจกรรมตลอด 6 เดือนเต็ม รวมถึงยังมีตัวแทนเยาวชนรุ่นใหม่ ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Thailand Pavilion Ambassador จำนวน 25 คน จากผู้สมัครกว่า 500 คนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเป็นเจ้าหน้าที่ประจำนิทรรศการของอาคารแสดงประเทศไทย อีกด้วย 

 

สำหรับอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) เป็นหนึ่งในอาคาร Self-Build Pavilion ตั้งอยู่โซน Mobility ขนาดพื้นที่ 3,606 ตรม. หรือ 2.25 ไร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศไทยเคยเข้าร่วมในงานเวิลด์เอ็กซ์โป โดยการออกแบบนั้น ได้นำเอาเสน่ห์ของคนไทย (Thai Hospitality) มาร้อยเรียงอยู่ ในทุกองค์ประกอบ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าชมตั้งแต่แรกเห็น ด้วยลวดลายการถักทอคล้ายม่านดอกไม้ (ดอกรัก) คล้ายกับพวงมาลัยที่ประดับประดาโดยรอบตัวอาคาร สอดคล้องไปกับสัญลักษณ์ของอาคารแสดงประเทศไทยในครั้งนี้ ที่เลือกใช้ “พวงมาลัย” สำหรับการสื่อสารถึงมิตรภาพ และการต้อนรับที่จริงใจอบอุ่นต่อผู้มาเยือนทุกคนจากคนไทย นอกจากนั้นยังเลือกใช้ “สีทอง” เป็นหลักเพื่อสื่อถึงแผ่นดินสุวรรณภูมิ และยังเป็นสีที่ได้รับความนิยมในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในส่วนของโครงสร้างออกแบบให้มีลักษณะเป็นซุ้มโค้งคล้ายคนประนมมือไหว้ สื่อความหมายถึงเอกลักษณ์งานสถาปัตยกรรมไทยอย่างศาลาหน้าจั่ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายการไหว้ที่งดงามมาเป็นทางเข้าตัวอาคารที่พร้อมเปิดต้อนรับทุกคนจากทั่วโลก ด้วยองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้อาคารแสดงประเทศไทย สามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม และรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ยังมี Mascot มาเป็นสัญลักษณ์นำโชค โดยมีชื่อว่า“รัก”(RAK)และ“มะลิ”(MALI)มาสคอต สองพี่น้องตัวแทนประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทย สร้างจากแรงบันดาลใจ คือ ดอกรักและดอกมะลิ ดอกไม้สำคัญของไทยที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการร้อยพวงมาลัยเพื่อมอบให้ผู้มาเยือนแสดงถึงมิตรไมตรีและการต้อนรับอย่างอบอุ่นจริงใจ อีกด้วย

ร่วมภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นไทย และให้กำลังใจทีมไทยแลนด์ที่ไปสร้างประวัติศาสตร์บนเวทีโลกกับอาคารแสดงประเทศไทยหรือติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่ www.expo2020dubaithailand.com หรือช่องทาง Facebook และ Instagram: expo2020dubaithailand

หวังติดปีกผู้ประกอบการในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ฝ่าวิกฤตโควิด-19 เตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบ

Page 7 of 7
X

Right Click

No right click