บริติช เคานซิล ขอเชิญบุคลากรทางการศึกษา ร่วมพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษ ในงานประชุมวิชาการออนไลน์ ASEAN Teaching English Online Conference 2024 ระหว่างวันที่ 10 - 30 ตุลาคม 2567 โอกาสพิเศษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษและบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ในการพัฒนาทักษะการสอนและเรียนรู้ที่จะเข้าใจในตัวนักเรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พร้อมรับความรู้เชิงลึกและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ELT)
งานนี้เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรชั้นนำจากทั่วภูมิภาคอาเซียนและผู้เชี่ยวชาญด้าน ELT ระดับนานาชาติ พร้อมเลือกเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์แบบอินเทอร์แอคทีฟได้มากกว่า 16 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รับเคล็ดลับที่นำไปใช้ได้จริง อีกทั้งยังได้อัปเดตเทรนด์ล่าสุดของ ELT และรับฟังมุมมองอันทรงคุณค่าจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการทำความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
มร.แดนนี่ ไวท์เฮด ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า “ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาตนเองและส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงแนวคิด วัฒนธรรม และความรู้จากทั่วโลกอีกด้วย งานประชุม ASEAN TeachingEnglish Online Conference นี้ ถือเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงคุณครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยให้ได้พบกับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากอาเซียนและสหราชอาณาจักร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าไปในวิธีการสอน รวมถึงสื่อการสอน แหล่งข้อมูลต่างๆ และเครือข่าย TeachingEnglish ของบริติช เคานซิล ที่รวบรวมคุณครูภาษาอังกฤษจากทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนในประเทศไทยได้รับการศึกษาภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด”
การประชุมปีนี้จัดขึ้นธีม Understanding Our Learners โดยวิทยากรจะเจาะลึกถึงประเด็นสำคัญ อาทิ แรงจูงใจ พฤติกรรม และทักษะการปรับตัวของผู้เรียน พร้อมแบ่งปันกลยุทธ์ในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงบวก รวมถึงเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา และอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษา ผ่านหัวข้อเกี่ยวกับ AI และ EdTech เสริมความรู้ความเข้าใจในด้านสำคัญๆ ของการสอนภาษาอังกฤษอย่างรอบด้าน โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจะมาแบ่งปันเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนผู้เรียน ยกระดับการมีส่วนร่วม และผลสำเร็จในการเรียนรู้ ผ่านแนวทางปฏิบัติแบบครอบคลุมพร้อมเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และค้นพบแนวทางในการทำความเข้าใจผู้เรียนจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ELT ที่ได้รับรางวัล
สำหรับไฮไลต์ของการประชุมในปีนี้ คือเสวนาพิเศษในหัวข้อ “All Ears for Change: Transformative Practices in Exploratory Action Research (EAR)” ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้รู้จักกับแนวคิดหลักโครงการพัฒนาทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน หรือ Exploratory Action Research (EAR) และการนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา รับฟังเรื่องราวความสำเร็จจากชีวิตจริง และเรียนรู้วิธีการในการริเริ่มวางแผนทำโครงการ EAR ให้เหมาะสมกับรูปแบบและสไตล์การสอนของตนเอง ตลอดจนกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการนำแนวปฏิบัติใหม่ ๆ นี้ไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง โดยมีผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยซึ่งเคยเข้าร่วมโครงการ EAR มาก่อน ได้แก่ จิตติมา ดวงมณี คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา, พัชรินทร์ กรรณา คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย, ธัญญาศิริ สิทธิรักษ์ คุณครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี และดำเกิง มุ่งธัญญา คุณครูสอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมจากกรุงเทพฯ
