December 22, 2024

KBank Private Banking และ Lombard Odier ร่วมฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปีการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 โดยความร่วมมืออันแข็งแกร่งนี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการยกระดับบริการบริหารความมั่งคั่งที่ครบวงจรในระดับสากลให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงในประเทศไทย  ภายใต้พันธกิจ “ส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ และอนาคตที่สมบูรณ์แบบ” (Perfect Wealth, Perfect Future) ที่ยึดมั่นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity) เพื่อมุ่งสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนผ่าน กลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ประกอบด้วย การจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง (Risk-based Asset Allocation), การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investments), การลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Investment) และการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ด้วยการผสมผสานความเชี่ยวชาญระดับโลกของ Lombard Odier กับความรู้เชิงลึกภายในประเทศของ KBank Private Banking การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้ได้สร้างการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญให้กับบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ซึ่งจะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างยั่งยืนต่อไป

10 ปีแห่งความร่วมมือของ KBank Private Banking และ Lombard Odier ได้ยกระดับการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยอย่างครบวงจร ผ่านกลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ได้แก่

  • การจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง (Risk-Based Asset Allocation): KBank Private Banking สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งด้านโซลูชันการลงทุนผ่านการเปิดตัวกองทุนแบบ Risk-Based Asset Allocation ครบวงจรรายแรกของประเทศไทยในปี 2558 ซึ่งพัฒนาร่วมกับ Lombard Odier และ KAsset กองทุนนี้ให้ความสำคัญกับการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก และให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง ความสำเร็จของกองทุนนี้สะท้อนยอดขายที่ทะลุ 30,000 ล้านบาทในปี 2561 ควบคู่กับผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังพัฒนากลยุทธ์ Risk-Based Asset Allocation อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัวกองทุน K-ALLROAD Series ในปี 2564 ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุนไทย ท่ามกลางความผันผวนของตลาดโลก ปัจจุบันกองทุน K-ALLROAD Series ซึ่งประกอบด้วย 3 กองทุน สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ให้กับนักลงทุนได้ ตั้งแต่ 7-13%*
  • การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment): KBank Private Banking ได้ต่อยอดความสำเร็จที่ผ่านมาด้วยการเปิดตัวกองทุนหุ้นนอกตลาดกองทุนแรกของประเทศไทยในปี 2562 ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนไทยสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกระดับโลก เสริมความหลากหลายในการลงทุน และเพิ่มความยืดหยุ่นของพอร์ตการลงทุนได้มากขึ้น ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการที่ลงทุนในกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกรวม 1 หมื่นล้านบาท
  • การลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Investment): KBank Private Banking เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดการลงทุน กฎระเบียบ และพฤติกรรมของนักลงทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตในระยะยาว KBank Private Banking จึงได้เปิดตัวกองทุน K-CLIMATE ในปี 2563 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น K-PLANET) ซึ่งเป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ควบคู่กับการสร้างโอกาสการลงทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยพัฒนาร่วมกับ Lombard Odier และ KAsset นอกจากนี้ ความสำเร็จจากการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้งพันธมิตรด้านความยั่งยืน (Sustainability Alliance) ระหว่าง Lombard Odier และ KAsset เพื่อพัฒนากลยุทธ์และบริการด้านการลงทุนที่ยั่งยืนสำหรับตลาดการลงทุนในประเทศไทย ในปี 2566 นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังได้จัดงาน “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand” เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญและความเป็นผู้นำของการลงทุนอย่างยั่งยืน ปัจจุบันกองทุน K-PLANET มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวม 43 พันล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนของลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงกว่า 1.18 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 80% ของเงินลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการลงทุนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้อย่างแท้จริง
  • การบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Services): KBank Private Banking ดำเนินความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Lombard Odier เปิดตัวบริการวางแผนความมั่งคั่งครอบครัวในปี 2559 ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทยที่ให้การบริการนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางบริหารความมั่งคั่งแบบองค์รวม ซึ่งผสมผสานความเข้าใจเชิงลึกของ KBank Private Banking ต่อความต้องการของลูกค้าชาวไทย กับความเชี่ยวชาญระดับโลกของ Lombard Odier เพื่อมุ่งส่งต่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันให้บริการบริหารทรัพย์สินครอบครัวครอบคลุมกว่า 1,600 ครอบครัว

