December 23, 2024

แจ๊ก หม่า หายไปไหน?

ราวพฤศจิกายน ปี 2563 คำถามนี้ต่างผุดขึ้นในใจของทุกคนที่สนใจเมืองจีนและนักลงทุนทั่วโลก

เพราะจู่ๆ อภิมหาเศรษฐีนักธุรกิจจีนที่ชอบออกมาให้ความเห็นและปรากฎตัวต่อสาธารณะตลอดเวลาอย่างคุณหม่า ก็หายไปจากซีนเฉยๆ

แน่นอน คุณหม่าคือผู้ก่อตั้ง Alibaba กิจการยักษ์ใหญ่ของโลกที่ได้ชื่อว่า “Amazon of China” เมื่อ 26 ปีมาแล้ว

การประสบความสำเร็จของ Alibaba ในขณะที่เขาอายุยังน้อย ส่งผลให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก กลายเป็นไอดอลของผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และอาจเป็นคนจีนร่วมสมัยที่คนทั่วโลกรู้จักมากที่สุด รองลงมาจากประธานาธิบดี สี จิ้นผิง

แต่เมื่อกิจการของเขาเติบใหญ่ขึ้นครอบคลุมกว้างขวางไปสู่บริการทางการเงินและฟินเทคภายใต้ Ant Group เขาก็เริ่มอึดอัดขัดข้องกับสภาพที่เป็นอยู่ในระบบการเงินของจีน

เขาตัดสินใจระบายความในใจ ให้สาธารณชนได้ร่วมรับรู้ ที่งานสัมนาหนึ่งในเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อนหน้านั้น

เขาวิจารณ์ว่าระบบการเงินของจีนนั้นขาดการสร้างระบบนิเวศน์ที่แข้มแข็ง สถาบันการเงินทำตัวราวกับโรงรับจำนำ ที่เน้นแต่หลักทรัพย์ค้ำประกัน การเติบโตขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพของหลักทรัพย์ค้ำประกันและความสำพันธ์ส่วนบุคคลเป็นสำคัญ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในวงการนี้มีน้อยและไม่ถูกเน้นย้ำ ทำให้ระบบการเงินจีนนั้นเปราะบาง หากต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจขาลงจะลำบาก

แน่นอน เสียงวิจารณ์ของเขาย่อมไปเข้าหูบรรดาผู้คุมกฏในพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาล

หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน เขาก็ถูกสอบสวน แล้วก็เริ่มหายตัวไปอย่างเงียบๆ

ราคาที่เขาและผู้ถือหุ้น Alibaba ตลอดจนนักลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีของจีนต้องจ่ายคือ การล่มสลายของมูลค่าหุ้น Alibaba อีกทั้งรัฐบาลยังได้สั่งเบรกกะทันหัน ไม่ให้เขานำหุ้น Ant Group เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกเลิกการขายหุ้น IPO ซึ่งเทียบมูลค่า ณ ขณะนั้น นักวิเคราะห์ต่างลงความเห็นว่าจะเป็น IPO ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ถึง 3.4 หมึ่นล้านเหรียญฯ

นับแต่นั้นมาจนบัดนี้ มูลค่ากิจการของ Alibaba ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (BABA) ลดลงกว่า 70%

เช้าวันที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่ ณ ขณะนี้ หุ้น BABA เพิ่งปิดการซื้อขายไปที่ 84.11 เหรียญฯ ไหลตกลงมาเรื่อยๆ จากประมาณ 310 เหรียญฯ เมื่อคราวเกิดเรื่อง

และแล้ว สองปีผ่านไป ก็เริ่มมีข่าวว่าคุณหม่าไปปรากฏตัวที่นั่นที่นี่ในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ และเมื่อมกราคม 2566 เขาก็ได้มาปรากฎตัวเป็นๆ ที่สนามมวยราชดำเนินและไปกินผัดไทยเจ๊ไฝกับลูกชายคนโตของเจ้าสัวธนินท์และภรรยา