สำหรับงานประชุมเมื่อปีที่แล้วมีครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 15,000 คน จาก ทั่วภูมิภาคอาเซียน รวมถึงครูไทยกว่า 700 คน โดยผู้ร่วมงานทุกคนได้รับฟังมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับ นวัตกรรมการสอนภาษา การพัฒนาหลักสูตร การส่งเสริมบทบาทของครู การสร้างสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงประเด็นสำคัญอย่างความแตกต่าง ความเท่าเทียม และความมีส่วนร่วม (EDI) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคาร เอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
”ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค
ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว
นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย
นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”
“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”
“รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 2 จากขวา),
นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 3 จากขวา), นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ (ที่ 1 จากขวา) และนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา)
ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย
AirAsia MOVE (ชื่อเดิมคือ AirAsia Superapp) ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำในเครือ Capital A Berhad ก้าวสู่ความเป็นผู้นำแพลตฟอร์มให้บริการด้านการท่องเที่ยวครบวงจร (OTA) พร้อมเดินหน้ายกระดับการเดินทางทั่วอาเซียนให้สะดวกสบายเดินทางหากันได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย ‘Asean Explorer Pass’ แพ็กเกจใหม่ที่ไม่เหมือนใคร
Asean Explorer Pass หรือแพ็กบินฟินตะลุยอาเซียน ได้ประกาศเปิดตัวแล้วอย่างเป็นทางการ โดยนายยัง เบอร์ฮอร์มัด ดาโต๊ะ ซรี เตียง คิง ซิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมมาเลเซีย และดำรงตำแหน่งเป็น [ประธาน/รองประธาน] รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน นายตัน ซรี นัซรี ราซัค ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ประเทศมาเลเซีย และนายโทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ (Capital A) และ MOVE Digital รวมถึงมีนางนาเดีย โอมาร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AirAsia MOVE เข้าร่วมด้วย
Asean Explorer Pass แพ็กบินฟินตะลุยอาเซียน เป็นการสมัครสมาชิกแบบรายปี ซึ่งมีอายุ 1 ปีนับจากวันที่ซื้อ ซึ่งจะปลดล็อกการเดินทางระหว่างประเทศภายในภูมิภาคอาเซียน และเส้นทางภายในประเทศสำหรับผู้โดยสารต่างชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอาเซียน ให้คุณได้เพลิดเพลินกับการแลกรับสิทธิ์ที่นั่งบนเที่ยวบินในภูมิภาคอาเซียน* (เที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ**) ที่ให้บริการโดยสายการบินแอร์เอเชีย พร้อมรับส่วนลดพิเศษสำหรับการจองโรงแรม และสัมผัสกับความสะดวกสบาย ที่ประหยัดกว่าด้วยส่วนลดพิเศษสำหรับบริการเรียกรถรับส่ง AirAsia Ride ตลอด 1 ปีเต็ม นับจากวันที่สมัครสมาชิก
เปิดให้จองแพ็กเกจได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 บนแอป AirAsia MOVE พร้อมรับข้อเสนอพิเศษเพียง 8,640 บาท/ปี หรือผ่อน เพียง 864 บาท ต่อเดือนเท่านั้น สามารถผ่อนชำระ 0% ได้สูงสุด 10 เดือน เมื่อชำระผ่านบัตร
เครดิตที่ร่วมรายการ คุ้มสุดๆ หลังจากวันที่ 30 เมษายน 2567 แพ็กบินฟินตะลุยอาเซียนจะจำหน่ายในราคา 9,599 บาท หรือผ่อนจ่าย 959.9 บาทต่อเดือน
นายโทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ (Capital A) และ MOVE Digital กล่าวว่า “กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจด้านการบินของแคปปิตอล เอ หรือสายการบินแอร์เอเชีย ได้เดินหน้าเชื่อมโยงการเดินทางทั่วอาเซียนให้เข้าถึงได้ในราคาประหยัด โดยเฉพาะการเดินทางจากเมืองรองและเมืองเล็ก AirAsia MOVE ในฐานะผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์แบบครบวงจร พร้อมต่อยอดการเดินทางในอาเซียน ด้วยการมอบประสบการณ์การเดินทางที่ราบรื่นและตอบโจทย์ทุกความต้องการของนักเดินทางได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสในแพลตฟอร์มเดียว
