ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถทางด้านการเงินยั่งยืน ร่วมลงนามใน “สัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap” เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย โดยจะนำผลการดำเนินงานของ GC ในการมีส่วนร่วมในด้านการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล (ESG) มาเป็นเกณฑ์เพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยในธุรกรรมนี้ ทั้งนี้ ยังเป็นการต่อยอดการให้บริการการเงินยั่งยืนอย่างครบวงจรต่อเนื่องจากความสำเร็จของสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 การลงนามในครั้งนี้มี ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ และ นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนามเมื่อเร็วๆ นี้

ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ปัจจุบันกระแสของความยั่งยืนได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ดังจะเห็นได้จากความตื่นตัวขององค์กรไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ผ่านการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักขององค์กร สอดคล้องกับการประกาศเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ของกลุ่มธุรกิจ SCBX ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าภาคธุรกิจนั้น ธนาคารมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ผสานแนวคิดการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าและต่อยอดความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวธุรกิจของลูกค้าในรูปแบบต่างๆ การที่องค์กรขนาดใหญ่อย่าง GC

เข้าทำธุรกรรมสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งยังช่วยขยายขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจและการเติบโตในระยะยาว และสามารถช่วยองค์กรลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง โดยในธุรกรรมของ GC ครั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยโดยใช้ผลการดำเนินงานทางด้านความยั่งยืน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วนและโปร่งใสของ GC เป็นองค์ประกอบในการกำหนด ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของการต่อยอดคุณค่าทางด้าน ESG ทั้งยังได้รับประโยชน์จากความมุ่งมั่นในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้น

นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา GC มุ่งมั่น และนำแนวทาง ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับโดย DJSI เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนที่มีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย และโลกใบนี้ร่วมกับพันธมิตรด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามแนวทาง Together To Net Zero นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนในการนำ Sustainable Funding เข้ามาสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน การเข้าร่วมลงนามในสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ GC สามารถลดต้นทุนทางการเงิน และบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องจากสินเชื่อความยั่งยืนที่ได้รับไปแล้วก่อนหน้านี้”

 

รายนามผู้บริหาร ภาพ 6 ท่าน (จากซ้ายไปขวา)

1. นายจิตศักดิ์ สุนทรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานการเงินองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

2. นางสาวศรมน อิงคตานุวัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Corporate Banking 1 ธนาคารไทยพาณิชย์

3. นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

4. ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์

5. นายสมสกุล วินิชบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Client Coverage 1.7 ธนาคารไทยพาณิชย์

6. นางขวัญกมล พริ้งวณิชย์ Division Head, Financial Market Trading ธนาคารไทยพาณิชย์

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC ลงนามสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) เป็นครั้งแรก จำนวน 15,000 ล้านบาท

ระหว่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสภาพคล่องให้เหมาะสมกับแผนการดำเนินงานในอนาคต และเป็นการตอกย้ำการเดินหน้าในแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนครอบคลุมการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล (ESG) ของทั้ง 2 พันธมิตรทางธุรกิจ โดยมี ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมพิธีลงนาม ณ SCB Academy ชั้น 18 อาคารไทยพาณิชย์ปาร์ค (East Tower) สำนักงานใหญ่

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC กล่าวว่า การลงนามสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อ SLL นี้ เพื่อการจัดหาวงเงินกู้ระยะยาว แบบ Sustainability-linked Loan เป็นครั้งแรกของ GC วงเงิน 15,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้สนับสนุนการดำเนินการด้านความยั่งยืนของ GC มีตัววัด KPI ที่เชื่อมโยงกับ การจัดอันดับ Dow Jones Sustainability Indexes (DJSI) และ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย GC ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความสมดุล ESG อย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนตามกลยุทธ์ 3 Step Plus มุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050 นอกจากนี้ GC ได้รับการจัดอันดับจาก DJSI ให้เป็นที่ 1 ของโลก ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ 4 ปีต่อเนื่อง

การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า GC และ SCB มีเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดย SCB เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมจะสนับสนุนก้าวเดินไปกับ GC เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ Together to Net Zero

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะสถาบันการเงินสำคัญของประเทศ ธนาคารตระหนักถึงบทบาทในการสร้างเสริมเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้แก่ประเทศไทย ธนาคารให้ความสำคัญทางด้านนโยบาย ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (ESG) และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนขึ้นมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบต่อสังคม ธนาคารมีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจาก GC ในการสนับสนุนสินเชื่อ Sustainability-linked Loan (SLL) จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านความยั่งยืนของ GC โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นสินเชื่อ SLL ครั้งแรกของ GC ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญที่จะร่วมสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ด้วยความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์และแนวทางบริหารจัดการทางด้านความยั่งยืนของ GC ธนาคารฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสำเร็จร่วมกันในวันนี้จะผลักดันให้ GC บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน “Together To Net Zero” ปี 2050 หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ภายในปี 2593 ได้ตามที่มุ่งหวัง"

 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ชั้นนำของประเทศไทย กำหนดยุทธศาสตร์องค์กรโดยมุ่งหน้าสู่การเป็นองค์กรที่จะขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล (Digital Transformation)  โดยล่าสุดได้ผนึกความร่วมมือกับ OutSystems  เพื่อจะนำเทคโนโลยี Low-Code  เข้ามาใช้พัฒนาแอปพลิเคชันและสร้างระบบ Digital  โดยมีเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ตั้งแต่ในปี 2561 บริษัทฯ ได้วางแผนและเตรียมพร้อมในการทำ Digital Transformation โดยเน้นไปที่การเข้าไปยกระดับและสร้างความเปลี่ยนแปลงใน 3 แกนหลักขององค์กร หรือที่รู้จักกันภายในว่า Triple Transformation ประกอบด้วย Business, Technology และ People โดย GC ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนองค์กร และได้มีการตั้งทีม Digital Transformation ขึ้นมาเฉพาะ เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียแก้ Pain Point ต่าง ๆ

