×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

เซินเจิ้นจีน, 11 กุมภาพันธ์ 2563 – บริษัทหัวเว่ยประกาศว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องบริษัทเวอไรซอน (Verizon) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ที่ศาลแขวงแห่งสหรัฐอเมริกาประจำแขวงตะวันออกและตะวันตกรัฐเทกซัส โดยหัวเว่ยเรียกร้องเงินชดเชยกรณีที่เวอไรซอนใช้เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรของหัวเว่ยในสหรัฐอเมริกา 12 รายการ

ดร. ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย ระบุว่า “ผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีจดสิทธิบัตร ซึ่งเป็นผลงานที่หัวเว่ยใช้เวลาหลายปีทุ่มเทวิจัยและพัฒนา"

ในฐานะผู้ให้บริการสมาร์ทดีไวซ์และอุปกรณ์การสื่อสารชั้นนำ หัวเว่ยลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยงบประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ต่อปี ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัททุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาไปมากกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.18 ล้านล้านบาท) ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 80,000 รายการทั่วโลก และในจำนวนนี้มีสิทธิบัตรที่ยื่นจดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมากถึง 10,000 รายการ นวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ยแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทว่ายังถูกนำไปใช้งานโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก สร้างมูลค่าทั้งในสหรัฐฯ และในที่ต่างๆ มากมาย

ก่อนจะยื่นฟ้องในรัฐเทกซัส หัวเว่ยเคยเจรจากับเวอไรซอนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลานั้น หัวเว่ยได้แจ้งรายละเอียดของสิทธิบัตรและหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ระบุว่าเวอไรซอนใช้สิทธิบัตรของหัวเว่ยแล้ว แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้

“เราลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาไปอย่างมหาศาลก็เพราะว่าเราต้องการจะมอบโซลูชันด้านโทรคมนาคมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับลูกค้าของเรา เราแบ่งปันนวัตกรรมเหล่านี้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในวงกว้างผ่านสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดร.ซ่ง กล่าว

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน เราประสบความสำเร็จในการเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทหลายแห่ง แต่เมื่อไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการชดใช้ตามกฎหมาย”

“นี่เป็นวิถีปฏิบัติทั่วไปของแวดวงอุตสาหกรรมนี้ หัวเว่ยเพียงขอให้เวอไรซอนเคารพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย โดยจะชำระเป็นค่าใช้งานสิทธิบัตรของเราก็ได้ หรือจะเลิกใช้สิ่งที่เป็นสิทธิบัตรของเราในผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนก็ย่อมได้”

หัวเว่ยเคารพและปกป้องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการแบ่งปันเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านสัญญาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยน (cross-license) หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบชำระเงิน (paid license agreements) ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา หัวเว่ยมีส่วนร่วมกับการเจรจาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางกับผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่หลายรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ค้ารายใหญ่ในแวดวงไอซีทีมาแล้วมากกว่า 100 ฉบับ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา หัวเว่ยได้รับค่าธรรมเนียมสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเป็นมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 43,736 ล้านบาท) และในปัจจุบัน หัวเว่ยยังคงชำระเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 187,440 ล้านบาท) เพื่อใช้เทคโนโลยีที่ถือสิทธิบัตรโดยบริษัทร่วมแวดวงอุตสาหกรรมอย่างถูกกฎหมาย โดยร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรดังกล่าวถูกจ่ายให้กับบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

นวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือเสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ย ในปี 2018 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยพุ่งแตะ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 468,600 ล้านบาท) เกือบเทียบได้กับ ร้อยละ 15 ของรายได้ต่อปีของบริษัท ชื่อหัวเว่ยจึงขึ้นมาเป็นอันดับที่ ของกระดานคะแนนอุตสาหกรรมและ    การลงทุนแห่งสหภาพยุโรป ปี 2019 (2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard) ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เดินหน้าแบ่งปันความสำเร็จชั้นนำทางด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยกับ  แวดวงอุตสาหกรรมและสังคมในภาพรวม ซึ่งรวมทั้งบริษัทและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เพราะการแบ่งปันนวัตกรรมออกสู่วงกว้างนั้นยิ่งผลักดันทั้งอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

มร. เคน หู รองประธานบริหาร หัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวถึง สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ในงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 10 ซึ่งเปิดฉากขึ้น ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวานนี้ (15 ตุลาคม 2562) นอกจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่มีต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่ได้ริเริ่มการใช้โครงข่าย 5G กันแล้ว มร. เคน หู ยังกล่าวถึงความสำคัญของนโยบายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเอื้อต่อการเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ในขั้นต่อไป

“เราได้ขับเคลื่อนจนเกิดความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ได้สูงสุด เราต้องร่วมมือกันเพื่อพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ แหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เร็วกว่า 4G แต่จะมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องมีวิธีคิดที่สดใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต” มร. เคน หู กล่าว

ทั่วโลกเดินหน้า 5G เต็มกำลัง

เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจน ได้เกิดการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G อย่างมาก ผู้ให้บริการเครือข่ายในกว่า 20 ประเทศ ได้เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมกว่า 40 เครือข่าย ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60 ราย

