บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่, วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College, Panyapiwat Institute of Management) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดงานประกาศผลการแข่งขัน PIM International Hackathon 2024 ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา หลังท้าชิงไอเดียธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คอนเซปท์ “Sustainable Well-being towards Zero-Green-Clean Economy” โดยได้รับการสนับสนุนจาก HSBC Thailand - Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) - Accenture Thailand - คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) - ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย - บริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัด (กองทุน ดิสรัปท์อิมแพค)
PIM International Hackathon 2024 มุ่งเน้นแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่และมีความน่าสนใจด้าน การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอน อาหารที่ปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาโซลูชันใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากพลังสมองคนรุ่นใหม่ พร้อมมีโอกาสพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สามารถคืนคุณค่าแก่สังคมในอนาคต ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมากจากเยาวชนทั้งไทยและต่างชาติส่งแข่งขันถึง 75 ไอเดีย โดยทีมที่ชนะเลิศจากการตัดสินของคณะกรรมการทรงคุณวุฒิ ได้รับรางวัลและทุนการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ (iMBE) Bachelor of Business Administration Program in Modern Business Entrepreneurship (International Program) และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ Master of Business Administration Program in International Business (iMBA) รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท
ระดับอุดมศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ทีม LOCOL จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย & มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผลงาน : Premium, Low-Carbon Thai Beef, Savor Sustainability, Nourish Locally, And A Thriving Ecosystem.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ALPACA จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน : An application to enhance remote speech therapy using artificial intelligence.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม MEDSAGE จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ The University of Hong Kong
ผลงาน : Medical Sustainability And Green Environment. “Health Care ESG Management Platform
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
รางวัลชนะเลิศ ทีม EUREKA! จาก โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
ผลงาน : P2F Machine “Plastic Recycling Innovation for Sustainable Education”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม WolffiaX จาก โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ, โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ พัทยา, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงเรียนสาธิตนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน : Rice Sprinkle made of Wolffia to provide enough nutrition to solve the food crisis in the poor nation, especially poor children
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม PACT จาก โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น กรุงเทพฯ
ผลงาน : PACT (Planetary Action for Carbon Transparency) Track Your Impact, Keep the Earth Intact
วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ ผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ร่วมกระตุ้นการปลูกฝังแนวคิดในระดับเยาวชน ให้เข้าถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ผสานการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ไอเดียใหม่ๆ เข้าใจการวางแผนโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้งได้สร้างค่านิยมให้กับเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญช่วยผลักดันเรื่องดังกล่าวให้ไปในทิศทางเชิงบวก ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่ซีพี ออลล์ มุ่งหวังสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา ภายใต้ปณิธาน “Giving & Sharing” มาอย่างต่อเนื่อง