ปัจจุบันบริษัทในประเทศไทยกำลังเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจมากมาย และอยู่ท่ามกลางกระแส Digital Disruption ทีมไอทีมีความสำคัญต่อเป้าหมายทางธุรกิจในยุคนี้ GC นำแพลตฟอร์ม Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้เพื่อปรับกระบวนการให้เป็นดิจิทัลและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อแก้ Pain Point พร้อมปรับปรุงประสิทธิภาพต่อยอดการดำเนินงานให้มีความทันสมัยมากขึ้น

GC นำเทคโนโลยี Low-Code ประสิทธิภาพสูงจาก OutSystems มายกระดับบริการต่าง ๆ และใช้เป็นแพลตฟอร์มเพื่อทำงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2562 โดยล่าสุดทีมงานได้นำแพลตฟอร์ม OutSystems ไปพัฒนาเป็นระบบสำคัญ (Critical Systems) ในโครงการ B-Leap Project ต่อยอดงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดเวลาการทำงานของนักวิจัยลงได้ 30 % และลดต้นทุนที่เกิดจากการวิจัยที่ซ้ำซ้อนได้มากถึง 75% นอกจากนี้ยังนำไปพัฒนา Smart Loading Application เพื่อใช้เป็น Digital Systems สำหรับจัดคิวรถบรรทุกน้ำมันจากโรงกลั่น และดีลกับบริษัทฯ ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งหลังเปิดใช้ในปี 2564 สามารถช่วยลดเวลาการทำงานของทีมงานกลางที่หอกลั่นลงได้ถึง 12.5% และลดการผิดพลาดในการทำงานที่เกิดจากคน (Human Error) ได้ 10%

ในขั้นตอนการดำเนินการ (Implementation & Operation) บริษัทฯ ให้ความสำคัญใน 3 แกนหลักสำคัญ ได้แก่ Tech Foundation ซึ่ง OutSystems ได้จัดหาแพลตฟอร์มข้อมูล, เครื่องมือเทคโนโลยี, รวมถึงการพิจารณาโครงข่ายการสื่อสาร 5G และทดลองนำร่องในดิจิทัลโปรเจกต์ แกนที่สอง คือ Project Implementation ที่ OutSystems ทำงานร่วมกับตัวแทนของแต่ละหน่วยงาน (BUs) ภายในเครือ GC เพื่อศึกษา Pain Points สรรหาไอเดีย และสร้างโซลูชันเพื่อพัฒนานวัตกรรมได้อย่างตอบโจทย์เชิงธุรกิจ และในแกนสุดท้ายที่ีมีความสำคัญที่สุด คือ Organization Capability Building & Communication มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถของทีมนักพัฒนาและการสื่อสารระหว่างทีม ช่วยทำให้ GC พัฒนาและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตอบโจทย์ทางการตลาด (Time To Market) ได้อย่างรวดเร็ว

นายนัทพล จงจรูญเกียรติ Head of Digital Transformation บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า “สำหรับเป้าหมายด้านดิจิทัลในอนาคตของ GC เราตั้งเป้าเป็นองค์กรแบบกระจายศูนย์มากยิ่งขึ้น (Distributed Enterprise) พร้อมมุ่งสร้างทีมพัฒนา (Domain Expert) ขึ้นเองในแต่ละหน่วยงาน โดยสามารถทำงานร่วมกับทีมไอทีส่วนกลางและนำโซลูชันหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเทคโนโลยี Low-Code ของ OutSystems จะเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่เข้ามาช่วยพัฒนาได้เป็นอย่างดี เพราะที่ GC เราเชื่อว่าทีมงาน คือ พลังงาน ที่สำคัญที่สุดของเรา อันจะช่วยต่อยอดไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้”

“นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้ ทำให้ GC สามารถพัฒนาแอปฯ ใหม่ ๆ ได้มากกว่า 18 แอปฯ ในเวลา 2.5 ปี รวมถึงสามารถปรับปรุงหรืออัปเดตระบบต่าง ๆ จาก Manual ให้เป็น Digital ของบริษัทในเครือ สะท้อนความสำคัญของเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์ ในฐานะผู้ช่วยที่เชื่อถือได้ของนักพัฒนาและธุรกิจ” นายนัทพล กล่าวสรุป

ผลวิจัยล่าสุด ‘Total Economic Impact™ of OutSystems’ ที่จัดทำขึ้นโดย ฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง ในนามของเอาท์ซิสเต็มส์ เผยให้เห็นว่าแพลตฟอร์ม Low-Code ช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่องค์กรธุรกิจเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาและค่าใช้จ่ายของการพัฒนาและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองภายในกับการนำแพลตฟอร์ม OutSystems มาปรับใช้ ซึ่งจากผลการศึกษาระบุว่า OutSystems ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแก่องค์กรธุรกิจได้ถึง 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น รวมถึงระยะเวลาการพัฒนาและการเปิดตัวที่สั้นลง

นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “เรายินดีที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่นของ GC ซึ่งความร่วมมือนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า เทคโนโลยี Low-Code ประสิทธิภาพสูงของเอาท์ซิสเต็มส์ เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต่อยอดไปสู่การออกแบบบริการ นวัตกรรม และลด Painpoints ทางธุรกิจได้”

X

Right Click

No right click