ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถทางด้านการเงินยั่งยืน ร่วมลงนามใน “สัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap” เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย โดยจะนำผลการดำเนินงานของ GC ในการมีส่วนร่วมในด้านการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล (ESG) มาเป็นเกณฑ์เพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยในธุรกรรมนี้ ทั้งนี้ ยังเป็นการต่อยอดการให้บริการการเงินยั่งยืนอย่างครบวงจรต่อเนื่องจากความสำเร็จของสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 การลงนามในครั้งนี้มี ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ และ นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนามเมื่อเร็วๆ นี้
ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ปัจจุบันกระแสของความยั่งยืนได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ดังจะเห็นได้จากความตื่นตัวขององค์กรไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ผ่านการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักขององค์กร สอดคล้องกับการประกาศเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ของกลุ่มธุรกิจ SCBX ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าภาคธุรกิจนั้น ธนาคารมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ผสานแนวคิดการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าและต่อยอดความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวธุรกิจของลูกค้าในรูปแบบต่างๆ การที่องค์กรขนาดใหญ่อย่าง GC
เข้าทำธุรกรรมสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งยังช่วยขยายขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจและการเติบโตในระยะยาว และสามารถช่วยองค์กรลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง โดยในธุรกรรมของ GC ครั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยโดยใช้ผลการดำเนินงานทางด้านความยั่งยืน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วนและโปร่งใสของ GC เป็นองค์ประกอบในการกำหนด ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของการต่อยอดคุณค่าทางด้าน ESG ทั้งยังได้รับประโยชน์จากความมุ่งมั่นในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้น
นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา GC มุ่งมั่น และนำแนวทาง ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับโดย DJSI เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนที่มีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย และโลกใบนี้ร่วมกับพันธมิตรด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามแนวทาง Together To Net Zero นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนในการนำ Sustainable Funding เข้ามาสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน การเข้าร่วมลงนามในสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ GC สามารถลดต้นทุนทางการเงิน และบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องจากสินเชื่อความยั่งยืนที่ได้รับไปแล้วก่อนหน้านี้”
รายนามผู้บริหาร ภาพ 6 ท่าน (จากซ้ายไปขวา)
1. นายจิตศักดิ์ สุนทรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานการเงินองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
2. นางสาวศรมน อิงคตานุวัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Corporate Banking 1 ธนาคารไทยพาณิชย์
3. นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
4. ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์
5. นายสมสกุล วินิชบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Client Coverage 1.7 ธนาคารไทยพาณิชย์
6. นางขวัญกมล พริ้งวณิชย์ Division Head, Financial Market Trading ธนาคารไทยพาณิชย์
เอสซีจี เดินหน้าโครงการปิโตรเคมีครบวงจรรายแรก ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) กับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ โดยจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่สาม ปี 2561 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 เพื่อรองรับความต้องการภายในเวียดนามที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในระดับสูง
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการ Long Son Petrochemicals หรือ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ระดับ World Scale มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนหลักของเอสซีจีในปัจจุบัน การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบสูงทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”
การลงนามในสัญญาเงินกู้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีวงเงินจำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) และมีระยะเวลาเงินกู้ประมาณ 14 ปี โดยมีธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
LSP ตั้งอยู่ที่เมือง Ba Ria – Vung Tau ห่างจากนครโฮจิมินห์ประมาณ 100 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิด HDPE LLDPE และ PP โดยโครงการมีการดำเนินงานอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของเวียดนามได้อย่างยั่งยืน
บุคคลในข่าว (ซ้ายไปขวา)
1. เยาวดี นาคะตะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. วรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
4. เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินการลงทุน เอสซีจี
5. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม General Director, Long Son Petrochemical Company Limited
6. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
7. ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์
8. ยูอิชิ นิชิมุระ Regional Head of Greater Mekong Sub-Region, Country Head of Thailand, General Manager of Bangkok Branch, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ราจีฟ คันนัน Executive Officer - Head of Investment Banking Asia, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
10. มาซายูกิ สุงาวาร่า, Executive Officer and General Manager, ธนาคารมิซูโฮ
11. วศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์