พบกันใหม่ในปี 2025!
ติดตามบรรยากาศการแข่งขันย้อนหลังและกิจกรรมของวิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม ได้ที่
PIM Inter Hackathon https://www.facebook.com/PIMInterHackathon
PIM International https://www.facebook.com/interprogrampim
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Website : https://interprogram.pim.ac.th/
ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น เดินหน้าพลิกโฉมโรงเรียน CONNEXT ED เฟสที่ 6 ผ่านโมเดล “ผู้ประกอบการจิ๋ว” ต่อเนื่อง ดึงผู้บริหาร-ครู-นักเรียน 6 โรงเรียนเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนเด่นจาก 6 ภูมิภาค ผ้ามัดย้อมดาวเรือง-กระเป๋าจากกระจูด-ไซรัปอ้อย-กรอบรูปถมทอง-ยาดมสมุนไพรไม้หอม-ข้าวพื้นเมือง ร่วมเวิร์คช็อปพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มโอกาสต่อยอดสินค้า บูรณาการหลักสูตรพัฒนาทักษะวิชาการควบคู่วิชาชีพ หวังสร้างต้นแบบก่อนขยายผลสู่โรงเรียน CONNEXT ED ทั่วประเทศ ด้านโรงเรียน-นักเรียนปลื้ม เพิ่มรายได้กลับสู่โรงเรียน-ครอบครัว-ชุมชน สร้างแรงบันดาลใจประกอบอาชีพของเยาวชนในอนาคต
นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า การสร้างคนผ่านการศึกษา ถือเป็นหนึ่งในกรอบกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ที่บริษัทยังคงมุ่งหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนภายใต้ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) เฟสที่ 6 จัดงานสัมมนา “โครงการปั้นผู้ประกอบการจิ๋ว 6 ภูมิภาค” คัดเลือกโรงเรียนนำร่องจากแต่ละภูมิภาค ที่สามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างโดดเด่น และนำผู้บริหาร ครู นักเรียน จากโรงเรียนแต่ละแห่ง มาร่วมพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการเพิ่มเติม เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ ให้โรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง เกิดความยั่งยืน
“ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิชาการและวิชาชีพควบคู่กัน เรามองว่าทักษะการเป็นผู้ประกอบการ คือรากฐานสำคัญในการต่อยอดสู่วิชาชีพ และเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะช่วยให้เยาวชน ชุมชน โรงเรียน สามารถปรับตัวได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ประยุกต์โอกาส นำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่รอบตัวในชุมชน มาสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ เราคาดหวังว่าการสัมมนาในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้กลุ่มโรงเรียนนำร่องประสบความสำเร็จในการสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ประกอบการจิ๋ว เกิดสินค้าที่สร้างรายได้คืนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และกลายเป็นต้นแบบสู่การขยายผลไปยังโรงเรียน CONNEXT ED ที่เราดูแลอยู่กว่า 610 โรงเรียน” นายยุทธศักดิ์ กล่าว
สำหรับโรงเรียนนำร่องจาก 6 ภูมิภาค ได้แก่ 1.โรงเรียนวังไพรวิทยาคม ตัวแทนภาคตะวันออก เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากดอกดาวเรือง 2.โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) ตัวแทนภาคใต้ เจ้าของผลิตภัณฑ์ กระเป๋าจากกระจูด 3.โรงเรียนโคกงามวิทยาคาร ตัวแทนภาคตะวันตก เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อยก้อนและไซรัปอ้อย 4.โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร ตัวแทนภาคกลาง เจ้าของผลิตภัณฑ์กรอบรูปถมทอง 5.โรงเรียนบ้านสันป่าสัก ตัวแทนภาคเหนือ เจ้าของผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไม้หอม และ 6.โรงเรียนบ้านหนองคันนา ตัวแทนภาคอีสาน เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวพื้นเมือง