ปัจจุบัน เขาเป็นศาสตราจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่ญี่ปุ่น และยังไม่มีใครรู้แน่ชัด ถึงชะตากรรมของอาณาจักรธุรกิจของเขา ว่าจะถูกยึดครองจากรัฐบาลให้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบังคับให้แตกเป็นหลายๆ ธุรกิจ เพื่อไม่ให้ใหญ่เกินไปหรือไม่ และอย่างไร

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับนักธุรกิจและนักลงทุนทั่วไปที่คิดจะไปลงทุนหรือค้าขายในเมืองจีน หรือคิดจะลงทุนในเงินหยวน ยิ่งนักลงทุนไทยเราส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ย่อมห้ามไม่ได้ที่จะมีจิตใจเอนเอียงไปทางจีน อีกทั้งกระแสแอนตี้ฝรั่งในช่วงหลังมานี้ก็แรงขึ้นเรื่อยๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในเทรนด์สำคัญที่ MBA เอง ก็แนะนำอย่างแข็งแรงยิ่งยวด นั่นคือ AI

เด๋วนี้มีกองทุน ETF จำนวนมากทั่วโลก ที่เน้นลงทุนในกิจการ AI และที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของ AI

ขณะเดียวกันก็มีกองทุนจำนวนมากที่ระดมทุนเพื่อไปลงทุนในจีน ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องหา AI Exposure อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กิจการ AI ของจีนนั้น หลักๆ คงหนีไม่พ้น “สี่ใหญ่” อย่าง Alibaba, Baidu, Tencent, และ Huawai

แต่ประเด็นหลักและความเสี่ยงอยู่ที่กฎระเบียบของรัฐบาล

มีข่าวออกมาจากจีนว่ารัฐบาลจีนกำลังสร้างกฎระเบียบฉบับสมบูรณ์ที่จะควบคุม AI โดยยึดหลักการคอมมิวนิสต์เป็นหัวใจสำคัญ เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์อื่นๆ ในสังคมจีน

AI ก็คงจะเหมือนกับเทคโนโลยีทุกชนิดหรือซอฟท์แวร์ทุกตัวในจีนที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐอย่างเข้มงวด

หน่วยงาน CAC หรือ Cyberspace Administration of China ถือว่า AI เป็น “ยุทธปัจจัย” หรือ Strategic Technology สำคัญของอนาคต (วงเล็บ “ที่จะต้องมีไว้เพื่อฟาดฟันกับศัตรูให้จีนได้เปรียบในสงครามเย็นที่กำลังเกิดขึ้น และสงครามร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต”)

นั่นหมายความว่า กิจการด้าน AI ทั้งปวง จะต้องไม่สร้าง หรือสนับสนุน เนื้อหาหรือคอนเทนต์ ที่ขัดต่อนโยบายของรัฐและความเห็นของผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์

อันหนึ่งที่เพิ่งออกมาเมื่อ ก.ค. ปีนี้ คือกิจการ AI ต้องขออนุญาตเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตจาก CAC จึงจะดำเนินธุรกิจด้านนี้ในประเทศจีนได้

กิจการหรือผู้ประกอบการที่ยื่นขออนุญาต จะต้องส่งรายละเอียดการทำงานทั้งหมดของอัลกอริทึ่มที่อยู่เบื้องหลังการทำงานและให้บริการของ AI และถ้า CAC เห็นว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไปตามนั้นแล้วยื่นเข้ามาใหม่

โดย CAC ใช้หลักพิจารณาว่า ทุกอย่างต้องสอดคล้องกับคุณค่าหลักยึดของระบอบสังคมนิยม” (Core values of socialism)

ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI มองว่า การแทรกแซงในลักษณะนี้ อาจส่งผลให้ระบบ AI เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

พวกเขาเรียกข้อผิดพลาดทำนองนี้ว่า AI Hallucinations ซึ่งแม้แต่ ChatGPT หรือ Bard (ของกูเกิ้ล) ก็เกิดแบบนี้บ่อย จนกว่าจะแก้ไขกันไปได้ทีละเล็กทีละน้อย คือต้อง “ทำไปแก้ไป” และ AI ก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ

บนแชตบอร์ด “ถงยี่” ของ Alibaba เองก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เมื่อมีคนถามว่าจะปรุงอาหารที่เรียกว่า “คอนกรีตผัด” อย่างไรดี และบ็อตก็ตอบและให้ข้อมูลเป็นวรรคเป็นเวร

