November 22, 2024

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ร่วมเสวนาแนวทางการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานในเมืองหลวงแห่งอนาคต ในหัวข้อเรื่อง “MEA's Sustainable Actions for a Smarter, Sustainable Future” โดยมี คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักกิจกรรมรณรงค์และสื่อสารเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ร่วมเสวนาฯ ในเวทีระดับนานาชาติ Sustainability Expo 2024 พร้อมร่วมจัดแสดงนิทรรศการของ MEA การดำเนินการเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของการไฟฟ้านครหลวง ณ เวที SX Talk Stage ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

MEA ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่จำหน่ายดูแลระบบไฟฟ้าสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ MEA ได้ดำเนินกิจการด้วยความตระหนักต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ MEA GO (Green Organization) สร้างความตระหนักให้แก่พนักงานในการใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ผ่านกิจกรรม Zero waste  การนำขยะที่สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงาน (Waste to energy) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การจัดประชุมที่มีการคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Green Meeting) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารของ MEA เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในด้านระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของ MEA ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้านสิ่งแวดล้อม จากการรื้อถอนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจำนวนมาก โดย MEA ได้ริเริ่มกระบวนการ upcycle ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า (Insulators) ที่หมดอายุการใช้งาน ให้นำไปใช้งานในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปบดหยาบเพื่อทำวัสดุกันลื่นบนถนน (Anti-skid road ceramic particles) สำหรับลูกถ้วยที่บดละเอียด สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นรองดูดซึมน้ำประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้นำมาทดสอบนำร่องการใช้งานภายในองค์กร ก่อนขยายพื้นที่การใช้งานไปยังเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนอื่น ๆ ส่วนเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนจากโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้มาปักเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และชายฝั่งย่านบางขุนเทียน รวมระยะทางกว่า 2,500 เมตร พร้อมสนับสนุนการดำเนินการปลูกป่าชายเลนและดูแลบำรุงรักษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547 – ปัจจุบัน จนสัมฤทธิ์ผลเกิดเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหลังแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 380 ไร่

สำหรับด้านระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV)  มาใช้ในกิจการ และได้นำเทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในองค์กรกว่า 10 ปี มีการต่อยอดสร้างนวัตกรรม PLUG ME EV ระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับพื้นที่อาคารสำนักงาน หรืออาคารชุดที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานรถ EV จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า AC ทั่วไปในท้องตลาด รวมถึงการจัดทำตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย และเที่ยงตรง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หรือ Charge Sure by MEA รวมถึงดำเนินโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน MEA รับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 13,735 ราย คิดเป็นกำลังผลิตกว่า 238 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งระบบ Solar Cell ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนกว่า 84 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ ช่วยส่งผลลดคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 190,000 tonCo2/ปี เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าสูงสุด MEA ยังมีโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ MEA Energy Mind Award ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อปลูกฝังให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากร และเยาวชนในสถานศึกษาต่าง ๆ สร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย

ในส่วนของผู้ประกอบการ โครงการ MEA Energy Award เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับอาคารในประเภทต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพอากาศได้มาตรฐาน” ซึ่งได้ดำเนินโครงการปีที่ 7 มีอาคาร ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานของ MEA ไปแล้วทั้งสิ้น 313 แห่ง ช่วยให้เกิดผลประหยัด 46.33 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 180.93 ล้านบาทต่อปี ลดคาร์บอนไดออกไซด์ 26,589 tonCo2 ต่อปี ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการที่ MEA กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2593 และ กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 ดำเนินการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรขยายไปสู่ภายนอก และเดินหน้าผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตต่อไป

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเดินหน้านโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” โดยนำอาหารส่วนเกินจากสาขาแม็คโครและโลตัสทั่วประเทศ มอบให้เกษตรกรเพื่อนำไปใช้เพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ในการลดขยะอาหารสู่เป้าหมาย Zero Food Waste ภายในปี 2573