นางวรรณวนา พิทักษ์สงคราม ผู้อำนวยการโรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องโมเดลผู้ประกอบการจิ๋ว เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากดอกดาวเรือง กล่าวว่า ชุมชนใกล้เคียงโรงเรียนปลูกดอกดาวเรืองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับการสนับสนุนจากซีพี ออลล์ภายใต้ CONNEXT ED เฟสแรกๆ จึงได้ทยอยบูรณาการทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกดอกดาวเรืองไปจนถึงทักษะการทำผลิตภัณฑ์จากสีดอกดาวเรืองอย่างผ้ามัดย้อม เข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาทิ การเลือกดินเพาะปลูกดาวเรือง วิธีการปลูก การแปรรูป เวชสำอาง การตลาด บัญชี พร้อมทั้งนำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนครูในโรงเรียนที่จบด้านวิทยาศาสตร์อาหาร และด้านศิลปะ มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน จนเด็กนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีดอกดาวเรืองและใบไม้ในท้องถิ่น ฝีมือเยาวชนและคนในชุมชน
“เราเริ่มขายมาได้ราว 2 ปี มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ ชุดสูท ชุดแซค ลูกค้าหลักในปัจจุบันเป็นคุณครู แพทย์ พยาบาล มียอดสั่งซื้อสูงในช่วงงานเกษียณ งานปีใหม่ สร้างรายได้กลับสู่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน การบูรณาการให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะวิชาชีพควบคู่ไปกับทักษะวิชาการ ช่วยให้เด็กๆ หลายคนที่มีฐานะไม่ดี มีองค์ความรู้ไปต่อยอดอาชีพของที่บ้าน รวมถึงมาทำงานด้านดาวเรืองเป็นอาชีพเสริมได้ ยิ่งในวันนี้โรงเรียนได้รับเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง มาร่วมสัมมนาปั้นผู้ประกอบการจิ๋ว เชื่อว่าจะช่วยให้โรงเรียน เยาวชน ชุมชน สามารถพัฒนาและขายผ้ามัดย้อมจากสีดอกดาวเรืองได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น” นางวรรณวนา กล่าว
น.ส. กัญญารัตน์ โหมดตาด หรือ โฟร์ท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังไพรวิทยาคม จ.สระแก้ว กล่าวว่า ได้เข้าร่วมพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกดอกดาวเรืองตั้งแต่ชั้น ม.1 ได้เรียนรู้ทั้งวิธีการปลูก วิธีการคัดเลือกพันธุ์ ทักษะวิชาชีพที่สามารถไปต่อยอดวิชาชีพอื่นได้ โดยตัวเธอเองมีความฝันอยากประกอบธุรกิจของตัวเอง โดยสนใจงานด้านแฟชั่นเสื้อผ้า ซึ่งต่อยอดจากการผลิตผ้ามัดย้อมในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน อยากให้โมเดลผู้ประกอบการจิ๋วเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง ต่อยอดไปถึงน้องๆ รุ่นต่อไป เนื่องจากผู้ปกครองเองก็ชอบกิจกรรมนี้ เพราะเกิดรายได้เสริม ลดภาระผู้ปกครอง เด็กๆ เองก็ได้รับความรู้ สนุกสนาน เกิดการสานสัมพันธ์ในโรงเรียน
นายอับดุลเลาะ อูเซ็ง คุณครูโรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จ.พัทลุง คุณครูโรงเรียนนำร่องโมเดลผู้ประกอบการจิ๋ว เจ้าของผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากกระจูด กล่าวว่า การสานกระจูดถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หลายครอบครัวให้ความสำคัญกับการสานกระจูดควบคู่ไปกับการทำประมง โรงเรียนจึงได้ร่วมกับซีพี ออลล์ ภายใต้ CONNEXT ED เฟสแรกๆ บูรณาการการสานกระจูดและเส้นกกเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน จนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ (School Model) มีผลิตภัณฑ์หลักคือหูหิ้วถ้วยกาแฟจากเส้นกก ที่นำไปใช้ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น หลายสาขาในพัทลุง และกระเป๋ากระจูดสานมือ วันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องโครงการผู้ประกอบการจิ๋ว จึงมีความมุ่งหวังจะได้รับความรู้ด้านต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ ด้านการตลาด เพื่อให้สามารถสร้างรายได้กลับสู่โรงเรียน นักเรียน ชุมชน พร้อมทั้งพาผลิตภัณฑ์กระจูดให้เป็นที่รู้จักทั้งระดับในประเทศและนานาประเทศ
นายอัศม์เดช รักษ์จันทร์ หรือ ช้ะชิ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จ.พัทลุง กล่าวว่า จากการสนับสนุนล่าสุดของซีพี ออลล์ จึงทำให้มีห้องไลฟ์สดในโรงเรียน และได้มีส่วนร่วมเป็นคนขายกระเป๋ากระจูดผ่านไลฟ์ รวมถึงการสานกระเป๋ากระจูดทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน ทั้งในรายวิชา อาทิ วิชาแปรรูปกระจูด วิชาแปรรูปเส้นกก ความฝันในอนาคต อยากเป็นคุณครูสอนวิชาศิลปะ เนื่องจากชื่นชอบในการเพนท์กระเป๋ากระจูด ขณะเดียวกัน อาจประกอบอาชีพเสริมด้วยการเพนท์กระเป๋ากระจูดลายภาพเหมือน เป็นภาพบุคคลให้เจ้าของกระเป๋าได้สะพาย
สำหรับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี (CONNEXT ED) และเป็น 1 ใน 55 องค์กรเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญและตอบรับการมีส่วนร่วมทางการศึกษา โดยขับเคลื่อนโครงการตามปณิธานองค์กร “Giving and sharing” วางเป้าดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED 6 เฟส จำนวนกว่า 610 แห่งทั่วประเทศ ร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้สามารถดำเนินโครงการด้านต่างๆ ทั้งโครงการที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โครงการพัฒนาคุณภาพคน โครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในองค์กรร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนต่างๆ อย่างใกล้ชิด
“กำไรเป็นแค่องค์ประกอบของธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของการทำธุรกิจ การทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเราต่างหากถึงจะเรียกได้ว่า ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
นี่คือคำกล่าวของ วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรรณคิวฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตขนมหวานแบรนด์ “แม่ละมาย” อีกหนึ่ง SME ตัวอย่างที่จำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เจ้าของรางวัล SME ยั่งยืน จากเวที เซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2023 ที่เริ่มต้นธุรกิจอาหาร ด้วยความรู้จาก 0 จนปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายกว่า 100 ล้านบาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนที่เป็นซัพพลายเออร์ปีละหลายสิบล้านบาท
เปลี่ยน “วุ้น” ให้เป็นมิตรต่อสุขภาพ รสชาติแปลกใหม่
วีระ เล่าย้อนความให้ฟังถึงความเป็นมาของธุรกิจว่า หลังธุรกิจโรงพิมพ์ประสบวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ตนพร้อมภรรยาตัดสินใจกลับมาตั้งหลักที่ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของภรรยา มองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ และวุ้นน้ำมะพร้าวก็เป็นคำตอบ เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม แต่ความรู้ด้านการทำธุรกิจอาหารเป็นศูนย์ จึงต้องศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น พบว่า วุ้นน้ำมะพร้าว NATA de coco ใช้แบคทีเรียกรดน้ำส้ม Acetobacter xylinum ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ มาหมักน้ำมะพร้าว จนได้ออกมาเป็นวุ้นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีไฟเบอร์สูง ถูกจัดให้อยู่ในหมวดสารอาหารประเภทเส้นใย ไม่มีการใช้สารฟอกสี ทำให้สีของวุ้นจะขุ่นกว่าวุ้นปกติ จึงเหมาะกับผู้รักสุขภาพ
เมื่อได้วัตถุดิบหลักแล้ว ก็มาคิดต่อว่าหากขายแต่วุ้นน้ำมะพร้าวอย่างเดียวก็จะไม่มีความแตกต่าง จึงต้องหาสินค้าทางการเกษตรตัวอื่นมาใส่ และมองว่า เม็ดแมงลัก น่าจะเข้ากับตัววุ้นน้ำมะพร้าวดีที่สุด แต่ปัญหาสำคัญของแมงลัก คือ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงได้นำนวัตกรรมเครื่องนวดฝัดเม็ดแมงลักแบบแห้งของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาใช้ เพื่อให้เม็ดแมงลักปราศจากสารปนเปื้อน จนออกมาได้เป็นวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักแบบถ้วยวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2541 เพียง 20 สาขา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 26 ปี
เดินหน้ายกระดับ “สินค้าเกษตร” สู่ร้านค้าเซเว่นฯ
หลังวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักประสบความสำเร็จ วีระ ก็เดินหน้าพัฒนาสินค้าอื่นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักแนวคิดการส่งต่อสินค้าดีๆให้ผู้บริโภค ส่งผลให้ปัจจุบันแบรนด์ แม่ละมาย มีสินค้าวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั้งหมด 10 รายการ แบ่งเป็น ขนมหวาน 7 รายการ เครื่องดื่ม 2 รายการ และธัญพืช (แห้ว) 1 รายการ ซึ่งแห้วถือเป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2567 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เนื่องจากมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ดีต่อสุขภาพ และเป็นธัญพืชที่หาทานค่อนข้างยาก เพราะแห้วที่ดีคือ แห้วที่เป็นผลผลิตจาก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
ทั้งนี้ แม่ละมาย ยังมุ่งมั่นยกระดับพืชผลทางการเกษตรชนิดอื่นให้มีคุณภาพ พร้อมส่งต่อสู่ผู้บริโภค อาทิ ลูกตาล ลูกลาน ใบเตย โดยเลือกรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรที่เพาะปลูกแบบไร้สารเคมี ผ่านการตรวจสอบจากทางบริษัทก่อนจัดเก็บ เพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
“โตไกลไปด้วยกัน” คาถาโตยั่งยืน