ดังนั้น หากในอนาคต กิจการ AI ของจีนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดบริการได้แล้ว เกิดมีข้อความแฝงหรือคอนเทนต์ที่เจ้าหน้าที่รัฐตีความว่าไม่เหมาะสม ก็อาจต้องมารื้อสร้างกันใหม่ และต้องมายื่นขออนุญาตกันใหม่หรือไม่

นั่นเป็นความไม่แน่นอน ที่ยังไม่มีคำตอบในตอนนี้ (ในเชิงการลงทุนถือเป็น “ความเสี่ยง” อย่างหนึ่งที่สำคัญ)

อีกอย่าง แม้ตอนนี้กระแสแอนตี้ฝรั่งจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ในเอเซีย แต่ขณะเดียวกันกระแสแอนตี้จีน ก็เริ่มเกิดขึ้นในโลกเช่นกัน

ถ้าวิเคราะห์กันจริงจังแล้ว กิจการเทคโนโลยี “สี่ใหญ่” ของจีนนั้น สร้างรายได้นอกประเทศน้อยมาก

แพล็ทฟอร์มและแอ็พต่างๆ ของพวกเขา ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนอกจีน

และฮาร์ดแวร์ต่างๆ ก็เริ่มขายได้น้อยลง เพราะความไว้วางใจต่อการเก็บข้อมูลส่วนตัวไปไว้ในมือรัฐบาลจีนนั้นลดลง

ถ้ายืมคำของคุณหม่า ก็ต้องพูดว่า กิจการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ แม้จะสร้างรายได้มหาศาลในจีน แต่ก็พึ่งพิงตลาดจีนมาก เพราะการขยายธุรกิจในต่างประเทศยังไม่เป็นผล ดังนั้น พวกเขายังมีความเปราะบาง

หากเศรษฐกิจจีนเริ่มเป็นขาลง หรือทรุด พวกเขาจะลำบากกว่ากิจการที่มีฐานรายได้กระจายไปทั่วโลก

 

 

บทความ :  ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

29/09/2566

 

บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด (InnovestX Securities Co., Ltd.) เรือธงด้านการเงินการลงทุนของกลุ่ม SCBX ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการเงินการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นำเสนอ “Offshore KIKO” หรือ Knock-In Knock-Out Equity Note หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น (Structured Notes) ประเภทหนึ่งที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นต่างประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) มุ่งเพิ่มโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปในสภาพตลาดปัจจุบันที่ตลาดหุ้นต่างประเทศอยู่ในช่วงสภาวะตลาด Sideway ชูจุดเด่นผลตอบแทนสูงถึง 15-20% ต่อปี ภายในระยะเวลาการลงทุน 3-6 เดือน จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมการซื้อด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท หรือ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) พร้อมเพิ่มความมั่นใจในการคัดเลือกหุ้นที่จะมาเป็นสินทรัพย์อ้างอิงโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Research และ Wealth Strategy & Advisory จาก InnovestX ที่เลือกเฉพาะหุ้นจากบริษัทขนาดใหญ่ พื้นฐานดี และสามารถ Customize หุ้นได้ตามความต้องการของนักลงทุนแต่ละราย เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มทางเลือกด้านการลงทุนแก่นักลงทุนไทยในภาวะดอกเบี้ยต่ำ เงินเฟ้อดีดตัวสูง และในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วง Sideway หรือราคาหุ้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แบบนี้

นายพยนต์ พงศาวรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกลยุทธ์และแนะนำการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด กล่าวว่า “จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกครึ่งปีแรก 2566 InnovestX มองว่ายังมีหลายปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในโลกของการลงทุน รวมถึงยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในไตรมาส 3/2566 จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างพร้อมเพรียง โดยเรามองว่าภาพรวมของตลาดหุ้นในประเทศยังมีความไม่ชัดเจนและเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว

ลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันเรามีมุมมองว่าตลาดสหรัฐฯ ยังมีความผันผวนสูงหลังถูกกดดันจากนโยบายการเงินของ FED และตลาดจีนโตช้ากว่าคาด ทำให้ดัชนีภาคการผลิตชะลอตัว ด้วยเหตุนี้ InnovestX จึงนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เข้ามาตอบโจทย์สภาวะตลาดช่วงนี้ที่ตลาดหุ้นต่างประเทศในหลายๆ Sector อยู่ในช่วง Sideway หรือราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ อย่าง “Offshore KIKO” หรือ Knock-In Knock-Out Equity Note หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น (Structured Notes) ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นต่างประเทศ โดยมีลักษณะของผลตอบแทนในแง่ของดอกเบี้ยที่สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปซึ่งจะสอดคล้องกับสินทรัพย์ที่นำมาอ้างอิง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) ที่มีประสบการณ์การลงทุนบนพื้นฐานของความเข้าใจและรับความเสี่ยงบนหุ้นอ้างอิงได้”

“ด้วยจุดเด่นของ Offshore KIKO จาก InnovestX ที่ให้โอกาสสร้างผลตอบแทนสูงถึง 15-20% ต่อปี มีระยะเวลาการลงทุนเพียง 3-6 เดือน โดยได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอเป็นรายเดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมการซื้อ ลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท หรือ 30,000 USD โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ในตลาดทั่วโลก ซึ่งมีตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นฮ่องกงที่ได้รับความนิยมซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดในประเทศ และเราเห็นว่านักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้นจากการเติบโตของฐานลูกค้าของ InnovestX ซึ่งเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับปี 2564 นอกจากนี้ InnovestX ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Research และ Wealth Strategy & Advisory คอยให้คำแนะนำและช่วยคัดเลือกหุ้นที่จะมาเป็นสินทรัพย์อ้างอิง โดยเน้นเฉพาะหุ้นจากบริษัทขนาดใหญ่ พื้นฐานดี สามารถเลือกหุ้นอ้างอิง 1 ตัว หรือจับคู่กันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ และหากนักลงทุนสนใจเลือกหุ้นด้วยตนเองก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่นักลงทุนต้องการเช่นกัน โดยนักลงทุนสามารถติดตามผลตอบแทนการลงทุนได้ พร้อมทั้งดูภาพรวมของพอร์ตโฟลิโอการลงทุนในสินทรัพย์ทุกตัวได้ครบจบในที่เดียวบนแอปฯ InnovestX เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Offshore KIKO จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถตอบโจทย์การลงทุน สำหรับนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสในตลาดต่างประเทศ ที่ช่วงนี้อยู่ในสภาวะ Sideway ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อย่างไรก็ตาม การลงทุนใน Offshore KIKO ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ความเสี่ยงด้านราคา (Market Risk) ซึ่ง KIKO นั้นผูกกับราคาสินทรัพย์อ้างอิง ความเสี่ยงในการได้รับสินทรัพย์อ้างอิงแทนเงินต้น (Physical Delivery Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) เนื่องจากต้องถือจนครบสัญญา โดยระหว่างทางไม่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ทันที ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงไม่สามารถชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยได้ตามกำหนดเวลา และความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Exchange Risk) เนื่องจากต้องมีการแปลงสกุลเงินต่างประเทศก่อนลงทุนทั้งนี้ InnovestX ยังให้บริการการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Notes) หลากหลายรูปแบบทั้งตลาดไทยและต่างประเทศ เช่น Bonus Enhanced Note, Fixed Coupon Note, Bullish Shark-Fin Note, Twin-win Note และอื่นๆ อีกมากมาย และสำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Offshore KIKO สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ InnovestX Customer Service 02 949 1999 หรือผู้แนะนำการลงทุนของท่าน

*การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีความเสี่ยงที่จะสูญเงินลงทุนทั้งจำนวนหรือบางส่วนหากไม่มีการคุ้มครองเงินต้น หรือคุ้มครองเงินต้นต่ำกว่า 100% ของเงินลงทุน เนื่องจากหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนกว่าหุ้นกู้ทั่วไป ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ชวนนักลงทุน หรือผู้สนใจลงทุนในตลาดต่างประเทศ เปิดบัญชี Offshore ที่ Maybank

X

Right Click

No right click