โครงการนี้มีความมุ่งมั่นที่จะลดการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี แอ็กซ์ตร้า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) เราร่วมกับพันธมิตรอย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO เพื่อนำอาหารส่วนเกินจากสาขากว่า 230 แห่งไปให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ซึ่งช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ถึง 50% อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ได้จากมูลหนอนและซากแมลงอีกด้วย”

นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาขยะอาหารที่ยั่งยืน ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน และส่งเสริมเทคโนโลยีสีเขียวเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในพิธีมีบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO ร่วมงานด้วย

ซีพี แอ็กซ์ตร้าคาดหวังว่าโครงการนี้จะไม่เพียงลดขยะอาหารเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและเกษตรกรทั่วประเทศอีกด้วย

จากข้อมูลขององค์การนาซา (NASA) ระบุว่าวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 เป็นวันที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้นนี้กลับไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการลงทุนตามหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขณะที่ในปี 2566 มีการเปิดตัวกองทุนเพื่อความยั่งยืน (กองทุน ESG) ถึง 993 กองทุน แต่จำนวนกองทุนทั้งหมด กลับลดลงเหลือ 566 กองทุนในปีเดียวกัน และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในปี 2567 โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการเปิดตัวกองทุนเพียง 100 กองทุนเท่านั้น

เพื่อเข้าใจภาวะลำบากของการลงทุนด้านความยั่งยืน เราได้พูดคุยกับนอรีน คัยอุม หัวหน้าสายงานนักลงทุนสัมพันธ์ ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเคยทำงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ดีแทค ประเทศไทย และ Grameenphone ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์ ประเทศบังคลาเทศ โดยนอรีน ยังเคยทำงานในหลากหลายสายอาชีพอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านสื่อสารองค์กร การวางกลยุทธ์ ทรานสฟอร์เมชั่นองค์กร และการตลาด

นักลงทุน ESG รุ่นใหม่ในเอเชีย

นอรีน เห็นว่าการถดถอยของหุ้น ESG วอลล์สตรีทไม่น่าส่งผลกระทบในระดับเดียวกันกับภูมิภาคเอเชีย “พลวัต ในสหรัฐอเมริกาและในเอเชียนั้นแตกต่างกันมาก ซึ่งในมุมมองดิฉัน สาเหตุที่ ESG มีความสำคัญในภูมิภาคของเรามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นเพราะเรามีผู้นำและคนรุ่นใหม่ที่มีความตระหนักรู้ในหน้าที่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน ซึ่งคนรุ่นใหม่นี้ไม่ได้มองแค่ยอดขายหรือผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงผลกระทบของธุรกิจต่อโลกและสังคมด้วย” เธอกล่าว “สิ่งนี้ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อคนรุ่นใหม่ เริ่มรู้สึกกังวลมากขึ้น และอยากได้ทางเลือกที่จะมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนในทุกๆ วัน”

แท้จริงแล้ว การออกพันธบัตร ESG ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตถึง 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้น 27.4% จากปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของ AXA Investment Managers (AXA IM) พบว่า 39% ของนักลงทุนในเอเชียถือกองทุน ESG ซึ่งเมื่อเทียบกับนักลงทุนในยุโรปมีสัดส่วนไม่ถึงหนึ่งในสี่ และในภูมิภาคนี้ คนไทย แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทุน ESG ที่จะครองตลาดได้ โดย 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดหวังว่ากองทุน ESG จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า

 “กองทุน ESG เริ่มได้รับความสนใจอย่างจริงจังในปี 2561 จึงถือเป็นกรอบการทำงานที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งยังไม่ได้ปลูกฝังอยู่ในดีเอ็นเอของบริษัท ดิฉันขอเรียกว่าเป็นวิวัฒนาการที่ต่อยอดมาจากสิ่งที่เราเคยรู้จัก นั่นก็คือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR ซึ่งในขณะที่ CSR เป็นเพียงเช็คลิสต์ ว่าองค์กรนั้นมีพฤติกรรมที่ดี แต่ไม่อาจน่าเชื่อถือได้อย่างแท้จริง ESG เป็นกรอบการทำงานที่เข้มงวดกว่าเพื่อให้องค์กรนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา ซึ่งจำเป็นต้องมีหลักการกำกับดูแลที่แข็งแกร่ง อันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจให้น่านับถือ ได้รับความไว้วางใจ”