แม้ปัจจุบันบริษัทจะมีสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เพียง 10 รายการ ในราคาขายต่อชิ้นเพียงหลักสิบบาท แต่บริษัทมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 20-40% ทุกปี โดยในปี 2567 บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มียอดขาย 150 ล้านบาท เหตุใด “แม่ละมาย” ที่จำหน่ายสินค้าในราคาหลักสิบ จึงสามารถสร้างรายได้สูงถึงหลัก 100 ล้านบาท
วีระ กล่าวว่า บริษัทจะประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องมีทีมที่ดี ทีมที่แข็งแกร่ง ซึ่งทีมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทีมภายในบริษัท แต่หมายถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริษัทในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ทีมต้นทางอย่างเกษตรกรและซัพพลายเออร์ก็ต้องดูแลผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการ ทีมกลางทางอย่างบริษัทก็ต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีมีคุณภาพ ตั้งแต่ระบบการคัดเลือกวัตถุดิบ โดยทางบริษัทจะมีการบันทึกแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อเวลามีปัญหาบริษัทจะได้เข้าไปแก้ไขได้ตรงจุด เป็นต้น มีพันธมิตรที่คอยสนับสนุนและประสานงานในทุกด้าน และ เซเว่น อีเลฟเว่น ถือเป็นพันธมิตรที่อยู่เคียงข้างมาตลอด พร้อมมอบความรู้และคำแนะนำดีๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการอบรม การหาพันธมิตรในการเชื่อมโยงเครือข่ายในการต่อยอดสินค้า เป็นต้น ทำให้บริษัทสามารถส่งต่อความรู้เหล่านั้นสู่ทีมต้นทาง เพื่อผลิตวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพพร้อมส่งต่อไปยังผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพก็จะเกิดการซื้อซ้ำและบอกต่อ เรียกว่าเป็นการสร้างการเติบโตไปด้วยกันในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง กำไรหรือเรื่องเงินเป็นแค่องค์ประกอบของการทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของธุรกิจ ถ้าทำธุรกิจได้แบบนี้ยังไงก็ประสบความสำเร็จและเติบโตยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรทั่วประเทศและสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนปีละหลาย 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของยอดขาย
“แม่ละมาย” ถือเป็นอีกหนึ่งแบบอย่าง SME ที่น่าเรียนรู้ถึงกลยุทธ์และวิธีการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มยอดขายในระยะสั้น แต่เป็นการพัฒนาสมดุลระหว่างธุรกิจ คู่ค้า และผู้บริโภคแบบระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของซีพี ออลล์ ในเรื่องการสร้างอาชีพ ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing
“การสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้า” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม เมื่อสินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง ผู้บริโภคจะรับรู้ถึงคุณค่าเฉพาะตัวของสินค้า ทำให้เกิดความสนใจและต้องการซื้อสินค้า นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ความแตกต่างที่ชัดเจนจะช่วยให้แบรนด์มีความโดดเด่น เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดการทดลอง และเมื่อถูกใจก็กลับมาซื้อซ้ำและแนะนำต่อ สร้างการเติบโตในระยะยาว
หนึ่งในปัจจัยหลักที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้าคือ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” ที่เมื่อนำมาผสมผสานกันก็จะทำให้สินค้าธรรมดาๆ กลายเป็นสินค้าไม่ธรรมดาได้ในทันที เช่น SME 3 รายนี้ได้แก่ บริษัท บราวน์โว คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตขนมไทยแนวคิดใหม่แบรนด์ “BrownVo” บริษัท ฟูลเกิ้ล จำกัด ผู้ผลิตธัญพืชอบกรอบแบรนด์ “โอพัพ” และบริษัท ลิลลี่อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวแบรนด์ “ถั่วเขาช่อง” ที่นำเอานวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาดมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ล่าสุดสินค้าใหม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตด้านยอดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าใหม่เหล่านั้นจะเป็นอะไร เหตุใดถึงได้รับการตอบรับที่ดี และมีการนำ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” ไปปรับใช้อย่างไรบ้าง
บราวโว เครปเบื้องกรอบ : คิดค้นนวัตกรรมเฉพาะตัว
