November 25, 2024

 ในปี 2566 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มทยอยปรับลดลงตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และสินเชื่อที่ขยายตัวอาจมีการชะลอตัวลงหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วงโควิด 19 สิ้นสุดลง แต่ยังพบว่าสัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง ธปท. จึงเน้นย้ำให้มี มาตรการยกระดับการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่อที่มีความรับผิดชอบและเป็นธรรมอย่างเร่งด่วน รวมถึงได้ขอความร่วมมือในการช่วยกันส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัย และมีทักษะการบริหารจัดการด้านการเงินที่ดีขึ้นร่วมกัน

นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (CardX) กล่าวว่า “บริษัท พร้อมขานรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเร่งด่วนเกี่ยวกับเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) โดยเห็นว่าการให้ความรู้ด้านการเงิน การวางแผนและการสร้างความเข้าใจเรื่องการเป็นหนี้ คือหน้าที่ของเราที่เลี่ยงไม่ได้ โดยได้เริ่มให้ความสำคัญกับกระบวนการขาย ที่เน้นการให้ข้อมูลครบถ้วน ไม่เกินจริง ไม่บิดเบือน และเพิ่มเติมการสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ด้านการเงิน รวมถึงการปรับการสื่อโฆษณาต่างๆ ด้วยการแสดงคำเตือนและกระตุ้นเพื่อเน้นย้ำวินัยทางการเงิน ส่งเสริมการกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหวในชิ้นงานโฆษณาต่างๆ พร้อมสร้างกลไกให้คำปรึกษากับลูกค้าตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนภาพรวมบริษัทในปีที่ผ่านมาจากผลการดำเนินงานของคาร์ดเอกซ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทมียอดสินเชื่อรวมกว่า 115,500 ล้านบาท มีฐานสมาชิกรวมราว 3.06 ล้านบัญชี พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่าประมาณ 115,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิตประมาณ 2,140,000 บัตร คิดเป็นมูลค่าเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิต ราว 58,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิตและสมาชิกสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 50:50 โดยหมวดธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่ หมวดไฮเปอร์มาร์เก็ต, ประกัน และสถานีบริการน้ำมัน และหมวดธุรกิจที่มีจำนวนรายการการใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ หมวดร้านอาหาร หมวดชอปปิง และหมวดท่องเที่ยว

ในปี 2567 มีแผนที่จะมุ่งผลักดันเพื่อตอบแทนและช่วยแบ่งเบาภาระผู้บริโภค ผ่านแคมเปญที่คัดสรรมาอย่างดีตลอดปี 2567 อาทิ การสานต่อแคมเปญ ‘เบาได้อีกเยอะ’ แบ่งชำระ 0% 4 เดือน ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เมื่อใช้จ่าย ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต่อเซลล์สลิป ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า อีกทั้งยังมีมาตรการและแคมเปญต่างๆ ที่ร่วมกับพันธมิตรห้างร้าน รวมกึงร้านค้าต่างๆ ตลอดปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้บริโภคจับจ่ายได้เบาและสบายมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะมีการเติบโตจากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2567 ที่ 15%

บริษัทยังคงตั้งเป้าหมายผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลพอร์ตลูกหนี้รวมให้ขยายตัวมากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม ร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสบการณ์ และการให้บริการด้านสินเชื่อบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยเน้นการสื่อสารและการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายกับลูกค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ให้ตรงใจและสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจของเราให้เติบโตอย่างยั่งยืน สามารถสร้างผลประกอบการที่แข็งแกร่งได้ตามเป้าหมายที่วางไว้" นายสารัชต์กล่าวสรุป

สมาคมธนาคารไทย เผยข้อมูลกลโกงมิจฉาชีพใช้แอปฯ ดูดเงินสร้างความเสียหายต่อประชาชนเป็นมูลค่าราว 500 ล้านบาท แนะนำวิธีสังเกตและวิธีการตรวจสอบความผิดปกติ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับมาตรการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ ทั้งการพัฒนาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถปิดกั้นหรือลดผลกระทบได้อย่างทันท่วงที

นายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพหลอกลวงเอาเงินจากประชาชนแนบเนียนขึ้น และมีเทคนิคที่หลากหลาย ส่งผลให้มีผู้เสียหายจากการตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สมาคมธนาคารไทยจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ยกระดับมาตรการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเพื่อช่วยประชาชน โดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ True AIS DTAC และ NT ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง LINE ได้ร่วมกันดำเนินการดังนี้

· ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร

· ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม

· ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย

· หารือธนาคารสมาชิกพัฒนาระบบความปลอดภัยแชร์เทคนิคและแนวทางป้องกันภัยร่วมกัน เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุม Mobile Banking Application กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service เพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ด้วย Biometrics Comparison

นอกจากนี้ หากร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทำได้รวดเร็วขึ้น ระงับความเสียหายได้อย่างทันท่วงที สามารถบล็อกบัญชีต้องสงสัยได้ โดยไม่ต้องรอแจ้งความ

นายชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ ประธานกรรมการ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลอกลวงประชาชนให้ได้รับความเสียหายจากแอปฯ ดูดเงิน ส่วนใหญ่ดำเนินการใน 3 รูปแบบ ดังนี้

1. หลอกล่อด้วยรางวัลและความผิดปกติของบัญชีและภาษี โดย Call Center โทรมาหลอกด้วยสถานการณ์ที่ทำให้กังวล SMS เป็นการใช้ชื่อเหมือนหรือคล้ายหน่วยงานต่างๆ และ Social Media หลอกให้เงินรางวัลและเงินกู้ หรือโน้มน้าวชวนคุยหาคู่ และให้เพิ่ม (Add) บัญชีไลน์ปลอมของมิจฉาชีพ

2. หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม หลอกขอข้อมูล และให้ทำตามขั้นตอนเพื่อติดตั้งแอปฯปลอม (ไฟล์ติดตั้งนามสกุล .apk) โดยใช้ความสามารถของ Accessibility Service ของระบบปฏิบัติการ Android ที่เมื่อแอปพลิเคชันใด ๆ ได้รับอนุญาตให้ทำงานภายใต้ Accessibility Service แล้ว จะสามารถเข้าถึงและควบคุมการสั่งงานมือถือแทนผู้ใช้งานได้ ฟังก์ชันนี้จึงเป็นกลไกหลักของมิจฉาชีพในการควบคุมมือถือของเหยื่อ

3. ควบคุมมือถือของเหยื่อและใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้แอปฯปลอมเชื่อมต่อไปยังเครื่องของมิจฉาชีพ เพื่อเข้าควบคุมและสั่งการมือถือของเหยื่อ เพื่อโอนเงิน และขโมยข้อมูลต่าง ๆ โดยรูปแบบของแอปฯดูดเงินที่มิจฉาชีพใช้หลอกประชาชนมี 3 รูปแบบ คือ

1. หลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันจำพวกรีโมทจาก Play Store เช่น TeamViewer, AnyDesk เป็นต้น จากนั้นมิจฉาชีพจะรีโมทเข้ามาดูและควบคุมมือถือของเหยื่อเพื่อโอนเงินออกทันที (เกิดขึ้นมากในช่วงกลางปี 2565)

2. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) เมื่อติดตั้งแล้วจอมือถือของเหยื่อจะค้าง โจรจะรีโมทมาควบคุมมือถือของเหยื่อ และโอนเงินออกทันที เช่น แอปพลิเคชัน DSI, สรรพากร, Lion-Air, ไทยประกันชีวิต, กระทรวงพาณิชย์ (ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด)

3. แอปพลิเคชันอันตราย (.apk) ที่ควบคุมมือถือของเหยื่อ รอประชาชนเผลอแล้วค่อยแอบโอนเงินออกภายหลัง เช่น แอปพลิเคชัน หาคู่ Bumble, Snapchat (ยังคงเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้)”

 

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) แนะแนวทางการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพว่า มีจุดสังเกตที่ต้องระวัง คือ

