November 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 

เข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 กันแล้ว หลายคนยังกังวลใจกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ว่าจะไปในทิศทางใดกันแน่ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์จากรั้วท่าพระจันทน์ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มองว่า ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 ยังคงเป็นภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและค่าเงินบาท โดยที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าในปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันการคาดการณ์ล่าสุดปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปี 2560 คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นกว่าในครึ่งปีแรก อัตราการเจริญเติบโตทั้งปี น่าจะอยู่ในระดับ 3.58 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยเชื่อว่าการลงทุนภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวน่าจะเป็นกลจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่กระตุ้นเศรษฐกิจ  จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงอยู่ในระดับสูงในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีจะมีประมาณ 34.5 ล้านคน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ คาดการณ์ไว้ที่ 0.7 เปอร์เซ็นต์ หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป

ตารางที่ 1: พยากรณ์เศรษฐกิจปี 2560

 

2559

2560 (best case)

2560 (worst case)

การบริโภคภาคเอกชน

3.06

3.82

3.68

การบริโภคภาครัฐ

1.98

1.14

0.77

การลงทุน

2.79

5.25

4.75

การลงทุนภาคเอกชน

0.36

3.20

3.06

การลงทุนภาคเอกชน - ก่อสร้าง

1.16

0.41

0.41

การลงทุนภาคเอกชน - เครื่องจักร

0.17

3.94

3.76

การลงทุนภาครัฐ

9.90

11.31

9.81

การส่งออก

2.04

5.22

5.22

การส่งออกสินค้า

-0.03

4.70

4.70

การส่งออกบริการ

9.25

6.63

6.63

การนำเข้า

-1.32

6.21

6.09

GDP

3.25

3.58

3.41

หมายเหตุ อัตราการเจริญเติบโตคำนวณจากข้อมูล ณ ราคาคงที่, ข้อมูลปี 2559 เป็นข้อมูลจริงจาก สศช. ข้อมูลปี 2560 ใช้ข้อมูลจริงสำหรับไตรมาส 1 ในขณะที่ไตรมาสที่เหลือเป็นการพยากรณ์โดยผศ.ดร.เฉลิมพงษ์

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ ให้ข้อมูลต่อว่า การลงทุนภาคเอกชนจะกระเตื้องขึ้นและเติบโตทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.2 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการเพิ่มการลงทุนในด้านเครื่องจักร ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านการส่งออก ส่วนต้นทุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนยังค่อนข้างต่ำ ในขณะที่การส่งออกจะเติบโตประมาณ 5.2 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการฟื้นตัวขึ้นของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป และการเติบโตต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น 3.7 – 3.8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากรายได้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ

หากการบริโภคและการลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลวางแผนไว้ ซึ่งตัวเลขในไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมาการเจริญเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาครัฐค่อนข้างต่ำ อาจจะส่งผลในอัตราการเจริญเติบโตลดลงไปที่ระดับ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยอีกประการที่ต้องเฝ้าระวังคือทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น หากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นไปแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้  

หากพิจารณาการผลิตรายสาขาเศรษฐกิจจะพบว่า สาขาหัตถอุตสาหกรรมยังคงมีปัญหาอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ มีอัตราการเติบโตเพียงประมาณร้อยละ 1 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้ผลิตยังอยู่ในระดับปานกลางและดัชนีด้านการบริโภคของภาคครัวเรือนยังเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนภาคก่อสร้างก็มีการชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 และหากพิจารณาทั้งปีอัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ประมาณ 4.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตในปีที่ผ่าน นอกจากนี้ภาคโรงแรมกับภัตตาคารก็มีสัญญาณที่เติบโตช้ากว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตในอัตราที่มิได้สูงเช่นปีที่ผ่านๆมา ส่วนภาคเกษตรในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงหลังจากประสบปัญหาในปีที่ผ่านมา  

ตารางที่ 2: พยากรณ์เศรษฐกิจปี 2560 รายสาขาเศรษฐกิจ

 

2559

2560 ไตรมาส 1

2560 ทั้งปี

เกษตร

0.39

7.90

7.00

เหมืองแร่

3.88

1.35

1.38

หัตถอุตสาหกรรม

1.46

1.32

1.08

การไฟฟ้าฯ

4.25

2.07

-1.00

ก่อสร้าง

8.15

2.76

4.24

การค้าส่ง ค้าปลีก

5.06

5.91

5.53

โรงแรมและภัตตาคาร

10.23

4.68

6.76

การขนส่ง

5.57

5.75

6.25

สถาบันการเงิน

6.17

4.43

3.84

อสังหาริมทรัพย์

1.85

3.31

4.83

การบริการสาธารณะ

0.76

0.34

1.19

การบริการอื่นๆ

3.42

2.86

2.59

GDP

3.36

3.58

3.58

หมายเหตุ อัตราการเจริญเติบโตคำนวณจากข้อมูล ณ ราคาคงที่, ข้อมูลปี 2559 เป็นข้อมูลจริงจาก สศช. ข้อมูลปี 2560 ใช้ข้อมูลจริงสำหรับไตรมาส 1 ในขณะที่ไตรมาสที่เหลือเป็นการพยากรณ์โดยผศ.ดร.เฉลิมพงษ์

 

ข้อมูลจากงานเสวนา  “จับตาเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง กระเตื้องหรือซึมยาว”  ที่จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)  เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้อง 101 ชั้น 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

X

Right Click

No right click