January 28, 2025

สร้างสีสันในการจับจ่ายใช้สอยช่วงต้นปีให้กลับมาคึกคักยิ่งขึ้น “เซเว่น อีเลฟเว่น” ร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและ OTOP ผ่านโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในหมวดสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP ชวนช้อปสินค้าคุณภาพ ของดีของเด็ดของคนไทย ที่ร้านเซเว่นฯ คัดมาให้เลือกสรรกว่า 750 รายการ ครอบคลุมสินค้าอุปโภคบริโภค วางจำหน่ายในร้านเซเว่นฯ และแพลตฟอร์มออนไลน์ 7 Delivery, All Online ผ่านช่องทาง 7 App ส่งเสริมการสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 20,000 บาท เริ่มจับจ่ายได้ตั้งแต่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เซเว่นฯ ทุกสาขา

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เปิดช่องทางการลดหย่อนภาษีผ่านร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ความพิเศษของปีนี้คือการแบ่งวงเงินลดหย่อนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการทั่วไป ส่วนที่สอง 20,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าจากวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน โดยนโยบายหลักของร้านเซเว่นฯ คือการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมาอย่างต่อเนื่อง

เซเว่นฯ ร้านสะดวกซื้อที่อยู่เคียงคู่คนไทยมากว่า 35 ปี ขอเป็นกำลังสำคัญในการร่วมสนับสนุนสินค้าวิสาหกิจชุมชน SME และ OTOP ที่เป็นคู่ค้าและอยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 750 รายการสินค้า มาวางจำหน่ายในร้าน  เซเว่นฯ ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ของทานเล่น และข้าวของเครื่องใช้ โดยทางร้านเซเว่นฯ จะทำป้ายสัญลักษณ์ที่ชั้นวางสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้านี้เป็นสินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยได้สะดวก และมั่นใจว่าสินค้ารายการใดบ้างที่ร่วมลดหย่อนภาษีโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร่วมอุดหนุนได้ที่ร้านเซเว่นฯ ทุกสาขา ทั่วประเทศได้ในวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568

สำหรับรายการสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในร้านเซเว่นฯ อาทิ

- สินค้าท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ได้แก่ น้ำพริก ผัดหมี่อุดร แหนมหมูย่าง ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป น้ำอินทผลัมสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น

- สินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค ได้แก่ ยาสีฟันสมุนไพร แชมพูใบหมี่อัญชัน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หมอน ขนมเปี๊ยะ หนังปลาแซลมอนอบกรอบ ทองม้วน กล้วยแปรรูป มะพร้าวแก้ว ครองแครงกรอบ ขนมผิง ลูกอมกะทิ เป็นต้น

สำหรับเงื่อนไขการซื้อสินค้าที่จะได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice)

  1. ต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) โดยสังเกตจากป้ายที่ชั้นวางสินค้า ที่ระบุว่าสินค้า OTOP เข้าร่วม Easy E-Receipt 0
  2. นำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งดังนี้

- 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการทั่วไป (ยกเว้นโรงแรม ที่พัก)

- 20,000 สำหรับซื้อสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP

 

สำหรับวิธีการขอใบกำกับภาษีสามารถทำได้ 4 วิธี สะดวก ง่าย ทุกช่องทาง

1.ขอผ่าน 7 APP สมัครรับใบเสร็จผ่านไอคอนใบเสร็จ e-Tax และกดขอใบกำกับภาษี

2.ขอกับพนักงานที่ร้าน แจ้งขอใบกำกับภาษีเต็มรูปกับพนักงานร้าน โดยใช้บัตรประชาชนตัวจริง

3.ขอผ่าน 7-ELEVEN Delivery เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสำเร็จ กดเข้าเมนูบัญชีของฉัน เลือกประวัติคำสั่งซื้อ และกดแถบข้อความขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

4.ขอผ่าน ALL ONLINE ลูกค้าระบุเลือกขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปบนหน้าจอก่อนกดสั่งสินค้า และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) ตั้งแต่ปี 2565 ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะภาคเอกชนไทยที่มีความมุ่งมั่นในปณิธาน "Giving and Sharing"  จึงได้เดินหน้านโยบายสร้างงาน “ผู้สูงอายุ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณค่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี 2564 และคาดว่าในปี 2578 จะมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแค่ส่งผลต่อโครงสร้างประชากร แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ

 

เพื่อรองรับความท้าทายนี้ ซีพี ออลล์ จึงได้ริเริ่มนโยบายสร้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงแรงงาน จึงได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ (MOU) โดยใช้แพลตฟอร์มชื่อว่า “ไทยมีงานทำ” เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ได้ทำงานในสถานประกอบการ รวมทั้งเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคง สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจให้แก่ตนเอง ตลอดจนเป็นการเพิ่มบทบาทและคุณค่า ด้วยการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในด้านสวัสดิการ

วันนี้ซีพี ออลล์  ชวนทำความรู้จักป้านวล “พนักงานเซเว่นวัยเก๋า” ที่ครองตำแหน่งพนักงานที่มีอายุมากที่สุดของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย   

นางสาวนวล ชอบธรรม อายุ  80 ปี  ชื่อเล่น  นวล (พนักงานในร้านเรียกว่า ป้านวล) ตำแหน่ง แม่บ้านร้าน 7-Eleven สาขา สีลม 22 ทำงานที่นี่มาแล้วกว่า 12 ปี โดยมาสมัครเป็นพนักงานด้วยตัวเอง  สิ่งที่ป้านวลได้รับจากการทำงาน คือความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง เพราะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีสุขภาพกายและใจที่ดี เพราะได้ขยับร่างกายตลอด มีน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ในร้านให้ได้พูดคุยไม่เหงา มีเงินเดือน เลี้ยงดูตัวเองได้  หากใครผ่านมาแถวสีลมอย่าลืมแวะมาทักทายป้านวลกันด้วยนะ  หรือผู้ที่สนใจร่วมงานกับ ซีพี ออลล์ และบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ  สามารถกดติดตามช่องทางต่างๆ Job CP ALL เพื่อไม่ให้พลาดตำแหน่งงานใหม่ๆ  ได้ที่ https://linktr.ee/Job_CPALL 

ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น มีนโยบายสร้างงานให้กับคนในทุกท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ตอบโจทย์เป้าหมายการสร้างงาน สร้างอนาคตให้กับคนไทย  ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing  มุ่งมั่นเคียงคู่ชุมชน สร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ปัจจุบันซีพี ออลล์มีพนักงานกว่า 200,000 คนกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีงานที่มั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่, วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College, Panyapiwat Institute of Management) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดงานประกาศผลการแข่งขัน PIM International Hackathon 2024 ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา หลังท้าชิงไอเดียธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คอนเซปท์ “Sustainable Well-being towards Zero-Green-Clean Economy” โดยได้รับการสนับสนุนจาก HSBC Thailand - Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) - Accenture Thailand - คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) -  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย - บริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด (กองทุน ดิสรัปท์อิมแพค)

PIM International Hackathon 2024 มุ่งเน้นแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่และมีความน่าสนใจด้าน การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอน อาหารที่ปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาโซลูชันใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากพลังสมองคนรุ่นใหม่ พร้อมมีโอกาสพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สามารถคืนคุณค่าแก่สังคมในอนาคต ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมากจากเยาวชนทั้งไทยและต่างชาติส่งแข่งขันถึง 75 ไอเดีย โดยทีมที่ชนะเลิศจากการตัดสินของคณะกรรมการทรงคุณวุฒิ ได้รับรางวัลและทุนการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ (iMBE) Bachelor of Business Administration Program in Modern Business Entrepreneurship (International Program) และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ Master of Business Administration Program in International Business (iMBA) รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท

ผลการแข่งขัน PIM International Hackathon 2024

ระดับอุดมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ ทีม LOCOL จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย & มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผลงาน : Premium, Low-Carbon Thai Beef, Savor Sustainability, Nourish Locally, And A Thriving Ecosystem.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ALPACA จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน : An application to enhance remote speech therapy using artificial intelligence.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม MEDSAGE จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ The University of Hong Kong
ผลงาน : Medical Sustainability And Green Environment. “Health Care ESG Management Platform

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รางวัลชนะเลิศ ทีม EUREKA! จาก โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
ผลงาน : P2F Machine “Plastic Recycling Innovation for Sustainable Education”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ทีม WolffiaX จาก โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ, โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ พัทยา, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน : Rice Sprinkle made of Wolffia to provide enough nutrition to solve the food crisis in the poor nation, especially poor children

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม PACT จาก โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น กรุงเทพฯ
ผลงาน : PACT (Planetary Action for Carbon Transparency) Track Your Impact, Keep the Earth Intact

วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ ผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ร่วมกระตุ้นการปลูกฝังแนวคิดในระดับเยาวชน ให้เข้าถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ผสานการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ไอเดียใหม่ๆ เข้าใจการวางแผนโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้งได้สร้างค่านิยมให้กับเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญช่วยผลักดันเรื่องดังกล่าวให้ไปในทิศทางเชิงบวก ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่ซีพี ออลล์ มุ่งหวังสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา ภายใต้ปณิธาน “Giving & Sharing” มาอย่างต่อเนื่อง

พบกันใหม่ในปี 2025!

ติดตามบรรยากาศการแข่งขันย้อนหลังและกิจกรรมของวิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ได้ที่
PIM Inter Hackathon https://www.facebook.com/PIMInterHackathon
PIM International https://www.facebook.com/interprogrampim
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Website : https://interprogram.pim.ac.th/

ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น เดินหน้าพลิกโฉมโรงเรียน CONNEXT ED เฟสที่ 6 ผ่านโมเดล “ผู้ประกอบการจิ๋ว” ต่อเนื่อง ดึงผู้บริหาร-ครู-นักเรียน 6 โรงเรียนเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนเด่นจาก 6 ภูมิภาค ผ้ามัดย้อมดาวเรือง-กระเป๋าจากกระจูด-ไซรัปอ้อย-กรอบรูปถมทอง-ยาดมสมุนไพรไม้หอม-ข้าวพื้นเมือง ร่วมเวิร์คช็อปพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มโอกาสต่อยอดสินค้า บูรณาการหลักสูตรพัฒนาทักษะวิชาการควบคู่วิชาชีพ หวังสร้างต้นแบบก่อนขยายผลสู่โรงเรียน CONNEXT ED ทั่วประเทศ ด้านโรงเรียน-นักเรียนปลื้ม เพิ่มรายได้กลับสู่โรงเรียน-ครอบครัว-ชุมชน สร้างแรงบันดาลใจประกอบอาชีพของเยาวชนในอนาคต

 

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า การสร้างคนผ่านการศึกษา ถือเป็นหนึ่งในกรอบกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ที่บริษัทยังคงมุ่งหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนภายใต้ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) เฟสที่ 6 จัดงานสัมมนา “โครงการปั้นผู้ประกอบการจิ๋ว 6 ภูมิภาค” คัดเลือกโรงเรียนนำร่องจากแต่ละภูมิภาค ที่สามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างโดดเด่น และนำผู้บริหาร ครู นักเรียน จากโรงเรียนแต่ละแห่ง มาร่วมพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการเพิ่มเติม เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ ให้โรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง เกิดความยั่งยืน

“ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิชาการและวิชาชีพควบคู่กัน เรามองว่าทักษะการเป็นผู้ประกอบการ คือรากฐานสำคัญในการต่อยอดสู่วิชาชีพ และเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะช่วยให้เยาวชน ชุมชน โรงเรียน สามารถปรับตัวได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ประยุกต์โอกาส นำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่รอบตัวในชุมชน มาสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ เราคาดหวังว่าการสัมมนาในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้กลุ่มโรงเรียนนำร่องประสบความสำเร็จในการสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ประกอบการจิ๋ว เกิดสินค้าที่สร้างรายได้คืนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และกลายเป็นต้นแบบสู่การขยายผลไปยังโรงเรียน CONNEXT ED ที่เราดูแลอยู่กว่า 610 โรงเรียน” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

สำหรับโรงเรียนนำร่องจาก 6 ภูมิภาค ได้แก่ 1.โรงเรียนวังไพรวิทยาคม ตัวแทนภาคตะวันออก เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากดอกดาวเรือง 2.โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) ตัวแทนภาคใต้ เจ้าของผลิตภัณฑ์ กระเป๋าจากกระจูด 3.โรงเรียนโคกงามวิทยาคาร ตัวแทนภาคตะวันตก เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อยก้อนและไซรัปอ้อย 4.โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร ตัวแทนภาคกลาง เจ้าของผลิตภัณฑ์กรอบรูปถมทอง 5.โรงเรียนบ้านสันป่าสัก ตัวแทนภาคเหนือ เจ้าของผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไม้หอม และ 6.โรงเรียนบ้านหนองคันนา ตัวแทนภาคอีสาน เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวพื้นเมือง

 

นางวรรณวนา พิทักษ์สงคราม ผู้อำนวยการโรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องโมเดลผู้ประกอบการจิ๋ว เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากดอกดาวเรือง กล่าวว่า ชุมชนใกล้เคียงโรงเรียนปลูกดอกดาวเรืองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับการสนับสนุนจากซีพี ออลล์ภายใต้ CONNEXT ED เฟสแรกๆ จึงได้ทยอยบูรณาการทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกดอกดาวเรืองไปจนถึงทักษะการทำผลิตภัณฑ์จากสีดอกดาวเรืองอย่างผ้ามัดย้อม เข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาทิ การเลือกดินเพาะปลูกดาวเรือง วิธีการปลูก การแปรรูป เวชสำอาง การตลาด บัญชี พร้อมทั้งนำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนครูในโรงเรียนที่จบด้านวิทยาศาสตร์อาหาร และด้านศิลปะ มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน จนเด็กนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีดอกดาวเรืองและใบไม้ในท้องถิ่น ฝีมือเยาวชนและคนในชุมชน

“เราเริ่มขายมาได้ราว 2 ปี มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ ชุดสูท ชุดแซค ลูกค้าหลักในปัจจุบันเป็นคุณครู แพทย์ พยาบาล มียอดสั่งซื้อสูงในช่วงงานเกษียณ งานปีใหม่ สร้างรายได้กลับสู่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน การบูรณาการให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะวิชาชีพควบคู่ไปกับทักษะวิชาการ ช่วยให้เด็กๆ หลายคนที่มีฐานะไม่ดี มีองค์ความรู้ไปต่อยอดอาชีพของที่บ้าน รวมถึงมาทำงานด้านดาวเรืองเป็นอาชีพเสริมได้ ยิ่งในวันนี้โรงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง มาร่วมสัมมนาปั้นผู้ประกอบการจิ๋ว เชื่อว่าจะช่วยให้โรงเรียน เยาวชน ชุมชน สามารถพัฒนาและขายผ้ามัดย้อมจากสีดอกดาวเรืองได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น” นางวรรณวนา กล่าว

 

