FSMART ผู้นำเครือข่ายช่องทางบริการอัตโนมัติและการเงินครบวงจร ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยผ่าน “ตู้บุญเติม” ผนึกกำลัง CENPAY ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ผู้ให้บริการรับชำระบิลและเติมเงินที่มีศักยภาพ เปิดให้บริการทางการเงินครบวงจร ภายใต้ชื่อ “CenPay powered by บุญเติม” เพิ่มจุดTouch Point ลูกค้า จาก “ตู้บุญเติม” ขยาย เพิ่มเคาน์เตอร์แคชเชียร์พร้อมเปิดให้บริการมากกว่า 1,300 รายการ มากกว่า 1,700 จุดทั่วประเทศ
นายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) “FSMART” เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทมุ่งเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มทางการเงินเพื่อให้ครอบคลุม และครบวงจร ตอบสนองความต้องการของลูกค้า “ตู้บุญเติม” มาตลอด โดยบริษัทยังคงไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาระบบการชำระเงินอัตโนมัติ และรวบรวมบริการต่างๆ ให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภค เพื่อสามารถตอบโจทย์ลูกค้าในทุกกลุ่ม เพื่อให้สะดวก ง่าย ต่อการใช้บริการมากที่สุด โดยมีจุดบริการที่ “ตู้บุญเติม” กว่า 130,000 ตู้ เป็นจุดให้ที่กระจายอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศ ตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้า 20 ล้านราย พร้อมก้าวสู่บริการใน Mobile Application เน้น ง่าย สะดวกสบาย โดยในปีนี้เราได้พัฒนาระบบการชำระเงินครบวงจรผ่านการผนึกกำลังกับ CENPAY ในเครือกลุ่มเซ็นทรัลภายใต้ชื่อ “CenPay powered by บุญเติม” มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-สูง นำศักยภาพด้านบริการมุ่งสู่ Ecosystem เต็มตัวโดยบริษัทตั้งเป้าการชำระบิลผ่าน “CenPay powered by บุญเติม” เพิ่มขึ้นต่อปี 5,000 ล้านบาท
นายมนตรี สิทธิญาวณิชย์ Head of Financial Services กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงศักยภาพในการให้บริการรับชำระค่าบริการของตู้บุญเติมที่มอบความสะดวกให้กับลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และเพื่อให้ลูกค้า ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดและเป็น Central Of life สำหรับลูกค้าอย่างแท้จริง เราจึงได้จับมือกับFSMART เสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการรับชำาระบิลและเติมเงินที่มีศักยภาพ ภายใต้ชื่อ “CenPay powered by บุญเติม” ที่มีบริการรับชำระเงิน และเติมเงินมากกว่า 1,300 รายการ ทั้งค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต เบี้ยประกัน บัตรเครดิต ตั๋วเครื่องบิน รวมไปถึงการบริการเติมเงินมือถือ เติมเกมออนไลน์ กว่า 1,700 จุดทั่วประเทศภายในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์, ท็อปส์, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, แฟมิลี่ มาร์ท, มัทสึโมโตะ คิโยชิ, เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอร์ต, บีทูเอส, ไทวัสดุ, บ้านแอนด์บียอนด์, ออฟฟิศเมท และ ออโต้ วัน นอกจากนี้ยังได้เปิดบริการรับฝากเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์แคชเชียร์ในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อที่ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ เดลี่ และแฟมิลี่มาร์ท ทุกสาขาทั่วประเทศอีกด้วย
“ปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่งผลทำให้รูปแบบให้บริการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้นการ ขยายจุดให้บริการการเงินครบวงจรผ่านเคาน์เตอร์แคชเชียร์ในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการให้บริการทางการเงินครบวงจร รวมถึงการเป็นตัวกลางทางธุรกิจ เพื่อให้เครือข่ายของบุญเติมเป็น Business Ecosystem ที่มีศักยภาพที่จะเกิดขึ้นพร้อมการให้บริการในรูปแบบ Digital มากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทมีศักยภาพพร้อมหลายๆด้าน ทั้งทางด้านการพัฒนาระบบที่บริษัทเป็นผู้ออกแบบ และผลิตระบบการให้บริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมการนำจุดแข็งด้าน Network การเข้าถึงพื้นที่ การมีฐานข้อมูลการใช้บริการของลูกค้าขนาดใหญ่ จาก “ตู้บุญเติม” ทำให้บริษัทมีศักยภาพเพียงพอที่จะขยายการให้บริการเพิ่มขึ้นในรูปแบบของ offline to online จากการให้บริการผ่านตู้อัตโนมัติไป ยังเคาน์เตอร์ภายในร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมถึงการเปิดให้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจแบบ offline to online และ Business Ecosystem ในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับกลุ่มธุรกิจบริการของบริษัทอย่างแน่นอน” นายณรงค์ศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย
บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส พร้อมปล่อยสินเชื่อวงเงิน 500-1,000 ล้านบาทให้ตัวแทน
ณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ FSMART ผู้ให้บริการตู้เติมเงินออนไลน์บุญเติม ช่องทางการชำระเงินที่มีเครือข่ายมากที่สุดในประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2561 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท รวมเป็นเงิน 234 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับงวด 6 เดือน กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผลระหว่างกาลปี 2561 (Record date) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 4 กันยายน 2561
โดยผลประกอบการงวด 6 เดือนปี 2561 บริษัทมีรายได้รวม 1,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,484 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 275 ล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกบริษัทสามารถติดตั้งตู้บุญเติมเพิ่มขึ้นอีก 5,695 ตู้ ทำให้ปัจจุบันมีตู้รวมทั้งสิ้น 130,348 ตู้ เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าเติมเงินทั้งบริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ บริการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร บริการเติมเงินออนไลน์ประเภทอื่น ๆ รวมทั้งบริการรับชำระบิลอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 25% หรือมีมูลค่าเติมเงินรวม 21,032 ล้านบาท จากจำนวนผู้ใช้บริการ 25 ล้านเลขหมาย และจำนวนการทำรายการผ่านตู้บุญเติม 2.2 ล้านรายการต่อวัน
ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 2 บริษัทมีรายได้รวม 849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% และมีกำไรสุทธิ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 769 ล้านบาท กำไรสุทธิ 144 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการเชิงรุกเล็งจุดติดตั้งคุณภาพ เพื่อให้ยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ (ARPU) เพิ่มมาที่ 32,198 ต่อตู้ต่อเดือน รวมไปถึงบริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริการและบริหารให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
“ตู้บุญเติม” ยังถือเป็นผู้นำตลาดตู้เติมเงินออนไลน์ ทั้งในส่วนของจำนวนตู้และมูลค่าการเติมเงิน ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด อยู่ที่ประมาณ 22% จากมูลค่าตลาดบริการโทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) รวมกว่า 1.33 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทยังคงรักษาแนวทางการทำงานด้วยกลยุทธ์จุดตั้งตู้บุญเติมที่มีคุณภาพ ทั้งจุดติดตั้งในพื้นที่ใหม่ และปรับเปลี่ยนในทำเลเดิม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการขายด้วยแคมเปญต่างๆ ทั้งรายการสะสมแต้มเพื่อชิงโชคและแลกของรางวัล รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆตามเทศกาลเพื่อตอบแทนลูกค้าที่ใช้บริการตู้บุญเติม
สำหรับการดำเนินงานในครึ่งปีหลังบริษัทเชื่อว่าจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง ด้วยฐานลูกค้าเดิมที่เป็นกลุ่มผู้นิยมใช้เงินสดในการใช้จ่าย รวมถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ใช้ “Be Wallet” แอปพลิเคชั่นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนมือถือ (E-wallet) โดยบริษัทจะเพิ่มการให้บริการใหม่อื่นๆ ที่ช่วยทำให้ตู้บุญเติมเป็นช่องทางที่ครบวงจรมากขึ้นและเพิ่มความสะดวกและตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด อาทิ เพิ่มธนาคารสำหรับโอนเงินอีก 2 ธนาคาร ตามนโยบายที่จะให้บริการประเภทโอนเงินบนตู้เติมเงินกับ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และฐานลูกค้าให้รู้จักกับตู้บุญเติม นอกจากนี้ จะเพิ่มบริการการชำระค่าตั๋วโดยสาร การชำระบิลสาธารณูปโภค การขายประกันภัย/ประกันอุบัติเหตุ และบริการอื่น ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัทในปัจจุบันยังคงมาจากธุรกิจให้บริการเติมเงินประมาณ 83% ส่วนที่เหลือเป็นการโอนเงิน และบริการอื่นๆ
ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทมีเป้าหมายจะติดตั้งตู้บุญเติมเพิ่ม 10,000 ตู้ ทำให้สิ้นปี 2561 มีตู้บุญเติมรวมทั้งสิ้น 134,653 ตู้ เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติมเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปี 2560 โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการบริหารจัดการยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน (ARPU) ให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5% และผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งต่อยอดธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ โดยอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในการพัฒนาธุรกิจใหม่ผ่านตู้เติมเงิน อาทิ การจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ และการรับพิสูจน์ตัวตน (e-KYC) ให้กับกลุ่มธนาคารและกลุ่ม e-Wallet ต่าง ๆ เป็นต้น โดยคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้ โดยทั้ง 2 บริการยังคงเกี่ยวโยงกับธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งเป็นโอกาสในการอำนวยความสะดวกทั้งผู้ใช้บริการและธนาคารพาณิชย์ที่จะเข้าสู่สังคมระบบดิจิทัลต่อไป