“บราวโว” เป็นขนมขบเคี้ยวที่มีแนวคิดในการอัปเลเวลจากขนมไทยสไตล์ Street Food มาต่อยอดพัฒนาด้วยนวัตกรรมเฉพาะของบริษัท โดยมีสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่ในเซเว่นฯ คือ บราวนี่แผ่นอบกรอบรสคลาสสิก และรสช็อกโกแลตชิพ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี บริษัทจึงเดินหน้าพัฒนาสินค้าใหม่ต่อเนื่อง และเครปเบื้องกรอบก็เป็นสินค้าตัวถัดมา เหตุผลที่เลือกเป็นเครปเบื้องกรอบ เนื่องจากมองว่าขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่ไม่ว่าคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ชื่นชอบ แต่หาซื้อได้ยาก และเมื่อทิ้งไว้นานแป้งจะไม่กรอบ บริษัทจึงให้แผนกวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทำการวิจัยและพัฒนาตัวแป้งให้รักษาความกรอบได้นานถึง 1 ปี และไส้ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ จนได้ออกมาเป็นเครปเบื้องกรอบไส้เค็ม ที่โดดเด่นด้วยไส้มะพร้าวคลุกเคล้าเครื่องเทศในสูตรชาววัง และไส้ฝอยทองที่ทำจากไข่แดงล้วน คงเสน่ห์ความเป็นไทยได้อย่างลงตัว
บราวโว เครปเบื้องกรอบมีความโดดเด่นคือ เนื้อแป้งเครปมีความกรอบ ทานง่าย ตัวไส้ขนมเบื้องถูกพัฒนาให้ออกมาเป็นสูตรเฉพาะ โดยยังคงความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ของขนมเบื้องได้ครบถ้วน เหมาะแก่การเป็นของฝากหรือทานเล่น ในราคา 24 บาท บรรจุซองขนาด 20 กรัม พกพาง่าย โดยเริ่มวางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
โอพัพ : แก้ Pain Point สินค้าในตลาด คอลแลปส์แบรนด์ดังจับซีเรียลคู่ช็อกโกแลต
โดยปกติแล้วขนมครีมช็อกโกแลตมักจะทำมาทานคู่กับบิสกิต ซึ่งตัวบิสกิตมักจะอ่อนตัวเมื่อเจอกับครีมช็อกโกแลต ถือเป็น Pain Point สำคัญ บริษัทจึงทำการศึกษาตลาดเพิ่มเติมถึงความต้องการของตลาดว่าชื่นชอบสินค้าแบบไหน หากทานคู่กับครีมช็อกโกแลต เพื่อหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทน และมองว่า ซีเรียล น่าจะตอบโจทย์เพราะสามารถอมน้ำได้ดีกว่า โดยที่เนื้อไม่อ่อนตัว อีกทั้ง Texture ยังมีความกรุบกรอบตลอดการรับประทาน จึงได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักใน โอพัพช็อกโกแลตผสมซีเรียลรสโอวัลติน และ โอพัพช็อกโกแลตผสมซีเรียลโอวัลตินไวท์มอลต์ โดยเริ่มวางจำหน่ายได้เพียง 3 เดือน ก็สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าคือ 200,000 ชิ้น ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักอายุ 8-15 ปี นอกจาก Texture ที่ตอบโจทย์ความต้องการแล้ว รสชาติและแพ็กเก็จจิ้งก็ตอบโจทย์ด้วยเช่นกัน บริษัททำสินค้าให้มีขนาดเหมาะสมต่อการรับประทานครั้งเดียวหมด พกพาง่าย ในราคาที่เข้าถึงได้เพียง 12 บาท และการได้ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าที่เป็นที่รู้จักก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้า ทำให้คนรุ่นใหม่อยากลอง
ถั่วเขาช่องซีเล็ค : วิจัยผสาน 2 รสชาติ อัปเลเวลความอร่อยที่แตกต่าง
“ถั่วเขาช่อง” เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะต้นตำรับถั่วรสกาแฟ มาวันนี้ ถั่วเขาช่อง ได้เพิ่มสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด 2 รายการ ได้แก่ ถั่วเขาช่องซีเล็ค ถั่วผสมเพรทเซลรสวาซาบิ และ ถั่วเขาช่องซีเล็ค อัลมอนด์ผสมพริกกรอบโรยงา โดยสินค้าทั้ง 2 ตัวเกิดขึ้นจากการวิจัยตลาดทั้งในและต่างประเทศทำให้พบว่า ปัจจุบันสินค้ากลุ่มถั่ว Snack โดยทั่วไปจะจำหน่ายเพียงรสชาติใดรสชาติหนึ่ง ไม่มีความหลากหลาย ทำให้มีแนวคิดที่จะผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายในสินค้าแพ็กเก็จจิ้งเดียว เมื่อรวมกับแนวความคิดการตลาดที่ว่า “ถั่วกินกับอะไรก็อร่อย” จึงเกิดเป็นสินค้าทั้ง 2 ชนิดขึ้นมา
สำหรับถั่วผสมเพรทเซลรสวาซาบิ เป็นการนำเอาเพรทเซลรสวาซาบิจากแหล่งคุณภาพมาผสมผสานกับถั่วอัลมอนด์และแมคคาเดเมีย ทำให้ได้ทั้งรสเผ็ดและความหอมของวาซาบิ เมื่อรวมกับความมันของถั่วก็จะทำให้ได้รสสัมผัสที่หลากหลาย สำหรับถั่วเขาช่องซีเล็คอัลมอนด์ผสมพริกกรอบโรยงา เป็นการนำอัลมอนด์มารวมกับพริกคั่วกรอบและผสมกับเครื่องเทศหลากหลายชนิด โรยด้วยงาขาว ตรงกับความต้องการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย คนรุ่นใหม่ Gen Y, Z ที่ชอบความหลากหลาย ไม่ซ้ำจำเจ
ทั้ง 3 แบรนด์สินค้า SME ทำให้เห็นแล้วว่า “การสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้า” โดยใช้ “นวัตกรรมและงานวิจัยด้านการตลาด” เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้างการความโดดเด่นให้กับตัวสินค้า ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ในระยะยาว เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต