November 08, 2024

กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วตามราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นหลังสงครามอิสราเอลกลับมาปะทุ อีกทั้ง เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นหลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาดก็เป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ตัวเลขตลาดแรงงานและเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าคาดเป็นปัจจัยที่ทำให้บาทแข็งค่าขึ้นมาก่อนหน้านี้ด้วย ในระยะต่อไป ต้องจับตาผลการประชุม Fed คืนนี้ และการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันให้บาทกลับมาอ่อนได้ มองกรอบเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนจากนี้  

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เงินบาทในเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นเร็วเป็นผลจากหลายสาเหตุ คือ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด 3 เดือนติดต่อกัน 2) เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหนุนให้เงินบาทแข็งค่าตาม โดยเงินเยนแข็งค่าจากที่ตลาดมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะขึ้นดอกเบี้ยได้ ขณะที่ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง ซึ่งล่าสุด BOJ ก็ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไป 15 bps มาอยู่ที่ 0.25% ทำให้เงินเยนแข็งค่าต่อ และ 3) ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กลับมาปะทุขึ้น หลังอิสราเอลโจมตีเบรุต ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น หนุนให้บาทแข็งค่าขึ้นในช่วงข้ามคืน  

สำหรับมุมมองในระยะข้างหน้า มองว่าเงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าได้ในระยะสั้นนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยดังที่ตลาดคาด ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Treasury yields) สูงขึ้น และกดดันให้บาทอ่อนค่าได้ นอกจากนี้ การเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อ และความไม่แน่นอนการเมืองไทยอาจส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายอาจยังไม่ไหลกลับไทยได้เร็วนัก จึงมองเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนนี้ 

ในระยะกลาง-ยาว การเลือกตั้งสหรัฐฯ มีแนวโน้มทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐและ Treasury yields สูงขึ้น โดยหากโอกาสที่ Trump จะชนะการเลือกตั้งมีสูงขึ้น อาจส่งผลให้สกุลเงินภูมิภาคและเงินบาทอ่อนค่า และเป็นความเสี่ยง Tail-risk ต่อเงินบาท โดย SCB FM พบว่า เงินบาทจะได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้น Tariffs ทางอ้อม ผ่านแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่จะแย่ลง และ Correlation ระหว่างบาท-หยวนที่สูง ทำให้บาทอ่อนค่าตามเงินหยวน ทั้งนี้ ในวันที่มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้า (Tariffs) ต่อสินค้าจีนในปี 2019 ที่ทำให้สกุลเงิน EM และเอเชียอ่อนค่าลง พบว่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าชัดเจนนัก (Direct impact ต่ำ) นายแพททริกประเมินว่า หาก Trump ชนะการเลือกตั้งและขึ้น Tariffs ดังที่ประกาศไว้ เงินบาทจะมีความเสี่ยง (Tail-risk) ที่อาจอ่อนค่าไปสู่ระดับ 38.10 บาทได้ (โดยให้ปัจจัยอื่นคงที่ และให้เงินหยวนอ่อนค่าไปที่ 8 หยวนต่อดอลลาร์) 

สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury yields) ที่ผ่านมาปรับลดลงเร็วจากเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลง ทำให้ตลาดคาดการณ์ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และให้โอกาสการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ราว 70% โดยนายวชิรวัฒน์ มองว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ส่วนการประชุม Fed ในคืนวันพุธนี้ คาดว่าน่าจะยังไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ชัดเจนนัก จึงเป็นความเสี่ยงให้ Treasury yields อาจมี Correction และปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย นอกจากนี้ มองว่าการ price-in ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 มีมากเกินไป สะท้อนจาก GDP ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าตลาดคาด และล่าสุดมีการปรับเลข PCE เดือนก่อนขึ้น จึงมีสัญญาณว่าเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงเร็วดังที่ตลาดบางส่วนกังวล ทำให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยเร็วและแรงมีน้อยลง ดังนั้น Yields จึงอาจปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันเล็กน้อยได้ อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือ ประกาศของกระทรวงคลังสหรัฐฯ ที่จะออกแผนการออกพันธบัตรในระยะต่อไป ซึ่งนายวชิรวัฒน์ คาดว่าจะคงการออกพันธบัตรในไตรมาส 3 เท่าเดิม แต่มีโอกาสที่จะออกพันธบัตรมากขึ้นในไตรมาสสุดท้าย 

สำหรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยไทยนั้น ยังมองว่า กนง. อาจลดดอกเบี้ย 1 ครั้งปลายปีนี้ เนื่องจากความเปราะบางในภาคครัวเรือนอาจเริ่มส่งผลมายังอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งจะทำให้ความจำเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี หากมาตรการ Digital wallet ดำเนินได้ในปีนี้ ก็อาจทำให้ กนง. เลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไปได้ สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาว มองว่ามีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ จากแนวโน้มเงินทุนไหลออกตามการปรับน้ำหนัก Bond index ของ JP Morgan และความเสี่ยงที่อุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยอาจมีออกมามากขึ้นได้ในระยะต่อไป

กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เผยว่าตลาดการเงินเดือนที่ผ่านมาผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาผิดจากที่ตลาดคาด โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด และเงินเฟ้อลดลงช้า ทำให้ตลาดปรับมุมมองการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก (ทั้ง Fed และ ECB) ในปีนี้ลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จึงเพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาด ด้านเศรษฐกิจไทย ตัวเลขออกมาอ่อนแอกว่าที่คาดต่อเนื่อง ทำให้โอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยในปีนี้ตามที่ตลาดคาดที่ 2 ครั้ง มีมากขึ้น ทั้งนี้ จังหวะและความต่อเนื่องในการลดยังมีความไม่แน่นอน ทำให้อัตราดอกเบี้ย THOR OIS ในตลาดเงินจะผันผวนและมีโอกาสสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับค่าเงินบาท พบว่าที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว ซึ่งในระยะสั้นนี้คาดว่าแรงกดดันด้านอ่อนค่าจะยังอยู่จากปัจจัยต่างประเทศที่ทำให้เงินดอลาร์สหรัฐจะยังแข็งค่า และปัจจัยในประเทศที่อ่อนแอกดดันให้บาทอ่อน มองกรอบค่าเงินบาท 36.00-36.50 ภายใน 1 เดือนนี้