วันนี้ เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวแพ็กเกจใหม่ที่ไม่เหมือนใครอย่าง Asean Explorer Pass แพ็กบินฟินตะลุยอาเซียนให้นักเดินทางจากทั่วทุกภูมิภาคได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางในอาเซียน โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวอันน่าตื่นตาที่ยังมีน้อยคนรู้จัก นอกเหนือจากเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอย่างบาหลี กรุงเทพ ภูเก็ต และเมืองหลักอื่นๆ เราเชื่อว่ายังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากที่รอให้คุณได้ไปสัมผัสด้วย Asean Explorer Pass แพ็กบินฟินตะลุยอาเซียนนี้
ในเดือนธันวาคม 2565 มีผู้ใช้บริการแพ็กเกจบินสนั่นรายปีแลกที่นั่งสุดคุ้มในภูมิภาคกว่า 80,000 ที่นั่ง เป็นการตอกย้ำความต้องการท่องเที่ยวในอาเซียน ซึ่งยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม และยังเป็นศูนย์กลางในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แคปปิตอล เอ (Capital A) มองเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงการเดินทางและบริการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบิน การจองโรงแรม และบริการรถรับส่ง ให้สามารถเดินทางได้อย่างง่ายดาย เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่บริการของ AirAsia MOVE จะช่วยให้นักเดินทางได้สัมผัสกับความงดงามที่หลากหลายในภูมิภาคของเรา”
นัซรี ราซัค ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ประเทศมาเลเซียกล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ผมขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับความสำเร็จของ AirAsia และ AirAsia MOVE ในครั้งนี้ การเปิดตัวแพ็กเกจใหม่อย่าง Asean Explorer Pass แพ็กบินฟินตะลุยอาเซียน เป็นเครื่องยืนยันถึงจุดมุ่งหมายร่วมกันของเราในการเชื่อมต่ออาเซียนให้ไร้พรมแดน ด้วยการเชื่อมต่อผ่านเที่ยวบินและการสนับสนุนความหลากหลายของภูมิภาคซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา ในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าอาเซียนกว่า 100 ล้านคน คิดเป็น 70% ของตัวเลขในช่วงก่อนโควิด เราเชื่อมั่นว่าความพยายามของ AirAsia MOVE จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของอาเซียนเติบโตยิ่งขึ้นจากรายได้การท่องเที่ยวอย่างแน่นอน”
ผู้ที่ซื้อตั๋วบินอินเตอร์จุใจทั่วอาเซียนรายปี Asean International Pass เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจะได้รับการอัพเกรด และขยายเวลาการแลกสิทธิ์เที่ยวบินจนถึง 6 พฤษภาคม 2567 และสามารถเดินทางได้จนถึง 20 พฤษภาคม 2568 โดยผู้ที่ถือตั๋วบินรายปีในขณะนี้จะสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป สำหรับผู้ถือตั๋วบินรายปีที่ต้องการแลกสิทธิ์เที่ยวบินปลายทางภายในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศของตนเอง (ขึ้นอยู่กับสัญชาติในหนังสือเดินทาง) จะต้องเสียค่าธรรมเนียม SST เมื่อแปลงเป็น 'Asean Explorer Pass' อ่านคำถามที่พบบ่อยที่นี่เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ AirAsia MOVE ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ ให้คุณสามารถจองเที่ยวบินจากสายการบินโลว์คอสต์ที่ดีที่สุดในโลกอย่างสายการบินแอร์เอเชียและสามารถจองเที่ยวบินจากอีกกว่า 700 สายการบินพันธมิตร พร้อมตัวเลือกโรงแรมกว่า 900,000 แห่งทั่วโลก และความสะดวกสบายด้วยบริการจองรถรับส่ง เปิดประสบการณ์ร้านอาหาร ซื้อบริการประกันภัย และบริการอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมรับสิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ไม่เหมือนใครจาก MOVE Rewards ครบจบในที่เดียว ยืนยันความเป็นแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวครบวงจรของ AirAsia MOVE ด้วยรางวัล 'Leading Online Travel Agency in Asia for 2023 หรือรางวัลผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชั้นนำของปี 2566' จาก World Travel Awards ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการเสนอชื่อ
AirAsia MOVE พร้อมมอบบริการการเดินทางและบริการทางการเงินที่ราบรื่นผ่าน BigPay แพลตฟอร์มการชำระเงินในเครือ Capital A Berhad ที่จะช่วยให้นักเดินทางสามารถใช้จ่ายได้อย่างไม่มีสะดุด พร้อมยกระดับการเดินทางให้สะดวกสบายยิ่งกว่าที่เคยโดยทำให้การจัดการการเงินขณะเดินทางง่ายขึ้น ขจัดความยุ่งยากในการพกพาสกุลเงินจริง หรือจัดการกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงเกินไป สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวและการเดินทางที่ราบรื่น ดาวน์โหลดแอป AirAsia MOVE ของคุณจาก Apple App Store, Google Play Store และ Huawei App Gallery.