ต้องชัดเจน

หนึ่งในกรอบการทำงานดังกล่าว คือการประเมินด้านความยั่งยืนองค์กรของ S&P Global ซึ่งประเมินองค์กรโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์และข้อมูลกว่า 1,000 หัวข้อในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านธรรมาภิบาล อนึ่ง ทรู คอร์ปอเรชั่น ติดอันดับ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลกดาวน์โจนส์ (DJSI) ด้วยคะแนนสูงสุด ในกลุ่มโทรคมนาคมของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แต่นักลงทุนยังเกิดความสับสนกับการติดอันดับดัชนีความยั่งยืนและใบรับรองต่างๆ ด้าน ESG จากหลากหลายสถาบัน

“แม้ว่าความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ESG จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นักลงทุนต้องการความชัดเจนและมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เรายังไม่สามารถอ้างได้ว่าบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีความสมบูรณ์แบบ และเราทุกคนยังมีหนทางอีกยาวไกล” นอรีนอธิบาย “ยิ่งไปกว่านั้น ข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ESG สำหรับทุกอุตสาหกรรมและทุกประเทศ จะแตกต่างกันไปตามปัญหาและประเด็นที่เร่งด่วน และจำเป็นต้องปรับเกณฑ์การประเมินให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย”

 สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย นอรีนเห็นว่าการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG มุ่งเน้นในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก "โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายและเสาสัญญาณทั่วประเทศของบริษัทโทรคมนาคมกระตุ้นให้นักลงทุนสนใจว่าแผนดำเนินงานด้านพลังงานสีเขียวและพลังงานหมุนเวียนของบริษัทเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีความตระหนักเรื่องการขับเคลื่อนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นเหตุผลให้เรากำหนดเป้าหมายชัดเจนสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ขณะเดียวกันเรายังมีการสื่อสารความคืบหน้าในการดำเนินงานของเราอย่างโปร่งใสและสม่ำเสมอ"

ความท้าทายอีกประการหนึ่งของการสร้าง ESG ให้มั่นคง คือการสร้างความมั่นคงให้แก่ทุกอุตสาหกรรม อาทิเช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการซื้อขายอย่างรวดเร็ว จะเผชิญกับแรงกดดันในการลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวมากกว่าธุรกิจโทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโทรคมนาคมต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เป็นต้น

“โอกาสที่ฉันมองเห็นมากขึ้นในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสากล คือมิติด้านการกำกับดูแล บริษัทที่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดการกับประเด็นสำคัญๆ เช่น แรงงานเด็ก และการต่อต้านการทุจริต จะได้รับการสนับสนุน บริษัทที่ทำงานร่วมกับคู่ค้าพันธมิตรโดยปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นกัน ในเรื่องความเป็นผู้นำ สัดส่วนของผู้แทนที่สมดุลในคณะกรรมการก็มีความสำคัญต่อนักลงทุน และช่วยสร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา” เธอกล่าว

ราคาหุ้นของทรู คอร์ปอเรชั่นที่พุ่งขึ้นกว่า 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม แสดงให้เห็นว่านอรีนดูเหมือนจะสามารถสร้างความมั่นใจในกลุ่มนักลงทุนได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา และเมื่อนักลงทุนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น กรอบการทำงาน ESG ที่แข็งแกร่งของทรู คอร์ปอเรชั่น จะมีส่วนช่วยดึงดูดและรักษาการลงทุนของนักลงทุนต่อไป เพื่อส่งเสริมองค์กรให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027 

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ “Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ  

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย 

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว 

ในวันที่ทั้งโลกกำลังพยายามมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero”

‘วิกฤติโลกรวน’ สร้างผลกระทบให้คนทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีการตกลงร่วมกันใน ‘ความตกลง​ปารีส’ เพื่อควบคุมไม่ให้อุณภูมิของโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกขึ้นไปที่ 1.42 องศาเซลเซียสแล้ว ทำให้เป้าหมายที่จะไปสู่ “สังคม Net Zero” ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2608 ดูเป็นเรื่องยากและท้าทายขึ้นไปอีก ‘ร่วมมือ-เร่ง-เปลี่ยน’จึงเป็นหนทางที่เราจะหยุดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นได้และไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ “เป็นไปได้” ถ้าเรา “เปลี่ยน”

