December 22, 2024

ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่กับครั้งแรกในประเทศไทย ของงาน LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่จาก LINE ประเทศไทย กับการเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับเมืองไทยโดยเฉพาะ มุ่งสู่การเป็น “Open platform” หรือ แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย นอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาไทย ในการสรรค์สร้างโซลูชั่นใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับ LINE ได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้น

 

ภายในงานเต็มไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะการอัปเดตโร้ดแมปผลิตภัณฑ์ของ LINE ที่หลากหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีการคิดค้นโดยทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตลาดไทยโดยฉพาะมาแล้ว เช่น เครื่องมือ MyCustomer, บริการ LINE SHOPPING และ LINE MELODY เป็นต้น โดยในช่วงปี 2023-2024 LINE มีโร้ดแมปใหม่ๆ มากมาย ที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ในด้าน API & Plug-in ซึ่งมุ่งเน้นเปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้ครอบคลุมและหลากหลาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่นใหม่ตอบโจทย์เฉพาะด้านได้มากขึ้น อาทิ

1. LINE SHOPPING API เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนาไทยที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบสินค้าของร้านค้าบน LINE SHOPPING ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบการขายได้ดียิ่งขึ้น ผ่าน 4 API ได้แก่

· Product API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารข้อมูลสินค้า อัปเดตสินค้าจำนวนมากเข้าสู่หน้ารายการสินค้าได้โดยอัตโนมัติ

· Inventory API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารสต๊อกสินค้า เติมสินค้าเข้าหน้าร้านโดยอัตโนมัติเมื่อสินค้าหมดสต๊อก

· Order API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลออเดอร์ได้ เพื่อเข้าดูข้อมูลออเดอร์โดยละเอียด

· Webhook Order ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการแจ้งเตือน ส่งแจ้งเตือนสถานะการสั่งซื้อไปยังผู้ขายหรือแอดมิน เช่น สั่งซื้อแล้ว, จ่ายเงินแล้ว ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ

โดยในอนาคต LINE มีแผนพัฒนา API ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การทำงานให้นักพัฒนาไทยที่ต้องการจัดการระบบการขายบน LINE SHOPPING ได้ดียิ่งขึ้นอย่าง Chat Invoice API ให้นักพัฒนาสามารถสร้างลิงก์ชำระเงินของสินค้าบน LINE SHOPPING ส่งให้ลูกค้าผ่านช่องทางใดก็ได้ เพื่อกลับมายังหน้าการซื้อขายบน LINE SHOPPING อีกครั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

2. LINE OA Plus Plug-in Store ต่อยอดการพัฒนาจาก LINE OA Store เพื่อเป็นช่องทางให้นักพัฒนาภายนอกองค์กรสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มเครื่องมือภายใต้ LINE OA Plus ไม่ว่าจะเป็น MyShop, MyCustomer และ MyRestaurant โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมนำเสนอให้กับนักการตลาด หรือแบรนด์ที่มองหาโซลูชั่นเฉพาะด้าน

3. New Messaging API เพิ่มประสิทธิภาพ Messaging API เพื่อขยายศักยภาพการพัฒนาโซลูชั่นบนแชท LINE ให้นักพัฒนาไทย ตัวอย่างเช่น

· Audience Created for Step messages เปิดให้นักพัฒนาไทย สามารถนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการใช้งาน Messaging API มาประยุกต์ใช้กับการส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าผ่านฟีเจอร์ Step Messages บน LINE OA ได้

· Quote messages ฟังก์ชั่นใหม่ในการพัฒนาแชทบอท ให้ทั้งผู้ใช้และบอทสามารถส่งข้อความตอบกลับโดยอ้างอิงจากข้อความก่อนหน้าในห้องแชทได้

· Rich Menu Link/Unlink Batch อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาไทย สามารถออกชุดคำสั่งเปลี่ยน Rich Menu แบบ Personalize ใน LINE OA ให้แสดงผลสู่กลุ่มเป้าหมายจำนวนมากขึ้นได้ ด้วยชุดคำสั่งเดียว

· อัปเดตฟังก์ชั่นใหม่ๆ ในการสร้างข้อความรูปแบบ Flex Message เช่น การขยายขนาดของกล่องข้อความให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาสามารถเลือกได้ตามต้องการ และความสามารถในการกำหนดขนาดตัวอักษรและไอคอน ให้แสดงผลตามการตั้งค่าในแอปฯ LINE ของผู้ใช้แต่ละคนได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ LINE ยังได้เปิดตัวบริการใหม่อย่าง LON หรือ LINE Official Notification ข้อความแจ้งเตือนผ่านเบอร์โทรศัพท์ให้ผู้ใช้งานด้วยการแสดงผลผ่าน LINE OA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างแบรนด์หรือองค์กร ไปยังลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและมั่นใจด้านความปลอดภัย ด้วยความหลากหลายของรูปแบบข้อความแจ้งเตือนให้นักพัฒนาได้เลือกใช้ โอกาสของนักพัฒนาไทยในการสร้างโซลูชั่นการแจ้งเตือนรูปแบบใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมลดปัญหาข้อความสแปม