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป – ประเทศไทย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจงานแสดงสินค้าและความสำเร็จของบริษัทฯ ในปี 2566 ว่า ปีนี้นับเป็นการฟื้นตัวของธุรกิจงานแสดงสินค้าหลังสถานการณ์โควิดอย่างแท้จริง การกลับมาจัดงานได้อย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้การดำเนินงานของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นรายได้รวมของบริษัทฯ ที่สูงถึง 1,300 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 900 ล้านบาท และดีกว่าปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 880 ล้านบาท
ผลสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการปรับตัว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรและธุรกิจตลอดเวลา แม้ในช่วงวิกฤตโควิดที่ไม่สามารถจัดงานได้เต็มรูปแบบ เราก็ไม่ได้มีการหยุดนิ่ง เราแทงสวนและสู้ตายกับการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ทั้งการพัฒนาธุรกิจ การทำงานเชิงลึกด้านข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ ร่วมกับบริษัทแม่ที่เป็นเบอร์หนึ่งผู้จัดงานแสดงสินค้าโลก เพื่อสร้างงานที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและเป็นงานที่จับใจคน รวมทั้งเพิ่มจำนวนงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้เกิด 7 งานใหม่ รวมกับ 6 งานเดิม เป็น 13 งานในปี 2566 พร้อมทั้งเร่งพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมและดึงคนที่มีความสามารถมาทำงานร่วมกับเรา จากปัจจัยและการเตรียมการดังกล่าวทำให้นอกจากจะส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ยังทำให้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ขึ้นแท่นเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนทั้งจำนวนโชว์และรายได้
เป้าหมายในปีนี้เราจะไม่ยึดติดกับการแข่งขันด้านอันดับเพียงอย่างเดียว สิ่งที่เราพยายามทำ คือ การผลักดันให้ทุกโชว์ของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ก้าวขึ้นเป็นโชว์ระดับภูมิภาค เป็นงานที่ทุกคนในอุตสาหกรรมที่ต้องการดำเนินธุรกิจกับคนในภูมิภาคนี้ต้องเข้าร่วม จำนวนงานแสดงสินค้าของอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทยในปี 2567 จะมีทั้งหมด 15 งาน ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ โดยมีงานที่เราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ Intermach, ProPak Asia, ASEAN Sustainable Energy, Thai Water Expo, CPHI, Food & Hospitality Thailand ฯลฯ และการร่วมมือกับบริษัทในเครือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในหลายประเทศมาจัดงานแบบร่วมทุน (Joint Venture) โดยนำงานแสดงสินค้าที่ประสบความสำเร็จ อาทิ งาน Jewellery & Gem Asean Bangkok, Cosmoprof CBE Asean Bangkok, APLF ASEAN และ Vitafoods Asia มาจัดขึ้นที่ประเทศไทยนอกจากนั้น ยังมีการจับมือกับพันธมิตรรายใหม่และคู่แข่งการจัดงานจากต่างประเทศ ร่วมกันจัดงานใหม่ในปีนี้เพิ่มอีก 3 งาน คือ Plastics & Rubber Thailand, Medlab Asia และ Tyrexpo
การเพิ่มขึ้นของจำนวนโชว์และการผลักดันการจัดงานให้เป็นงานสำคัญของภูมิภาค ส่งผลบวกต่อประเทศไทยทั้งในภาคอุตสาหกรรม การลงทุนและการท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งผู้ร่วมจัดแสดงงานและผู้
เยี่ยมชมงานเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีกำลังซื้อสูง โดยจำนวนผู้เข้าร่วมงานที่จัดขึ้นโดย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยรวมกันปีละประมาณ 20% สร้างมูลค่าการเจรจาการค้าและธุรกิจทั้งในการจัดงานและหลังการจัดงานปีละหลายหมื่นล้านบาท และยังส่งผลให้เกิดการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจอีกจำนวนมาก
ส่วนเป้ารายได้ในปี 2567 นั้น คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,180 ล้าน เนื่องจากบางงานมีการจัด 2 ปีต่อครั้ง และปี 2568 คาดว่ารายได้จะกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งประมาณ 1,450 ล้านบาท ด้านปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจงานแสดงสินค้าในปีหน้านั้นอยู่ที่การฟื้นตัวของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของโลกที่ผ่อนคลายลง การพัฒนาและการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและเครื่องมือในการผลิตใหม่ๆ นโยบายการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าจากภาครัฐ ส่วนปัจจัยลบที่ยังส่งผลอยู่มีทั้งสงครามในบางพื้นที่ที่ยังไม่สงบ เศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเป้าหมายของเราจึงเป็นการสร้างงานแสดงสินค้านานาชาติระดับภูมิภาค ที่นอกจากจะเป็นการสร้างเคลือข่ายเชื่อมโยงการค้ากันในอาเซียนแล้ว ด้วยกำลังซื้อจำนวนมากของภูมิภาคยังเป็นแรงดึงดูดนักธุรกิจและบริษัทต่างๆ ของโลกให้เข้ามาร่วมงานที่เราจัดขึ้นในประเทศไทย