December 23, 2024

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA) ประกาศผลการประกวดการออกแบบ "ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ (New TCDC) ใน 10 จังหวัด" โดยคัดเลือก 10 ทีมนักออกแบบที่มีผลงานโดดเด่นและสร้างสรรค์ ที่จะเป็นผู้ปรับปรุงและออกแบบพื้นที่ New TCDC สถานที่รวบรวมและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ 1) เชียงราย 2) นครราชสีมา 3) ปัตตานี 4) พิษณุโลก 5) แพร่ 6) ภูเก็ต 7) ศรีสะเกษ 8) สุรินทร์ 9) อุตรดิตถ์ และ 10) อุบลราชธานี  

การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม โดยมีทีมผู้เข้าร่วมประกวดถึง 113 ทีม และมีการส่งผลงานเข้ามาถึง 173 ผลงาน สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวและความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ของประเทศ  โดยผลงานที่ชนะการประกวดในครั้งนี้จะถูนำไปพัฒนาเป็นศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ที่จะเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของเมือง เป็นแหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการท้องถิ่น และศูนย์รวมองค์ความรู้ในการพัฒนาและต่อยอดสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน นับว่าเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในรอบ 20 ปีของ TCDC 

สำหรับผู้ชนะการออกแบบ “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ทั้ง 10 จังหวัด” ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นไปได้ทางกายภาพ และความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ จำนวน 10 ทีม ได้แก่  

 1.TCDC เชียงราย 

"TCDC เชียงราย มากับความเชื่อที่ว่า "การออกแบบเชิงสร้างสรรค์สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนได้" ออกแบบโดย  1922 Architects (D098) ด้วยแนวคิดหลัก คือ ‘Creative Space for All’ พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อทุกคน  โดยการออกแบบศูนย์ฯนี้ มุ่งสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คน ชุมชน และเมือง  
ตัวอาคารถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน กระตุ้นการแลกเปลี่ยนไอเดีย และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลานหน้าศาลากลางหลังเก่าที่มีศักยภาพอยู่แล้ว TCDC เชียงรายจึงไม่เพียงแต่เป็นศูนย์การออกแบบ แต่ยังเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และแรงบันดาลใจสำหรับทุกคนในชุมชน" 

2.TCDC นครราชสีมา  

TCDC นครราชสีมา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่า บนแนวแกนสำคัญที่เชื่อมโยงกับจุดหลัก ของเมือง ออกแบบโดย บริษัท จั่นอาร์คิเทค จำกัด (D132) ภายใต้แนวคิด "CREATIVE URBAN ROOM" เปิดมุมมองของตัวอาคารด้วยวัสดุโปร่งใส สร้างการเชื่อมต่อ Urban Visual Connect ระหว่างพื้นที่ภายใน-นอก และในช่วงเทศกาล อาคารยังถูกออกแบบให้สามารถเปิดประตูบานใหญ่ด้านหน้า เชื่อมต่อพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและไร้ขอบเขต (Borderless Space) นอกจากนี้ ยังโดดเด่นด้วยการผสมผสานวัสดุท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เช่น ไม้จากเรือนโคราช-เฉลิมวัฒนา เทคนิคก่อสร้างแบบปราสาทหินทราย ลวดลายเส้นพุ่ง เส้นยืนจากการถักทอผ้าไหมโคราช และอิฐดินเผาด่านเกวียนรวมถึงสีดินและลวดลาย โดยนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบ Composited Material ที่ผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมกับปัจจุบัน ทั้งยังคำนึงถึงความยั่งยืน(Sustainability)และการนำวัสดุเหลือใช้ (Waste Material) กลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ TCDC นครราชสีมาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ใจกลางเมืองที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตท้องถิ่นสู่อนาคตอย่างยั่งยืน 

 3.TCDC ปัตตานี  

TCDC ปัตตานี ออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Glory to Distribution Days’ โดย บริษัท ทรัพย์เปอร์ จำกัด (D010) ซึ่งสะท้อนถึงวิวัฒนาการของอาคารห้องแถวจีนริมน้ำที่เปี่ยมไปด้วยพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมาหลายยุคสมัย จากการเป็นพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า ด่านเก็บภาษีในอดีต สู่ปัจจุบันซึ่งเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของกลุ่ม Melayu Living และในอนาคตจะเป็นศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ปัตตานี อาคารนี้ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ แต่ยังถูกออกแบบให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง เข้าถึงง่าย และเชื่อมโยงผู้คนทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านจากศูนย์กระจายสินค้าในอดีตสู่พื้นที่สร้างสรรค์ที่มีชีวิตชีวาในปัจจุบันและอนาคต 

