December 27, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

 บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการปี 65  มีกำไรสุทธิของปี 2565 จำนวน 37,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% จากปีก่อน

ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ การมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย และการตั้งเงินสำรองที่ลดลง ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้จากการลงทุนในปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 107,865 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.3% จากปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิภายใต้กลยุทธ์การเติบโตที่เน้นคุณภาพสินเชื่อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 3.3% จากปีก่อนรายได้ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ มีจำนวน 44,866 ล้านบาท ลดลง 4.7% จากปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง อีกทั้งรายได้จากการลงทุนและการค้ามีจำนวน 1,689 ล้านบาท ลดลง 79.1% จากปีก่อน เนื่องจากความผันผวนอย่างสูงของตลาดเงินและตลาดทุนในปีที่ผ่านมา

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 69,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน เป็นผลจากกิจกรรมธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ยานแม่ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ในระดับที่ เหมาะสมที่ 45.2% ในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย

บริษัทฯ ได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 33,829 ล้านบาท ลดลง 19.5% จากปีก่อน สะท้อนถึงการบริหารคุณภาพสินเชื่อด้วยมาตรการเชิงรุกและความระมัดระวังตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดมาโดยตลอด ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 159.7%อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 3.34% ปรับตัวลดลงจาก 3.79% ในปีก่อน เป็นผลของความสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จภายใต้กรอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และการบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ และเงินกองทุนตามกฎหมายของบริษัทฯ ยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.9%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี 2565 บริษัท เอสซีบี เอกซ์ ได้ปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ยานแม่แล้วเสร็จ และพร้อมเดินหน้าก้าวสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีและสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะหนึ่งถึงสองปีจากนี้จะมุ่งเน้นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจในกลุ่มสินเชื่อดิจิทัล ซึ่งได้มีการเตรียมตัวทั้งในแง่ทีมงานและกลยุทธ์มาระยะหนึ่งแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังคงเน้นกลยุทธ์การก้าวไปสู่ธนาคารที่ดีขึ้น (Be a Better Bank) ของธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งเน้นการเติบโตแบบมีคุณภาพภายใต้โครงสร้างต้นทุนที่ลดลง สำหรับธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น จะเน้นการลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามสภาวะตลาด ในส่วนของผลประกอบการในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังคงรักษาการเติบโตและความมั่นคงของสถานะการเงินได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมภายใต้ความผันผวนอย่างสูงของตลาดเงินตลาดทุน บริษัทฯ เชื่อว่าการเติบโตของธุรกิจของกลุ่มในระยะต่อไปจะยังมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากยุทธศาสตร์ยานแม่และการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ”

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง “ธนาคารไทยพาณิชย์” ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกของประเทศ และ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) ผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งชั้นนำระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจาก “จูเลียส แบร์ กรุ๊ป” และ “ธนาคารไทยพาณิชย์” ในโอกาสเข้าร่วมประชุมบอร์ดบริหารเพื่อหารือถึงทิศทางและแนวทางการดำเนินธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย

ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการช่วยต่อยอดความมั่งคั่งด้านการเงินการลงทุนแบบไร้พรมแดนให้กับลูกค้าชาวไทยแบบครบวงจร เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านเวลธ์แมเนจเม้นท์ (Wealth Management) ในกลุ่มลูกค้า UHNWIs และ HNWIs ของเมืองไทย

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “ภาพรวมธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของไทยโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งระดับสูง UHNWIs และHNWIs ที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไปในประเทศไทย มีการเติบโตในอัตราที่สูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญขององค์กรในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” จะช่วยต่อยอดและสร้างการเติบโตในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งได้ตามเป้าหมายที่วางไว้”

นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “การประชุมบอร์ดบริหารร่วมกับคณะผู้บริหารระดับสูงจาก จูเลียส แบร์ กรุ๊ป และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อหารือถึงทิศทางและแนวทางการดำเนินธุรกิจในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขยายธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย รวมถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” ที่ยังคงสร้างการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจโลก ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนที่มีความรู้ความสามารถ มากด้วยประสบการณ์ และมีความเข้าใจกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง รวมถึงความสามารถด้านการบริหารความมั่งคั่งที่ได้มาตรฐานระดับโลกของจูเลียส แบร์ มาคอยให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าคนสำคัญเพื่อช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เรายังคงมีการเติบโตทั้งในด้าน AUM จากการเพิ่มปริมาณการลงทุนของกลุ่มลูกค้า รวมถึงการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ด้าน มร.ฟิลลิปป์ ริคเคนแบเคอร์ (Philipp Rickenbacher) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จูเลียส แบร์ กรุ๊ป กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้กลับมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากวิกฤตโควิด-19 เพื่อเข้าร่วมพบปะกับคณะผู้บริหารของ “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” รวมถึงได้เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าคนสำคัญของเราอีกครั้ง โดย จูเลียส แบร์ มีความมุ่งมั่นอย่างสูงในการขยายตลาดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในเอเชีย ซึ่งนับเป็นบ้านแห่งที่สองของเรา และสำหรับประเทศไทยนั้นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เราให้ความสำคัญในการขยายขอบเขตการให้บริการ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญ บริการ และความสามารถด้านการบริหารความมั่งคั่งระดับโลกมาเพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

“ผมมีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่ามีโอกาสอีกมากมายสำหรับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของพวกเขา และให้ความสำคัญกับการวางแผนบริหารจัดการความมั่งคั่ง นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับ “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” โดยเราตั้งตารอที่จะสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนสำคัญกลุ่มนี้ต่อไป มร.จิมมี่ ลี (Jimmy Lee) ประธานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ธนาคารจูเลียส แบร์ และกรรมการบริหาร จูเลียส แบร์ กรุ๊ป และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวเสริม

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าปรับทัพองค์กร รองรับกระแสดิจิทัลไหลบ่า ขับเคลื่อนแบงก์สู่แพลตฟอร์มที่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น  

ภายหลังนำ Transformation สร้างรากฐานองค์กรใหม่ลุล่วงไปกว่า 50%  ในปี 2018 ธนาคารนำกลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) มาผลักดันองค์กรให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและสมดุลใน 5 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 1.Lean the Bank 2.High Margin Lending 3.Digital Acquisition 4.Data Capabilities 5.New Business Model  พร้อมปรับเปลี่ยนวิธี การทำงานให้แตกต่างจากเดิมและนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสร้างพนักงานให้มีขีดความสามารถและทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยพาณิชย์เป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด)

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่ เข้มข้นของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจ Patform ระดับโลกที่กำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจธนาคารในการนำเสนอบริการทางการเงินและการลงทุน

กอปรกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้การบริ การทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ โครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยนไป จากในอดีตที่ธนาคารอาจจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และอีก 70% เป็นรายได้จากดอกเบี้ย แต่จากนี้ไปรายได้จากค่าธรรมเนียมจะค่อยๆ ลดลง

จากค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเคยได้ จากการให้บริการโดยการใช้คน ปัจจุบันเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ การบริการอย่างมีนัยสำคัญทำให้ต้นทุนในการให้บริการลูกค้าลดลงอย่างมาก


ในปี 2561
จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เพื่อให้ธนาคารเป็นที่รักของลูกค้าและลูกค้าอยากมาใช้ บริการของเรา

โดยในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนผ่านองค์กรภายใต้ ภารกิจ “SCB Transformation” เพื่อเป้าหมายการเป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด) โดยได้มุ่งเน้นการสร้ างรากฐานขององค์กรใหม่ (Foundation Transformation) ได้แก่

- การยกระดับเทคโนโลยี ของธนาคารเพื่อรองรับยุคดิจิทัล โดยธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบริการบน New Mobile Banking หรือ SCB Easy  โดยมุ่งเน้นให้เป็น Lifestyle Application ที่จะสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้ามากกว่าเพียงการทำธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่ าน QR Code กลางของธนาคารแห่งประเทศไทย

- การปรับปรุงกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน

- เปิดศูนย์บริการแห่งอนาคต เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเปิดตัว 4 ต้นแบบ

“ศูนย์บริการลูกค้ารูปแบบเฉพาะ” ได้แก่ SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center และ SCB Service Center

นอกจากนี้ ธนาคารต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ผ่านการจัดโครงสร้างบริการของธนาคารและบริษัทในกลุ่มทั้งหมด โดยโครงสร้างใหม่จะต้องเอื้อต่อการทดลองเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดได้ง่ายขึ้น เช่นที่ธนาคารได้ตั้ง ดิจิทัลเวนเจอร์ บริษัทลูกด้านเทคโนโลยี และ เอสซีบี อบาคัส บริษัท Data Tech ที่ใช้นวัตกรรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งการแสวงหาพันธมิตรซึ่งธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการหาพันธมิตรเป็นอย่างมาก



สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิ จปี 2561 นั้น  เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ จะพลิกรูปโฉมของกระบวนการและการให้บริ การแก่ลูกค้า ธนาคารจึงต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อทุกสังคมเข้ าด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ที่มีแนวทางในการดำเนินงานที่ สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่

1.Lean the Bank (เพิ่มประสิทธิภาพธนาคาร)

2.High Margin Lending (ปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง)

 3.Digital Acquisition (การดำเนินธุรกิจในโลกดิจิตอล)

4.Data Capabilities (เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล)

5.New Business Model (ธุรกิจรูปแบบใหม่ )

โดยรายได้หลักของธนาคารจะยั งคงมาจากธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งจะเห็นการทำธุรกิจที่เปลี่ ยนไปจากเดิมด้วยการใช้เทคโนโลยี มาสนับสนุน พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของทักษะและขีดความสามารถใหม่ ๆ ของพนักงานในการปฏิสัมพันธ์กั บลูกค้า โดยจะเห็นได้ชัดเจนในธุรกิจของ Wealth Management ที่ทางธนาคารมีเป้ าหมายจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มนี้ อย่างมาก โดยมีเป้าหมายสูงสุดในอีกสามปี ข้างหน้าเพื่อเป็น Digital Platform ขนาดใหญ่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลเป็นหลัก


 

ด้วยวิสัยทัศน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะเป็น “The Most Admired Bank” หรือ “ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด” เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธนาคารไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมทั้งเดินหน้าดำเนินธุรกิจธนาคารอย่างสมดุลเพื่อสร้ างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

X

Right Click

No right click