โดยในสายตาผู้จัดงานแสดงสินค้าและนักธุรกิจนั้น เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพอย่างมากในการเป็น HUB การจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานและการเดินทางมาร่วมงานไม่สูงมาก เป็นศูนย์กลางของอาเซียน มี Soft Power ที่มีเสน่ห์ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรม ที่สำคัญคือความเป็นมิตรและรอยยิ้มของคนไทยที่ทำให้ทุกคนอยากมาทำธุรกิจและร่วมงานในประเทศไทย แต่สิ่งที่อยากขอให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติม คือ การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดบางรายการ เช่น ส่วนสมอาหาร เครื่องสำอางค์ อัญมณีและเครื่องประดับ ในมาตรฐานการนำเข้าเพื่อมาจัดแสดง โดย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น HUB ของการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของภูมิภาคอย่างแท้จริง
บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย ประกาศเปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ด้วยกำลังการผลิตกว่า 50,000 ก้อนต่อปี พร้อมเข้าสู่บทบาทการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีแห่งภูมิภาคอาเซียน
บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ได้เปิดโรงงานแบตเตอรี่อีวีแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ HASCO-CP BATTERY SHOP ในภูมิภาคอาเซียนบนพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 75 ไร่ หลังทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนการประกอบแบตเตอรี่ ประกอบด้วยสายการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยอย่างการนำหุ่นยนต์ (Robotic) เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานที่แม่นยำ การเชื่อมโดยเลเซอร์ (Laser Welding) เพื่อให้ได้คุณภาพของการเชื่อมที่ดี การตรวจสอบด้วย CCD (Charge Coupled Device) เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบเทียบกับต้นแบบในทุกขั้นตอนก่อนนำไปใส่ในตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% และส่วนการทดสอบมาตรฐานของแบตเตอรี่ กว่า 60 ขั้นตอน อาทิ การตรวจสอบค่าการเก็บการคายประจุ (Charge & Discharge) การตรวจสอบน้ำรั่วซึมเข้าสู่แบตเตอรี่ (Air Leak test) ทดสอบความเป็นฉนวน (Insulation Test) ทดสอบการควบคุมพลังงาน (Static Test) เป็นต้น โดยในสายการผลิตแห่งนี้สามารถประกอบแบตเตอรี่ Cell-To-Pack ได้สูงสุดมากกว่า 50,000 ก้อนต่อปี ซึ่งแบตเตอรี่ที่ประกอบในประเทศไทยจะเป็นมาตรฐานเดียวกับสายการผลิตระดับโลก สำหรับแบตเตอรี่ที่ออกจากสายการผลิตนี้จะถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MG4 ELECTRIC เป็นรุ่นแรก รวมถึงรถไฟฟ้ารุ่นอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของสายการผลิตเพื่อเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2567”
นายจ้าว เฟิง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เปิดเผยว่า “โรงงานแบตเตอรี่อีวี เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE 2) จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ เพิ่มงบลงทุนอีกกว่า 500 ล้านบาท โดยจะใช้เป็นโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวีในรูปแบบ Cell-To-Pack (CTP) ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง RUBIK's CUBE BATTERY ด้วยข้อได้เปรียบในเรื่องของศักยภาพและโอกาสในการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงการที่บริษัทแม่อย่าง SAIC MOTOR CORPORATION และ HASCO-CP เล็งเห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน
“โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ที่ เอ็มจี ได้บุกเบิกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สู่ปัจจุบันที่รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็น ที่นิยม และมีการเติบโตในตลาดแบบก้าวกระโดด ตอกย้ำความเชื่อมั่น ด้วยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสะสมรวมกว่า 18,000 คัน ด้วยผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือการให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Ecosystem ที่มีความแข็งแกร่งและครอบคลุมในทุกมิติของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จไฟแบบเร็ว หรือ MG SUPER CHARGE รองรับการเดินทางที่สะดวกสบาย ทั่วประเทศ ล่าสุด เอ็มจี เดินหน้าแผนงานอีวี มุ่งยกระดับอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการเปิดตัวโรงงานประกอบแบตเตอรี่อีวี และถือเป็นเครื่องสะท้อนความตั้งใจของ เอ็มจี หลังจากนี้ยังคงเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK ในแผนงานระยะถัดไป เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ โดยมีกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567”