บริษัท เวียตเจ็ท จอยท์ สต๊อค จำกัด (Vietjet Aviation Joint Stock Company (HoSE: VJC)) เผยงบการเงินประจำปี 2566 ซึ่งผ่านการตรวจสอบแล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในตลอดทั้งปีทีผ่านมา

งบการเงินดังกล่าวจำแนกรายได้ย่อยและรายได้รวมจากการขนส่งทางอากาศรายงานอยู่ที่ 53.7 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 58.3 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่านหน้าร้อยละ 62 และร้อยละ 45 ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทเผยการฟื้นตัวของกำไรจากบริการการขนส่งทางอากาศก่อนหักภาษีและกำไรรวมอยู่ที่ 471 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 18.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 606 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 24.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

รายได้เสริมและรายได้จากการขนส่งสินค้ามีมูลค่าเกือบ 21 ล้านล้านดอง (ประมาณ 846.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมดจากการขนส่งทางอากาศของสายการบินฯ

รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทรัพย์สินรวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ารวมกว่า 84.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราส่วนทั่วไปทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.3 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ อยู่ที่ 5.051 ล้านล้านดอง (ประมาณ 203.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปีก่อนหน้าแสดงถึงศึกยภาพทางการเงินของสายการบินฯ นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มสายการบินเวียดนามในปี 2566

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 สินทรัพย์รวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ามากกว่า 86.9 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราทั่วไปทั่วโลกซึ่งอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะเดียวกัน อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.3 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 5.051 ล้านล้านดอง (ประมาณ 203.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งยืนยันถึงความสามารถทางการเงินของสายการบินฯ

เวียตเจ็ทเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามแนวทางของกระทรวงการคลัง ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มบริษัทเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2566 เวียตเจ็ทได้จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 5.2 ล้านล้านดอง (ประมาณ 209.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 ผู้นำด้านการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ

ด้วยความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานบริการบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศ พร้องด้วยเดินหน้าขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้ให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารบนเดินทางกว่า 25.3 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 183% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีผู้โดยสารจำนวนมากกว่า 7.6 ล้านคน เดินทางบนเส้นทางบินระหว่างประเทศ

เวียตเจ็ทเปิดตัวเส้นทางบินภายในประเทศและระหว่างประเทศเส้นทางใหม่จำนวน 33 เส้นทาง รวมทั้งหมดเป็น 125 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางระหว่างประเทศ 80 เส้นทาง และเส้นทางภายในประเทศ 45 เส้นทาง เส้นทางที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้ – เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ซิตี้ – เวียงจันทน์ ฮานอย - เสียมราฐ ฮานอย - ฮ่องกง ฟู้โกว๊ก - ไทเป ฟู้โกว๊ก - และโฮจิมินห์ซิตี้/ ฮานอย - จาการ์ตา เป็นต้น

ปัจจุบัน เวียตเจ็ทยังเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินรายใหญ่ที่สุดที่เชื่อมต่อระหว่างเวียดนาม อินเดียและออสเตรเลีย เส้นทางบินดังกล่าวช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศที่มีศักยภาพสูง นับตั้งแต่ต้นปี 2567 สายการบินฯ ได้เปิดเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอยและซิดนีย์ ส่งผลให้มีจำนวนเส้นทางบินระหว่างเวียดนามและออสเตรเลียเพิ่มขึ้นทั้งหมดเป็น 7 เส้นทาง

สายการบินตั้งแต่ต้นปี 2567 ได้เปิดเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอยและซิดนีย์เพิ่มเติม ส่งผลให้จำนวนเส้นทางเวียดนาม-ออสเตรเลียทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 7 เส้นทาง

นอกจากนี้ สายการบินฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินจาก ฮานอย สู่ ฮิโรชิมา (ญี่ปุ่น) และโฮจิมินห์ซิตี้ สู่ เฉิงตู (จีน) บริการบนเส้นทางดังกล่าวนำมาซึ่งโอกาสในการเสริมสร้างการท่องเที่ยวและการค้าทวิภาคี พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทเปิดเส้นทางบินภายในประเทศเส้นทางใหม่ระหว่างฮานอย และ เดียนเบียน เพื่อนำผู้โดยสารเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางทางประวัติศาสตร์อย่าง ‘เดียนเบียนฟู’  สายการบินฯ มีอัตราโหลดแฟคเตอร์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 87 และอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคอยู่ที่ร้อยละ 99.72

 เดินหน้าเสริมทัพฝูงบินที่มีความทันสมัย มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESG) เป็นหนึ่งในเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของสายการบินฯ ยืนยันได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากร การประหยัดเชื้อเพลิง และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยฝูงบินใหม่และทันสมัย

เวียตเจ็ทให้ความสำคัญกับการลงทุนในฝูงบินที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทประกอบด้วยเครื่องบิน 105 ลำ รวมถึงเครื่องบิน A330 ลำตัวกว้างด้วย

ภายในปี 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงประหยัดเชื้อเพลิงได้มากถึง 15-20% มุ่งเน้นการปกป้องสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนและการวิจัยเทคโนโลยีสีเขียว

 ในปีที่ผ่านมา สายการบินฯ ได้จัดประชุมหลักสูตรการฝึกอบรม รวมถึงการจำลองสถานการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก อาทิ การประชุมด้านคุณภาพและความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของ ISAGO (International Standard for Ground Operations) และการจำลองการตอบสนองฉุกเฉินในเชิงรุก เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบิน เวียตเจ็ทได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่ปลอดภัยที่สุดในโลกอีกครั้งโดย AirlineRatings

ศูนย์บริการภาคพื้นดินของเวียตเจ็ทปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดมั่นในคุณภาพของการบริการในขณะที่ลดต้นทุนการดำเนินงานที่สนามบิน นอกเหนือจากนี้ เวียตเจ็ทยังใช้แนวทางเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงเครื่องบินอีกด้วย ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้เปิดตัวศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินตามมาตรฐานสากลภายใต้ความร่วมมือกับสายการบินลาวในเวียงจันทน์

รายงานผลประกอบการประจำปี 2566 เน้นย้ำฐานะหนึ่งในสายการบินที่มีความยืดหยุ่นและเติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก พร้อมด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ครอบคลุม ส่งเสริมการฟื้นตัวและการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน และการค้าในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก ในปี 2566 เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบินกว่า 133,000 เที่ยวบิน ขนส่งผู้โดยสารทั้งสิ้น 25.3 ล้านคน (ไม่รวมสายการบินไทยเวียตเจ็ท) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 183 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากรายงานดังกล่าวจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 7.6 ล้านคนเป็นผู้ที่เดินทางบนเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทยังคงขยายเครือข่ายเส้นทางบินอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศและเส้นทางบินภายในประเทศรวมทั้งสิ้น 33 เส้นทาง ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนเส้นทางบินทั้งหมด 125 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางบินระหว่างประเทศ 80 เส้นทาง และเส้นทางบินภายในประเทศ 45 เส้นทาง เส้นทางบินระหว่างประเทศสู่เมืองที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้ - เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ซิตี้ - เวียงจันทน์ ฮานอย - เสียมราฐ ฮานอย - ฮ่องกง ฟู้โกว๊ก - ไทเป และฟู้โกว๊ก - ปูซาน เป็นต้น

เวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกที่เชื่อมต่อเวียดนามกับ 5 เมืองที่ใหญ่ในออสเตรเลีย ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ธ แอดิเลด และบริสเบน รวมถึงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดระหว่างเวียดนามและอินเดีย โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อเวียดนามกับเมืองเดลี มุมไบ อาห์เมดาบัด โคจิ และติรุจิรัปปัลลิ เวียตเจ็ทขนส่งสินค้าทางอากาศกว่า 81,500 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 รายบางส่วนของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 53.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และรายได้รวมอยู่ที่ 62.5 ล้านล้านดอง (ประมาณ 2.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 62 และร้อยละ 56 ตามลำดับ กำไรหลังหักภาษีของรายได้บางส่วนและรายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 697 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 344 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 รายได้บางส่วนและรายได้รวมเพียงไตรมาสเดียวทะยานสูงถึง 14.9 ล้านล้านเวียดนามดอง (ประมาณ 609.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 18.8 ล้านล้านดอง (ประมาณ 768.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าร้อยละ 89 และร้อยละ 49 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน กำไรหลังหักภาษีแยกและรวมรายไตรมาสอยู่ที่ 7 หมื่นล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 2.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ 152 พันล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ

รายได้เสริมและรายได้จากการขนส่งสินค้ามีมูลค่า 18.9 ล้านล้านดอง (ประมาณ 773.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 40 ของรายได้จากการขนส่งทางอากาศทั้งหมดของสายการบินฯ

รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทรัพย์สินรวมของเวียตเจ็ทมีมูลค่ารวมกว่า 84.6 ล้านล้านดอง (ประมาณ 3.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 2 ภายหลังจากการสั่งซื้อเครื่องบิน A321neo รุ่นใหม่จำนวน 3 ลำ ซึ่งต่ำกว่าอัตราส่วนทั่วไปทั่วโลกที่อยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องของเวียตเจ็ทอยู่ที่ 1.24 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีของอุตสาหกรรมการบิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 5.021 ล้านล้านดอง (ประมาณ 205.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปีก่อนหน้าแสดงถึงศึกยภาพทางการเงินของสายการบินฯ นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีอันดับเครดิตดีที่สุดตามเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (VnBBB-) ในกลุ่มสายการบินเวียดนามในปี 2566

 ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 5.2 ล้านล้านดอง (ประมาณ 212.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เวียตเจ็ทยังคงลงทุนเสริมทัพฝูงบินที่ทันสมัย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น รายงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทประกอบด้วยเครื่องบิน 105 ลำ รวมถึงเครื่องบิน A330 ลำตัวกว้าง  จากการริเริ่มการปฏิบัติงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อสิบกว่าปีก่อนด้วยเครื่องบินเพียงสามลำ ภายในปี พ.ศ. 2566 ฝูงบินของเวียตเจ็ทเติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงมีส่วนช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยประหยัดเชื้อเพลิงได้มากถึงร้อยละ 15-20 รวมถึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้มีส่วนร่วมในการค้าระหว่างเวียดนามและสหรัฐอเมริกา โดยบรรลุข้อตกลงกับโบอิ้งในการส่งมอบเครื่องบิน 737 MAX จำนวน 200 ลำ ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า รวมถึงข้อตกลงการจัดหาเงินทุนสำหรับเครื่องบินกับสถาบันการเงินต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารโดยเฉลี่ยของสายการบินอยู่ที่ร้อยละ 87 และอัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคอยู่ที่ร้อยละ 99.72 พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวโปรแกรมสะสมคะแนน SkyJoy ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์จากแบรนด์ต่างๆ กว่า 250 แบรนด์ ภายในปี 2566 เวียตเจ็ทมีสมาชิก SkyJoy จำนวน 10 ล้านคน

นอกจากนี้ เวียตเจ็ทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารด้วยบริการ "บินก่อน จ่ายทีหลัง (Fly Now Pay Later)" อำนวยความสะดวกด้วยการเสนอทางเลือกการชำระเงินที่ยืดหยุ่นแก่ผู้โดยสาร เกตเวย์การชำระเงิน Galaxy Pay ของเวียตเจ็ทช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยและสะดวกสบายผ่านวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย รวมถึงเวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกของเวียดนามที่เริ่มให้บริการชำระเงินผ่าน Apple Pay ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารของเวียตเจ็ทจะได้รับสิทธิ์เช็คอินออนไลน์ ณ สนามบิน 18 แห่งในเวียดนาม

 เวียตเจ็ทการันตีมาตรฐานบริการด้วยรางวัลหนึ่งในสายการบินราคาประหยัดที่ปลอดภัยที่สุดในโลกอีกครั้งโดย AirlineRatings ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในการประเมินการบริการและความปลอดภัยของสายการบิน ในปีที่ผ่านมา สายการบินได้จัดการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรม และการจำลองด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย อาทิ การประชุมด้านคุณภาพและความปลอดภัย การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของ ISAGO (International Standard for Ground Operations) และการจำลองการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างมั่นใจในความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบิน นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในฟอรัมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติงานด้านการบินระดับโลกที่จัดโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง อาทิ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบิน

ในปี 2566 เวียตเจ็ทได้เปิดตัวศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ได้มาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับสายการบินลาวในเวียงจันทน์ ด้วยเหตุนี้ เวียตเจ็ทจึงใช้แนวทางเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงเครื่องบินหลังจากการลงทุนในบริการการจัดการภาคพื้นดิน

ด้วยตระหนักถึงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรการฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566

ด้วยกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีมาตรฐานสากล Vietjet Aviation Academy (VJAA) จึงกลายเป็นพันธมิตรศูนย์ฝึกอบรมของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ในปี 2566

VJAA ฝึกอบรมนักเรียนมากกว่า 97,000 คนผ่านหลักสูตร 6,300 หลักสูตร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (CRS) อย่างเต็มกำลังในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถาบันแห่งนี้ยังได้เปิดตัวเครื่องจำลองการบินแห่งที่สามซึ่งกลายเป็นศูนย์ฝึกนักบินชั้นนำในภูมิภาค

ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาและยกระดับบริการอย่างครอบคลุมด้วยการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน สายการบินฯ พร้อมตอบสนองความต้องการการเดินทางภายในประเทศ รวมถึงวางแผนขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศเส้นทางใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต

ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน

การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง

ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการ

เติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย

หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต

“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้

จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว

“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์

AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ" ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”

AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล

“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”

“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว

AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565

ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million

ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce” 

X

Right Click

No right click