น.ส. กัญญารัตน์ โหมดตาด หรือ โฟร์ท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว กล่าวว่า ได้เข้าร่วมพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกดอกดาวเรืองตั้งแต่ชั้น ม.1 ได้เรียนรู้ทั้งวิธีการปลูก วิธีการคัดเลือกพันธุ์ ทักษะวิชาชีพที่สามารถไปต่อยอดวิชาชีพอื่นได้ โดยตัวเธอเองมีความฝันอยากประกอบธุรกิจของตัวเอง โดยสนใจงานด้านแฟชั่นเสื้อผ้า ซึ่งต่อยอดจากการผลิตผ้ามัดย้อมในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน อยากให้โมเดลผู้ประกอบการจิ๋วเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง ต่อยอดไปถึงน้องๆ รุ่นต่อไป เนื่องจากผู้ปกครองเองก็ชอบกิจกรรมนี้ เพราะเกิดรายได้เสริม ลดภาระผู้ปกครอง เด็กๆ เองก็ได้รับความรู้ สนุกสนาน เกิดการสานสัมพันธ์ในโรงเรียน

 

นายอับดุลเลาะ อูเซ็ง คุณครูโรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จ.พัทลุง คุณครูโรงเรียนนำร่องโมเดลผู้ประกอบการจิ๋ว เจ้าของผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากกระจูด กล่าวว่า การสานกระจูดถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หลายครอบครัวให้ความสำคัญกับการสานกระจูดควบคู่ไปกับการทำประมง โรงเรียนจึงได้ร่วมกับซีพี ออลล์ ภายใต้ CONNEXT ED เฟสแรกๆ บูรณาการการสานกระจูดและเส้นกกเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน จนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ (School Model) มีผลิตภัณฑ์หลักคือหูหิ้วถ้วยกาแฟจากเส้นกก ที่นำไปใช้ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หลายสาขาในพัทลุง และกระเป๋ากระจูดสานมือ วันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องโครงการผู้ประกอบการจิ๋ว จึงมีความมุ่งหวังจะได้รับความรู้ด้านต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ ด้านการตลาด เพื่อให้สามารถสร้างรายได้กลับสู่โรงเรียน นักเรียน ชุมชน พร้อมทั้งพาผลิตภัณฑ์กระจูดให้เป็นที่รู้จักทั้งระดับในประเทศและนานาประเทศ

 

นายอัศม์เดช รักษ์จันทร์ หรือ ช้ะชิ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จ.พัทลุง กล่าวว่า จากการสนับสนุนล่าสุดของซีพี ออลล์ จึงทำให้มีห้องไลฟ์สดในโรงเรียน และได้มีส่วนร่วมเป็นคนขายกระเป๋ากระจูดผ่านไลฟ์ รวมถึงการสานกระเป๋ากระจูดทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน ทั้งในรายวิชา อาทิ วิชาแปรรูปกระจูด วิชาแปรรูปเส้นกก ความฝันในอนาคต อยากเป็นคุณครูสอนวิชาศิลปะ เนื่องจากชื่นชอบในการเพนท์กระเป๋ากระจูด ขณะเดียวกัน อาจประกอบอาชีพเสริมด้วยการเพนท์กระเป๋ากระจูดลายภาพเหมือน เป็นภาพบุคคลให้เจ้าของกระเป๋าได้สะพาย

 

สำหรับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) และเป็น 1 ใน 55 องค์กรเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญและตอบรับการมีส่วนร่วมทางการศึกษา โดยขับเคลื่อนโครงการตามปณิธานองค์กร Giving and sharing”  วางเป้าดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED 6 เฟส จำนวนกว่า 610 แห่งทั่วประเทศ ร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้สามารถดำเนินโครงการด้านต่างๆ ทั้งโครงการที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โครงการพัฒนาคุณภาพคน โครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในองค์กรร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนต่างๆ อย่างใกล้ชิด

ความเป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด หรือ Digital Native น่าจะถือเป็น “อาวุธสำคัญ” ของเหล่าเยาวชนในยุคปัจจุบัน ที่สามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์ไอเดียการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่การแก้ปัญหาในวงการต่างๆ ได้

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click