November 22, 2024

สภาทองคำโลก (World Gold Council) ‎เผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มของทองคำตามกรอบแนวทางการประเมินมูลค่าของ ‎QaurumSM และสภาทองคำโลก‎ โดยได้วิเคราะห์ว่าหากทิศทางเศรษฐกิจโลกและอัตราดอกเบี้ยยังคงสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดในปัจจุบัน ทองคำอาจจะยังคงได้รับแรงหนุนจากการลงทุนต่อไป 

รายงานภาพรวมของทองคำช่วงกลางปีที่สภาทองคำโลกได้เผยแพร่ยังชี้ให้เห็นว่าทองคำมีผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์หลักส่วนใหญ่ในครึ่งแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา ‎โดยในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2567 ทองคำพุ่งขึ้นสูงถึง 12% และเกือบแตะ 15% ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ผลตอบแทนของทองคำในครึ่งแรกของช่วงครึ่งปีหลังนี้มีความแข็งแกร่ง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับสูงและเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ซึ่งมักจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อทองคำ มีสาเหตุหลายประการด้วยกันที่จะทำให้ทองคำมีผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง สภาทองคำโลกได้เริ่มเห็นว่านักลงทุนได้หันกลับมาสนใจในทองคำอีกครั้ง จากกระแสการลงทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) ทองคำสำหรับนักลงทุนในภูมิภาคยุโรปตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม และในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการลดลงของอัตราดอกเบี้ยควบคู่กับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่ อาจช่วยสนับสนุนแนวโน้มนี้ต่อไป  ‎ 

คุณฮวน คาร์ลอส อาร์ทิกัส (Juan Carlos Artigas) หัวหน้าฝ่ายวิจัยระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “เช่นเดียวกับในเศรษฐกิจระดับโลก ดูเหมือนว่าทองคำกำลังรอปัจจัยที่จะเข้ามากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในรูปแบบของกระแสการลงทุนจากทางตะวันตกในขณะที่อัตราดอกเบี้ยลดลง หรือตัวชี้วัดระดับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่าแนวโน้มของทองคำในอนาคตอาจจะยังมีความท้าทายอยู่บ้าง แต่ความต้องการทองคำเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการจัดสรรสินทรัพย์นั้นกำลังเพิ่มสูงขึ้น” 

คุณฮวน กล่าวเสริมว่า “ในขณะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน นักลงทุนจึงต้องการรู้ว่าแนวโน้มของทองคำที่ผ่านมาจะยังสามารถดำเนินต่อไปหรือจะลดความร้อนแรงลง ในอดีตตลาดมักมองเฉพาะที่อัตราดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นในการกำหนดมุมมองเกี่ยวกับทองคำ ซึ่งหากมองจากแนวทางดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 นั้นน่าจะส่งผลเชิงลบต่อทองคำ แต่ราคาทองกลับพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลายครั้ง และมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในตลอดทั้งไตรมาสที่ 2”  

สภาทองคำโลกคาดว่าความต้องการทองคำของธนาคารกลางในปีนี้จะยังคงสูงกว่าแนวโน้มที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับ Metals Focus โดยการคาดการณ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากรายงานผลการสำรวจจากธนาคารกลางของสภาทองคำโลกที่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการด้านทุนสำรองทองคำยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อทองคำต่อไป อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าธนาคารกลางบางแห่งซึ่งรวมถึงธนาคารประชาชนจีน (PBoC) นั้นได้ปรับลดปริมาณการซื้อทองคำลง  นักลงทุนชาวเอเชียยังได้มีบทบาทสำคัญต่อผลการดำเนินงานของทองคำในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเห็นได้ชัดจากความต้องการในทองคำแท่งและเหรียญทองคำ รวมถึงการไหลเข้าของกระแสการลงทุนใน ETF ทองคำในไตรมาสที่ 2 ‎ของปี 2567‎ 