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดการเงินโลกเดือนที่ผ่านมาผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาผิดจากที่ตลาดคาด โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตัวเลขในตลาดแรงงานและการบริโภคเอกขนขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่อง และเงินเฟ้อลดลงช้ากว่าคาด ด้านเศรษฐกิจยุโรปก็ฟื้นตัวดีกว่าคาด นำโดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สำหรับเศรษฐกิจจีน แม้จะยังอ่อนแอแต่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนที่มีออกมาต่อเนื่องและคาดว่าจะมีออกมาเพิ่ม จึงทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดทุนปรับเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากดูที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทย พบว่าออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด โดย GDP Q4 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 1.7%YOY ต่ำกว่าตลาดคาด จากการลงทุนและบริโภคภาครัฐที่หดตัวตามความล่าช้าของการประกาศ พ.ร.บ. งบประมาณปี 67 อีกทั้ง การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นมากนัก และภาคการก่อสร้างยังหดตัวสูง ในระยะต่อไปคาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัวดีขึ้น แต่ปัจจัยโครงสร้างที่อ่อนแอจะยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้

สำหรับตลาดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury yields) Yields ในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเร็ว หลังตลาดปรับมุมมองการลดดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ลงจาก 6 ครั้ง เหลือเพียง 3 ครั้ง ซึ่งในระยะสั้นมองว่าแรงกดดันด้านสูงต่อ Yields จะยังมีอยู่ โดยคาดว่าเงินเฟ้อ PCE ที่จะออกในช่วงปลายเดือนนี้ มีโอกาสออกมาสูงตามราคาสินค้ากลุ่มบริการ Supercore สะท้อนจากดัชนี PPI ซึ่งถูกใช้คำนวณในดัชนี PCE ออกมาสูงกว่าคาด จึงทำให้มองว่า 2-year yield อาจสูงขึ้นไปที่ราว 4.60-4.80% ส่วน 10-year yield อาจขึ้นไปที่ราว 4.20-4.40% ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ อย่างไรก็ดี ในระยะกลางถึงยาว มองว่า Yields จะสามารถปรับลดลงได้ เพราะเงินเฟ้อ PCE ยังมีแนวโน้มลดลงจากราคาที่อยู่อาศัย (Shelter price) และราคา

สินค้าในกลุ่ม Core goods ส่วนปัจจัยฤดูกาลที่เกิดจากการปรับขึ้นราคาในช่วงต้นปี ก็มีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป นอกจากนี้ คาดว่าอุปทานพันธบัตรรัฐบาลจะไม่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่อุปสงค์จะดีต่อเนื่อง

สำหรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยไทย กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้มากขึ้น โดยขณะนี้ตลาดมองว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 2 ครั้ง สะท้อนจากตลาด Swap บนอัตราดอกเบี้ย THOR ระยะสั้นของไทยอยู่ต่ำกว่า Policy rate ซึ่งมองว่า เหตุผลที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยมาจาก 1) ตัวเลขเศรษฐกิจไทยอ่อนแอกว่าคาด สะท้อนจากเลข GDP ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ที่หดตัวเทียบไตรมาสก่อน เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง และดุลการค้าที่ขาดดุลมากกว่าคาด 2) การสื่อสารของ กนง. ที่ให้น้ำหนักต่อปัจจัยเชิงโครงสร้างที่อ่อนแอขึ้นกว่าคาด และ 3) ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้น ทั้งเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน รวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยครั้งแรกยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ทำให้อัตราดอกเบี้ย THOR OIS ในตลาดเงินจะผันผวนและมีโอกาสสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมองว่าจะเป็นโอกาสให้ Receive fixed rate ได้ โดยแนะนำ Receive THOR OIS ระยะกลาง (5 ปี)

ด้านค่าเงินบาทที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว ซึ่งในระยะสั้นนี้คาดว่าแรงกดดันด้านอ่อนค่าจะยังอยู่ โดยคาดว่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าตามแนวโน้ม Treasury yields ที่อาจจะยังสูงในระยะอันใกล้นี้ ทำให้เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนค่าได้อีกเล็กน้อย โดยในเดือนมีนาคมอาจอยู่ในกรอบ 36.00-36.50 อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมองว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าต่อได้ เนื่องจาก 1) เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ในเวลาที่ Fed เริ่มลดดอกเบี้ย ซึ่งจะลดได้จากเงินเฟ้อที่น่าจะลดลงชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่สอง 2) เงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ค่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงด้วย และ 3) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในระยะต่อไป โดยล่าสุดความเชื่อมั่นปรับสูงขึ้นในเดือน ม.ค. และเลขส่งออกขยายตัวสูงขึ้น จึงคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปที่ราว 33.50-34.50 ณ สิ้นปีนี้

นโยบายการเงินโลกมีความแตกต่างกันมากขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีอยู่ ส่งผลให้เงินบาทจะยังผันผวนสูงในระยะต่อไป SCB มองเงินบาทในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอ่อนค่าในกรอบ 34.35-35.35 แนะลูกค้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเงินบาทผันผวน

X

Right Click

No right click