November 22, 2024

ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยมีผลเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันในปี 2567 ธนาคารไทยพาณิชย์จึงประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงสุด 0.30% ต่อปี เพื่อช่วยส่งเสริมการออมเงินและช่วยให้ผู้ฝากเงินมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น พร้อมกับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ต่อปี เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งผ่านการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงเป็นการปรับให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวม ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้คาดว่าจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้าจากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. รวมถึงเป้าหมายของธนาคารที่จะเป็น Digital Bank with Human Touch ทางธนาคารจึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัลและเงินฝากประเภทไม่มีสมุด รวมถึงเงินฝากประจำ โดยปรับเพิ่มขึ้น 0.10% - 0.30% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อสะท้อนต้นทุนทางการเงินในระบบที่สูงขึ้น โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.05% เป็น 7.30% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.80% เป็น 7.05% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.325% เป็น 7.575% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบาง พร้อมคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาสามารถติดต่อธนาคารได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center 02-777-7777

 บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ 2 รุ่น ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ได้แก่ รุ่นอายุ 1 ปี 10 เดือน 5 วัน อัตราดอกเบี้ย [4.50 - 4.70]% ต่อปี และรุ่นอายุ 2 ปี 10 เดือน 5 วัน อัตราดอกเบี้ย [5.70 – 5.90]% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน

คาดเปิดจองระหว่างวันที่ [7 – 9] มีนาคม 2566 โดยหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่ม “ระดับลงทุน” จากทริสเรทติ้ง ที่ระดับ “BBB-” พร้อมแต่งตั้ง 7 สถาบันการเงินเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย บล.เอเซีย พลัส บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง บล.ดาโอ (ประเทศไทย) และบล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ทริสเรทติ้งเผยอันดับเครดิตสะท้อนสถานะทางการตลาดของบริษัทฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียม ตลอดจนสัดส่วนรายได้ที่มีนัยสำคัญจากโครงการร่วมทุน ด้านผู้บริหารมั่นใจหุ้นกู้ได้รับการตอบรับ หลังธุรกิจอสังหาฯ รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีนส่งผลให้กำลังซื้อกลับมาคึกคัก

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ผู้นำแห่งวงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง ครองตำแหน่งผู้นำตลาดคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ยื่นข้อมูลเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และ/หรือ ผู้ลงทุนสถาบัน ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 2 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นอายุ 1 ปี 10 เดือน 5 วัน อัตราดอกเบี้ย [4.50 - 4.70]% ต่อปี และรุ่นอายุ 2 ปี 10 เดือน 5 วัน อัตราดอกเบี้ย [5.70 - 5.90]% ต่อปี โดยบริษัทฯ จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนให้ทราบอีกครั้ง กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน (เว้นแต่ดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะมีระยะเวลา 1 เดือน 5 วัน) ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 ที่ระดับ “BBB-” และมีแนวโน้ม “คงที่” (Stable) เช่นเดียวกับอันดับเครดิตองค์กร

หุ้นกู้ชุดดังกล่าวจะเสนอขายผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โดยคาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ [7 - 9] มีนาคม 2566

บริษัทฯ มั่นใจว่า หุ้นกู้ ‘อนันดา’ จะยังคงได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากอันดับความน่าเชื่อถือจากทริสเรทติ้งในระดับลงทุน (Investment grade) รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ ตลอดจนอายุของหุ้นกู้ที่ไม่ยาวเกินไป และส่วนสำคัญที่ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้นมาจากแนวโน้มของธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวโดยมีทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้นกว่าปี 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐบาลจีนตัดสินใจเปิดประเทศเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้คาดว่าจะมีชาวจีนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น และส่งผลให้กำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มลูกค้าต่างชาติจะเริ่มกลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ความต้องการที่อยู่อาศัยของลูกค้าคนไทยยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อนันดาฯ กล่าว

ขณะที่ทริสเรทติ้ง ระบุว่า อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้สะท้อนถึงสถานะทางการตลาดของบริษัทฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียม ตลอดจนสัดส่วนรายได้ที่มีนัยสำคัญจากโครงการร่วมทุน โดยทริสเรทติ้งคาดว่า ในช่วงปี 2566 - 2568 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ซึ่งรวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากโครงการร่วมทุนน่าจะอยู่ที่ระดับ 1.5-2.0 พันล้านบาทต่อปี และบริษัทฯ จะมีกำไรสุทธิตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งโครงการคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยโครงการคอนโดมิเนียมจะเน้นพัฒนาบนทำเลศักยภาพใกล้สถานีรถไฟฟ้า เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของผู้พักอาศัย ส่วนโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม เน้นแนวคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในเซกเม้นท์ต่างๆ โดยในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค. - ก.ย. 2565) บริษัทฯ มียอดโอนทั้งสิ้น 9,306 ล้านบาท สะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อประสบการณ์การทำงานของอนันดาฯ ที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าคนเมืองทั้งตลาดคอนโดมิเนียมและแนวราบในเมืองได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้อนันดาฯ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 7 แห่ง ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 ต่อ 819 โดยบุคคลธรรมดาจองซื้อทางออนไลน์ผ่านhttps://www.kasikornbank.com/kmyinvest (ยกเว้นบุคคลสัญชาติต่างด้าว และนิติบุคคล สามารถจองซื้อผ่านสำนักงานใหญ่และสาขา)

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-626-7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB Thai Digital Banking

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02-680-4004

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด โทร. 02-695-5000

บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-351-1800 กด 1

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-009-8351-56

ธนาคารกรุงไทย ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.40% มีผล 3 มกราคม 2566 สะท้อนต้นทุนทางการเงินที่แท้จริง จากกรณีธปท.ปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอัตราปกติที่ 0.46% เดินหน้าช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด ทันการณ์ และฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น โดยธปท.ประกาศปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ให้กลับเข้าสู่อัตราปกติที่ 0.46% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จากที่ประกาศปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือ 0.23%ต่อปี เพื่อลดต้นทุนสถาบันการเงิน ให้ส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.40% ไปแล้วก่อนหน้านี้

การปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ดังกล่าว ส่งผลให้ธนาคารจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) ในอัตรา 0.40% ต่อปี ตามที่ได้ปรับลดลงไป 0.40% ในช่วงก่อนหน้า มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยอัตราดอกเบี้ย MLR เท่ากับ 6.15% MOR เท่ากับ 6.72% และ MRR เท่ากับ 6.77% ต่อปี สอดคล้องกับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

โดยที่ธนาคารกรุงไทย ให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง โดยพิจารณาอย่างรอบคอบให้มีผลกระทบกับลูกค้าน้อยที่สุด โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย ผู้ประกอบการรายเล็กและกลุ่มเปราะบาง ที่รายได้ยังไม่กลับมาปกติ เพื่อดูแลช่วยเหลือลูกค้าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยมาตรการความช่วยเหลือจะพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้า แต่ละกลุ่ม เพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้ตรงจุด และทันการณ์ ครอบคลุมทั้งการลดภาระทางการเงิน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เดิม การไกล่เกลี่ยหนี้ และการเสริมสภาพคล่อง โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต พร้อมสนับสนุนการปรับตัวรองรับทิศทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว สามารถแข่งขันได้ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นในทุกมิติ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

X

Right Click

No right click