1. มิจฉาชีพจะแนะนำให้เหยื่อ Copy link ไปเปิดใน Chrome Browser เพื่อเข้าเว็บปลอม

2. ขณะทำการติดตั้งแอปพลิเคชันของมิจฉาชีพ มือถือจะขอสิทธิ์ในการติดตั้งแอปฯที่ไม่รู้จัก

3. มิจฉาชีพพยายามให้ตั้ง PIN หลายครั้ง หวังให้เหยื่อเผลอตั้ง PIN ซ้ำกับ PIN ที่ใช้เข้า Mobile Banking Application ของธนาคาร

4. หลอกให้เหยื่อเปิดสิทธิ์ การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) โดยชวนคุยจนไม่ทันอ่านเนื้อหาที่ขึ้นมาเตือน

ทั้งนี้ ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น และไม่ควร Add LINE หรือช่องทาง Chat อื่น ๆ คุยกับคนแปลกหน้า

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากแอปฯดูดเงิน แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. ตรวจสอบมือถือว่าเปิดแอปพลิเคชันที่ทำงานภายใต้ Accessibility Service หรือไม่ โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าเรารู้จักและทราบเหตุผลของการเปิดใช้งานทุกโปรแกรม หากไม่ทราบให้รีบปิด

2. เปิดใช้งาน Google Play Protect เพื่อตรวจสอบการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตราย หากเจอให้ Uninstall ทันที

3. ติดตั้งแอปพลิเคชัน Endpoint Protection หรือ Antivirus บนมือถือเพื่อดักจับ และป้องกันแอปพลิเคชันอันตราย หรือมัลแวร์ต่างๆ

สำหรับผู้ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ให้รีบดำเนินการปิดเครื่องทันที ด้วยวิธีกด Force-Reset คือ

การกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียง พร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที แต่ถ้าทำวิธีนี้ไม่สำเร็จ ให้ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ด้วยการถอดซิมการ์ด ปิด Wi-Fi หลังจากนั้น ให้ติดต่อธนาคาร แจ้งความทันที

ทั้งนี้ รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายและมีวิธีการใหม่ๆ เสมอ ดังนั้น เพื่อให้ปลอดภัยจากกลโกงประชาชนควรพึงระลึกเสมอถึง 8 พฤติกรรมปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพหลอกดังนี้

1. อุปกรณ์ปลอดภัย-ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ถูกปลดล็อก (root/jailbreak) หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย และตั้งล็อกหน้าจอ

2. ตัวตนปลอดภัย-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในสื่อสาธารณะเกินความจำเป็น

3. รหัสปลอดภัย-ตั้งค่ารหัส (Password) ที่ไม่ง่ายเกินไป ไม่ซ้ำกับรหัสการใช้ทั่วไป และไม่บอกผู้อื่น

4. สื่อสารปลอดภัย-ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า และไม่แสดงตัวก่อน หากถูกถามให้ตรวจสอบคู่สนทนาให้แน่ชัด

5. เชื่อมต่อปลอดภัย-ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะ หรือฟรี

6. ดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ได้รับรองโดยผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (Official Store) เช่น Play Store หรือ App Store เท่านั้น โดยไม่คลิกจากลิงก์ และตรวจเช็กการอนุญาต หรือ Permission ของแอพปลิเคชันและสังเกตการขออนุญาตเข้าใช้งานอุปกรณ์หรือข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานและกับประเภทการทำงานของแอปพลิเคชัน

7. มีสติรอบคอบก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้ง อ่านข้อความที่ขึ้นเตือนบนเครื่องโทรศัพท์มือถือให้ถี่ถ้วน ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, Chat หรืออีเมลที่ถูกส่งมาจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ

8. ศึกษาและติดตามข่าวสารการใช้งานเทคโนโลยีเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยหมั่นตรวจเช็กการตั้งค่า ไม่ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (Install Unknown Apps) และใช้งาน Antivirus Software

ติดตามข่าวสาร โดยสามารถศึกษาข้อมูลและแนวทางป้องกันกลโกงมิจฉาชีพได้ที่ Facebook: TB-CERT

ตามที่ปรากฎข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอมแล้วถูกดูดข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชีนั้น

X

Right Click

No right click