4.TCDC พิษณุโลก  

 TCDC พิษณุโลก ออกแบบโดย สถา ณ สถาปนิก (D017) ผ่านแนวคิด เมืองสองแคว l สายน้ำ l วิถีชีวิต พื้นที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นมิตรพร้อมเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในพื้นที่ โดย จังหวัดพิษณุโลกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่บนจุดบรรจบของแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยจึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวเมือง และมีบทบาทในการพัฒนาเมืองมาตั้งแต่อดีต ตัวอาคารจึงได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตริมน้ำ โดยใช้ "อิฐ" เป็นวัสดุหลักสื่อถึงความแข็งแรงและการเติบโตของเมือง พื้นที่ภายในแบ่งตามเส้นทางน้ำ เน้นทั้งความสร้างสรรค์ การร่วมมือ การพักผ่อน และการเรียนรู้ ส่วนด้านนอกอาคารออกแบบให้เชื่อมโยงกับบรรยากาศริมน้ำ สร้างความกลมกลืนระหว่างสถาปัตยกรรมและธรรมชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการนำเอาวิถีชีวิตริมน้ำและวัฒนธรรมของพิษณุโลกมาผสมผสานอย่างลงตัว พร้อมเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในพื้นที่ 

 5.TCDC แพร่  

TCDC แพร่ ออกแบบโดย บริษัท เค ทู ดีไซน์ จำกัด (D011) ภายใต้แนวคิด 'เผยแพร่ภูมิปัญญาอย่างเรียบง่าย โดยนำเสนอมรดกล้ำค่าของเมืองแพร่ ผ่านคำขวัญประจำ คือ "ม่อฮ่อม และ ไม้สัก" จึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจหลักในการออกแบบอาคารให้ดูราวกับ "ท่อนไม้สักย้อมสีฮ่อม (Indigo)" ด้วยแนวคิด Form & Function ที่เรียบง่ายแต่โดดเด่นด้วยสีและวัสดุ สะท้อนเอกลักษณ์ของเมืองแพร่อย่างชัดเจน การจัดพื้นที่และการใช้งานมีความตรงไปตรงมา สะดวกสบาย รองรับทุกกิจกรรมของชุมชนและ TCDC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของเมืองแพร่สู่อนาคต 

6.TCDC ภูเก็ต  

ตัวตนของ "เมืองภูเก็ต" ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นจากอุตสาหกรรมดีบุก ได้ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านผลงานการออกแบบของ TCDC ภูเก็ต ผ่านแนวคิด ‘เล่นแร่-แปรเมือง’ ที่ได้รับการวางแผนและออกแบบโดย บริษัท สวอน แอนด์ แมคคลาเรน(ประเทศไทย) จำกัด โดยสถาปัตยกรรมของอาคารได้สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างอดีตและปัจจุบัน ด้วยหารใช้วัสดุและรูปแบบการใช้งานสมัยใหม่ ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ภายใน แม้จะมีข้อจำกัดด้านขนาด แต่ TCDC ภูเก็ต มุ่งมั่นที่จะเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แรงบันดาลใจจากความรุ่งเรืองในอดีตของอุตสาหกรรมดีบุก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเมืองนี้ ทำให้อาคารนี้ไม่เพียงเป็นศูนย์ออกแบบ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และนวัตกรรมของภูเก็ตเข้าด้วยกัน 

 7.TCDC ศรีสะเกษ  

TCDC ศรีสะเกษ โดดเด่นด้วยการออกแบบที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดอย่างลงตัว ออกแบบโดยทีมสถาปนิก นายปิติพงศ์ อมรวิรัตนสกุล, นายณรงค์วิทย์ อารีมิตร และนายวรนล สัตยวินิจ (D084) ภายใต้แนวคิด 'Sisaket Code' มุ่งตีแผ่ประเด็นสำคัญของท้องถิ่น โดยออกแบบให้ศูนย์แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม ดนตรี และภาพยนตร์ในบริบทของศรีสะเกษอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในท้องถิ่นผ่านการใช้ทรัพยากรของจังหวัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ TCDC ศรีสะเกษไม่เพียงเป็นศูนย์ออกแบบ แต่ยังเป็นแหล่งรวมจิตวิญญาณและอัตลักษณ์ของชาวศรีสะเกษอีกด้วย 

8.TCDC สุรินทร์  

TCDC สุรินทร์ ออกแบบโดย บริษัท แปลน อาคิเต็ค จำกัด (D064) ภายใต้คอนเซ็ปต์ 'โฮล สาน สร้างสรรค์' โดยตีความเอกลักษณ์อันงดงามของผ้าโฮล ลายผ้าไหมประจำถิ่นที่ผูกพันกับชาวสุรินทร์มาอย่างยาวนาน แนวคิดนี้เปลี่ยนผ้าสานให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมโยงระหว่างเมืองและผู้คน ก่อให้เกิดศูนย์กลางสร้างสรรค์เศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด เส้นสายของผ้าโฮลถูกนำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบให้ TCDC สุรินทร์กลายเป็นจุดนัดพบของทั้งเมือง และเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์อย่างแท้จริง  

9.TCDC อุตรดิตถ์  

TCDC อุตรดิตถ์ ออกแบบโดย 
รักตระกูล ใจเพียร (D039) dy[แนวคิดโดดเด่นภายใต้คอนเซ็ปต์ "POP-OUT และ BLIND-IN"  กับการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับ TCDC ผ่านคอนเซ็ปต์ POP-OUT ที่ดึงดูดความสนใจและสร้างภาพลักษณ์ความสร้างสรรค์ ที่เด่นชัดโดยไม่รบกวนการใช้งานของอาคารเดิม เมื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ผู้เยี่ยมชมจะถูกนำเข้าสู่ TCDC ผ่านซุ้มประตูโค้งที่เชื่อมต่อกับสวนขนาดเล็ก ภายในตกแต่งด้วยม่านลับแลห้อยเป็นลวดลายตีนจก สร้างบรรยากาศสบายและน่าค้นหา การออกแบบนี้ผสมผสานความทันสมัยกับเอกลักษณ์ท้องถิ่น ชวนให้เพลิดเพลินไปกับการค้นพบโลกใหม่ภายใน TCDC อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นทั้งศูนย์สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดได้อย่างมีเอกลักษณ์ 

10.TCDC อุบลราชธานี  

TCDC อุบลราชธานี ออกแบบโดย Pixelight Studio (นัฏฐวรรณ สุระพัฒน์) (D121) ภายใต้คอนเซ็ปต์ 'หล่อ-หลอม' มุ่งเน้นการผสมผสานฟังก์ชั่นการใช้งานและเอกลักษณ์ท้องถิ่นอย่างลงตัว โดยนำเอกลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัด อาทิ ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัฒนธรรมอาหาร หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ เพื่อให้เกิดพื้นที่ที่มีคุณค่า น่าหลงใหล และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับกิจกรรมและผู้ใช้งานที่หลากหลาย เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน TCDC อุบลราชธานีจึงเป็นพื้นที่แห่งการหลอมรวมวัฒนธรรมและนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับชุมชนและจังหวัด 

 “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ (New TCDC) ใน 10 จังหวัด” ประกอบด้วยพื้นที่ Co-Creation, Creative Lab, Collection และ Back Office ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น มีความยืดหยุ่น ดูแลง่าย และประหยัดพลังงาน และเป็นเสมือนพื้นที่ที่หลอมรวมทุกแง่มุมของความคิดสร้างสรรค์เข้าไว้ด้วยกัน เป็นแหล่งรวมความรู้ แหล่งรวมชุมชน เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นเวทีในการแสดงศักยภาพของนักออกแบบ ศิลปิน และนักสร้างสรรค์ ผ่านบริการหลากหลายรูปแบบ อาทิ ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ นิทรรศการ พื้นที่แสดงผลงาน พื้นที่การเรียนรู้และฝึกอบรม ในเรื่องของ Local Stories กิจกรรมการฝึกประสบการณ์ รวมถึง Creative Lab นอกจากนี้ New TCDC ยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับคนไทยทั่วประเทศ 

ในช่วงนี้เราจะได้เห็นกระแสและการเติบโตของตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นทั้งในไทยและของโลก ไม่ว่าจะเป็น Metaverse โลกของ DeFi ตลาดเกมบนบล็อกเชนและหมายรวมถึงตลาด NFT ที่กำลังบูมมากในบ้านเรา

X

Right Click

No right click