‘การเปลี่ยน’ สู่ ‘ความเป็นไปได้’ ถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ ‘โปรจีน - อาฒยา ฐิติกุล’ บนเส้นทางการไปสู่ระดับโลก เริ่มต้นด้วยภาพในอดีตที่เห็นการแข่งขันที่ ‘โปรจีน’ พลาดโอกาสทำคะแนน แต่ถึงจะพบกับอุปสรรค ความยาก ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า “ยากไม่ได้แปลว่าเป็นไปไม่ได้”

“ไม่อยากแพ้อีกแล้ว” เป้าหมายของ ‘โปรจีน’

เป็นการส่งสัญญาณ ‘ความพร้อม’ ทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น ‘โปรกอล์ฟระดับโลก’ ‘โปรจีน’ จึงมุ่งมั่น ตั้งใจ ‘ลงมือทำ’ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก็พบว่า การทำด้วยวิธีการเดิม ๆ ไม่เพียงพอต่อการไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก

ถ้าอยากไปไกลให้ถึงระดับโลก ต้อง “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส”

ภาพของ ‘โปรจีน’ และทีม สะท้อนให้เห็น “การเปลี่ยน” จากวิธีการเดิม ๆ ไปสู่ ‘การเปลี่ยนวิธีคิด’ พร้อมปลุกความเชื่อร่วมกันว่า ‘เรื่องยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้’ ลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยนวงสวิง’ เพื่อตีให้ได้ไกลขึ้น และ ‘ลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ยากขึ้นกว่าเดิม’ ไปพร้อมกับทีม

แม้ว่า ‘การเปลี่ยน’ ครั้งนี้ อาจไม่ทำให้เห็นผลสำเร็จในทันที แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า ‘ทุกนาทีที่ลงมือทำคือโอกาสที่จะเข้าใกล้ความเป็นไปได้’ จนกระทั่งความมุ่งมั่น ทุ่มเท และความพยายามนำไปสู่ความสำเร็จ ก้าวสู่ “นักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลก” ได้สำเร็จในวัยเพียง 19 ปี

เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ สะท้อนให้เห็นว่า เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ที่ดูเหมือนจะยาก และท้าทาย ‘เป็นไปได้’ เช่นเดียวกับเป้าหมายสู่ “สังคม Net Zero” ที่เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

ภาพการหวดวงสวิงของ ‘โปรจีน’ เปรียบเสมือนแรงส่งให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของคนทั่วโลก ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย “สังคม Net Zero” ให้ได้ เช่น นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด พร้อมระบบการซื้อ-ขายพลังงานสะอาดด้วยเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการใช้พลังงานชีวมวล นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เช่น พอลิเมอร์รักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน นวัตกรรมการก่อสร้างรักษ์โลก ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) เพื่อใช้บริหารจัดการการก่อสร้าง รวมถึงอาคารประหยัดพลังงาน รวมถึงนวัตกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ แต่เพื่อเร่งไปให้ถึงเป้าหมาย ‘สังคม Net Zero’ โดยเร็ว ‘เรา’ จึงต้อง “ร่วมมือ” และ “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส” ไปด้วยกัน

เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ เป็นแรงบันดาลใจและเน้นย้ำให้เราเชื่อมั่นว่า “การลุกขึ้นสู้เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ อย่างการมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero” แม้จะยาก ท้าทาย แต่สำเร็จและเป็นไปได้

รับชมคลิป“ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกันที่

เตรียมพบกับการรวมตัวครั้งสำคัญในงาน “ESG Symposium 2024: Driving Inclusive Green Transition” เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสู่สังคม Net Zero ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว และมีโลกที่ยั่งยืนจากความร่วมมือของเราทุกคน เร็วๆ นี้

Page 1 of 17
X

Right Click

No right click