คุณเซาไก ฟาน (Shaokai Fan) หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ความต้องการทองคำผู้บริโภคของประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ได้เพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อยู่ที่ระดับจำนวน 9 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตคิดเป็น % ที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับไตรมาสที่ 2  และแม้ว่าราคาทองคำได้พุ่งสูงขึ้น ความต้องการทองคำทั่วโลกก็ยังคงเพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 1,258 ตัน และถือเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เราได้เก็บรวบรวมข้อมูลมา เมื่อมองไปในอนาคต คำถามคือมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะผลักดันให้ทองคำยังคงมีความน่าสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ในกลยุทธ์การลงทุนต่อไป  จากการคาดการณ์และรอคอยมาเป็นระยะยาวนานว่าธนาคารกลางสหรัฐ ฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่นานนี้  ทำให้กระแสการลงทุนได้ไหลเข้ากองทุน ETF ทองคำเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนจากตะวันตกหันกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง การฟื้นตัวของการลงทุนจากกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง อาจเปลี่ยนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของความต้องการทองคำในช่วงครึ่งหลังของปี 2567”‎ 

ผลการดำเนินงานของทองคำในสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ ถูกขับเคลื่อนด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักสี่ประการ  

โดยสรุปแล้วทองคำอาจยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่จำกัด (Rangebound) หากธนาคารกลางสหรัฐใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่ทองคำจะมีผลตอบแทนสูงกว่าจากจุดนี้ โดยอาจเกิดจากแรงหนุนของกระแสการลงทุนในฝั่งตะวันตก ในทางกลับกันหากความต้องการทองคำของธนาคารกลางลดลงอย่างมาก และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอเชียเปลี่ยนไป นักลงทุนอาจเห็นการปรับฐานในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้การวิเคราะห์ของสภาทองคำโลกได้แสดงให้เห็นว่าทองคำมีบทบาทสำคัญในการกระจายความเสี่ยง และเป็นแหล่งสภาพคล่องทางการเงิน ควบคู่ไปกับการให้ผลตอบแทนระยะยาวในเชิงบวก 

17 เมษายน 2567 : ช.การช่าง เคาะผลตอบแทนหุ้นกู้ 4 ชุด อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.40% ต่อปี อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.61% ต่อปี อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.78% ต่อปี และอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.10% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปในระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2567 ผ่านสาขาและช่องทางออนไลน์ของธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย เผยหุ้นกู้ฯ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A- แนวโน้ม “คงที่” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 สะท้อนความแข็งแกร่งของธุรกิจในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างและลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มั่นใจการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐสนับสนุนความแข็งแกร่งของธุรกิจ ขณะที่งานในมือเกือบ 1.3 แสนล้านบาท และผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน

บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ผู้ดำเนินธุรกิจก่อสร้างที่สามารถรับบริหารโครงการขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนทุกรูปแบบ และมีความสามารถในการพัฒนา ลงทุน และบริหารโครงการสัมปทานระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ในประเทศและภูมิภาคอย่างครบวงจร กำหนดดอกเบี้ยหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุด เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และ/หรือ ผู้ลงทุนสถาบัน ประกอบด้วย

หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.40% ต่อปี

หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.61% ต่อปี

หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.78% ต่อปี

หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.10% ต่อปี

กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน และจะเสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 (โดยในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 27-28 เมษายน 2567 จองซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น) ผ่านสถาบันการเงิน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย โดยหุ้นกู้ชุดที่ 2 - 4 มีเงื่อนไขให้ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้งจำนวนหรือบางส่วนก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ตามเงื่อนไขที่ระบุในข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้

ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ประเภทชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อีกทั้งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ระดับ

“A-” แนวโน้ม “คงที่” เช่นเดียวกับอันดับเครดิตองค์กร สะท้อนสถานะของบริษัทฯ ในการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างชั้นนำในประเทศไทย ที่มีความสามารถในการรับงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่และโครงการที่มีความซับซ้อน และมีความยืดหยุ่นทางการเงินที่เกิดจากการลงทุนเชิงกลยุทธ์ รวมถึงโอกาสในการเติบโตจากมูลค่างานในมือ (Backlog) ที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ โดย ณ สิ้นปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณงานในมือที่รอรับรู้รายได้ มูลค่า 128,535 ล้านบาท

นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ช.การช่าง เปิดเผยว่า ช.การช่าง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ใหญ่ที่สุดในหมวดธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้าง ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังมีความสามารถในการด้านก่อสร้างและรับบริหารโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯ มีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ

ปัจจุบัน บมจ.ช.การช่าง ดำเนินธุรกิจหลัก 2 ประเภท ได้แก่ (1) ธุรกิจการก่อสร้าง ทั้งระบบขนส่งมวลชน ท่าอากาศยาน ถนน ทางด่วน สะพาน พลังงาน ระบบน้ำและท่าเรือ และ (2) ธุรกิจการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค ด้วยการเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคด้านต่างๆ โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ประกอบธุรกิจก่อสร้างและบริหารทางพิเศษ รวมถึงบริหารจัดการโครงการระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า ในสัดส่วน 35.18% บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) หรือ TTW ผู้ผลิตจำหน่ายน้ำประปาและบริหารจัดการน้ำเสีย ในสัดส่วน 19.40% และถือหุ้นในบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ผู้ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ในสัดส่วน 30.00% (ข้อมูลโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566)

บมจ. ช.การช่าง ยังได้รับคะแนนประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาวหรือ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2566 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และได้รับการประเมิน ESG Rating ในระดับ A จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประจำปี 2566 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาลอีกด้วย

“โครงการที่มีอยู่เดิมจะช่วยสร้างความมั่นคง ส่วนโครงการใหม่จะสร้างการเติบโต ซึ่งเรามีพร้อมทั้ง 2 ส่วน ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่า การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทฯ นั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการลงทุน” นายณัฐวุฒิกล่าว

ทางด้านสถาบันการเงินผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ช.การช่าง กล่าวเพิ่มเติมว่า มั่นใจว่าหุ้นกู้ ช.การช่าง จะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน ด้วยจุดแข็งในหลายด้าน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือระดับ A- ซึ่งระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ทั้ง 4 ชุด ของ ช.การช่าง อยู่ที่ระดับ 3 (จากความเสี่ยงสูงสุดที่ระดับ 8) ประกอบกับผลประกอบการของ ช.การช่าง ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 มีรายได้รวม 14,419 ล้านบาท ปี 2565 มี

รายได้รวม 19,660 ล้านบาท และปี 2566 รายได้รวมเติบโตขึ้นเป็น 37,956 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิปี 2564 – 2566 เท่ากับ 906 ล้านบาท, 1,105 ล้านบาท และ 1,501 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ ช.การช่าง สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 10,000 บาท สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป

โดยติดต่อผ่าน 2 สถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bualuang mBanking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2111-1111 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

SCB WEALTH เผยตั้งแต่ต้นปี 2566 เงินลงทุนทั่วโลกไหลเข้าตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดย money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ 5 ปีที่ผ่านมา เงินไหลเข้าประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเฟดลดดอกเบี้ย เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แนะนักลงทุนหาจังหวะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาอีกด้วย ส่วนตลาดหุ้นแนะหาจังหวะช่วงปรับฐานทยอยสะสมหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปสามารถลงทุนต่อได้แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับลดลงช้ากว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ อยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อติดต่อกัน 6 เดือน คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะค่อยๆ ลดลงและเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มั่นใจว่าสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%ได้ หลังจากนั้น Fed จะกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2567 และรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้ง โดยในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มลดลง จะทำให้ผลตอบแทนของการถือครองเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง และผลตอบแทนไม่ได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น

“ในปี 2566 ที่ผ่านมา การถือเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1% ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ขณะที่ จากสถิติย้อนหลัง 30 ปี พบว่า เงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นในปีที่เกิดวิกฤต แต่ในจังหวะที่เงินเฟ้อทรงตัว อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาลง เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก ส่วนเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ดังนั้น เราจึงควรหาแนวทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นก่อนจะตกรถ” นายศรชัย กล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงต้นเดือน มี.ค. 2567 เงินลงทุนทั่วโลกยังคงไหลเข้าไปในตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดยในส่วนของ money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ หากนับรวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีเงินไหลเข้ามารวม 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้ว หมายความว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลง เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ ส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ

สำหรับผู้ลงทุนที่นำเงินส่วนใหญ่พักไว้ใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตราสารการเงิน ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆ ยังให้ผลตอบแทนได้ดี ทำให้ไม่เคลื่อนย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ใดนั้น ในอนาคตผลตอบแทนระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สินทรัพย์อื่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นไปก่อนแล้ว ดังนั้น เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ผู้ลงทุนควรมองหาช่องทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตราสารหนี้อายุประมาณ 1-3 ปี รวมถึงการเพิ่มโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ มองว่า ตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ยังให้ผลตอบแทนสูง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ และอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วง ไตรมาส 2-3 นี้ด้วย ส่วนการลงทุนในหุ้น พบว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ล้วนมีผลการดำเนินงานที่ดี ด้วยอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในดัชนีค่อนข้างมาก เช่น ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ( YTD) ปรับขึ้นมาประมาณ 7-8% ผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม 7 นางฟ้า ประมาณ 6% ส่วนที่เหลือไม่เกิน 2% เป็นผลตอบแทนของหุ้นอื่นๆ ในตลาด สะท้อนถึงการกระจุกตัวของผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนตลาดหุ้นยุโรป เมื่อดูจากดัชนี STOXX 600 พบว่า นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ปรับเพิ่มขึ้น 4.5% โดยเป็นผลการดำเนินงานจากหุ้นขนาดใหญ่ 7 ตัว เกือบ 4% มีเพียงส่วนน้อยที่เหลือที่มาจากหุ้นขนาดเล็ก

นายศรชัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาตลาดคาดหวังกับผลตอบแทนของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วค่อนข้างมาก และให้ผลตอบแทนเป็นไปตามที่เป้าหมาย ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจมีการปรับฐาน จากการขายทำกำไร ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนให้เติบโตได้อีก และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ แม้นักลงทุนจะรับรู้ปัจจัยการลดดอกเบี้ยไปในราคาหุ้นแล้วก็ตาม ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตอาจจะปรับขึ้นไม่มากอย่างที่ผ่านมา ทำให้มองว่า นักลงทุนสามารถถือลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วต่อไปได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับอาจไม่สูงเช่นเดิม

สำหรับตลาดหุ้นในเอเชีย มองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ น่าสนใจ โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ให้ผลตอบแทน 15-16% แต่ผลตอบแทนกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และเทคโนโลยีเป็นหลัก ในส่วนของดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้จะปรับตัวขึ้นมามาก แต่เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในรอบก่อนที่เคยทำสถิติสูงสุด พบว่า ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) มีความแตกต่างกัน โดยในครั้งนี้มีระดับ P/E ที่ต่ำกว่า ขณะที่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมาตรการในการปฏิรูปธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้บริษัทนำเงินสดที่เก็บไว้จำนวนมากในงบดุล ออกไปซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้ EPS สูงขึ้น และสามารถจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้สูงขึ้น ก็จะช่วยให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นได้ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ที่มี ROE มากกว่า 20% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่น เงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มขึ้น การจ้างงานดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ ส่วนค่าแรงปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยให้การบริโภคในญี่ปุ่นดีขึ้น และจะส่งผลให้เกิดการลงทุนที่มาจากนักลงทุนญี่ปุ่นมากขึ้นตาม ดังนั้น เราจึงมองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจในระยะกลางถึงยาว เพียงแต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นมามาก อาจจะมีการปรับฐานบ้าง นักลงทุนอาจรอจังหวะที่ตลาดปรับฐานเพื่อกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง

ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปัจจุบันยังมีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ที่ต่ำมากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจและมีเงินสดมากในงบดุล ซึ่งตลาดหุ้นเกาหลีใต้กำลังพยายามผลักดันการเพิ่มมูลค่าบริษัทคล้ายกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผ่านการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน นอกจากนี้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้มักจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับวัฏจักรของการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น การส่งออกเกาหลีใต้ก็น่าจะฟื้นตัว ทำให้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ดีขึ้น ส่วนกำไรต่อหุ้นก็

น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามการส่งออก นอกจากนี้ ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ก็ยังถูกอยู่ โดย P/E ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 10.6 เท่า หรือ -0.3 S.D. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ทำให้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Opportunistic Portfolio ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนส่วนเสริม สำหรับเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน ในไตรมาสที่ 2 นี้

ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยมีผลเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันในปี 2567 ธนาคารไทยพาณิชย์จึงประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงสุด 0.30% ต่อปี เพื่อช่วยส่งเสริมการออมเงินและช่วยให้ผู้ฝากเงินมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น พร้อมกับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ต่อปี เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งผ่านการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงเป็นการปรับให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวม ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้คาดว่าจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้าจากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. รวมถึงเป้าหมายของธนาคารที่จะเป็น Digital Bank with Human Touch ทางธนาคารจึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัลและเงินฝากประเภทไม่มีสมุด รวมถึงเงินฝากประจำ โดยปรับเพิ่มขึ้น 0.10% - 0.30% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อสะท้อนต้นทุนทางการเงินในระบบที่สูงขึ้น โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.05% เป็น 7.30% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.80% เป็น 7.05% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.325% เป็น 7.575% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบาง พร้อมคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาสามารถติดต่อธนาคารได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center 02-777-7777

