December 23, 2024

กระทรวงดีอี - ดีป้า ชูผลการการดำเนินโครงการสีคิ้วสมาร์ทลีฟวิ่ง (SIKHIO SMART LIVING) พลิกโฉมเมืองสีคิ้วสู่เมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ ยกระดับด้านความปลอดภัย ด้านบริการภาครัฐ และด้านการบริหารจัดการข้อมูลเมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมืองในภาคประชาชน สังคมและท้องถิ่น 

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เผยว่า การดำเนินโครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง ภาคประชาชน สังคม และท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว  (SIKHIO SMART LIVING) ที่ดำเนินการโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) โดย ดีป้า มุ่งเน้นการมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองเป็นหลัก โดย ดีป้า ทำหน้าที่เหมือนเป็นพี่เลี้ยง เชื่อมโยงให้เมืองเข้าถึงโซลูชันเพื่อการพัฒนาเมือง ได้เลือกลองเลือกใช้จนเกิดเป็นความเข้าใจ และนำมาบูรณาการเข้ากับการบริหารจัดการเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมืองได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเมืองครอบคลุม 3 มิติหลัก ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านบริการภาครัฐ และด้านการบริหารจัดการข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น

 

ด้านความปลอดภัย ได้ดำเนินการยกระดับซอฟต์แวร์ของกล้อง CCTV ทั้งหมดในอำเภอสีคิ้ว จำนวน 52 ตัว เพื่อยกระดับเมืองให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยนำ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในการตรวจจับรถและบุคคล เช่น สี ยี่ห้อรถ ประเภทของรถ เพศ ช่วงอายุ สีของเสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นต้น กรณีเกิดเหตุ จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจจับคนร้ายได้อย่างทันท่วงที   และการพัฒนาภายใต้โครงการนี้ยังได้มีการนำ LINE OA มาติดตั้งและประสานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน โดยตลอดการดำเนินโครงการกว่า 180 วัน หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถรับแจ้งเหตุมากกว่า 700 เคส โดยเหตุที่ได้รับแจ้งมากที่สุดคือ ไฟฟ้าสาธารณะดับ ซึ่งระบบดังกล่าวนอกจากประชาชนได้รับการแก้ปัญหาที่เร็วขึ้นแล้ว ผู้มีส่วนในการบริหารเมืองสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผน และแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป

ด้านบริการภาครัฐ ทำการออกแบบระบบงาน (Software Design Document) ให้สามารถเชื่อมโยงการรับและส่งข้อมูลของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ เช่น จำนวนกล้อง CCTV ถังดับเพลิง และเสาไฟส่องสว่าง ทำให้ติดตามสถานะของปัญหาและจัดการปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ด้านการบริหารจัดการข้อมูลเมือง โดยการสร้างแดชบอร์ด (Dashboard) เพื่อรวบรวมและบริการจัดการปัญหาของเมือง เช่น ปัญหาไฟฟ้า ทางเท้าชำรุด ขยะสาธารณะ ฯลฯ ซึ่งช่วยให้ทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาตามความเร่งด่วนและความถี่ที่เกิดขึ้นได้ นอกกจากนี้ยังมีแดชบอร์ดเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลความสูงพุ่มไม้ ข้อมูลด้านสัตว์เลี้ยง ทำให้ง่ายต่อจัดซื้อวัคซีนสัตว์เลี้ยงเพื่อให้บริการกับประชาชน รวมไปถึงข้อมูลด้านสวัสดิการของประชาชน ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะสามารถทราบถึงตำแหน่งที่ตั้ง และจัดส่งทีมช่วยเหลือหรือให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา

ทั้งนี้ โครงการสีคิ้วสมาร์ทลีฟวิ่ง (SIKHIO SMART LIVING) ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของการดำเนินงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยที่มุ่งเน้นความสำเร็จที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของเมืองเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเมืองที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง การกำหนดนโยบายขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงบริบทของเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน

วางรากฐาน สร้างความเข้าใจ ยกระดับอุตสาหกรรมอีสปอร์ตไทยแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ

อีริคสันประเทศไทยเปิดตัว 5G Innovation & Experience Studio ในโครงการ Thailand Digital Valley ยกระดับนวัตกรรม 5G และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

อีริคสันประเทศไทย เปิดตัว 5G Innovation & Experience Studio ภายในโครงการ Thailand Digital Valley อย่างเป็นทางการ โดยสตูดิโอนี้ถูกออกแบบเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี 5G ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างกรณีศึกษายูสเคสใหม่ ๆ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ด้วยเครือข่าย 5G ที่ทันสมัยและยั่งยืน

ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการพัฒนาโซลูชันที่ล้ำสมัย อาทิ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) และเทคโนโลยีกล้อง CCTV 360 องศา เพื่อแสดงศักยภาพของ 5G ที่จะเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต

มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานอีริคสันประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญของ 5G ในการสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ สำหรับทั้งผู้บริโภคและองค์กร โดยมุ่งมั่นทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงข่าย 5G

ทั้งนี้ อีริคสันยังคาดการณ์ว่าในปี 2572 ผู้ใช้ 5G จะเติบโตถึง 60% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลก พร้อมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ประกาศผล 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล จาก 100 ทีมที่เข้าร่วมสมรภูมิประชันไอเดีย Coding War เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมมอบรางวัลอุปกรณ์ดิจิทัลและทุนการศึกษา มูลค่ารวมกว่า 1.7 ล้านบาท โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เป็นประธานมอบรางวัล ณ MCC HALL เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ กรุงเทพฯ

กิจกรรมการแข่งขัน Coding War เวทีการแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยดำเนินการใน 8 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมตัวแทนภูมิภาค จำนวน 100 ทีมเข้าร่วมแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1.7 ล้านบาท ซึ่งทีมผู้ชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Seoul International Invention Fair 2024 (SIIF 2024) ณ สาธารณรัฐเกาหลี

รางวัลการแข่งขัน Coding War แบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา  โดยผลการแข่งขัน มีรายละเอียด ดังนี้

ระดับประถมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ รับธง CHAMPIONS อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล พร้อมเงินรางวัลรวมมูลค่า 83,860 บาท และเงินสนับสนุนจาก แบรนด์ซุปไก่สกัด มูลค่ารวม 130,000 บาท พร้อมรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารวม 7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม KP Robot โรงเรียนขจรเกียรติพัฒนา จ.ภูเก็ต

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับธง 1st RUNNER UP อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 47,280 บาท รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 30,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม  7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับธง 2nd RUNNER UP อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 21,980 บาท   รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 20,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม  7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม KT KRUB โรงเรียนขจรเกียรติถลาง จ.ภูเก็ต

รางวัลชมเชย รับธง HONORABLE MENTION อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 8,000 บาท รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 5,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 3,996 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม Watmai Robotic โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม จ.ชลบุรี และ ทีม KT GEN IT โรงเรียนกวางตง จ.สุโขทัย

  • POPPULAR VOTE รับเงินรางวัล 5,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารวม 3,996 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม KT GEN IT โรงเรียนกวางตง จ.สุโขทัย
  • BEST IDEA รับรางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 5,000 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม Jomkiri Novices โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จ.นครสวรรค์

ระดับมัธยมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ รับธง CHAMPIONS และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในงาน Seoul International Invention Fair 2024 ณ สาธารณรัฐเกาหลี พร้อมรับอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล และเงินรางวัลรวมมูลค่า  108,860 บาท รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 190,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับธง 1st RUNNER UP อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 59,900 บาท รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 50,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม SenseVision โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และทีม COOK3R โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับธง 2nd RUNNER UP อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 19,480 บาท   รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 20,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 7,960 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม หลานม่าบ๊อกซ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ทีม หม่ำ เท่ง โหน่ง โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา และ ทีม Catch Me by the ACR โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง

รางวัลชมเชย รับธง HONORABLE MENTION อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล รวมมูลค่า 8,000 บาท รางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 10,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 3,996 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม TNNJ โรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต และ ทีม ปลากระดี่แม่น้ำฮวงโห  โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

  • POPPULAR VOTE รับเงินรางวัล 5,000 บาท และรางวัลสนับสนุนจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่ารางวัลรวม 3,996 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา
  • BEST IDEA รับรางวัลสนับสนุนจาก แบรนด์ ซุปไก่สกัด มูลค่ารางวัลรวม 10,000 บาท ผู้ชนะได้แก่ ทีม Innotech (อินโนเทค) โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.depa.or.th, CodingforBetterLife.com และเฟซบุ๊กเพจ depa Thailand และCodingThailand by depa

กระทรวงดีอี โดย ดีป้า แถลงผลสำเร็จโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย เผยครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนที่สนใจจากทั่วประเทศให้การตอบรับดีเยี่ยม โชว์ผลงานยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ นักเรียน ครู ร่วมยกระดับทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้นผ่านกิจกรรม Coding Bootcamp กว่า 3,200 คน ประชาชนเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับโค้ดดิ้งผ่านกิจกรรม Coding Roadshow กว่า 1.16 แสนคน เกิดผลงานโค้ดดิ้งที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยครู นักเรียนจากทั่วประเทศผ่านโครงการ Coding for Better Life มากกว่า 900 ผลงาน

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงานระยะยาวที่มุ่งสร้างครูผู้สอนที่พร้อมถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านโค้ดดิ้งแก่นักเรียนรุ่นต่อรุ่น พร้อมดำเนินการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมรองรับการเรียนการสอน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล สอดคล้องกับเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ ตามนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี)