นาย อดิศร เสริมชัยวงศ์, Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ความร่วมมืออันแน่นแฟ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่าง KBank Private Banking และ Lombard Odier สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอบริการบริหารทรัพย์สินที่ครบวงจรระดับสากลในประเทศไทย ภายใต้แนวทางที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการนำเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถส่งมอบบริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ารายบุคคลได้อย่างแท้จริง เรามุ่งหวังที่จะส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ ทั้งการสร้างการเติบโต การเก็บรักษา และส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น ให้เป็นไปดังที่ลูกค้ามอบความไว้วางใจให้กับเรา และเราจะยังคงร่วมมือกับ Lombard Odier อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอนาคตกับผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าให้ดีที่สุดต่อไป”

มร.วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner, Asia Regional Head and Global Head of Strategic Alliances, Lombard Odier กล่าวว่า “Lombard Odier มุ่งเน้นการช่วยลูกค้ารักษาและบริหารความมั่งคั่งให้เติบโตในระยะยาว ในภูมิภาคเอเชีย เราเล็งเห็นถึงอนาคตการเติบโตของธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเราเชื่อมั่นว่าการผสานความแข็งแกร่งของ Lombard Odier และ KBank Private Banking จะช่วยส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าของเราเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงโซลูชันการลงทุนระดับโลกผ่านแนวทางความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้”

10 ปีแห่งความสำเร็จ สู่การเดินหน้าร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ความมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชีย Lombard Odier และ KBank Private Banking ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาโซลูชันการเงินแก่ลูกค้า ผ่านการผสานมุมมองระดับโลกเข้ากับความเชี่ยวชาญในประเทศไทยของ KBank Private Banking เพื่อส่งมอบบริการบริหารความมั่งคั่งที่ล้ำสมัยและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดงานสัมมนาใหญ่ด้านการเงิน “Wealth Forum Thailand 2025” ในหัวข้อ “The New Frontiers of Investment Opportunity” ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน นำโดย K Wealth ร่วมด้วยพันธมิตรระดับโลก J.P. Morgan Asset Management และ Lombard Odier ระบุเศรษฐกิจโลก ปี 2025 เตรียมรับแรงกระแทกจากนโยบายยุคทรัมป์ 2.0 โดยเฉพาะมาตรการกำแพงภาษีที่พุ่งเป้าที่จีน มหาอำนาจเศรษฐกิจโลก สัญญาณสงครามการค้าขยายแนวรบ แนะกระจายความเสี่ยง ขยายพอร์ตลงทุนให้น้ำหนักหุ้นโลก โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นญี่ปุ่น ที่มีสัญญาณที่ดี พร้อมเสริมแกร่งด้วยกองทุนตราสารหนี้  

ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก ของโดนัล ทรัมป์ เช่น นโยบายการลดเงินสนับสนุนทางทหารกับชาติพันธมิตร นโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมือง นโยบายด้านพลังงาน รวมถึงการลดภาษี ซึ่งโดยรวมแล้วจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะทำให้ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่​

“สงครามการค้าจะสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียรวมถึงไทยอย่างมากจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การตอบโต้ทางการค้าไปมา การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบจากโอกาสทางการค้าที่หายไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 60% จะส่งผลกระทบทางอ้อมให้ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญการไหลบ่าเข้ามาของสินค้านำเข้าจากจีนที่ได้เปรียบด้านราคา ซึ่งจะส่งผลกระทบอีกต่อหนึ่งต่อภาคการผลิตในแต่ละประเทศ​”