5G เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสความเร็วสูงสุด โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านรายสมัครใช้งานเครือข่าย 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศ ภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงหกเดือน อัตราการเติบโตดังกล่าวมีผลมาจากบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AR/VR ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยภาพคมชัดระดับเอชดีแบบ 360º บริการทั้ง 3 รูปแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน 5G กลุ่มแรกเริ่มใช้ปริมาณดาต้าเพิ่มขึ้นถึง 1.3 กิ๊กกะไบท์ต่อเดือน

 

นอกจากปริมาณการใช้ดาต้าที่เติบโตเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น LG U+ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้เปิดตัวบริการด้าน VR/AR ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจดาต้า 5Gแบบพรีเมียม และในช่วงเวลาเพียงสามเดือนหลังการเปิดให้บริการ 5G สัดส่วนผู้ใช้งานแพ็กเกจดาต้าแบบพรีเมียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 3.1% เป็น 5.3%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ๆ จากการเริ่มใช้งาน 5G ในระดับอุตสาหกรรม โดย มร. เคน หู กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่น 5G เพื่อช่วยยกระดับทั้งด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ด้านบันเทิง และด้านการผลิต ซึ่งได้เริ่มใช้งานกันไปบ้างแล้ว แม้เรายังบอกไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด ในอนาคต แต่ขณะนี้เราได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าทุกอุตสาหกรรมต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G”

 นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคลื่นความถี่และไซท์กระจายสัญญาณ

มร. เคน หู ให้ข้อสังเกตว่า แหล่งจ่ายและต้นทุนของคลื่นความถี่เป็นสองความท้าทายหลักที่เรากำลังเผชิญ “เราหวังว่าภาครัฐจะสามารถจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มากขึ้นและพิจารณารูปแบบการตั้งราคาที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เพราะจะช่วยลดภาระรายจ่ายลงทุนเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้”

นอกจากนี้ มร. เคน หู ยังเสนอแนะให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มวางแผนที่จะตอบรับความต้องการในคลื่นความถี่ใหม่ให้ครอบคลุมภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ พร้อมชี้ว่า คลื่นความถี่ในช่วง 6GHz เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

“อุตสาหกรรมของเราต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรของไซท์สัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนยังสูงอยู่มาก ในขณะที่ไซท์สัญญาณไม่เพียงพอกับความต้องการเสมอ หน่วยงานกำกับดูแลควรริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปิดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในรูปแบบของการแบ่งปัน รวมถึงออกแนวทางสำหรับการก่อสร้างไซท์สัญญาณ” มร. เคน หู กล่าวต่อ

 มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองตัวอย่างที่รัฐบาลได้สร้างเสาไฟฟ้าอเนกประสงค์มาตรฐานใหม่ ภายในปี 2020 เซี่ยงไฮ้จะติดตั้งเสาไฟฟ้ารูปแบบใหม่นี้ตลอดระยะทาง 500 กิโลเมตรของถนนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแหล่งจ่ายสัญญาณ 5G อีก 30,000 แห่ง คิดเป็น 75% ของสถานีกระจายสัญญาณไร้สายทั่วเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนในยุโรป กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง เพื่อกำหนดความต้องการและระบุข้อบังคับในการใช้แหล่งจ่าย 5G และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะร่วมกัน (เช่น ไฟจราจร ป้ายจราจร และป้ายรถเมล์) เพื่อลดต้นทุนให้ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้

ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

มร. เคน หู กล่าวปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เรายังมีความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองก์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง กรณีศึกษาตัวอย่าง และการพัฒนาให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมแรงกัน ด้วยการเปิดใจ ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงและค้นหาว่าอะไรที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ศักยภาพของ 5G ได้สูงสุด”

ในการส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น หัวเว่ยได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 5G สำหรับยุโรปเป็นแห่งแรกในเมืองซูริค ศูนย์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและซันไรส์ ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถทำงานร่วมกันและพัฒนาโซลูชั่น 5G เฉพาะทางสำหรับภาคอุตสาหกรรม

“เห็นได้ชัดว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ” มร. เคน หู กล่าวสรุป

สำหรับงาน Global Mobile Broadband Forum ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากผู้ให้บริการเครือข่าย อุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ หน่วยงานวิเคราะห์การตลาด และสื่อมวลชน โดยมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โซลูชั่นเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้ 5G ในระดับผู้บริโภค ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการคลาวด์ AR/VR ผ่าน 5G การถ่ายทอดสัญญาณภาพบนความละเอียด 8K การเล่นเกมผ่านคลาวด์ แมชชีนวิชั่น และโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการควบคุมทางไกล

ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมพยายามพัฒนาข้อจำกัดของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในด้านขีดความสามารถ การเชื่อมต่อ รูปแบบธุรกิจ ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้

พฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟนของคนไทย มีแนวโน้มให้ความนิยมเลือกสินค้าที่มีฟีเจอร์ตอบโจทย์การใช้งานได้ เป็นที่มาของการเปิดตัว หัวเว่ย  Y9 2018  สมาร์ทโฟนระดับแมส ในราคา 6,990 บาทด้วยจุดเด่น 4 กล้อง และสเปกจัดเต็ม พร้อมด้วยภาพลักษณ์การเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนชั้นนำที่คุ้มราคาที่สุด เจาะกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัล ดึงคาแร็กเตอร์จากเพจดังบนโลกโซเชียลสร้างการตลาดรูปแบบใหม่

ทศพร นิษฐานนท์ รองผู้อำนวยการ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างหวือหวาเหมือนในช่วง 3 ปีที่แล้ว

แต่แนวโน้มการเลือกใช้สมาร์ทโฟนของคนไทยโดยเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนในกลุ่มราคา 3,000-7,000 บาท ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กลุ่มสมาร์ทโฟนในระดับราคาต่ำกว่า 3,000 บาท มีขนาดหดตัวลง

สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่พร้อมจับจ่ายในราคาที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ฟังก์ชั่นที่ล้ำหน้าและตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น ซึ่งหัวเว่ยมองเห็นโอกาสของตลาดในระดับราคาดังกล่าว เราจึงเติมเต็มความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้โดยเปิดตัว ‘HUAWEI Y9 2018’ สมาร์ทโฟน 4 กล้องรุ่นใหม่ สเปคครบครัน เทียบเท่าสมาร์ทโฟนระดับกลาง-บนด้วยราคาสุดคุ้มเพียง 6,990 บาท ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดขายสำคัญของแบรนด์หัวเว่ยที่ถือเป็นแบรนด์ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าในราคาที่จับต้องได้

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบสัดส่วนสมาร์ทโฟนกลุ่มราคาประหยัด ที่จับต้องได้ ในระดับต่ำกว่า 7,000 บาท  พบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มของสมาร์ทโฟนระดับราคาต่ำกว่า 3,000 บาทจากปี 2016 มีสัดส่วนที่ 47% ลดลงมาเหลือ 33% ในปี 2017 ซึ่งถือว่าลดลงกว่า 29%

 

 

ขณะที่ช่วงระดับราคา 3,000 - 5,000 บาท ปี 2016 อยู่ที่ 43%  มีอัตราการเติบโตขึ้น 24% ในปี 2017 มาอยู่ที่ 52% ส่วนในช่วงระดับราคา 5,000 - 7,000 บาท แม้ว่าจะมีสัดส่วนน้อยในกลุ่มนี้ แต่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงจากปี 2016 อยู่ที่ 11% เพิ่มขึ้น 35% มาอยู่ที่ 14%

ในส่วนของตลาดรวมสมาร์ทโฟนในปีนี้คาดว่าจะเติบโตในระดับซิงเกิลดิจิต จากปีที่ผ่านมาที่มียอดขายต่อเดือนราว 1.2-1.3 ล้านเครื่อง แต่จะไปเติบโตในส่วนของมูลค่าแทน ส่วนระยะเวลาเปลี่ยนเครื่องของผู้ใช้แอนดรอยด์ปัจจุบันอยู่ที่ราว 13 เดือน

สำหรับเป้าหมายของหัวเว่ย ที่วางไว้ จะขึ้นเป็นผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2020 ซึ่งนอกจากแข่งขันในสินค้าที่ตอบโจทย์เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดแล้ว  ในปีนี้ จะเน้นในส่วนของการให้บริการลูกค้าที่จะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ด้วยเช่นกัน

ชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของ HUAWEI Y9 2018 คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ช่วงอายุอยู่ในวัยเรียนหรือเพิ่งเริ่มทำงาน หรือเรียกได้ว่าเป็น Digital Natives คือกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง ซึ่งมีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อหลักในชีวิตประจำวัน ทั้งเพื่อเปิดรับข้อมูลข่าวสารหรือเพื่อกิจกรรมความบันเทิงต่างๆ

ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงได้สร้างสรรค์กิจกรรมการตลาดที่แปลกใหม่และคิดนอกกรอบจากการสื่อสารการตลาดรูปแบบเดิม โดยการใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นคาแร็กเตอร์จากเพจดังบนโลกโซเชียล อย่าง ‘JayTheRabbit’ และ ‘คนอะไรเป็นแฟนหมี’ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นคาแร็กเตอร์ครั้งแรกของแบรนด์สมาร์ทโฟน โดยเหตุผลที่เลือกคาแร็กเตอร์จาก 2 เพจนี้มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เนื่องจากรูปแบบของการสร้างสรรค์คอนเทนต์บนเพจเป็นการเล่าเรื่องสนุกๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเข้าถึงคนไทยส่วนใหญ่ทั้งกลุ่มที่เป็นคนโสด (JayTheRabbit) และกลุ่มคนที่มีคู่ (คนอะไรเป็นแฟนหมี) ที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเพจและผู้ติดตามได้เป็นอย่างดี โดยเราเชื่อว่ากลยุทธ์

“ การสื่อสารการตลาดในรูปแบบนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพของ HUAWEI Y9 2018 ที่เป็นสมาร์ทโฟนที่อัดแน่นด้วยสเปกครบครันในราคาที่เข้าถึงง่ายที่สุด ”

 

X

Right Click

No right click