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะโค้ดดิ้งแก่เยาวชนไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานทักษะดิจิทัลแห่งอนาคต และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัลของประเทศ สำหรับโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ที่ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า บูรณาการการทำงานกับเครือข่ายพันธมิตรมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะโค้ดดิ้งแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผ่านการยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง ภายใต้แนวคิด ‘ทักษะโค้ดดิ้งเพื่อต่อยอดสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน’ โดยการสนับสนุนหลักสูตรพิเศษจากเครือข่ายพันธมิตรกว่า 20 หลักสูตร และอุปกรณ์ดิจิทัลประกอบการเรียนการสอน ซึ่งดำเนินการใน 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีการดำเนินกิจกรรม Coding Bootcamp & Coding Roadshow และ Coding War ใน 8 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และสงขลา โดยมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการรวมกว่า 3,200 คนร่วมกิจกรรม Coding Bootcamp เพื่อเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของประเทศ และสร้างสรรค์ผลงานด้านโค้ดดิ้ง พร้อมกันนี้ยังมีพ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรม Coding Roadshow ที่จัดควบคู่กับ Coding Bootcamp ทั้งในรูปแบบ On-site และ Online รวมกว่า 1.16 แสนคน ขณะที่กิจกรรม Coding War มีครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาร่วมกิจกรรมกว่า 5,000 คน หรือ 1,250 ทีมจากทั่วประเทศ จากนั้นคัดเหลือ 100 ทีมเข้าสู่กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านโค้ดดิ้งเข้มข้น ก่อนร่วมแข่งขันในรายการ Coding War รอบชิงชนะเลิศ โดยมีเพียง 10 สุดยอดทีมในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับทุนการศึกษาและอุปกรณ์ดิจิทัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทเป็นรางวัล และเกิดผลงานโค้ดดิ้งที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยครู นักเรียนจากทั่วประเทศผ่านโครงการ Coding for Better Life กว่า 900 ผลงาน

ทั้งนี้ โครงการ Coding for Better Life ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ แบรนด์ซุปไก่สกัด โดย บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่การมอบ Micro:bit ให้โรงเรียนภายใต้กิจกรรมอัปเกรดห้องเรียนโค้ดดิ้ง มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท และสนับสนุนกิจกรรม AI Roadshow สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับ AI ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ให้กับเยาวชน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปใน 8 จังหวัด อีกทั้งสนับสนุนเงินรางวัลและผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดฟรีตลอด 1 ปี สำหรับทีมผู้ชนะในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พร้อมรางวัลพิเศษ จำนวน 2 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 600,000 บาทในกิจกรรม Coding War บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนหลักสูตร HUAWEI CLOUD DEVELOPER บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สนับสนุนคูปองการเรียนรู้ผ่าน TRUE DIGITAL ACADEMY เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนในโครงการ และ เทโร เพอร์ฟอร์แมนซ์ คอร์ส ที่มีเป้าประสงค์เดียวกันคือ การปลูกฝังความรู้ด้านโค้ดดิ้งแก่ประชาชนตั้งแต่ระดับเยาวชน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เด็กไทยเติบโตไปเป็นกําลังคนดิจิทัลที่มีคุณภาพเป็นกําลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระทรวงดีอี และ ดีป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ Coding for Better Life จะเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับเยาวชนไทยสู่การเป็นกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลของประเทศ และขอขอบคุณคุณครูที่ช่วยฟูมฟักน้อง ๆ เยาวชน ซึ่งถือเป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนไทยก้าวต่อไปท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับรางวัลการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ แบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา  โดยผลการแข่งขัน มีรายละเอียด ดังนี้

ระดับประถมศึกษา

รางวัลชนะเลิศ   ได้แก่ ทีม KP Robot โรงเรียนขจรเกียรติพัฒนา จ.ภูเก็ต

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ได้แก่  ทีม โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ ทีม KT KRUB โรงเรียนขจรเกียรติถลาง จ.ภูเก็ต

-  รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Watmai Robotic โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม จ.ชลบุรี และ ทีม KT GEN IT โรงเรียนกวางตง จ.สุโขทัย

- Popular Vote ได้แก่  ทีม KT GEN IT โรงเรียนกวางตง  จ.สุโขทัย

- BEST IDEA ได้แก่ ทีม Jomkiri Novices (จอมคีรีโนวิคซ์) โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จ.นครสวรรค์

ระดับมัธยมศึกษา

- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Sense Vision โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และ ทีม COOK3R โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม

- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม หลานม่าบ๊อกซ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร, ทีม หม่ำ เท่ง โหน่ง โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี, ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา  และ ทีม Catch Me by the ACR โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง

- รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม TNNJ โรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต  และ ทีม ปลากระดี่แม่น้ำฮวงโห  โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

- POPPULAR VOTE ได้แก่ ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา  จ.นครราชสีมา

- BEST IDEA ได้แก่ ทีม Innotech โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.depa.or.th, CodingforBetterLife.com และเฟซบุ๊กเพจ depa Thailand และCodingThailand by depa

Page 1 of 11
X

Right Click

No right click