สำหรับเศรษฐกิจไทย นอกจากจะเผชิญความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกแล้ว สงครามการค้าจะเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า จากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นอันดับที่ 12 ของคู่ค่าทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อสินค้าส่งออกไทยที่จะเจอภาษีสินค้านำเข้าไปยังสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น หรือไทยอาจจะต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางดุลการค้าของไทยในระยะข้างหน้าให้เกินดุลได้ลดลง​

 

นโยบายยุค “ทรัมป์ 2.0 กระทบเศรษฐกิจ การค้าโลก และเงินเฟ้อ

มุมมองจาก Ms. Jin Yuejue Managing Director, Asia Head of the Investment Specialist Multi-Asset Solution group จาก J.P. Morgan Asset Management เห็นว่า "เศรษฐกิจโลกสดใสขึ้น แต่ยังมีหมอกปกคลุม" ด้วยความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่จาก “นโยบายทรัมป์ 2.0” หากทำให้เงินเฟ้อสหรัฐกลับมาสูงขึ้น โอกาสที่เฟดลดดอกเบี้ยในปีหน้า จำนวนครั้งลดลงจากที่ตลาดคาด ทำให้ราคาสินทรัพย์ผันผวนได้

Mr. Homin Lee, Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier มองว่า การกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ ท่ามกลางความผันผวนที่เพิ่มขึ้น แต่ในความเสี่ยงต่างๆ ยังมีโอกาส ใช้เป็นจังหวะในการลงทุนได้เช่นกัน

โดยทั้งสองเห็นสอดคล้องกันว่า นโยบายของโดนัล ทรัมป์ ในหลายนโยบายอาจจะไม่ง่ายนักต่อการดำเนินการเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ ในหลายด้าน โดยเห็นว่า มีนโยบายที่อาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงเงินเฟ้อ ได้แก่

  • นโยบายกีดกันแรงงานอพยพ นโยบายนี้อาจนำมาสู่การขาดแคลนแรงงงาน ส่งผลต่อค่าแรงที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่า ทรัมป์จะเริ่มดำเนินการในต้นปี 2568
  • จัดเก็บภาษีนำเข้าอัตราใหม่ เป็นนโยบายที่คาดว่า ทรัมป์จะเร่งให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทรัมป์เสนอให้เรียกเก็บภาษีใหม่ในอัตรา 10-20% สำหรับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยประเทศคู่ค้าที่เป็นเป้าหมายสำคัญของทรัมป์คือ จีน ที่ทรัมป์ประกาศจะออกคำสั่งขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน 10%เม็กซิโกและแคนาดาเป็น 25%
  • นโยบายการคลัง ลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 15% สำหรับบริษัทที่ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ ซึ่งลดลงอย่างมากจากอัตราปัจจุบันที่ 21%

แนะเพิ่มน้ำหนักพอร์ตในหุ้นโลก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังเป็นดาวรุ่ง

Mr. Homin Lee ให้คำแนะนำถึงหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ยังส่งสัญญานบวกต่อเนื่อง ในขณะที่หุ้นยุโรปยังคงทรงตัว ตราสารหนี้ระดับลงทุน Investment Grade หรือหุ้นกู้ High Yield ที่มี Credit Rating ที่ดี นอกจากนี้การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) เช่น ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น เป็นโอกาสการลงทุนที่ดีในช่วงเวลานี้

Ms. Jin Yuejue แนะว่า "เน้นกระจายสินทรัพย์ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นโลก เช่น หุ้นสหรัฐ ขนาดกลางและเล็ก กับหุ้นญี่ปุ่น และลดน้ำหนักหุ้นยุโรป พร้อมกับเพิ่มน้ำหนักในตราสารหนี้ เน้นที่มีคุณภาพสูง รวมถึงหุ้นกู้เอกชน"

 

เสริมแกร่งพอร์ต “โตกระจาย ไม่โตกระจุก” กระจายในหุ้นและตราสารหนี้ ทั้งไทยและต่างประเทศ

นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย กล่าวว่า “ภาพรวมการลงทุนในปีหน้าของสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติสมดุล ซึ่งตราสารทุน หรือตลาดหุ้น ของทั้งฝั่งสหรัฐฯ ยังมีโอกาสที่จะไปต่อได้ มีการปรับตัวขึ้นของหุ้นสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องกลับมามองที่ Valuation มากขึ้น เพราะตราบใดที่ความผันผวนยังคงอยู่ สิ่งที่จะช่วยให้เรารอดได้ คือ ความเหมาะสมของหุ้น ทั้งในตัวราคา และเป็นหุ้นที่มีคุณภาพ เติบโตได้ มีผลประกอบการที่ดี”

นายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, CFA, รองกรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า “กองทุนรวมตราสารหนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี รวมถึงยืดอายุการถือครองตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 12 เดือน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว และลดความผันผวนของพอร์ตด้วย”

ด้านนายวีระพล บดีรัฐ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “การจัดสรรพอร์ตการลงทุน แนะนำแบ่งเป็น พอร์ตหลัก (Core Portfolio) ลงทุนระยะยาว แบ่งสัดส่วนไว้ 70% ลงทุนในหุ้นทั่วโลก เช่น หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นญี่ปุ่น หรือกองทุนผสม K-WealthPLUS Series โดยอีก 30% เป็นพอร์ตเสริม (Satellite Portfolio) เช่น กองทุน K-FIXEDPLUS  

 

K WEALTH แนะนำกองทุนที่น่าสนใจ

  • 70% Core Portfolio ประเภท Multi Asset เช่น กองทุน K-WealthPLUS Series: K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP  และ K-WPULTIMATE 
  • 30% Satellite Portfolio ประเภท Fixed Income เช่น กองทุน K-GINCOME-A(A), *K-FIXEDPLUS-A และ K-FIXED-A และประเภท Equity เช่น กองทุน K-VIETNAM, K-GINFRA-A(D) K-HIT-A(A), K-GHEALTH, K-USA-A(A) และ K-GOLD-A-(A)

คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุน ความเสี่ยงได้ที่หนังสือชี้ชวน และ ข้อมูลเพิ่มเติม www.kasikornasset.com 

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า  การกลับมาอีกครั้งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ สร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาต่อการลงทุนและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าที่ต้องรอความชัดเจนในต้นปีหน้า ก่อให้เกิดความกังวล ว่า เศรษฐกิจโลกจะซบเซาเหมือนช่วงทศวรรษ 1930 นอกจากนั้น นโยบายอเมริกาเฟิร์สท์ จะทำให้มีการเปลี่ยนระเบียบโลก (Global Order) สร้างความเสี่ยงต่อองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น WTO และ NATO ได้

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ขยายความว่าในปี 2568 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตที่ 2.4% ช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อยที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% จากแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใกล้ระดับก่อนโควิด เช่นกันกับส่งออกที่คาดว่าจะโตช้าลงจากผลกระทบสงครามการค้า ทั้งทางตรงผ่านตลาดส่งออกสหรัฐฯ และทางอ้อมผ่านตลาดอื่นๆ ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมาจากเม็ดเงินเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปี 2567 ที่หดตัว สอดคล้องไปกับ FDIs ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยยังสูง จากความแน่นอนของสงครามการค้า เศรษฐกิจหลักของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะจีน และภาคการผลิตของไทยที่เจอภาวะการแข่งขันสูงจากสินค้าจีนท่ามกลางขีดความสามารถที่ลดลง

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ในปี 2568 สถานการณ์อุตสาหกรรมไทย คงจะไม่ดีขึ้นได้มากนัก ท่ามกลางหลายปัจจัยกดดัน ทั้งสงครามการค้าภายใต้ทรัมป์ 2.0 ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกและการผลิต มาตรการภาครัฐบางเรื่องที่อาจกระทบต้นทุน และประเด็นเชิงโครงสร้างที่ยังทำให้การใช้จ่ายเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ขณะที่ กลุ่มที่ยังฟื้นได้ช้า จะเป็นธุรกิจขนาดกลางลงล่าง โดยมีความเสี่ยงที่จำนวนผู้ประกอบการภาคการผลิตในธุรกิจรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ โลหะ แฟชั่น อาจลดลงอีก ส่วนในภาคการค้าและบริการ แม้จำนวนผู้ประกอบการอาจเพิ่มแต่การยืนระยะทางธุรกิจก็คงไม่ง่ายเช่นกัน

ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2568 คาดว่าจะยังเห็นสถานการณ์ที่แนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยเติบโตช้าและต่ำ โดยมีอัตราการขยายตัวราว 0.6% จากปี 2567 ที่คาดว่าจะหดตัว 1.8% ท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงที่ยังจะกดดันให้สินเชื่อรายย่อยยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ด้อยคุณภาพยังเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ทั้งฝั่งสินเชื่อรายย่อย รวมถึงฝั่งสินเชื่อเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ จากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของเครดิตบูโร (NCB) พบ 5 ประเด็นสำคัญ คือ

  1. หนี้ธุรกิจไทยกลับมาถดถอยลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 หลังหมดแรงส่งมาตรการช่วยเหลือทางการเงินช่วงโควิด
  2. ธุรกิจยิ่งเล็ก ปัญหาหนี้เสียยิ่งรุนแรง
  3. สถาบันการเงินทุกประเภทที่ปล่อยสินเชื่อเผชิญผลกระทบด้านปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพชัดเจนขึ้น
  4. การเจาะกลุ่มปัญหาหนี้เรื้อรัง คือ ธุรกิจบัญชีเดิมที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลางน่าห่วงมากขึ้น
  5. ประเภทธุรกิจหลักที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพเน้นไปที่อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก ที่พักและอาหาร และภาคการผลิต ซึ่งสะท้อนปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ ปัญหาอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง การแข่งขันรุนแรง และการฟื้นตัวของธุรกิจที่ไม่กระจายทั่วถึง รวมถึงสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างจากความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอย ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ชี้ว่าการสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวมให้เติบโตต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของธุรกิจ จะเป็นหนึ่งในทางออกที่ยั่งยืน

 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) จัดงานเสวนาพิเศษ Exclusive Luncheon Roundtable : Climate Tipping Point, A Race Against Time เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงจุดเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ โดยเชิญองค์กรชั้นนำของประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งในภาคการเงินและตลาดทุน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจโลกที่มีคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมี ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ (คนที่ 8 จากขวา) ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย พร้อมด้วยนายวิน พรหมแพทย์ (คนที่ 7 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย ร่วมให้การต้อนรับ ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้

นายวิน พรหมแพทย์, CFA, ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย เป็นหนึ่งในสมาชิกบริษัทจัดการลงทุน 16 แห่ง ที่เข้าร่วมงาน “แถลงความพร้อมของอุตสาหกรรมและเปิดตัวกองทุน ThaiESG ปี 2567” จัดโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความพร้อมเสนอขายกองทุน ThaiESG ในช่วงเทศกาลลดหย่อนภาษีส่งท้ายปี และพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจที่มุ่งสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทย ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มกองทุน ThaiESG ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) รวมกว่า 2,694.34 ล้านบาท (ข้อมูล ณ ต.ค. 67) โดยกองทุน K-TNZ-ThaiESG เป็นกองทุนแรกของไทยที่มีเป้าหมายสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก การันตีได้จากขนาดกองทุนที่ใหญ่ที่สุด และเป็นกองทุน ThaiESG ที่สร้างผลตอบแทนได้สูงที่สุด ในขณะที่กองทุน K-ESGSI-ThaiESG ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนเช่นกัน ด้วยขนาดกองทุนใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มกองทุน ThaiESG ตราสารหนี้ นอกจากนี้ บลจ.กสิกรไทย เตรียมเปิดเสนอขายกองทุนผสม ThaiESG เร็วๆ นี้ ที่เน้นลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้ในทุกสภาวะตลาดจากการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click