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย จากงาน LCT23 เพื่อการต่อยอดสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ในหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอกย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ LINE ในการเป็นองค์กร

เทคฯ ที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้เหล่านักพัฒนาไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อน เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย ให้เติบโตในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับนักพัฒนาไทย ได้ที่ LINE OA: @linedevth, เฟซบุ๊ก LINE Developers Thailand หรือ LINE Developers Group Thailand

ครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย กับงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ ทิศทาง และกลยุทธ์ก้าวต่อไปในการพัฒนาและดำเนินการด้านเทคโนโลยีใหม่แห่งปี สู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย” เปิดโอกาสเชื่อมต่อเทคโนโลยีอย่างไร้รอยต่อ พร้อมเผยแผนการพัฒนาโซลูชั่นภายใต้ความเข้าใจผู้ใช้ชาวไทย พันธมิตร และนักพัฒนา ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิต (Life Infrastructure) ยุคใหม่

“เปิดโอกาส” สู่อนาคตแห่งนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี Hyper-localized

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย เปิดเผยว่า กว่า 12 ปีที่ LINE ประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน ภายใต้พันธกิจ "Closing the Distance" ผ่านแพลตฟอร์มและบริการที่มีผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคน ตอกย้ำการเป็นโครงสร้างพื้นฐานชีวิตในยุคดิจิทัล (Life Infrastructure) พร้อมผลักดันจุดแข็งแห่งการมีทีมนักพัฒนาประจำประเทศไทย ที่จะเป็นบันไดสู่อนาคตขั้นถัดไปของนวัตกรรมในการขับเคลื่อน Smart Country ด้วยเทคโนโลยี Hyper-Localized เพื่อ “เปิดโอกาส” ให้คนไทยเติบโตในยุคดิจิทัลได้ในหลากหลายมิติอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไม่ทิ้งจุดแข็ง Group Chat เล็งพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการทำงาน

ภายในงาน นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ยังได้เผยถึงบริการพื้นฐานอย่าง ‘แชท’ ที่เป็นจุดแข็งของ LINE ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Group Chat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทย สะท้อนจากสถิติการเติบโตที่สูงขึ้นกว่า 56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และอัตราการส่งข้อความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เสียง และวิดีโอ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก

โดยผลสำรวจจาก LINE ประเทศไทยพบว่า หมวดหมู่ Group Chat ยอดนิยม ได้แก่ กลุ่มเพื่อน 82% ครอบครัว 80% ที่ทำงาน 77% และโรงเรียน 27% สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้และวิธีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้กว่า 77% ระบุว่ากลุ่มแชทครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน Group Chat ยังสามารถช่วยให้

กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดสังคมการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าในอดีต นำมาสู่ความมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ Work Group สำหรับคนไทย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน การใช้ชีวิต และครอบครัวไปด้วยกัน

 

นอกจากนี้ นายนรสิทธิ์ ยังได้เผยถึงแผนเปิดตัว LINE STICKERS PREMIUM บริการสติกเกอร์จ่ายรายเดือน/รายปี สำหรับคนไทย อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเลือกใช้งานชุดสติกเกอร์ได้หลากหลายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในทิศทางการพัฒนาจุดแข็งของแพลตฟอร์ม LINE ด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เปิดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปีครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย

นายวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (CPO) กล่าวว่า LINE ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะองค์กรเทคฯ เพื่อคนไทย โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิด” ที่พร้อมเปิดรับการเชื่อมต่อกับหลากหลายเทคโนโลยีนำสมัย นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้งในด้านผู้ใช้งาน ธุรกิจ และพันธมิตร โดยอาศัยแนวคิดตั้งต้นจากทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสำหรับตลาดไทยโดยเฉพาะ ผ่าน 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1. Extensive Plug-Ins เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชั่นอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชั่นที่คิดค้นเพิ่มเติมโดย LINE เอง และระบบที่พาร์ทเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น

2. Data Utilization ส่งเสริมให้พันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ นำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างแท้จริง

3. Performance Marketing เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งขึ้น สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ของ LINE ได้อย่างยั่งยืน

4. Privacy Focused คงไว้ซึ่งการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด

ปู 3 โร้ดแมป ยกระดับเทคโนโลยี

1. Customer Data Tools เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค โดยให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ภายใต้ขอบเขตการยินยอมจากผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) และในอนาคต สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะ

2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE ให้สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และการเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

3. API & Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชั่นสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการ

 

การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของหัวเว่ยเสมอมา

ในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ชั้นนำในประเทศไทย หัวเว่ยได้นำแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับโลกมาช่วยให้องค์กรทุกขนาดในทุกภาคอุตสาหกรรมของไทย ประยุกต์ใช้เพื่อขยายศักยภาพธุรกิจไปสู่การเป็นผู้เล่นชั้นนำทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับโลก ด้วยการให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ มีประสิทธิภาพการใช้งานในระดับสูงจากการมีศูนย์ข้อมูลในประเทศ และยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมสนับสนุนลูกค้าในทุกด้าน ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 นี้ คุณเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศถึงความพร้อมที่จะรุกขยายฐานการให้บริการคลาวด์ในไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้แก่ลูกค้าไทยจำนวนมากยิ่งกว่าเดิม ตามเจตจำนงของหัวเว่ยที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” และให้ความสำคัญกับธุรกิจท้องถิ่นทุกขนาดในประเทศเพื่อการมุ่งสู่ยุคดิจิทัล

นาย เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์อย่างสมบูรณ์แบบ ว่า “เพื่อการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศให้แข็งแกร่ง และเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐของไทยจะยืนหยัดสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง หัวเว่ยได้ลงทุนในกลุ่มธุรกิจคลาวด์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยเปิดตัวศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการคลาวด์ (Availability Zone) ในประเทศไทยโดยเฉพาะ เป็นแห่งที่สามในกรุงเทพฯ ตอกย้ำจุดยืนผู้นำด้านการเป็น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลของตนเองในไทย และเป็นรายเดียวที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ”

นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยยังลงทุนด้านการสร้างบุคลากรดิจิทัลสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ในไทยอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จัดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' สำหรับสตาร์ทอัพในประเทศไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดไอเดียของตนจนสร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลก โดยทีมผู้เข้าแข่งขันได้ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมไปถึงคลาวด์ของหัวเว่ยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัด HUAWEI CLOUD Developer Contest Thailand การแข่งขันนักพัฒนาเทคโนโลยีบนคลาวด์อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 – 2564 เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีไทยในทุกระดับ รวมถึงการจัดโครงการ Huawei Developer Competition 2022 เพื่อให้เหล่านักพัฒนาในไทยและจาก 5 ภูมิภาคทั่วโลกสร้างโซลูชันด้วยเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ที่แข็งแกร่ง จนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยให้เติบโตกว่า 1,700 รายด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ และยังให้บริการคลาวด์ที่มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแก่องค์กรในประเทศไทยกว่า 1,200 แห่ง รวมทั้งสนับสนุนพันธมิตรในประเทศมากกว่า 300 ราย ใน 15 ภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ หัวเว่ยคลาวด์ยังปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายไทย เพื่อการปกป้องข้อมูลของลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด

ในปี พ.ศ. 2566 นี้ หัวเว่ยตั้งเป้าจะสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านคลาวด์ในประเทศไทย 20,000 รายเข้าสู่ตลาด รวมถึงจะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลาวด์, AI และ 5G ผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำ สมาคมและองค์กรต่าง ๆ มาช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเสริมสร้างระบบนิเวศคลาวด์ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผ่านกลยุทธ์ "Cloud First" และ “Everything as a Service” ด้วยการให้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียมให้กับทุกกลุ่มธุรกิจรวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพ ขนานไปกับการสร้าง “นักพัฒนาด้านคลาวด์” ผ่านการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะและสร้างประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งในด้านคลาวด์ การบริหารจัดการเก็บข้อมูล (Storage), Big Data, AI และทักษะดิจิทัลต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล โดยหัวเว่ยตั้งเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาในประเทศไทยกว่า 50,000 คน ให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' ในปีนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วประเทศ ผ่านการเชิญเข้าร่วมโครงการ และจะนำความชำนาญทางเทคโนโลยีมาเสริมความรู้ ทักษะ และสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยการให้คำแนะนำในการวางกลยุทธ์สู่ตลาดแบบตรงเป้าหมาย นำไปสู่การขยายตลาดและสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้ในที่สุด

จากความมุ่งมั่นและเป้าหมายในการให้บริการคลาวด์เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที รวมถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรในระดับท้องถิ่นของไทยให้มีปริมาณที่เพียงพอ และมีความสามารถทัดเทียมกับตลาดแรงงานในระดับภูมิภาค หัวเว่ยมั่นใจว่าจะสามารถสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ในประเทศไทยอย่างแข็งแกร่ง ช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็น “ประเทศไทยอัจฉริยะ” ที่เชื่อมถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

X

Right Click

No right click