 “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ประกาศอัตราดอกเบี้ยสุดท้ายของหุ้นกู้ 4 รุ่น อายุ 1 ปี 6 เดือนถึง 7 ปี อยู่ที่ 3.04 - 3.80% ต่อปี พร้อมเสนอขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนเป็นการทั่วไปในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง และช่องทางทรูมันนี่ วอลเล็ต

ย้ำเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าถึงหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จัดอันดับโดยทริสเรทติ้ง มั่นใจตอบโจทย์ผู้ลงทุนทั้งความหลากหลายของอายุหุ้นกู้ ผลตอบแทนที่เหมาะสม ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3 ขณะที่ธุรกิจมีโอกาสเติบโตและขยายสู่การเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคเอเชีย โดยมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งรองรับ ด้านผู้จัดการการจัดจำหน่ายมั่นใจการท่องเที่ยวฟื้นตัว การอุปโภคบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง เป็นปัจจัยสนับสนุน มั่นใจกระแสตอบรับหุ้นกู้คึกคัก

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) และธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) ประกาศอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.04% ต่อปี รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.20% ต่อปี รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.55% ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.80% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยจะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี และ บล.เกียรตินาคินภัทร รวมถึงเสนอขายผ่านช่องทาง ทรูมันนี่ วอลเล็ต ในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566

นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโครและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสายงานบัญชีและการเงิน บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า เปิดเผยว่า บริษัทฯ มั่นใจว่า การเสนอขายหุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน เพราะนอกจากจะเป็นการเสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกของ ‘ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ แล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีที่ประชาชนทั่วไปจะได้เข้าถึงหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) โดยเฉพาะในภาวะที่ผู้ลงทุนมองหาหุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูง และมีความเสี่ยงจากการลงทุนอยู่เพียงระดับ 3 (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 สูงสุดระดับ 8) ขณะที่ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ รวมถึงอายุหุ้นกู้ที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะเป็นทางเลือกสำหรับการตัดสินใจที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งระยะสั้นและระยะปานกลาง

ทั้งนี้ หุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A+” เช่นเดียวกับอันดับความน่าเชื่อถือองค์กรที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 สะท้อนสถานะของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทย่อยหลัก (Core Subsidiary) ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) และการเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ด้วยความแข็งแกร่งของผลการดำเนินงานทั้งฐานรายได้และกำไรที่เติบโต ภายใต้หลักการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล และมีเป้าหมายสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“เรามั่นใจว่า หุ้นกู้ ‘ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะนอกจากอายุหุ้นกู้ ผลตอบแทน ความเสี่ยง และแนวโน้มธุรกิจ จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนยังสามารถเข้าถึงการจองซื้อได้หลายช่องทางจากสถาบันการเงินทั้ง 8 แห่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ และเพิ่มเติมด้วยช่องทางจำหน่ายผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ต ซึ่งลูกค้ามีความคุ้นเคยและมีประสบการณ์การใช้จ่ายผ่านช่องทางนี้ได้อย่างสะดวกอยู่แล้วเช่นกัน” ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโครและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสายงานบัญชีและการเงิน บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า กล่าว

ด้านสถาบันการเงินในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” กล่าวเสริมว่า ‘ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง หลังจากครึ่งปีแรกมีรายได้รวม 241,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,746 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 130,875 ล้านบาท และธุรกิจค้าปลีกโลตัส 110,959 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 3,682 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ บริษัทฯ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากทิศทางการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและชัดเจน รวมถึงแนวโน้มการอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่า หุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” จะได้รับการตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน

สำหรับธุรกิจของ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการมืออาชีพ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยบริษัทฯ มุ่งที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับภูมิภาคในเอเชีย และขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้า ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับโฉมร้านค้าแบบไฮบริดซึ่งดึงจุดเด่นของ 2 กลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับบริษัทด้านความยั่งยืน โดยเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี S&P Global The Sustainability Yearbook 2023 ในกลุ่ม Food & Staples Retailing ซึ่งเป็นดัชนีชั้นนำของโลกที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นบริษัทที่มุ่งสร้างการเติบโตไปพร้อมกับคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท (IOD) ในระดับ 5 ดาวหรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Score) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 อีกด้วย

สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ซีพี แอ็กซ์ตร้า กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังต่อไปนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bualuang mBanking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click