February 23, 2025

คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุก ๆ ปีจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสภาพรถ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนงวดรถ ค่าประกันภัย ค่าภาษีและพ.ร.บ. หรือค่าจอดรถและค่าทางด่วน ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากให้คนมีรถวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สภาพการเงินหลังซื้อรถราบรื่น วันนี้จึงชวนมาเช็กลิสต์กันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  1. ค่าผ่อนรถยนต์ และดอกเบี้ย

หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวด ๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม ต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลาย ๆ งวด อาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

  1. ค่าน้ำมัน และ ค่าไฟฟ้า

เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับคนมีรถ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันไม่มีทีท่าว่าจะถูกลง ทำให้หลายคนมองหาทางเลือกใหม่อย่าง รถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่าเติมพลังงานราคาถูกกว่า แต่เจ้าของรถยนต์เติมน้ำมันไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิตทีทีบี ที่ไม่เพียงแค่รูดจ่ายได้สะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีโปรโมชันจากบัตรเครดิตที่คุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจากและปั๊มคาลเท็กซ์ รับเครดิตเงินคืนได้สูงสุดถึง 5%

  1. ค่าเบี้ยประกันรถยนต์

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่รถจำเป็นต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ก็จะสามารถเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ซึ่งประกันรถยนต์มีหลายราคา แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 2 พลัส (2+) : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 และ 3 พลัส (3+) : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อย
  1. ค่าภาษีรถยนต์และค่าพ.ร.บ.

รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์, ขนาดเครื่อง 601-1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ส่วนค่าประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

  1. ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์

แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา แนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถทุกคันที่ใช้งานควรได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

  1. ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ

ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

 

แม้ว่าการมีรถยนต์จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สำหรับใครที่ “รถยนต์” คือสิ่งจำเป็นต้องใช้เดินทางทุกวัน และสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ต้องกังวล ส่วนคนที่ยังไม่พร้อมต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ขยันเก็บออมให้มากขึ้น เพื่อรถในฝันจะได้ไม่ต้องเป็นภาระอันหนักอึ้งจนสั่นคลอนสถานะทางการเงิน

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้จ่ายในยุค “ดิจิทัล” ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ช่วยให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสดอย่าง

รถยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่มากกว่าแค่ใช้ขับขี่ แต่ยังสามารถใช้เพื่อสร้างรายได้ และต่อยอดโอกาสได้มากมาย เช่น ปล่อยให้เช่า หรือนำไปประกอบธุรกิจในการรับส่งของ รวมทั้งสามารถผันไปเป็นหลักประกันเงินกู้ยามจำเป็นได้อีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาช่วยเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสินเชื่อยอดนิยมทั้ง 2 รูปแบบ คือ รีไฟแนนซ์รถยนต์ และสินเชื่อรถแลกเงิน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนการกู้ยืม

รีไฟแนนซ์รถยนต์

รีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ สินเชื่อทางเลือกสำหรับคนที่มีรถแต่ยังผ่อนไม่หมด แม้จะมีภาระผูกพันทางการเงิน แต่สินเชื่อประเภทนี้ช่วยให้ผู้กู้สามารถใช้รถยนต์เป็นหลักประกันในการกู้ได้  แต่ก็ยังสามารถนำรถยนต์ไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งประโยชน์ที่นำไปใช้จากเงินก้อนนี้ ได้แก่ ช่วยขยายระยะเวลาการผ่อนคืนได้นานขึ้น อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระที่ลดลงเมื่อเทียบกับหนี้เดิม และที่สำคัญช่วยคลายความเครียดจากภาระการผ่อนรายเดือน รวมทั้งหากมีเงินส่วนต่างเหลือยังสามารถนำไปจัดสรรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้

ตัวอย่างการทำสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์

หากกู้เงินเพื่อผ่อนรถเป็นจำนวน 500,000 บาท โดยผ่อนไปแล้ว 300,000 บาท เหลือเงินอีก 200,000 บาท และหากสถาบันการเงินทำการประเมินมูลค่ารถยนต์อีกครั้งและปล่อยกู้ได้ที่ 350,000 บาท เราก็จะสามารถนำเงินที่ได้ตรงนี้ไปปิดหนี้ที่เหลืออยู่ 200,000 บาทได้ โดยที่ยังเหลือเงินกู้ส่วนต่างอีกจำนวน 150,000 บาท ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อต่อยอดทำธุรกิจ หรือนำไปชำระหนี้ส่วนอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อรถแลกเงิน

สำหรับสินเชื่อรถแลกเงิน เป็นสินเชื่อเพื่อคนมีรถที่ผ่อนชำระหมดแล้ว โดยผู้ที่ต้องการกู้สามารถใช้รถยนต์หรือเล่มทะเบียนรถเป็นหลักค้ำประกันเพื่อยื่นขอกู้สินเชื่อได้ และยังสามารถนำรถไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะแบ่งประเภทสินเชื่อรถแลกเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบโอนเล่มทะเบียนรถ และ แบบไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีเงื่อนไขในการรับรถยนต์ที่ขอยื่นกู้จำเป็นต้องมีอายุการงานไม่เกิน 16 ปี

เมื่อจำเป็นต้องกู้เงินโดยใช้รถเป็นหลักประกันนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกพิจารณา คือ รถที่จะนำไปเป็นหลักประกันยังมีภาระผูกพันทางการเงินหรือไม่ เพราะถ้าหากยังผ่อนไม่หมด การรีไฟแนนซ์อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปิดวงเงินสินเชื่อเดิม และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง รวมทั้งอาจมีเงินกู้เหลือพอที่จะนำไปใช้เป็นเงินทุนทำอย่างอื่น ในทางกลับกัน หากมีรถที่ผ่อนหมดแล้ว สามารถขอสินเชื่อรถแลกเงินเพื่อเพื่อนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทางการเงินที่ต้องการได้

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกทำสินเชื่อแบบใดแบบหนึ่ง ควรหาข้อมูล และขอรายละเอียดให้ครบถ้วนจากสถาบันการเงินเสียก่อน เช่น เงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย วงเงินที่ให้ การให้บริการ และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบกันหลาย ๆ ที่เพื่อให้สามารถได้รับสิ่งที่คุ้มค่าและดีที่สุด

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-075 

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-car-loan  

X

Right Click

No right click